xs
xsm
sm
md
lg

สภาสหรัฐฯ หงอไม่ลงดาบภาษี Chevron ในพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#6633ff> แท่นสำรวจขุดเจาะของเชฟรอนในอ่าวไทย แท่นคล้ายๆ กันนี้กำลังทำงานในแหล่งอ่าวเมาะตะมะของพม่า โดยการร่วมทุนกับบริษัทน้ำมันฝรั่งเศสและไทย เมื่อวันอังคาร (15 ก.ค.) รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ถอนมาตรการลงโทษทางภาษีแก่เชฟรอนในพม่าแล้วหลังจากพิจารณามาข้ามปี </FONT> </CENTER>

ผู้จัดการรายวัน -- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้ตกลงถอนมาตรการลงโทษทางภาษีแก่ เชฟรอน คอร์ป (Chevron Corporation) ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ ซึ่งมีหุ้นในหลุมก๊าซยาดานา (Yadana) ในอ่าวเมาะตะมะ ร่วมกับบริษัทน้ำมันฝรั่งเศสและไทย ก่อนจะผ่านร่างกฎหมายคว่ำบาตรพม่าฉบับใหม่อย่างเป็นเอกฉันท์เมื่อวันอังคาร (15 ก.ค.)

ร่างมาตรการแต่เดิมนั้นรัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องยุติการยกเว้นภาษีผลประกอบการของบริษัทสหรัฐฯ ทุกแห่งที่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจในพม่า ทั้งหมดนี้เป็นหนึ่งในมาตรการใหญ่ที่ใช้คว่ำบาตรรัฐบาลทหารหลังการปราบปรามประชาชนที่เดินขบวนในเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว

การประชุมพิจารณามาตรการในสัปดาห์นี้ ได้มีการประนีประนอมระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา ซึ่งทำให้มีการยกบทเฉพาะกาลที่เกี่ยวกับเชฟรอนออกไป หลังจากบริษัทน้ำมันใหญ่แห่งนี้กล่าวว่า หากเลิกลงทุนในพม่าบริษัทอื่นๆ รวมทั้งจากอินเดียและจีนก็จะเข้าแทนที่อยู่ดี สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน อ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่รัฐสภา

“สิ่งหนึ่งที่ทำกัน ก็คือ ได้ยกข้อความที่เกี่ยวกับการยกเว้นภาษีที่จะส่งผลกระทบต่อบริษัทต่างๆ ของสหรัฐฯ ที่อาจจะมีธุรกิจอยู่ในพม่า” เจ้าหน้าที่กล่าวกับเอเอฟพี อธิบายเกี่ยวกับมาตรการแซงชั่นที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์ผ่านออกมาเป็นร่างกฎหมายในวันเดียวกัน

ร่างรัฐบัญญัติฉบับดังกล่าวได้ “เรียกร้อง” ให้ “นักลงทุน” ในโครงการก๊าซ (ในพม่า) “พิจารณาโดยสมัครใจเลิกการลงทุนในเวลาข้างหน้า” ถ้าหากระบอบปกครองทหารไม่ยอมทำการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศ

เชื่อกันว่า ร่างรัฐบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายคว่ำบาตรพม่านี้ จะได้รับการรับรองจากวุฒิสภาอย่างไม่มีปัญหาใดๆ

การพิจารณาคว่ำบาตรบริษัทธุรกิจและนักลงทุนสหรัฐฯ ในพม่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งในร่างรัฐบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับเดิมที่พยายามหาทางหยุดยั้งการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่มีต้นทางจากพม่า ซึ่งกลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าถูกส่งผ่านประเทศที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ไทย จีน ไต้หวัน มาเลเซีย และสิงคโปร์
<CENTER><FONT color=#6633ff>เครื่องหมายการค้าที่แข็งแกร่งและทรงพลัง กระทั่งรัฐบาลและรัฐสภาสหรัฐฯ ไม่กล้าลงไม้ลงมือ?</FONT> </CENTER>
ร่างรัฐบัญญัติของสองฝ่ายนี้ได้ผ่านการเจรจาอย่างระมัดระวังกับวุฒิสภา การแก้ไข (เนื้อหา) ทำให้สามารถได้ข้อมติผ่านการรับรองออกมา เอเอฟพีอ้างคำกล่าวของนายเฮาเวิร์ด เบอร์มัน (Howard Berman) ประธานคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ สภาผู้แทนราษฎร

ก่อนหน้านี้ รัฐสภาแห่งสหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายห้ามการนำเข้าอัญมณีจากพม่า เช่นเดียวกันกับรัฐบาลแคนาดา นายเบอร์มัน กล่าว

ภายใต้แผนดั้งเดิมนั้น “จะไม่มีการยกเว้นภาษี” จากประกอบการในโครงการก๊าซยาดานาให้แก่เชฟรอน และบริษัทนี้ยังอาจจะถูกสั่งห้ามมิให้จ่ายเงินใดๆ แก่รัฐบาลทหาร จากผลประกอบการในโครงการที่ถือหุ้นร่วมกับบริษัท โตตาลออยล์ (หรือโททัลออยล์) บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศส บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกีด (มหาชน) จากประเทศไทย และ รัฐวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซพม่าหรือ MOGE (Myanmar Oil & Gas Enterprise)

เชฟรอน เป็นบริษัทจากโลกตะวันตกขนาดใหญ่ที่สุดที่เข้าลงทุนในพม่า โดยถือหุ้นส่วนน้อย 28% ในโครงการดังกล่าว หลังจากเข้าซื้อผลประโยชน์นี้จากบริษัทยูโนแคล (UNOCAL) หรือ Union Oil of California เมื่อปี 2548

รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อพม่ามาหลายครั้ง ทั้งดานการค้า การลงทุนและการทูต แต่เชฟรอน (ยูโนแคลเก่า) เข้าไปมีกิจการในพม่าก่อนจะที่จะเริ่มมีมาตรการคว่ำบาตรเมื่อปี 2546

ภายใต้กฎหมายพม่านั้น ถ้าหากเชฟรอนขายหุ้นในโครงการยาดานาออกไป ก็จะต้องจ่ายให้กับรัฐบาลทหารถึง 500 ล้านดอลลาร์

รองประธานบริษัท เชฟรอน นายปีเตอร์ โรเบิร์ตสัน (Peter Robertson) ได้ให้การปกป้องการลงทุนในพม่าในการประชุมซักถามของสภาผู้แทนราษฎรในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุว่าเชฟรอนได้มีส่วนช่วยเหลือชาวพม่าที่ประสบภัยพิบัติจากไซโคลนนาร์กิส

“แผนการของเราคือ จะอยู่ในพม่าต่อไป.. ถ้าหากเราขายผลประโยชน์ไป เราจะต้องจ่ายภาษีเงินได้ให้แก่พวกเขา (รัฐบาลทหาร)” นายโรเบิร์ตสัน กล่าว

อะไรก็ตามที่ไปจากเชฟรอน จะตกไปเป็นประโยชน์แก่รัฐบาลพม่า รองประธานเชฟรอนกล่าว

หลังพายุนาร์กิสพัดเข้าถล่มดินแดนปากแม่น้ำอิรวดี เขตย่างกุ้ง ไปจนถุงรัฐมอญและรัฐกะเหรี่ยงในวันที่ 2-3 ก.ค.ปีนี้ เชฟรอนคอร์ปได้บริจาคเงิน 2 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
<CENTER><FONT color=#6633FF> ตำรวจพม่าควงกระบองไล่ทุบตีชาวบ้านในกรุงย่างกุ้ง ขณะที่ทหารเอาปืนไล่ยิง ในเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว ยังเป็นภาพบาดตาบาดใจแต่รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่านี้ (ภาพ: AFP)  </FONT> </CENTER>
ในนั้นบริจาคผ่านสหพันธ์สภากาชาดสากล จำนวน 1 ล้านดอลลาร์ กับอีก 1 ล้านดอลลาร์ จะจัดสรรให้ 4 องค์กรใหญ่ คือ องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน หรือ IOM หน่วยเมอร์ซีคอร์ป (Mercy Corps) หน่วยงานช่วยเหลือเด็ก Pact and Save the Children

“เราภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการให้ช่วยเหลืออย่างงเร่งด่วนแก่เหยื่อไซโคลนร่วมกับองค์กรความช่วยเหลือต่างๆ” นายโรเบิร์ตสัน กล่าวในครั้งนั้น

นายจิม แบล็คเวล (Jim Blackwell) ประธานบริษัทสำรวจและผลิตในเอเชียแปซิฟิกของเชฟรอน (Chevron Asia Pacific Exploration & Production) กล่าวว่า การบริจาคเงินช่วยเหลือของเชฟรอนคอร์ป เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบที่มีต่อประเทศพม่า

ปีที่แล้วประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรพม่า และความพยายามที่จะแก้ไขรัฐบัญญัติคว่ำบาตรพม่าได้เริ่มมาตั้งแต่นั้น ด้วยโทษฐานที่ยังคงทำธุรกิจอันเป็นแหล่งสนับสนุนด้านการเงินให้แก่คณะผู้นำทหารพม่า

ก่อนหน้านั้น สหรัฐฯ ได้ออกมาตรการคว่ำบาตรอีกชุดหนึ่ง เล่นงานบริษัทพม่าในสิงคโปร์หลายแห่ง รวมทั้งบริษัทสายการบินแอร์พุกาม (Air Bagan) ของกลุ่มตู๋ (Htoo Group) ซึ่งสหรัฐฯ กล่าวว่าเป็นแหล่งรายได้ของคณะผู้นำทหารพม่าที่ครองอำนาจมานานเกือบ 50 ปีในขณะนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น