นิวเดลี (เอเอฟพี)-- ท่ามกลางเสียงรียกร้องและความห่วงใยของประชาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับความเป็นไปของนางอองซานซูจี สัญลักษณ์ประชาธิปไตยในพม่า อินเดียเพื่อนบ้านกลับนิ่งเงียบแบบรู้เห็นเป็นใจ
ครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้สนับสนุนตัวยงของนางซูจี อินเดียเริ่มเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับคณะปกครองทหารพม่าในช่วงคริสตศตวรรษที่ 1990 อันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ความมั่นคงปลอดภัยกับการพลังงานเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญอันดับต้น แทนความห่วงใยเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
ขณะที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลพม่าในการจัดการกับกบฏชนกลุ่มน้อยแบ่งแยกดินแดนที่ปฏิบัติการตามตามแนวชายแดนที่ไกลหูไกลตาระหว่างสองประเทศ อินเดียยังจับตามองแหล่งน้ำมันและก๊าซในพม่า และหวาดวิตกว่าจะพ่ายแพ้แก่จีนในการแข่งขันทางยุทธศาสตร์ในย่านเอเชีย
"อินเดียกำลังใช้วิธีการนิ่งเงียบซึ่งเป็นนโยบายที่ถูกต้องในปัญหาพม่า เพราะว่าอินเดียจะต้องสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ที่ใหญ่กว่า ในการส่งเสริมประชาธิปไตยกับสิทธิมุนุษยชน" นายกันวาล สิบาล (Kanwal Sibal) อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอินเดียกล่าว
แต่กลุ่มประเทศประชาธิปไตยตะวันตกไม่ได้มองเช่นนั้น
ทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ได้โต้แย้งว่าจีนกับอินเดียจะต้องใช้ต้องใช้ศีลธรรมนำในการใช้พลังทางเศรษฐกิจกับพม่าเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศนั้น คาดว่านางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ จะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือกับฝ่ายเจ้าบ้านระหว่างการเยือนสัปดาห์หน้า
แต่ก็ดูเหมือนว่าทั้งนิวเดลีและปักกิ่งต่างก็ไม่รู้สึกอนาทรร้อนใจอะไรต่อเสียงเรียกร้องที่ให้ใชมาตรการทางการทูตเข้าแทรกแซงในพม่า
"อินเดียไม่ออกความเห็นอะไรอีก เกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศอื่นๆ และมุ่งหวังที่จะมีสัมพันธ์อันใกล้ชิดต่อไป เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน" นางมารี ลาล (Marie Lall) ผู้จัดการร่วมโครงการเอเชีย (Asia Programme) ที่สถาบันชาธัมเฮ้าส์ (Chatham House) ในกรุงลอนดอนกล่าว
ในปี 1993 อินเดียเคยมอบรางวัลยาวฮาห์ลาล เนห์รู (Yawaharlal Nehru) ซึ่งเป็นรางวัลด้านสิทธิมนุษยชนที่ตั้งขึ้นเป็นเกียรติแด่อดีตผูนำให้แก่นางอองซานซูจี แต่หลังจากนั้นมาก็เริ่มออกเยือนพม่าและขณะเดียกวันด็ได้ปูพรมแดงครั้งแล้งครั้งเล่าต้อนรับการเยือนของบรรดาผู้นำจากพม่าซึ่งรวมทั้ทง พลเอกอาวุโสตานฉ่วย (Than Shwe) ด้วย
นอกเหนือจากความสัมพันธ์ด้านการเมืองแล้ว อินเดียยังเข้าลงทุนโครงการขนาดใหญ่ทั้งในด้านพลังงานและการก่อสร้างระบบสาธารณูโภคพื้นฐานขนาดใหญ่ในพม่า ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าส่วนหนึ่งเป็นการสร้างสมดุลกับการเข้าไปปรากฏตัวของจีนในพม่า
"อินเดียมีความเป็นกังวลอยู่เสมอๆ ต่อการที่จีนเข้าไปมีอำนาจอิทธิลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งด้านกาารเมืองและการทูตในถิ่นของตนเอง" นายอุทัย พัสการ (Uday Bhuskar) ผู้อำนวยการมูลนิธิมาริไทม์ (Maritime Foundation) ในกรุงนิวเดลีกล่าว
ยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียทั้งสองประเทศ ต่างให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อแหล่งน้ำมันและก๊าซในพม่า ขณะที่ต่างมุ่งแสวงหาแหล่งพลังงานเพื่อนำไปสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศ
เจ้าหน้าที่อินเดียปฏิเสธเสียงแข็งมาตลอดว่า การเข้าไปร่วมมือกับพม่า ทั้งๆ ที่ระบอบปกครองทหารมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างสูง นั้นได้สร้างความด่างพร้อยขึ้นในระบอบประชาธิปไตยของอินเดียเอง
"ประเด็นสิทธิมนุษยชนนับเป็นไม้เท้าที่สะดวกสำหรับโลกที่พัฒนาแล้วในการใช้ตีประเทศที่กำลังพัฒนาเมื่อพวกเขาเห็นว่าได้เวลาที่เหมาะสม" แหล่งข่าวในรัฐบาลอินเดียกล่าวกับเอเอฟพี
"ถ้าคุณจะมองกลับไปดูประวัติการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศตะวันตกบางประเทศบ้าง (ก็จะเห็นว่า) มันไม่ได้ดีไปกว่าประเทศที่พวกเขากำลังพากันวิพากษ์วิจารณ์มากนัก" แหล่งข่าวเดียวกันกล่าว ทั้งยืนยันอีกว่ารัฐบาลอินเดียได้หยิบยกเรื่องประชาธิปไตยหารือกับคณะปกครองทหารพม่าเสมอๆ ในการพูดคุย "หลังฉาก"
นางลาลแห่งชาธัมเฮ้าส์ได้ชี้ให้เห็นประเด็นที่มีการใช้สองมาตรฐานจำนวนหนึ่ง ซึ่งสหรัฐ อังกฤษและฝรั่งเศสใช้ในความสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารและเผด็จการทั่วโลก โดยใช้กันมาหลายทศวรรษแล้ว
"เรากำลังมองไปที่จีน --ประเทศที่มีจำนวนนักโทษการเมืองมากกว่าในพม่า มองในแง่นั้นอินเดียไม่ได้ปฏิบัติแตกต่างจากที่โลกตะวันตกกระทำมานานหลายทศวรรษแต่อย่างไร" นางลาลกล่าว
นักวิชาการผู้นี้ยังได้แสดงความกังขาต่อการคว่ำบาตร (ต่อพม่า) ที่ดำเนินการโดยโลกตะวันตก ซึ่ง "วิธีการคว่ำบาตรระหว่างประเทศไม่ได้นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงใดๆ"
"ระบอบพม่าจะไม่รับฟังใครเกี่ยวกับกิจการภายในของพวกเขา-- แม้กระทั่งจีน แต่ความเป็นจริงก็คือการถูกโดดเดี่ยวจากโลกตะวันตกเป็นสิ่งที่ (ระบอบทหารพม่า) ต้องการอยู่แล้ว.