xs
xsm
sm
md
lg

พม่ายันปี 2557 กวาดล้างฝิ่นเกลี้ยงประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000> นายหม่องอู (Maung Oo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะกล่าวในพิธีที่จัดขึ้นเพื่อระลึกวันต่อต้านยาเสพติดโลกซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 ที่เมืองเนปิดอว์ (Naypyidaw) เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.2551 โดยทางการพม่ากล่าวว่า พม่าจะสามารถเป็นประเทศที่ปลอดจากยาเสพติดได้ภายในปี 2557 (ภาพ : เอเอฟพี).</CENTER>
ผู้จัดการออนไลน์ -- ทางการพม่ากล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี (26 มิ.ย.) ที่ผ่านมา ว่า รัฐบาลกำลังดำเนินการให้พม่าเป็นประเทศที่ปลอดจากยาเสพติด ภายในปี 2014 แม้จะได้รับคำเตือนจากองค์การสหประชาชาติว่าการผลิตฝิ่นในพม่านั้น มีอัตราสูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่หลายปีก่อนหน้านี้เริ่มลดลงตามลำดับ

ในพิธีที่จัดขึ้นเพื่อระลึกวันต่อต้านยาเสพติดโลก นายหม่องอู (Maung Oo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ขณะนี้มีการดำเนินโครงการเพื่อขจัดยาเสพติดถึง 15 โครงการด้วยกัน แม้ว่าจะได้รับคำเตือนว่ามีภารกิจอีกมากที่ต้องทำให้สำเร็จเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

“จำนวนผลผลิตฝิ่นและเฮโรอีนที่ลดลงนั้นเป็นผลมาจากการดำเนินโครงการเหล่านี้ ที่เราพยายามนำมาปรับใช้ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น” รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย กล่าว

“อย่างไรก็ตาม พบว่า สารเสพติดสังเคราะห์จำพวกแอมฟีตามีน (Amphetamine-type stimulans) ยาเค (Ketamine) ยาไอซ์ และยาอี (Ecstasy) ที่ผลิตขึ้นด้วยกระบวนการทางด้านเคมี ได้เข้ามาแทนที่ฝิ่นและเฮโรอีน ซึ่งก็มีมาตรการที่เข้มงวดและรุนแรงในการจัดการกับสารเสพติดใหม่ๆ เหล่านี้”

พล.ต.ขิ่นยี ( Khin Yee) ผู้บัญชาการจำรวจพม่ากล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพี ว่า “เราจะทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อให้เป้าหมายดังกล่าวประสบความสำเร็จ” พร้อมทั้งย้ำว่า พม่าจะสามารถเป็นประเทศที่ปลอดจากยาเสพติดได้ภายในปี 2014
<CENTER><FONT color=#FF0000> พล.ต.ขิ่นยี ( Khin Yee) ผู้บัญชาการจำรวจพม่าขณะกล่าวกับผู้สื่อข่าวในระหว่างพิธีที่จัดขึ้นเพื่อระลึกวันต่อต้านยาเสพติดโลก ในเมืองเนปิดอว์ (Naypyidaw) เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.2551 (ภาพ : เอเอฟพี).</CENTER>
ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขา และการใช้กฎหมายที่ไร้ความเข้มงวดตามเขตชายแดน เป็นสิ่งที่ช่วยโอบอุ้มไร่ฝิ่นให้คงอยู่ต่อไปได้ และทำให้พม่ากลายเป็นแหล่งที่ปลุกฝิ่นมากที่สุดในโลกจนถึงในช่วงทศวรรษที่ 1990

ภายใต้การกดดันจากรัฐบาล รวมทั้งจีนซึ่งประเทศพันธมิตรเพื่อนบ้าน ทำให้รัฐบาลพม่าสามารถเริ่มโครงการต่อต้านยาเสพติดขึ้นในทศวรรษที่ 1990 โดยมีการทำลายไร่ฝิ่นเป็นจำนวนมาก และหลังจากนั้นไม่นานประเทศอาฟกานิสถานก็กลายเป็นประเทศผู้ผลิตฝิ่นมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

แต่หลังจากที่อัตราการผลิตยาเสพติดลดลงอย่างมากติดต่อกันหลายปี สำนักงานเกี่ยวกับสิ่งเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNODC รายงานว่า การผลิตฝิ่นได้เพิ่มขึ้นถึง 46% เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากการรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่ระดับสูง การคอร์รัปชัน และ การลักลอบขนผ่านพรมแดน

ขณะที่นักเคลื่อนไหวตามฟากพรมแดนในประเทศไทย กล่าวว่า โครงการเปลี่ยนแปลงไร่ฝิ่นให้เป็นพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรสำหรับชาวนาที่ยากจนนั้น ไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด

ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก กล่าวว่า พม่าเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางการผลิตยาบ้า โดยมีการใช้ยานพาหนะในการขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูง มีห้องวิจัยทดลองแบบเคลื่อนที่ รวมทั้งยังมีการปฏิบัติการกันในเขตที่เป็นป่าทึบของพม่าอีกด้วย จึงทำให้ยากต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น