xs
xsm
sm
md
lg

ระเบิดหลงสงครามยังคร่าชีวิตคนในเซียงขวาง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#3366FF>เจ้าหน้าที่เก็บกู้ระเบิดในพื้นที่กำลังใช้เครื่องตรวจจับโลหะตรวจหาระเบิดในบริเวณโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของแขวงเซียงขวางซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักในช่วงสงครามอินโดจีน.</CENTER>
ผู้จัดการออนไลน์-- หลายปีมานี้ระเบิดที่หลงเหลือมาตั้งแต่ครั้งสงครามยังคงทำลายชีวิตชาวลาวในแขวงเซียงขวางมาอย่างต่อเนื่อง และคนอีกจำนวนมากต้องพิกลพิการ

นายกิ่งเพ็ด พมมะวง ผู้ประสานงานหน่วยเก็บกู้ระเบิดที่ยังไม่ระเบิดหรือ UXO (Unexploded Ordnance) ในแขวงดังกล่าวระบุว่า จังหวัดในภาคเหนือของลาวแห่งนี้ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักในช่วงสงครามอินโดจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างปี 2507-2516

การทิ้งระเบิดส่งผลกระทบไปทั่วทุกเขตของแขวง จนถึงปัจจุบันนี้มีระเบิดที่ยังไม่ได้ระเบิดหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ที่เมืองแปก (Peak) เมืองคำ (Kham) เมืองผาไซ (Phasay) และเมืองพูกูด (Phukout) ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างหนักจากระเบิดนานาชนิด

ตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมามีชาวลาวเกือบ 2,000 คนในแขวงเซียงขวางตกเป็นเหยื่อของ UXO ในนั้น 842 คนต้องกลายเป็นคนพิการ
<CENTER><FONT color=#3366FF>นายเลธ สตีเว่น ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเก็บกู้ระเบิดจากออสเตรเลียกำลังตรวจสอบระเบิดที่ยังไม่ได้ระเบิดชิ้นหนึ่งทางตอนเหนือของแขวงเซียงขวาง.</CENTER>
ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลและผู้บริจาคทั่วโลก ปัจจุบันสามารถเก็บกวาด UXO ไปได้แล้วในพื้นที่ประมาณ 2,500 เฮกตาร์ จากทั้งหมด 100,000 เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์= 6.25 ไร่) มีระเบิดถูกทำลายไปแล้วกว่า 250,000 ชิ้น

แขวงเซียงขวางเป็นที่ตั้งของทุ่งไหหินอันลือชื่อ ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นปลายทางท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคเหนือของลาว

หลายปีมานี้หน่วยงาน องค์การระหว่างประเทศและรัฐบาลของหลายประเทศได้ช่วยทางการลาวเก็บกู้วัตถุระเบิดออกจากอาณาบริเวณทุ่งไหหิน ทำให้สามารถเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้อย่าง
ปลอดภัยแล้วหลายจุด

เมื่อเร็วๆ นี้ นายสมนึก วอละสาน (Mr. Somnuek Vorasan) ผู้ช่วยผู้อำนวยการคณะกรรมการเก็บกู้ระเบิดที่ยังไม่ระเบิดแห่งชาติ ได้นำคณะผู้สื่อต่างประเทศกว่า 10 คนไปเยี่ยมชมสภาพที่เป็นจริงในพื้นที่ที่เคยถูกทิ้งระเบิด และยังมี UXO หลงเหลือยู่เป็นจำนวนมาก

ผู้ร่วมเดินทางยังประกอบด้วยด้วยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศลาว นายย้ง จันทะลังสี รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญการเก็บกู้วัตถุระเบิดในพื้นที่และจากต่างประเทศ

คณะผู้สื่อข่าวยังได้สัมภาษณ์ผู้ที่พิการจากระเบิดดังกล่าวที่โรงพยาบาลแขวงเซียงขวางอีกด้วย ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว (ขปล.
กำลังโหลดความคิดเห็น