xs
xsm
sm
md
lg

โฆษกปากกล้า "ย้ง จันทะลังสี" จากนักข่าวไปเป็นทูตยูเอ็น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=660099> ภาพจากแฟ้มเดือน ก.ค.2548 ปีที่ สปป.ลาวเป็นประเทศประธานกลุ่มอาเซียน และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำกลุ่ม เช่นเดียวกับที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ย้ง จันทะลังสี อธิบดีกรมการข่าว จัดแถลงแบบ บรีฟฟิ่ง (Press Briefing) กับผู้สื่อข่าวทั้งลาวและจากต่างประเทศเป็นระยะ ท่านทูตย้งฯ ผ่านงานแบบนี้มาหลากหลายจนนับครั้งไม่ถ้วนตลอดช่วง 6-7 ปีในตำแหน่ง  </FONT></CENTER>

ASTVผู้จัดการออนไลน์-- หลังจากทำหน้าที่ในกระทรวงการต่างประเทศมาหลายปีในตำแหน่งอธิบดีกรมการข่าว โฆษกฝีปากเอกของลาว กำลังจะบินลัดฟ้าสู่นครเจนีวา เพื่อรับตำแหน่งใหม่ เป็นเอกอัครราชทูตประจำสวิตเซอร์แลนด์ และ ผู้แทนถาวรประจำองค์การสหประชาชาติพร้อมๆ กัน

นับเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญในตำแหน่งหน้าที่ทางราชการของโฆษกรัฐบาล ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ทางการลาว ที่สื่อต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกรู้จักมากที่สุดคนหนึ่ง

ไม่เพียงเท่านั้น จากอาชีพคนข่าวก้าวขึ้นเป็นนักการทูต และ เป็นเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่ง ไปประจำองค์การสหประชาชาติ ก้าวย่างเช่นนี้ย่อมไม่ธรรมดา

เมื่อเร็วๆ นี้ นายย้งได้เข้ารับสาสน์ตราตั้งจาก พล.ท.จูมมะลี ไซยะสอน ประธานประเทศลาวและรับหนังสือแต่งตั้งเป็นผู้แทนถาวรประจำยูเอ็น พร้อมกัน

เจ้าหน้าที่ของทางการกล่าวกับ "ASTVผู้จัดการออนไลน์" ว่า นายย้งกำลังจะเดินทางไปรับหน้าที่ใหม่ในกลางเดือน มี.ค.นี้ และ ไม่สามารถติดต่อเพื่อขอความเห็นใดๆ จากเจ้าตัวได้เลย
<CENTER><FONT color=6600099> ย้ง จันทะลังสี อธิบดีกรมการข่าว โฆษกกระทรวงการต่างประเทศลาว เป็นเจ้าหน้าที่ลาวที่โลกภายนอกรู้จักดีที่สุดอีกผู้หนึ่ง นีกเรียนเก่าจากฝรั่งเศส เริ่มต้นชีวิตการจากเป็นนักข่าว วันนี้กลายเป็นเอกอัครราชทูตประจำสวิตเซอร์แลนด์ และผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา  </FONT></CENTER>
เรียนสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจาก Lycee de Vientiane ในนครหลวงของลาวเมื่อปี 2516 โฆษกฝีปากเอกเรียนสำเร็จปริญญาตรีสาขานิเทศศาสตร์จากสถาบันนิเทศศาสตร์ระดับสูงกรุงปารีส เมื่อปี 2520

หมายความว่าเมื่อกองกำลังของแนวลาวรักชาติยาตราเข้าสู่นครเวียงจันทน์ เดือน ธ.ค.2518 นั้น เจ้าตัวยังเรียนอยู่ในเมืองหลวงของฝรั่งเศส และ เรียนสำเร็จ ในอีก 2 ปีให้หลัง ซึ่ง "ท่านทูตย้ง" สามารถเลือกที่จะกลับประเทศ หรือ อาศัยทำกินในต่างแดนเช่นเดียวกับชาวลาวโพ้นทะเลนับแสน เช่นทุกวันนี้ก็ย่อมได้

แต่นายย้งเลือกแนวทางหลัง คือกลับไปรับใช้ประเทศชาติและประชาชนภายใต้ระบอบใหม่ โดยใช้สาขาวิชาที่ร่ำเรียนจากเมืองนอกเมืองนา โดยเริ่มงานทันทีที่สำนักข่าวสารปะเทดลาว

อีก 10 ปีต่อมาคือ ระหว่างปี 2523-2524 นายย้งได้ทุนไปศึกษาต่ออีกครั้งหนึ่ง ที่สถาบันการหนังสือพิมพ์แห่งอินเดีย (India Institute of Journalism) นั่นคือช่วงปีที่อยู่ในตำแหน่ง รองบรรณาธิการข่าวต่างประเทศของ ขปล. และกลับไปทำงานต่ออีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งไต่เต้าขึ้นมาเป็นรองผู้อำนวยการของสำนักข่าวแห่งชาติในปี 2535

จึงไม่แปลที่ท่านทูตคนใหม่ฟัง พูด อ่านเขียน ได้ดีทั้งภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส และมีภาษาเวียดนามติดปลายนวมอีกต่างหาก แม้จะยังเขียนไม่เก่งก็ตาม

ชีวิตเริ่มเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปี 2541 เมื่อได้รับแต่งตั้งไปประจำที่สำนักเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และอยู่ที่นั่นไปจนถึงปี 2545 กลับบ้านเกิดอีกครั้งหนึ่งก็ได้ขึ้นเป็นรองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

ชีวิตผันผายในปี 2546 ถูกโยกย้ายและเลื่อนชั้นขึ้นเป็นอธิบดีกรมการข่าว (กรมสารนิเทศ) ซึ่งเป็นตำแหน่งโฆษก (Spokesman) ที่จะต้องรู้ทุกเรื่อง ตอบได้ทุกเรื่อง รวมทั้งตอบโต้เรื่องที่ไม่เป็นความจริง และอาศัยการเป็นคนข่าวมือเก๋าที่ลงปฏิบัติจริงในพื้นที่ ย้ง จันทะลังสี ทำหน้าที่นี้ได้อย่างสมบูรณ์

โฆษกกระทรวงนี้จึงแหล่งให้ข่าวสารที่ดีที่สุดในระบบของลาว ซึ่งได้ทำให้เจ้าตัวเป็นเจ้าหน้าที่ทางการลาว ที่สื่อจากทั่วทุกมุมโลกรู้จักดีที่สุดอีกคนหนึ่ง และ ยังเป็นด่านแรกที่สื่อต่างๆ จะต้องผ่านให้ได้ ก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในประเทศคอมมิวนิสต์แห่งนี้

ทุกคนทราบดีว่า ย้ง จันทะลังสี เป็นโฆษกฝีปากเอก ที่รักษาวิธีการแถลงข่าวของโฆษกในยุคสงครามเย็นเอาไว้อย่างมั่นคง นั้นก็คือ ชี้แจงข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งกับอีกส่วนหนึ่งเป็นการตีโต้กลับอย่างรุนแรงไม่ยั้งมือ ซึ่งบางครั้งเป็นการกล่าวประณาม

เรียกว่าเมื่อมีข่าวที่ผิดพลาดจากภายนอก มีการใส่ร้ายป้ายสีทางการลาว โฆษกจะตั้งการ์ดรอรับ ก่อนแย็บหมัดออกไป และ ปล่อยฮุคเข้าปลายคาง ให้อีกฝ่ายหนึ่งเซไถลแบบตั้งตัวไม่ติด

จนถึงทุกวันนี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายแถลงข่าวในลาว กัมพูชาและในเวียดนาม ยังใช้วิธีการแบบเดียวกันนี้อย่างมั่นคงแน่นเหนียว
<CENTER><FONT color=660099> ภาพเผยแพร่บนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศไทย ท่านทูตย้ง เมื่อครั้งมาดูงานในกรุงเทพฯ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นปี 2549  </FONT></CENTER>
สื่อในประเทศไทยหลายสำนักได้เคยมีประสบการณ์ที่ทำให้มึนงงและเจ็บปวดเช่นนี้มากมากต่อมา ไม่ว่าจะเป็นกรณีนิตยสารบันเทิงฉบับหนึ่งซึ่งเมื่อ 3-4 ปีก่อน เคยนำเอาคำพูดตลกๆ หรือการเรียกชื่อสรรพสิ่ง ลงตีพิมพ์แบบไม่ประสีประสา โดยอ้างว่าเป็นคำพูดคำเรียกที่ชาวลาวใช้กัน

แต่โฆษกของลาวไม่ตลกด้วย จนต้องลงเอยด้วยการขอโทษจากฝ่ายไทย

ครั้งหนึ่ง "ASTVผู้จัดการรายวัน" เคยมีประสบการณ์คล้ายกัน เพียงเพราะว่าผู้สื่อข่าวของเราไปอ้างการเปิดเผยของกรรมการความร่วมมือชายแดนผู้หนึ่งที่ระบุว่า ปัจจุบันมียาเสพติดข้ามมาจากฝั่งลาวจำนวนมาก.. เพียงเท่านั้นเองโฆษกของทางการ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์และสำนักข่าว ปฏิเสธพัลวัน พร้อมกล่าวประณามข้ามโขงจนอื้ออึงไปหมด หาว่าให้ร้ายป้ายสี ไม่หวังดีต่อความสัมพันธ์ของสองประเทศ ฯลฯ

แต่ที่นี่ก็ยังยืนยันในข้อเท็จจริง.. ยาเสพติดจำนวนมากทะลักผ่านลาว ไม่เฉพาะแต่เข้าประเทศไทยเท่านั้น ในช่วงปีใกล้ๆ นี้ศาลในเวียดนามพิพากษาลงโทษกรณียาเสพติดหลายกรณี ผู้กระทำผิดทั้งหมดล้วนสารภาพว่าขนไปจากชายแดนลาว..

หมายความว่าในช่วงหนึ่ง สปป.ลาว ได้เป็นทางผ่านที่ใหญ่โตของยาเสพติดที่ผลิตจากประเทศที่สาม

นี่เป็นเพียงการกระทบกระทั่งเล็กๆ น้อยๆ กรณีหนึ่งระหว่างมิตรสหายในแวดวงเดียวกัน..

หลายปีมานี้นายย้งได้ฝ่าฟันประเด็นปัญหาใหญ่ๆ มาอย่างโชกโชน รวมทั้งประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ ที่เผ็ดร้อนยิ่งกว่า โฆษกฯ ต้องออกชี้แจง ตอบโต้ ตอบคำถามหรือให้ความเห็นอยู่บ่อยๆ

ปัญหาหนึ่งที่ต้องพบมาก และพูดบ่อยไม่พ้นนโยบายของรัฐบาลลาวต่อชาวลาวเผ่าม้งในประเทศ รวมทั้งชาวม้งในต่างแดน และ ชาวม้งอีกหลายร้อยคนที่กลายเป็นผู้ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ที่ทางการไทยกำลังทยอยส่งกลับลาว

ด้านเศรษฐกิจก็ไม่ต่างกัน

ปัจจุบันลาวได้เป็นปลายทางการลงทุนขนาดใหญ่ของต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าและเหมืองแร่ ปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำโขงใหญ่น้อย 7-8 แห่ง จึงทำให้ทางการลาวตกอยู่ในสายตาขององค์การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและธรรมชาติ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ที่มีชื่อว่า TERRA กับ International River Network ต้องถือเป็นไม้เบื่อไม้เมากับรัฐบาลลาวมาโดยตลอด

แต่สำหรับย้ง จันทะลังสี ทุกปัญหาอธิบายได้เสมอ

"พวกนั้นเอาแต่เรียกร้องให้รักษาลำน้ำเอาไว้ให้เหมือนเดิมไม่ต้องทำอะไร" นายย้งกล่าวกับผู้สื่อข่าว "ASTVผู้จัดการออนไลน์" เมื่อพบกันครั้งล่าสุดที่ศูนย์ข่าวโรงแรมดอนจันทน์พาเลซ ในนครเวียงจันทน์ ระหว่างที่มีการประชุมผู้นำกลุ่มอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS) เดือน มี.ค.2551

"พวกเรากลับมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ลำน้ำในการพัฒนาประเทศ สังคมโลกกำลังก้าวไปข้างหน้า ทุกแห่งกำลังพยายามใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า แต่คนบางกลุ่มกลับออกเรียกร้องให้อนุรักษ์มันเอาไว้.." นายย้งกล่าว

"ตอนพวกเราเรียนหนังสือก็ได้ต่อสู้เรื่องนี้กันมาก แต่สภาพการณ์ปัจจุบันมันเปลี่ยนไปมาก เราต้องนำแม่น้ำมาพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรให้ดีขึ้น.." โฆษกของลาวกล่าวอย่างหนักแน่น
<CENTER><FONT color=#660099> ภาพแฟ้มเดือน ก.ค.2548 ทางเข้าสำนักงานข่าวสารปะเทดลาวเงียบเหงา ที่ผู้คนออกข้างนอกกันหมดในช่วงเดือนแห่งการประชุมอาเซียน เมื่อ 30 ปีก่อนเป็นที่ แจ้งเกิด ในวงการสื่อของบัณฑิตวารสารศาสตร์จากฝรั่งเศส ย้ง จันทะลังสี เขาเลือกเดินทางกลับไปรับใช้ประเทศชาติในระบอบใหม่ </FONT></CENTER>
องค์การอนุรักษ์สภาพแวดล้อม TERRA กับ IRN เป็นหัวหอกในการกล่าวต่อต้านการสร้างเขื่อนในกล่าวว่า เขื่อนกั้นลำน้ำโขงจะทำลายระบบนิเวศของลำน้ำนานาชาติสายนี้อย่างสิ้นเชิง ฝูงปลาในลำน้ำจะลดจำนวนลง ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรนับร้อยล้านคนในภูมิภาคนี้

แต่โฆษกของทางการลาวตอบโต้ว่า ปัจจุบันโครงการเขื่อนกั้นลำน้ำโขงทุกแห่งยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพื่อหาข้อดีข้อเสียและความเป็นไปได้ด้านต่าง ๆ รัฐบาลลาวจะพิจารณาโครงการต่างๆ อย่างระมัดระวังยิ่ง

นายย้งกล่าวอีกว่า ลาวต้องใช้เวลาถึง 14 ปี ศึกษาโครงการเขื่อนน้ำเทิน 2 จนกระทั่งได้รับการยอมรับจากธนาคารโลก ปัจจุบันก็กำลังดำเนินการทุกอย่างเกี่ยวกับการก่อสร้างเขื่อนแห่งอื่นๆ โดยใช้มาตรฐานระดับโลกที่ได้จากโครงการน้ำเทิน 2

"ใครจะไปรู้ บางที่รัฐบาลเราอาจจะไม่อนุญาตให้สร้างก็ได้ ถ้ามันไม่ได้มาตรฐาน มันทำลายสภาพแวดล้อมและไม่มีทางป้องกันแก้ไขอย่างที่เขาเป็นห่วง" นายย้งกล่าว

หลังจากเหน็ดเหนื่อยในตำแหน่งโฆษกมานานปี วันนี้ทุกอย่างกำลังจะผ่านไป งานในหน้าที่ใหม่ของอดีตโฆษกฝีปากกล้า อยู่ไกลแสนไกลจากลำน้ำโขง.
กำลังโหลดความคิดเห็น