รอยเตอร์ – บริษัทวิจัยเมกาแผยผลสำรวจ ผู้ผลิต-ผู้ค้าปลีกในเมกาชี้ทำธุรกิจในจีนเสี่ยงมากขึ้น เหตุปัญหามาจากคุณภาพสินค้า การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และต้นทุนผลิตที่สูงขึ้น บริษัทยักษ์ใหญ่บางแห่งเตรียมหาซัพพลายเออร์จากประเทศอื่นทดแทน
โดยผลสำรวจดังกล่าวจัดทำโดยบริษัทวิจัยเอเอ็มอาร์ (AMR Research Inc) ในบอสตัน และมีการเปิดเผยออกมาเมื่อวันพฤหัสบดี (21 พ.ค.) ซึ่งผลสำรวจได้ชี้ชัดว่า บริษัทผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกสหรัฐฯ ที่ตอบแบบสอบถาม คิดเป็น 26 เปอร์เซ็นต์ที่เห็นว่าอัตราความเสี่ยงของสายโซ่อุปทานในจีนมีเพิ่มขึ้น จนทำให้อยู่ในระดับที่เสี่ยงสูงกว่าประเทศอื่นในย่านเอเชีย-แปซิฟิก หรือแม้แต่สหรัฐฯ เอง
นายเควิน โอมาร่าห์ ประธานฝ่ายยุทธศาสตร์ของเอเอ็มอาร์ เผยว่ากลุ่มบริษัทที่มีสายโซ่อุปทาน เช่น โบอิ้ง, ซิสโก้ ซิสเท็มส์, อินเทล คอร์ป, เซฟเวย์ อิงค์, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และเจนซีม คอร์ป ต่างก็มีความกังวลเรื่องค่าจ้างแรงงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในจีน
ขณะที่ 51 เปอร์เซ็นต์ของผู้ผลิตและค้าปลีกสหรัฐฯ เห็นว่าเรื่องคุณภาพสินค้าจากจีน ถือเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจ และส่วนใหญ่ของกลุ่มบริษัทนี้ วางแผนที่จะทบทวนยุทธศาสตร์ทางธุรกิจในจีน
นายโอมาร่าห์ ระบุอีกว่า บริษัทใหญ๋ๆ เช่น ซัมซุง อิเลคทรอนิคส์ ผู้ผลิตเครื่องเสียงบอส และฮิวเลตต์-แพคการ์ด ก็อยู่ในกลุ่มบริษัทที่สนใจย้ายไปประเทศอื่นในแถบเอเชีย ขณะที่บริษัท ชไตฟฟ์ผู้ผลิตของเล่นจากเยอรมนี จะย้ายฐานผลิตกลับไปเยอรมนีและโปรตุเกส หลังจากจัดจ้างบริษัทในจีนให้ผลิตสินค้ามาตั้งแต่ปี 2546
“หลายบริษัทเริ่มปรับความสมดุลด้านการลงทุน และเริ่มมองประเทศจีนต่างจากเดิม คือจีนจะไม่ใช่ที่ลงทุนเพียงแห่งเดียวที่มีการลงทุนสินค้าราคาถูกทุกชนิดอีกต่อไป” นายโอมาร่าห์ กล่าว
ขณะที่ผลสำรวจความเห็นจากบริษัท 133 แห่ง พบว่า 59 เปอร์เซ็นต์เห็นว่าปัญหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในจีนถือเป็นความเสี่ยง และ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในจีน ปีนี้มีความรุนแรงกว่าปีก่อน จากที่จีนเคยผลิตสินค้าเพียงให้คล้ายคลึงกับต้นแบบ ปัจจุบัน จีนได้ลอกเลียนสินค้าที่เหมือนกับต้นแบบทุกประการ
ส่งผลให้ธุรกิจผลิตรถยนต์ สินค้าเทคโนโลยี และยา มีความเสี่ยงสูงขึ้น และผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้เริ่มกังวลเกี่ยวกับชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ถูกปลอมแปลง ซึ่งชิ้นส่วนอุปกรณ์ปลอมนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน ที่รวมถึงบริษัทโบอิ้งด้วย
ทั้งนี้ บริษัทโบอิ้ง รวมถึง ซิสโก้ ซิสเท็มส์, จาบิล เซอร์กิต และเฟดเอ็กซ์ ต่างก็เป็นสมาชิกของสมาคมจัดการความเสี่ยงด้านสายโซ่อุปทาน โดยองค์กรนี้รวมกลุ่มกันเพื่อกำหนดมาตรฐานสินค้า และยังให้บริษัทผู้ผลิตจัดเกรดซัพพลายเออร์ตามข้อมูลฐานความเสี่ยง
นายโอมาร่าห์ ยังแสดงความเห็นอีกว่า บริษัทต่างๆ คงไม่ย้ายธุรกิจทั้งหมดออกไปจากจีน แต่จะจัดความสมดุลทางห่วงโซ่อุปทานใหม่ และจะค่อยๆ ลดกำลังการผลิตในจีนลง ขณะที่หลายบริษัทได้เริ่มใช้ซัพพลายเออร์หลายๆ เจ้าเพื่อกระจายความเสี่ยงแล้ว
ส่วน 4 ใน 10 ของบริษัทที่ทำการสำรวจระบุว่า ได้ย้ายการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สำคัญมากๆ และเปราะบาง กลับไปผลิตในประเทศเพื่อป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ขณะเดียวกัน ทางบริษัทวิจัยเอเอ็มอาร์ก็ได้แนะนำบริษัทต่างๆ ว่า ควรยอมเพิ่มค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างฐานของซัพพลายไว้หลายๆ แห่ง ทั้งในลาติน อเมริกา ยุโรปตะวันออก หรือบางประเทศในเอเชีย เช่น เวียดนาม และฟิลิปปินส์
สำหรับบริษัทที่นำยุทธศาสตร์เช่นนี้ไปใช้และประสบความสำเร็จก็คือ กลุ่มบริษัทโนเกีย และอีเมอร์สัน อิเลคทริก
“ถ้าคุณใส่ไข่ไก่ทั้งหมดลงไปในตะกร้าและเอาไว้ที่ประเทศจีน ถ้าบางสิ่งบางอย่างไม่เป็นไปตามคาด คุณก็จะติดหล่ม” นายโอมาร่าห์ กล่าวทิ้งท้าย
โดยผลสำรวจดังกล่าวจัดทำโดยบริษัทวิจัยเอเอ็มอาร์ (AMR Research Inc) ในบอสตัน และมีการเปิดเผยออกมาเมื่อวันพฤหัสบดี (21 พ.ค.) ซึ่งผลสำรวจได้ชี้ชัดว่า บริษัทผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกสหรัฐฯ ที่ตอบแบบสอบถาม คิดเป็น 26 เปอร์เซ็นต์ที่เห็นว่าอัตราความเสี่ยงของสายโซ่อุปทานในจีนมีเพิ่มขึ้น จนทำให้อยู่ในระดับที่เสี่ยงสูงกว่าประเทศอื่นในย่านเอเชีย-แปซิฟิก หรือแม้แต่สหรัฐฯ เอง
นายเควิน โอมาร่าห์ ประธานฝ่ายยุทธศาสตร์ของเอเอ็มอาร์ เผยว่ากลุ่มบริษัทที่มีสายโซ่อุปทาน เช่น โบอิ้ง, ซิสโก้ ซิสเท็มส์, อินเทล คอร์ป, เซฟเวย์ อิงค์, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และเจนซีม คอร์ป ต่างก็มีความกังวลเรื่องค่าจ้างแรงงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในจีน
ขณะที่ 51 เปอร์เซ็นต์ของผู้ผลิตและค้าปลีกสหรัฐฯ เห็นว่าเรื่องคุณภาพสินค้าจากจีน ถือเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจ และส่วนใหญ่ของกลุ่มบริษัทนี้ วางแผนที่จะทบทวนยุทธศาสตร์ทางธุรกิจในจีน
นายโอมาร่าห์ ระบุอีกว่า บริษัทใหญ๋ๆ เช่น ซัมซุง อิเลคทรอนิคส์ ผู้ผลิตเครื่องเสียงบอส และฮิวเลตต์-แพคการ์ด ก็อยู่ในกลุ่มบริษัทที่สนใจย้ายไปประเทศอื่นในแถบเอเชีย ขณะที่บริษัท ชไตฟฟ์ผู้ผลิตของเล่นจากเยอรมนี จะย้ายฐานผลิตกลับไปเยอรมนีและโปรตุเกส หลังจากจัดจ้างบริษัทในจีนให้ผลิตสินค้ามาตั้งแต่ปี 2546
“หลายบริษัทเริ่มปรับความสมดุลด้านการลงทุน และเริ่มมองประเทศจีนต่างจากเดิม คือจีนจะไม่ใช่ที่ลงทุนเพียงแห่งเดียวที่มีการลงทุนสินค้าราคาถูกทุกชนิดอีกต่อไป” นายโอมาร่าห์ กล่าว
ขณะที่ผลสำรวจความเห็นจากบริษัท 133 แห่ง พบว่า 59 เปอร์เซ็นต์เห็นว่าปัญหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในจีนถือเป็นความเสี่ยง และ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในจีน ปีนี้มีความรุนแรงกว่าปีก่อน จากที่จีนเคยผลิตสินค้าเพียงให้คล้ายคลึงกับต้นแบบ ปัจจุบัน จีนได้ลอกเลียนสินค้าที่เหมือนกับต้นแบบทุกประการ
ส่งผลให้ธุรกิจผลิตรถยนต์ สินค้าเทคโนโลยี และยา มีความเสี่ยงสูงขึ้น และผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้เริ่มกังวลเกี่ยวกับชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ถูกปลอมแปลง ซึ่งชิ้นส่วนอุปกรณ์ปลอมนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน ที่รวมถึงบริษัทโบอิ้งด้วย
ทั้งนี้ บริษัทโบอิ้ง รวมถึง ซิสโก้ ซิสเท็มส์, จาบิล เซอร์กิต และเฟดเอ็กซ์ ต่างก็เป็นสมาชิกของสมาคมจัดการความเสี่ยงด้านสายโซ่อุปทาน โดยองค์กรนี้รวมกลุ่มกันเพื่อกำหนดมาตรฐานสินค้า และยังให้บริษัทผู้ผลิตจัดเกรดซัพพลายเออร์ตามข้อมูลฐานความเสี่ยง
นายโอมาร่าห์ ยังแสดงความเห็นอีกว่า บริษัทต่างๆ คงไม่ย้ายธุรกิจทั้งหมดออกไปจากจีน แต่จะจัดความสมดุลทางห่วงโซ่อุปทานใหม่ และจะค่อยๆ ลดกำลังการผลิตในจีนลง ขณะที่หลายบริษัทได้เริ่มใช้ซัพพลายเออร์หลายๆ เจ้าเพื่อกระจายความเสี่ยงแล้ว
ส่วน 4 ใน 10 ของบริษัทที่ทำการสำรวจระบุว่า ได้ย้ายการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สำคัญมากๆ และเปราะบาง กลับไปผลิตในประเทศเพื่อป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ขณะเดียวกัน ทางบริษัทวิจัยเอเอ็มอาร์ก็ได้แนะนำบริษัทต่างๆ ว่า ควรยอมเพิ่มค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างฐานของซัพพลายไว้หลายๆ แห่ง ทั้งในลาติน อเมริกา ยุโรปตะวันออก หรือบางประเทศในเอเชีย เช่น เวียดนาม และฟิลิปปินส์
สำหรับบริษัทที่นำยุทธศาสตร์เช่นนี้ไปใช้และประสบความสำเร็จก็คือ กลุ่มบริษัทโนเกีย และอีเมอร์สัน อิเลคทริก
“ถ้าคุณใส่ไข่ไก่ทั้งหมดลงไปในตะกร้าและเอาไว้ที่ประเทศจีน ถ้าบางสิ่งบางอย่างไม่เป็นไปตามคาด คุณก็จะติดหล่ม” นายโอมาร่าห์ กล่าวทิ้งท้าย