ASTVผู้จัดการรายวัน -- รัฐบาลสหรัฐฯ อังกฤษ และสหภาพยุโรป ได้ออกวิจารณ์กึ่งประณามระบอบทหารในพม่า ที่จับกุมนางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้าน กระทรวงการต่างประเทศระหว่างการกระทำดังกล่าว “ทำให้ยุ่งยากใจ” ขณะที่โฆษกอังกฤษ ระบุว่า เป็นการกระทำที่ “รบกวนจิตใจ” และ ทูตพิเศษของสหภาพยุโรป กล่าวว่า “ไม่สมเหตุสมผล”
รัฐบาลพม่าได้จับกุม นางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านเมื่อวันพฤหัสบดี (14 พ.ค.) นี้ ในข้อหาละเมิดกฎระเบียบการกักบริเวณ หลังจากชายชาวอเมริกันวัย 53 ปีคนหนึ่งว่ายน้ำข้ามบึงใหญ่ไปยังบ้านพักของนางซูจี ในกรุงย่างกุ้งเมื่อสัปดาห์ก่อน ทนายความของนางซูจี กล่าวว่า กำลังจะมีการไต่สวนคดีในศาลวันจันทร์นี้
ถ้าหากพบว่ากระทำผิดจริงผู้นำวัย 63 ปีของฝ่ายค้านอาจจะต้องโทษจำคุกสูงสุดเป็นเวลา 5 ปี เลยระยะเวลาการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปีหน้านี้ สำนักข่าวเอเอฟพีกล่าว
เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ หญิงรับใช้สองคนได้ปรากฏตัวที่ศาล ซึ่งอยู่ในบริเวณเรือนจำอิงเส่ง (Insein) ที่มีชื่อเสียงในทางเลวร้ายของกรุงย่างกุ้ง เพียงไม่นานหลังจากตำรวจได้ไปนำตัวออกจากบ้านพัก ที่ถูกกักบริเวณมารเป็นเวลา 13 ปีในช่วง 19 ปีที่ผ่านมา
“ทางการได้ตั้งข้อหานางอองซาน ซูจี กับหญิงรับใช้ทั้งสองคน” ฐานกระทำผิดกฎหมายคุ้มครองรัฐให้พ้นจากภยันตรายกลุ่มบ่อนทำลายชาติ (Law Safeguarding the State from the Dangers of Subversive Elements) นายหลาเมียวมี้นต์ (Hla Myo Myint) ทนายความคนหนึ่งของนางซูจีกล่าวกับผู้สื่อข่าวที่บริเวณหน้าเรือนจำ
นายจอห์น เยตทอว์ (John Yettaw) ถูกจับและถูกนำตัวไปคุมขังสัปดาห์ที่แล้ว ฐานะลักลอบเข้าไปในบ้านพักของนางซูจีที่อยู่ระหว่างการถูกกักบริเวณ เขาพำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2 วัน ในเรือนหญิงรับใช้ และถูกตั้งข้อหาละเมิดกฎหมายความมั่นคง และเงื่อนไขในกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง
ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.นายเอียน เคลลี (Ian Kelly) โฆษกกระรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ออแถลงแสดงความเป็นกังวล โดยระบุว่า “เราได้เห็นรายงานเรื่องนี้ซึ่งถ้าหากเป็นเรื่องจริงก็แน่นอนว่า ได้สร้างความลำบากใจให้” ทั้งระบุว่า นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ก็ได้เห็นรายงานนี้แล้ว และไดสั่งให้กระทรวงดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารมากกว่านี้
ส่วนนายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีเช่นเดียวกันว่า เรื่องนี้ “รบกวนจิตใจอย่างมาก”
“เห็นได้ชัดว่าว่าระบอบพม่ามีความตั้งใจในการหาข้ออ้างอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเลื่อนลอยแค่ไหนก็ตาม” นายบราวน์ ระบุในคำแถลงที่ออกจากทำเนียบนายกรัฐมนตรี เลขที่ 10 ถนนดาวนิ่ง กรุงลอนดอน
“ข้าพเจ้ารู้สึกรบกวนในจิตใจเป็นอย่างยิ่งที่นางอองซานซูจีอาจจะถูกกล่าวหาละเมิดเงื่อนในการกักบริเวณ” นายบราวน์ กล่าว
“ความไม่ยุติธรรมที่แท้จริงและความไม่ชอบด้วยกฎหมายอันแท้จริง ก็คือ นางยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ก่อนแล้ว ถ้าหากจะให้การเลือกตั้งปี 2553 มีความน่าเชื่อถืออยู่บ้าง นาง (ซูจี) กับนักโทษการเมืองทุกคนจะต้องถูกปล่อยตัวจากที่คุมขัง” คำแถลงของผู้นำอังกฤษ ระบุ
ในวันเดียวกัน นายปิเอโร ฟาสซิโน (Piero Fassino) ทูตพิเศษกิกจารสิทธิมนุษยชนแห่งสหภาพยุโรปให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ในกรุงโรมประเทศอิตาลีว่า ข้ออ้างในการจับกุมนางซูจีนั้น “ไม่มีความชอบธรรม” และประชาคมระหว่างประเทศควรจะใช้ทุกวิธีการผลักดันให้มีการปล่อยตัวผู้นำฝ่ายค้านพม่า เช่นเดียวกันกับนักโทษการเมือง 2,000 คนที่ถูกคุมขังในคุกพม่า
นายปิเอโร ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำสหภาพยุโรปได้เรียกร้องให้สมาชิกทุกประเทศ ร่วมกับสหรัฐฯ และประเทศต่างๆ ในเอเชีย “ทำให้กลุ่มปกครองทหารพม่าได้เข้าใจว่าการกดขี่ปราบปรามและนโยบายเผด็จการเป็นสิ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศไม่อาจยอมรับได้”
ในกรุงปารีส รัฐมนตรีต่างประเทศแบร์นาด์ กูชเนอร์ (Bernard Kouchner) กับ รัฐมนตรีกิจการสิทธิมนุษยชน นายรามา ยาด (Rama Yade) ร่วมกันออกคำแถลงประณาม “อย่างรุนแรง” ต่อการจับกุมนางซูจี
“การตัดสินใจดังกล่าว ยอมรับไม่ได้มากยิ่งขึ้นเมื่อสถานการณ์เกี่ยวกับสุขภาพของเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพย่ำแย่ลงในช่วงหลายวันมานี้” คำแถลงร่วมระบุ
ในนอร์เวย์ที่ให้รางวัลโนเบลแก่นางซูจี เมื่อปี 2534 รัฐมนตรีต่างประเทศโจนาส สโตเร (Jonas Steore) กล่าวว่า “รู้สึกรบกวนจิตใจ” ที่มีการจับกุมผู้นำฝ่ายค้านพม่าและเรียกร้องให้ทางการต้องปล่อยตัวในทันที
เมื่อข่าวแพร่ออกไปในช่วงบ่ายวันพฤหัสบดี ชาวพม่าพลัดถิ่นหลายสิบคนในกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นได้จัดประท้วง เรียกร้องให้ระบอบทหารพม่าปล่อยผู้นำฝ่ายค้าน
“จงปล่อยซูจี!” ชาวพม่ากว่า 60 คนตะโกนขณะรวมตัวกันที่หน้าสถานทูตพม่า ชูป้ายข้อความสนับสนุนนางซูจี รวมทั้งแผ่นป้ายที่มีข้อความว่า “คณะปกครองทหารพม่าควรยุติการขดขี่ปราบปรามด้วยการไต่สวนที่ไม่ยุติธรรม”
ขณะเดียวกัน ชาวพม่าพลัดถิ่นก็กำลังพยายามเจรจาโน้มน้าวให้บรรดาสมาชิกสภาของญี่ปุ่นออกคำแถลงให้มีการปล่อยนักโทษการเมืองในพม่า ขณะที่ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศผู้บริจาคที่ให้งบประมาณช่วยเหลือพม่าในการพัฒนาประเทศมากที่สุด
นายจีวิน (Kyi Win) หัวหน้าทีมทนายความของนางซูจีกล่าวในกรุงย่างกุ้ง ว่า
แม้ว่าสุขภาพของผู้นำฝ่ายค้านจะไม่ค่อยดีในช่วงหลายวันมานี้ก็ตาม ทางการจะไม่อนุญาตให้กลับไปที่บ้านพัก แต่จะถูกควบคุมตัวที่เรือนพิเศษหลังหนึ่งในบริเวณเรือนจำอิงเส่งระหว่างการอยู่ในขั้นตอนการดำเนินคดี
ยังไม่มีผู้ใดทราบเจตนาในการกระทำการของนายเยตทอว์ ชาวอเมริกันทหารผ่านศึกเวียดนาม แต่ทนายความกล่าวว่า ต้องโทษคนๆ นี้ ทั้งระบุว่า นางซูจี ได้ขอให้เขาออกจากบ้านพักในวันที่ว่ายน้ำข้ามเข้าไป
“เราต้องโทษเขา.. เขาเป็นคนบ้า” นายจีวิน กล่าว
ทนายความผู้นี้กล่าวก่อนที่จะเข้าให้การต่อศาล ว่า นางซูจีประสงค์ที่จะแจ้งให้ทุกคนทราบว่าสุขภาพของเธอมีสภาพที่ดีและขวัญกำลังใจดี
นางซูจี บุตรีของนายพลอองซาน (Aung San) วีรบุรุษของชาติในยุคต่อสู้เพื่อเอกราช สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด เคยนำฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเมื่อปี 2533 แต่คณะปกครองทหารซึ่งจนถึงปัจจุบันครองอำนาจมาเป็นเวลา 57 ปี ไม่ยอมส่งมอบอำนาจให้กับฝ่ายพลเรือนมาตั้งแต่นั้น
ตลอดเวลาที่ถูกกักบริเวณ นางซูจีได้รับอนุญาตให้อยู่กับหญิงรับใช้สองคน มีแพทย์ประจำตัวไปตรวจเยี่ยมและดูแลสุขภาพสัปดาห์ละครั้ง
ระยะล่าสุดนี้ นางซูจี ถูกคณะปกครองทหารสั่งกักบริเวณติดต่อกันมา 6 ปี ครั้งสุดท้ายกำลังจะครบกำหนดในวันที่ 27 พ.ค.นี้ แต่ทางการยังไม่มีการประกาศอะไรออกมาซึ่งก็ไม่ต่างกับปีก่อน ที่มีการเผยแพร่คำสั่งออกมาในภายหลัง นักการทูตกล่าวว่าทางการพม่าจะควบคุมตัวนางซูจีเอาไว้ต่อไปจนหลังการเลือกตั้งปี 2553 ตามแผนการปฏิบัติแผน “ถนนไปสู่ประชาธิปไตย”