xs
xsm
sm
md
lg

อียูขยับหวดพม่าหนักๆ นัดถกจีน-ดันอาเซียนในฮานอย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00> ประท้วงต่อ-- ภาพเอเอฟพีถ่ายวันที่ 18 พ.ค.2552 ชาวพม่าพลัดถิ่นจัดชุมนุมประท้วงหน้าสถานทูตในกรุงเทพฯ วันอาทิตย์ที่ผ่านมา หญิงสาวผู้นี้แต่งกายเลียนนางอองซานซูจี เดินเข้าสู่ คุกอิงเส่ง โดยมีทหารใช้ปืนจี้หลัง ทางการพม่าเริ่มไต่สวนคดีผู้นำฝ่ายค้านวันจันทร์นี้ ขณะที่สหภาพยุโรปเคลื่อนไหวเพิ่มมาตรการกดดัน.  </FONT></br>

เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการรายวัน -- สหภาพยุโรปกำลังหารือเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่าให้หนักยิ่งขึ้น หลังจากรัฐบาลทหารจับนางอองซานซูจี และนำตัวผู้นำของฝ่ายค้านในพม่าขึ้นไต่สวนเมื่อวันจันทร์ (19 พ.ค.) ความเคลื่อนไหวยังมีขึ้นหลังจาก นายฮาเวียร์ โซลานา (Javier Solana) ประธานคณะกรรมการวิเทโศบายต่างประเทศของอียูออกเรียกร้องให้มีการลงโทษระบอบทหารพม่าหนักยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีต่างประเทศของอียู เปิดเผยว่า จะมีการหยิบเรื่องพม่าขึ้นหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ระหว่างการประชุมในสัปดาห์หน้าในเมืองหลวงของเวียดนาม และจะต้องหารือเป็นพิเศษกับฝ่ายจีนที่กำลังจะพบปะสุดยอดกับอียูในสัปดาห์นี้ด้วย

“เราพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า” นายจอห์น คาฮูต (John Kohout) รัฐมนตรีต่างประเทศสาธารณรัฐเช็ค (Czech Republic) กล่าวเมื่อวันจันทร์เมื่อเดินทางถึงกรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยียม เพื่อร่วมหารือกับบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศของอียู ซึ่งในปัจจุบันสาธารณรัฐเช็กกำลังทำหน้าที่ประธานของสหภาพฯ

“อันดับแรกสุดก็คือ เราจะเรียกร้องให้ทางการพม่าปล่อยนางอองซานซูจี” นายคาฮูต กล่าว

ทางการทหารพม่าเริ่มไต่ส่วนคดีนางอองซานซูจีตอนสายวันจันทร์ (18 พ.ค.) ที่ผ่านมา ภายในเรือนจำอิงเส่ง (Insein) กรุงย่างกุ้ง ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่หนา ทางการห้ามนักการทูตจากตะวันตก รวมทั้งเจ้าหน้าที่พรรคฝ่ายค้านเข้ารับฟังการไต่สวนครั้งนี้

ผู้สนับสนุนนางซูจีหลายสิบคนไปชุมนุมกันในบริเวณใกล้กับเรือนจำแห่งนั้น เพื่อขอเข้าไปรับฟังการไต่สวน แต่ตำรวจปราบจลาจลได้นำลวดหนามวางกั้นถนนทุกสายที่มุ่งไปยังเรือนจำแห่งนั้น

คณะปกครองทหารพม่าเอาหูทวนลมเสียงประณามที่กระหึ่มไปจากทั่วโลกและดำเนินคดีผู้นำฝ่ายค้านวัย 63 ปีต่อไปในข้อหากระทำผิดต่อกฎระเบียบการกักบริเวณ ซึ่งอาจจะทำให้นางซูจีหมดโอกาสที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ อย่างสิ้นเชิงกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปีหน้า

ผู้นำฝ่ายค้านในพม่าถูกจับกุม หลังจากชาวอเมริกันผู้หนึ่งว่ายน้ำข้ามบึงใหญ่เข้าไปยังบ้านพักเมื่อต้นเดือนนี้
<br><FONT color=#cc00> นายแจน คาฮูต (Jan Kohout) - ยืน - รัฐมนตรีต่างประเทศสาธารณรัฐเช็คซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศประธานอียู จะนำเรื่องพม่าจับอองซานซูจีหารือกับกลุ่มอาเซียนในกรุงฮานอยสัปดาห์หน้า ระหว่างประชุมรัฐมนตรีเอเชีย-ยุโรป. </FONT></br>
“การไต่สวนเริ่มขึ้นแล้ว..” แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ทางการที่ไม่ให้ระบุชื่อกล่าวกับเอเอฟพี โดยไม่ยอมให้รายละเอียดใดๆ อีกเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่ดำเนินการกันเป็นการภายใน

นักการทูตตะวันตก กล่าวว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้ห้ามเอกอัครราชทูตจากกลุ่มสหภาพยุโรป คือ ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนีและอิตาลี ไม่ให้เข้าไปยังบริเวณเรือนจำ ขณะที่นักการทูตเหล่านั้นพยายามเข้าไปรับฟังเป็นประจักษ์พยาน

ทนายความกล่าวก่อนหน้านี้ ว่า นางซูจี ซึ่งเป็นเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2534 จะปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาในชั้นศาล

นายจอห์น วิลเลียม เยตทอว์ (John William Yeatthaw) ชาวอเมริกันวัย 53 ปีว่ายน้ำไปยังบ้านพักของนางซูจี และพักอยู่ที่นั่นระหว่างวันที่ 3-5 พ.ค.ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงนำตัวออกไป

ยังไม่มีการแถลงเกี่ยวกับแรงจูงใจที่ทำให้ชายผู้นี้กระทำการดังกล่าว แต่ทางการกำลังจะไต่สวนคดีของเขาเช่นเดียวกัน ในข้อหาละเมิดกฎระเบียบการตรวจคนเข้าเมือง

ผู้เห็นเหตุการณ์ กล่าวว่า ได้เห็นรถยนต์จากสถานทูตสหรัฐฯ คันหนึ่งแล่นเข้าไปในเรือนจำอิงเส่งเมื่อวันจันทร์ แต่ยังไม่สามารถขอการยืนยันจากเจ้าหน้าที่คนใดได้ และ ยังไม่ทราบว่า นายเยตทอว์ ได้รับความช่วยเหลือทางกงสุลอย่างไรหรือไม่
<br><FONT color=#cc00> ภาพรอยเตอร์วันที่ 18 พ.ค.2551 ตำรวจอาวุธครบมือนำเครื่องกีดขวางปิดกั้นถนนทุกสายที่มุ่งไปยังเรือนจำอิงเส่ง ที่คุมขังและมีการดำเนินคดีนางอองซานซูจี ทางการพม่าไม่อนุญาตให้ผู้แทนฝ่ายค้านและนักการทูตตะวันตกเข้ารับฟังเป็นสักขีพยานการไต่สวน </FONT></br>
ทางการพม่าได้กักตัวนางซูจีให้อยู่ในบ้านพักเป็นเวลารวมกันประมาณ 13 ปี ในช่วง 19 ปีมานี้ คำสั่งกักบริเวณครั้งล่าสุดซึ่งเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน กำลังจะครบกำหนดลงในวันที่ 27 พ.ค. นี้

ไม่มีผู้ใดให้คำตอบได้ว่า การไต่สวนคดีนางอองซานซูจีจะใช้เวลานานเท่าไร และผลจะออกมาเป็นอย่างไร ขณะที่ประชาคมระหว่างประเทศกำลังโหมการวิพากษ์วิจารณ์และ สหภาพยุโรปกำลังหารือเพิ่มมาตรการลงโทษพม่าให้แรงขึ้นไปอีก

การตัดสินใจของบรรดารัฐมนตรีสหภาพยุโรปมีขึ้นเพียงไม่นานหลังจาก บรรดาเอกอัครราชทูตกลุ่มอียูในกรุงย่างกุ้งถูกปฏิเสธจากทางการไม่ให้เข้ารับฟังการไต่สวนคดีนางซูจี

นายโซลานา ซึ่งเคยเป็นทูตพิเศษของอียูและเดินทางเข้าพม่าหลายครั้งในช่วงกลายปีมานี้กล่าวว่า สถานการณ์ล่าสุดย้ำให้เห็นว่า ขณะนี้ไม่ใช่เวลาที่จะยกเลิกการคว่ำบาตร แต่เป็นเวลาที่จะต้องเพิ่มการคว่ำบาตรให้หนักยิ่งขึ้น น ถึงแม้จะมีบางฝ่ายกังขาว่า จะสามารถมีมาตรการอะไรออกมาได้มากกว่านี้อีกหรือไม่

นายคาร์ล บิลด์ (Carl Bindt) รัฐมนตรีต่างประเทศสวีเดน กล่าวว่า จะมีการยกเรื่องนี้ขึ้นหารือกับบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่จะมีขึ้นในกรุงฮานอย ในวงประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอียู-อาเซียน ที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพ

“ปัญหาของเราเกี่ยวกับการคว่ำบาตรพม่า ก็คือ เราได้คว่ำบาตรเกือบจะทุกอย่างแล้วเท่าที่จะทำได้ในขอบเขตของสหภาพยุโรป” นายบิลด์ กล่าว
<br><FONT color=#cc00> ภาพเอเอฟพีวันที่ 18 พ.ค.2552 ชาวพม่าพลัดถิ่นในกรุงโตเกียวจัดชุมนุมหน้าสถานทูตพม่า เรียกร้องให้ทางการปล่อยนางซูจี ให้องค์การสหประชาชาติเข้าแก้ปัญหาพม่า ให้มีการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม </FONT></br>
“ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพม่าเกือบจะไม่มีอยู่เลย และสิ่งนี้ได้ทำให้มีความซับซ้อนต่อปัญหานี้ แต่เราจะมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค” รมว.ต่างประเทศสวีเดน กล่าว

นายบิลด์ ไม่ได้กล่าวอย่างเจาะจงว่าหมายถึงประเทศใดบ้าง แต่ นายฌ็อง อาเซลบอร์น (Jean Aselborn) รมว.ต่างประเทศลักเซมเบิร์ก กล่าวว่า จะต้องหารือเป็นกรณีพิเศษกับจีน “เพื่อให้พวกเขาได้กดดัน (รัฐบาลพม่า) ต่อไป”

การประชุมสุดยอดระหว่างอียูกับจีน มีกำหนดขึ้นในกรุงปราก ของสาธารณรัฐเช็กวันพุธ (20 พ.ค.) นี้

ในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา รัฐมนตรีต่างประเทศของอียูได้ประกาศยืดเวลาคว่ำบาตรต่อคณะปกครองทหารพม่าต่อไปอีก 1 ปีเป็นปีที่สี่ติดต่อกัน แต่ก็ประกาศเช่นกันว่าพร้อมที่จะลดหรือยกเลิกมาตรการ ถ้าหากมีความคืบหน้าในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศนี้

มาตรการคว่ำบาตรของอียูที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2549 รวมถึงการห้ามบุคคลสำคัญเดินทางเข้ายุโรป อายัดทรัพย์สินของบรรดาผู้นำและญาติๆ ห้ามขายอาวุธให้รัฐบาลทหารพม่า นอกจากนั้นยังรวมถึงบางมาตรการเพื่อลดทอนความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างค่ายยุโรปกับกลุ่มอาเซียนทั้งกลุ่มที่มีพม่าร่วมเป็นสมาชิกอีกด้วย
<br><FONT color=#cc00>ภาพถ่ายวันที่ 18 พ.ค.2552 ที่เอเอฟพีได้รับจากวิทยุและโทรทัศน์ เสียงประชาธิปไตยพม่า (DVB) ในประเทศนอร์เวย์ แสดงเห็นตำรวจและทหารตั้งด่านสกัดผู้คน-ยานพาหนะมิให้ผ่านถนนสายสำคัญที่มุ่งไปยังเรือนจำอิงเส่งกรุงย่างกุ้ง </FONT></br>
อียูได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรเมื่อปี 2550 หลังจากรัฐบาลทหารปราบปรามการเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างรุนแรง รวมทั้งห้ามนำเข้าไม้ซุงและไม้ทุกประเภท โลหะ และเร่ธาตุต่างๆ อัญมณีจากพม่า และ ห้ามบริษัทธุรกิจจากอียูเข้าลงทุนในพม่าในแขนงต่างๆ เหล่านี้

ในปี 2551 บริษัท โตตาลออย (หรือโททัลออยล์) ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันยักษ์ใหญ่จากฝรั่งเศส และถือหุ้นใหญ่ในแปลงสำรวจ-ผลิตในอ่าวเมาะตะมะ (Mottama) ได้ประกาศจะไม่ถอนตัวออกจากการลงทุนในพม่า

โตตาลให้เหตุผลว่าทันทีที่ถอนออกไปก็จะมีบริษัทน้ำมันของประเทศอื่นๆ เข้าแทนที่อยู่ดี ขณะที่กลุ่มบีพี บริษัทน้ำมันอังกฤษก็มีผลประโยชน์ในประเทศนี้

บริษัท เชฟรอน (Chevron Corp) ประกาศสัปดาห์ที่แล้วยืนยันว่าจะขยายการลงทุนในประเทศต่างๆ รวมทั้งพม่า ไทย กัมพูชา และเวียดนามต่อไป

หลายปีมานี้เชฟรอนที่มีผลประโยชน์ในแปลงสำรวจอ่าวเมาะตะมะ ต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักจากรัฐบาลอดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ที่ใช้มาตรการคว่ำบาตรรุนแรงต่อรัฐบาลทหารพม่า รวมทั้งลงโทษบริษัทจากสหรัฐฯ ที่เข้าไปมีผลประโยชน์ในพม่าด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น