xs
xsm
sm
md
lg

สวนทุกกระแส เวียดนามเจรจา Airbus ซื้ออีก 10 ลำ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00> ภาพถ่ายวันที่ 25 ก.พ.2552 เจ้าหน้าที่กำลังขนสินค้าลงจากเครื่องแอร์บัส A321-200 ที่ท่าอากาศยานโนยบ่าย (Noi Bai) กรุงฮานอย ลำนี้เป็นหนึ่งในจำนวน 11 ลำที่มีใช้งานในปัจจุบัน ตามกำหนดการปลายปีนี้บินเวียดนามจะได้รับมอบเครื่องบินรุ่นนี้อีก 4 ลำ เป็นลอตที่สั่งซื้อสี่ปีก่อน เดือน ธ.ค.ปีที่แล้วเซ็นซื้อไป 20 ลำ รัฐบาลเพิ่งอนุมัติให้เจรจาซื้ออีก 10 ลำ </FONT></br>

ASTVผู้จัดการรายวัน -- บริษัท สายการบินเวียดนาม (Vietnam Airlines) กำลังติดต่อเจรจากับบริษัท แอร์บัสอินดัสตรี (Airbus Industrie) ในฝรั่งเศส เพื่อซื้อเครื่องบินโดยสารพิสัยการบินระยะใกล้-ปานกลาง แบบ A321-200 เพิ่มอีก 10 ลำ หลังจากได้สั่งซื้อไปครั้งสุดท้ายจำนวน 20 ลำ พร้อมกับเครื่องแอร์บัสที่ใช้บินเส้นทางข้ามทวีปอีก 10 ลำ

นายกรัฐมนตรีเวียดนาม นายเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Du ng) ได้อนุมัติตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ให้เวียดนามแอร์ไลนส์จัดคณะขึ้นเจรจาโดยตรงกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินค่ายยุโรป เพื่อการจัดจัดซื้อระหว่างปี 2554-2557 ทั้งนี้ เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์ไซ่งอ่นหยายฟง (Saigon Giai Phong) หรือ “ไซ่ง่อนปลดปล่อย”

ยังไม่มีการเปิดเผยเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ ตลอดจนกำหนดการเจรจาต่อรอง และแหล่งเงินทุนที่จะใช้จัดซื้อเครื่องบิน A321-200 ล็อตใหม่นี้

ในเดือน ธ.ค.2551 สายการบินแห่งชาติเวียดนามได้เซ็นสัญญาซื้อ เครื่องบินแอร์บัส A350-900XWB จำนวน 10 ลำ โดยมีกำหนดส่งมอบในปี 2559 และ ซื้อ A321-200 อีกจำนวน 10 ลำ

นอกจากนั้น บริษัทเช่าอากาศยาน หรือ Vietnam Aircraft Leasing Co (VALC) ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่สายการบินเวียดนามถือหุ้นใหญ่ ยังเซ็นซื้อ A321-200 อีก 10 ลำ เครื่อง A321-500 ทั้งหมดมีกำหนดส่งมอบในปี 2555

ยังไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับตัวเลขมูลค่าเครื่องบิน แต่สำนักข่าวแห่งต่างๆ รายงานว่า เครื่องบินโดยสารลอตใหญ่ที่ซื้อจากแอร์บัสครั้งนั้นอาจจะมีมูลค่าเกือบ 3,800 ล้านดอลลาร์ ตามราคาในท้องตลาด

ก่อนหน้านั้น ในเดือน พ.ย.เวียดนามแอร์ไลนส์ได้เซ็นสัญญาซื้อเครื่องบินโดยสารพิสัยไกล โบอิ้ง787-900 “ดรีมลายเนอร์” (Dreamliner) จากค่ายผู้ผลิตเครื่องบินในสหรัฐฯ จำนวน 12 ลำ ซึ่งเมื่อรวมกับที่สั่งซื้อไปก่อนหน้านี้ ทำให้เวียดนามแอร์ไลนส์ซื้อเครื่องบินรุ่นนี้แล้วทั้งหมด 16 ลำ

ในปีเดียวกันเวียดนามแอร์ไลนส์ ได้เซ็นสัญญาซื้อเครื่องบินแบบ ATR72-500 ที่ผลิตในฝรั่งเศสจำนวน 11 ลำซึ่ง โดย 6 ลำแรกสั่งซื้อตอนต้นปี อีก 5 ลำ สั่งซื้อก่อนสิ้นปี ขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังคายพิษส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจใหญ่น้อยทั่วโลก และอัตราเงินเฟ้อในเวียดนามกำลังพุ่งขึ้นสูง
<br><FONT color=#cc00>จะซื้ออีกแล้ว-- ภาพแฟ้มรอยเตอร์ ผู้บริหารสายการบินเวียดนามกับผู้แทนของแอร์บัสกับบริษัทลูก VALC เซ็นสัญญาเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2551 ในกรุงฮานอย ซื้อขายเครื่องบินแอร์บัส A350-900XWB จำนวน 10 ลำ กับ A321-200 อีก 20 ลำ เวลาผ่านไปไม่ถึง 6 เดือนดีเวียดนามเริ่มเจรจาซื้อ A321 อีกฝูงใหญ่สวนทุกกระแสเศรษฐกิจ.</FONT></br>
ปัจจุบันสายการบินแห่งชาติเวียดนาม มีเครื่องบินใช้งานอยู่เพียง 47 ลำ รวมทั้งโบอิง 777-200ER จำนวน 10 ลำ ทั้งเครื่องที่เช่าและซื้อ แอร์บัส A330 จำนวน 4 ลำ เป็นเครื่องเช่า 3 ลำ แอร์บัส A321 จำนวน 11 ลำ กับ A320 อีก 10 ลำ

เวียดนามสั่งซื้อแอร์บัส A321 ไปฝูงหนึ่งเมื่อปี 2548 และ มีกำหนดรับมอบ 4 ลำแรกในปีนี้ เช่นเดียวกันกับโบอิ้ง 787-8 ที่สั่งซื้อในปีเดียวกัน

ผู้บริหารของสายการบินนี้ กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปี 2553 จะเริ่มนำ ATR72-500 รุ่นใหม่เข้าใช้การแทนรุ่นเก่าทั้งหมดจำนวน 14 ลำ สำหรับเส้นทางบินระยะสั้น

ตามแผนการพัฒนาสายการบินแห่งชาติที่ประกาศในปี 2550 เวียดนามตั้งเป้าจะให้มีเครื่องบินใช้งาน 85 ลำ ในปี 2558 และเป็น 110 ลำในปี 2563 แต่การเจรจาเพื่อซื้อ A321 ล็อตใหม่ล่าสุดในอีก 3 ปีข้างหน้าจะทำให้สายการบินเล็กๆ แห่งนี้ขยายตัวแบบก้าวกระโดด

ตามแผนการเดิมนั้น เวียดนามแอร์ไลนส์จะทยอยซื้อเครื่องบินโดยสารพิสัยไกลขนาด 300 ที่นั่งขึ้นไประหว่างปี 2554-2558 ขณะที่มีรายงานว่า กลุ่มผู้ผลิตค่ายยุโรปกำลังพยายามชักชวนให้ซื้อเครื่อง A380 ซึ่งเป็นเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเข้าใช้งานด้วย

อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวล่าสุดของเวียดนามในการขยายฝูงบินให้มีขนาดใหญ่เป็นหนึ่งในสามอันดับต้นๆ ในอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั้นมีขึ้นขณะอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากเศรษฐกิจถดถอย

การบินภายในประเทศเองก็ได้รับผลกระทบไม่น้อยหลังจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเกือบ 18% ในสี่เดือนแรกของปีนี้

ตามแผนการดั้งเดิม ปีนี้รัฐบาลจะออกใบอนุญาตให้จัดตั้งสายการบินเอกชนอีก 2-3 แห่ง แต่เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ทำให้แผนการต้องเปลี่ยนไป
<br><FONT color=#cc00> ภาพแฟ้มรอยเตอร์ วันที่ 14 ม.ค.2552 นายทอม เอ็นเดอร์ส (Tom Enders) ประธานและซีอีโอของแอร์บัส (ซ้าย) นายดิดิเย อาฟราร์ด (Didier Avrard) หัวหน้าโครงการแอร์บัส A350XWB กับนายยฟารีซ์ เบรอฌุยเย (Fabrice Breguier) ซีโอโอของแอร์บัส ทำพิธีเปิดสายประกอบที่โรงงานใกล้เมืองตูลูส์ (Toulous) ฝรั่งเศส ก่อนหน้านั้นไม่ถึงเดือนเวียดนามเซ็นซื้อซีรีส์ 900 จำนวน 10 ลำ ส่งมอบในปี 2559 </FONT></br>
อุตสาหกรรมการบินที่เกิดใหม่ในเวียดนามกำลังเผชิญกับความผันแปรครั้งสำคัญ ปัจจุบันมีสายการบินถึง 5 แห่ง และ ทุกแห่งล้วนประสบปัญหาขาดทุนหรือรายได้ลดฮวบลง เสี่ยงต่อการอยู่รอด ซึ่งทำให้รัฐบาลประกาศงดออกใบอนุญาต ตั้งสายการบินใหม่ไปจนถึงปี 2558

เจ็ตสตาร์แปซิฟิก (JetStar Pacific) ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำแห่งแรกของประเทศ โดยรัฐบาลถือหุ้นใหญ่รายงานผลประกอบการขยายตัว 28.7% ในไตรมาส 1 ซึ่งลดลงอย่างมาก หากเทียบกับอัตราการเติบโตทั้งปี 54.6% เมื่อปีที่แล้ว

อินโดไชน่าแอร์ไลนส์ (Indochina Airline) สายการบินต้นทุนต่ำอีกแห่ง ที่เปิดให้บริการมา 6 เดือน ต้องลดเที่ยวบินโฮจิมินห์-ฮานอยลงครึ่งหนึ่ง และได้เลิกสัญญาเช่าเครื่องบินเพิ่ม ปัจจุบันให้บริการได้เพียงวันละ 1 เที่ยวบินด้วยเครื่องบินเพียงลำเดียว

ส่วนเวียดเจ็ตแอร์ (VietJet Air) สายการบินเอกชนแห่งแรกของประเทศ ที่ได้รับใบอนุญาตเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ต้องใช้ความกล้าหาญเป็นพิเศษ เพื่อขึ้นบินเที่ยวปฐมฤกษ์ให้ได้ในเดือน ต.ค.ปีนี้ หลังจากได้เลื่อนมาแล้วสองครั้ง ไม่เช่นนั้นจะถูกยกเลิกใบอนุญาต

ยังไม่ทราบผลประกอบการของวาสโกแอร์ (VASCO Air) ซึ่งเป็นบริษัทลูกให้บริการแบบเช่าเหมาลำและขนส่งสินค้า ของสายการบินแห่งชาติจนถึงปลายปีที่แล้วในเวียดนามมีสายการบินที่ให้บริการแล้วรวม 4 แห่ง

ปลายปีที่แล้วองค์การบริหารการบินเวียดนาม (Civil Aviation Administration of Vietnam) หรือ CAAV ได้ออกใบอนุญาตให้สายการบินแห่งที่ 6 ของประเทศ คือ แม่โขงแอร์เอวิเอชั่น (Mekong Aviation) ซึ่งประกาศแผนจะเริ่มบินในปี 2553 เป็นสายการบินโลว์คอสท์อีกแห่งหนึ่ง.
กำลังโหลดความคิดเห็น