xs
xsm
sm
md
lg

สายวิทย์-วิศวะฯ เตรียมตัว!! มีสิทธิ์ขุดทองเวียดนาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099> ในแต่ละปีสถาบันอุดมศึกษาในเวียดนามผลิตบัณฑิตออกสู่ตลาดแรงงานนับแสน ผู้เรียนสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์มีไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่ไม่ยอมเข้าสู่ตลาดแรงงานที่ค่าจ้างต่ำ และ เมื่อสำรวจตรวจตราจริงๆ แล้วผู้ที่เรียนสำเร็จสายเทคโนโลยีโดยตรงก็ยังมีจำนวนน้อยมาก อีกส่วนหนึ่งบริษัทนายจ้างต่างชาติตั้งข้อกังขาในเรื่องคุณภาพ หลายแห่งต้องลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไว้ใช้งานเองอีกด้วย  </FONT></CENTER>

ผู้จัดการ360 ํรายสัปดาห์-- เวียดนามกำลังขาดแคลนบุคคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรุนแรง และอาจจะต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อนำเข้าแรงงานด้านนี้จากต่างประเทศ เพื่อสนองแผนพัฒนาของประเทศ เรื่องนี้ถูกเปิดเผยในงานประชุมสัมมนาที่จัดขึ้นในกรุงฮานอยช่วงกลางเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา

นับเป็นเรื่องเหลือเชื่อสำหรับประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวแบบเคยพุ่งทะยานในความเร็วสูงเฉลี่ยปีละ 8-8.2% ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แต่โครงสร้างของทรัพยากรมนุษย์กลับไม่เอื้ออำนวย

ตามตัวเลขของสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเวียดนาม (Vietnam Institute of Sciences and Technologies) การสำรวจล่าสุดได้พบว่าปัจจุบันทั่วประเทศมีบุคคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพียงประมาณ 10% เท่านั้นที่เรียนสำเร็จระดับปริญญาตรี ถึงแม้ว่าในช่วง 2-3 ปีมานี้จำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียนสาขาเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นในอัตราสูงก็ตาม

ปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรแขนงเศรษฐกิจสำคัญต่างๆ ในเวียดนามเป็นที่รับรู้กับมานาน และกำลังมีการเร่งแก้ไข โดยมีกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรมเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันได้มีการเน้นหนักตรวจสอบในแขนงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้รับการหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันอีกครั้งในการประชุมสัมมนาที่ จ.บิ่งซเวือง (Binh Duong) ศูนย์กลางการลงทุนและการผลิตใกล้กับนครโฮจิมินห์

ตามตัวเลขของสถาบันยุทธศาสตร์และโครงการศึกษา (Strategy and Education Programme Institute) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรม (Ministry of Education and Training)
<CENTER><FONT color=#660099> ผู้บริหารของอินเทล (Intel Corp) รับมอบประกาศนียบัตรส่งเสริมการลงทุน จากกระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม ถึงสองครั้งในเดือน ก.พ.และ พ.ย.2549 และต่อมาได้พบว่า แรงงานไฮเทคในประเทศนี้เกือบจะไม่มีอยู่เลย </FONT></CENTER>
ตามรายงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2551 มีนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีรวม 50,000 คน เพิ่มขึ้น 125% จากปี 2550 และ คิดเป็นอัตราเพิ่ม 160% จากปี 2549 และ ในแต่ละปีสถาบันอุดมศึกษาแห่งต่างๆ ได้ผลิตวิศวกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออกป้อนตลาดแรงงานถึง 110,000 คน แต่ในนั้นมีเพียงประมาณ 10% ที่ยอมเข้าทำงาน

นอกจากนั้นบริษัทต่างชาติหลายแห่งยังกังขาในคุณภาพของบัณฑิตไอทีเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับที่มีความสามารถเชิงเทคนิคสูง ซึ่งในปัจจุบันมีบุคคลากรลูกจ้างแขนงนี้อยู่เพียงประมาณ 5,000 คนทั่วประเทศ

ในแขนงชีววิทยาที่มีความสำคัญยิ่งยวดไม่แพ้วิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ ในกลางปี 2550 หรือสิ้นปีการศึกษา 2549-2550 เวียดนามมีบัณฑิตด้านชีววิทยากับแขนงวิศวะชีวภาพรวมกันเพียง 1,500 คน มีมหาบัณฑิตด้านนี้ 400 คน และ ดุษฎีบัณฑิต 90 คน ซึ่งสะท้อนให้เห็นการขาดแคลนอย่างรุนแรง

ไม่เพียงแต่จะขาดแคลนพนักงานระดับล่างซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น นายเหวียนวันลาง (Nguyen Van Lang) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกล่าวว่า ประเทศยังขาด "วาทยกร” (Conductor) ที่สามารถนำ "วงออร์เคสตร้าด้านชีวะการเกษตร" ได้อย่างดี

นั่นคือแขนงงานสำคัญมากในการพัฒนาประเทศไปสู่อุตสาหกรรม
<CENTER><FONT color=#660099> วันที่ 10 เม.ย.2552 นายเครก บาร์เร็ต (Craig Barrett) ประธานอินเทลคอร์ป (Intel Corp) เข้าเยี่ยมคำนับนายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) ในกรุงฮานอย </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#660099> วันที่ 11 เม.ย.2552 ประธานอินเทลฯ ไปนครโฮจิมินห์มอบทุนให้นักศึกษาเวียดเนาม 40 คนแรก ทั้งหมดจะไปศึกษาต่อปริญญาตรีและโทวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์และไอทีในสหรัฐฯ เพื่อกลับไปทำงานกับอินเทล </FONT></CENTER>
กระทรวงได้จัดตั้งห้องแลบ ห้องทดลองด้านการเกษตรขึ้นหลายแห่งทั่วประเทศ แต่การวิจัยยังมีน้อย การฝึกอบรม ยังไม่กว้างขวางและยังไม่มีผลงานที่โดดเด่นปรากฏ นายลางกล่าว

รัฐมนตรีผู้นี้กล่าวอีกว่า ถ้าหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ยังไม่สามารถผลิตแรงงานเทคโนโลยีสูงได้เพียงพอ เขตอุตสาหกรรมไฮเท็คที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นหลายแห่งทั่วประเทศ ก็จะมีสภาพไม่แตกต่างจากเขตอุตสาหกรรมพื้นฐานทั่วไป ที่มีเพียงคนงานกับช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรเครื่องกลในการผลิตเท่านั้น

ตามตัวเลขคาดการของสถาบันยุทธศาสตร์และโครงการศึกษา (Strategy and Education Programme Institute) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรม ในปี 2551 เวียดนามควรจะมีบุคคลากรด้านไอที 15,000 คน ด้านชีววิทยา 8,000 คน ด้านออตโตเมชั่น 10,000 คน และด้านเทคโนโลยีวัสดุอีก 5,000 คน

ในปีนี้ตัวเลขความต้องการจะเพิ่มขึ้นเป็น 18,000-12,000-12,000 และ 8,000 คนตามลำดับ ปีหน้าตัวเลขความต้องการจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นและในปี 2558 ตัวเลขจะทะยานขึ้นเป็น 25,000-20,000-20,000 กับ 18,000 คน
<CENTER><FONT color=#660099> ภาพแฟ้มเอเอฟพีถ่ายวันที่ 4 ก.พ.2549 คนงานนับร้อยหยุดงานประท้วงที่บริเวณหน้าโรงงานของนักลงทุนต่างชาติแห่งหนึ่งใน จ.บี่งซเวือง (Binh Duong) ใกล้นครโฮจิมินห์ เรียกร้องสวัสดิการและขอขึ้นค่าแรง เวียดนามมีแรงงานไร้ฝีมือแบบเหลือเฟือ แต่เมื่อจะพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคปัญหาแรงงานกลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาทันที  </FONT></CENTER>
ในปี 2563 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนการผลิตบุคคลากรไฮเทคด้านต่างๆ ความต้องการจะเพิ่มมากขึ้นมีจำนวนรวมกันกว่า 100,000 คน นั่นคือ เหลือเวลาอีก 9 ปีสำหรับกระทรวงศึกษาธิการฯ

ไม่เพียงแต่จะขาดแคลนตัวบุคคลเท่านั้น บุคคลากรด้านเทคโนโลยีของเวียดนามยังมีปัญหาด้านคุณภาพและประสิทธิภาพอีกด้วย

บริษัทลงทุนจากต่างประเทศชั้นนำหลายแห่งต้องลงทุนผลิตบุคคลากรเอง หลังจากการคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาในเวียดนามนับพันๆ และพบว่า ความรู้ยังไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐาน

บริษัทโบอิ้ง (Boeing Co) ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่จากสหรัฐฯ เคยนำเสนอปัญหานี้เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว เช่นเดียวกันกับบริษัทอินเทล (Intel Corp) ที่ไม่สามารถหาพนักงานได้เพียงพอในตลาดแรงงานเวียดนาม

ปัจจุบันอินเทลกำลังเร่งฝึกฝนฝึกอบรมพนักงานใหม่ ที่ผ่านการสอบคัดเลือกในช่วงสองปีมานี้ และสัปดาห์กลางเดือน เม.ย.นายเครก บาร์เร็ต (Craig Barlett) ซึ่งเดินทางเยือนเวียดนาม ได้มอบทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์กว่า 40 คนที่ผ่านการสอบคัดเลือก เพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญามหาบัณฑิตในสหรัฐฯ
<CENTER><FONT color=#660099>สถานการณ์แย่หนักลงไปอีกเมื่อค่าจ้างต่ำ แรงงานฝีมือจำนวนมากถูก ส่งออก แต่ละปีแรงงานนับหมื่นส่งเงินกลับบ้านรวมกันหลายพันล้านดอลลาร์ ขณะที่ตลาดแรงงานที่มีฝีมือในประเทศขาดแคลน  </FONT></CENTER>
นักวิชาการแขนงแรงงานได้นำเสนอปัญหานี้หลายปี ประเทศนี้กำลังขาดแคลนบุคคลบากรในทุกๆ แขนงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมพลังงานที่พัฒนามานาน และ โรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกได้เปิดเดินเครื่องผลิตในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ยังต้องการบุคคลากรแขนงปิโตรเลียมอีกหลายเท่าตัว

กฎหมายเวียดนามไม่อนุญาตให้นายจ้างว่าจ้างแรงงานต่างชาติได้ตามอำเภอใจ ห้ามว่าจ้างแรงงานไร้ฝีมือจากต่างประเทศ และ จำกัดจำนวนลูกจ้างระดับผู้เชี่ยวชาญอย่างเข้มงวด นอกจากนั้นในบางแขนงการไม่อนุญาตให้ใช้แรงงานต่างชาติอย่างสิ้นเชิง

สื่อของทางการกล่าวว่า มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่อาจจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายแรงงานและการจ้างงานในปลายปีนี้ เพื่อให้สามารถนำเข้าแรงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแขนงต่างๆ ได้มากขึ้น.
กำลังโหลดความคิดเห็น