xs
xsm
sm
md
lg

นกปากช้อนหน้าดำหนีจากภาคเหนือเวียดนาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online



การบุกรุกเข้าทำกินและการตัดไม้ทำลายป่าในเขตป่าชุ่มน้ำเหงียฮุง (Nghai Hung) จ.นามดิ่ง (Nam Dinh) ในภาคเหนือเวียดนาม ได้ทำให้นกปากช้อนหน้าดำ (Black-faced Spoonbill) หายไปเกือบทั้งหมด เช่นเดียวกับนกสายพันธุ์หายากอีกหลายชนิดในอาณาบริเวณดังกล่าว

นกปากช้อนหน้าดำเป็นหนึ่งในแปดสายพันธุ์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ในเวียดนามพบเห็นได้เฉพาะในเขตผืนป่าชุมน้ำซวนถวี๋ (Xuan Thuy) ใกล้กับเมืองนามดิ่ง กับอีกแห่งที่ป่าถายถวี่ (Thai Thuy) กับเตี่ยนหาย (Tien Hai) จ.ถายบิ่ง (THai Binh) ที่อยู่ใกล้เคียงเท่านั้น

นายเลจ่องหาย (Le Trong Hai) เจ้าหน้าที่องค์การเบิร์ดไลฟ์ (Bird Life) ประจำเวียดนามบอกเล่าเรื่องราวดังกล่าวกับสำนักข่าววีเอ็นเอ (Vietnam News Agency) สำนักของทางการ

เหงียฮุงเป็นหนึ่งในเขตป่าชุ่มน้ำหนึ่งในหกแห่ง ในเขตที่ราบปากแม่น้ำแดง ที่ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2539 เป็นอาณาบริเวณที่มีความหลากหลายทางชีวะนานาพันธุ์สูงมากและสมควรได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นเขตชีวะนานาพันธุ์ของภูมิภาคและของทั้งโลก นายหายกล่าว

เขตป่าชุมน้ำเหล่านี้เคยเป็นที่อาศัยของนกหลากสายพันธุ์ราว 30,000 ตัว และยังเป็นปลายทางสำคัญของนกอพยพประจำฤดูกาลต่างๆ

การบุกรุกเข้าไปในเขตป่าชุมน้ำเหงียฮุง รวมทั้งการลักลอบล่าของผู้คนในท้องถิ่น ทำให้จำนวนนกหายไปปัจจุบันเหลืออยู่ราว 1,000-2,000 ตัวเท่านั้น นายหายกล่าว


ทางการได้เข้าไปปลูกป่าไม้โกงกางเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เขตป่าดังกล่าวได้รับความเสียหายจากพายุ แต่ก็ไม่ได้ช่วยนกมากนัก เพราะไม้โกงกางไม่เหมาะสำหรับนกหลายชนิดที่อาศัยตามชายฝั่งทะเล ที่ต้องอาศัยพืชหล่านั้นเป็นแหล่งอาหารด้วย

อย่างไรก็ตามยังมีผู้พบเห็นนกสายพันธุ์นี้ในหลายชุดรอบๆ ทะเลอ่าวไทย ทั้งในประเทศไทยและในกัมพูชา แต่ยังไม่เคยมีการบันทึกหรือมีผู้พบเห็นในภาคใต้เวียดนาม

นกปากช้อนยังมีสายพันธุ์แอฟริกา กับสายพันธุ์สีชมพู (Roseate Spoonbill) ที่พบในอเมริกาเหนืออีกด้วย.
ดูภาพและอ่านเรื่องราวเพิ่มเติม
www.geocities.com/doonokthai/content_040204.htm

กำลังโหลดความคิดเห็น