เหลืออีก 7 ปี ที่ต้องลุ้นว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือSDGs จะบรรลุผลแค่ไหน?
เมื่อพบว่าอุณหภูมิโลกยังเพิ่มขึ้น แล้ว 17 ปัญหาใหญ่ของโลกจะแก้สำเร็จหรือไม่?
ขณะที่มีสัญญาณร้ายเตือนมาบ่อยๆ ด้วยภัยธรรมชาติที่ทำลายชีวิตและทรัพย์สิน รุนแรงขึ้นและเกิดถี่ขึ้นในหลายภูมิภาคทุกปี รวมทั้งช่วงนี้
จากข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2015 สมาชิกสหประชาชาติตกลงกันที่จะคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นถึง 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และมีเป้าหมายที่จะคุมไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้เผชิญหายนะภัยทางภูมิอากาศที่ร้ายแรงหนักขึ้นอีก
แต่รายงานจากกลไกของ UN ล่าสุดพบว่าอุณหภูมิโลกได้เพิ่มสูงขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส นี่เป็นสัญญาณเตือนภัยว่าจะเจอผลร้ายจากสภาพภูมิอากาศหนักขึ้นแน่ ถ้าไม่มี มาตรการแก้ไขที่จริงจังขึ้น
ขณะที่ทุกประเทศนับว่ายอมรับเป้าหมาย SDGs เป็น “วาระแห่งโลก” รวมทั้งเมืองไทยทั้งภาครัฐและเอกชนก็มีท่าทีขานรับเรื่องนี้ และพูดถึงการจะเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยการประกาศนโยบายและมีกฎระเบียบ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะ “โลกร้อน” แต่ตอนนี้เลขาธิการ สหประชาชาติระบุว่าสถานการณ์ภูมิอากาศโลกกำลังเข้าสู่ยุค “โลกเดือด”แล้ว
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) รายงานว่า สภาวะปัจจุบันของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ถ้าจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องใช้เวลาอีก 42 ปี
สปอร์ตไลท์จึงส่องมาที่แนวคิดและวิธีเข้าถึงขุมพลังจะมีผลผลักดันให้เกิดจิตสำนึกที่ตั้งใจลงมือทำ เพื่อการบรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหาใหญ่ของโลก ที่เกิดผลลัพธ์สมดุลในทุกมิติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่มีเป้า SDGs ทำให้สำเร็จภายในปี 2530
ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่า ทั้งๆที่มีผลวิจัยตามหลักวิทยาศาสตร์ยืนยัน และเป็นที่รับรู้ชัดถึงวิกฤตความเสียหายจากภัยธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรง เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินมากมายในหลายประเทศ
แต่รายงานผลการดำเนินงาน SDGs โดยรวมของโลก ก็ยังห่างเป้าอีกมาก ทั้งๆที่มีผู้นำประเทศต่างก็ตั้งเป้าหมายและมีนโยบาย เพื่อแสดงว่ามุ่งสู่เป้าหมายและมีการรายงานผลการดำเนินงานที่ดูดี
แม้แต่ประเทศไทยธุรกิจอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในลาดหลักทรัพย์ ก็ถูกผลักดันและมีกฎระเบียบให้ทำรายงานแผนการลงมือทำและเปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินงานตามแนวทาง ESG เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs
กระนั้นก็ตามการประเมินผลประเทศไทยก็ยังได้บรรลุสีเขียวเป้า SDG1 และ SDG 4 นอกนั้นก็อยู่ในระดับท้าทาย(สีส้ม)และท้าทายมาก(สีแดง)
ขณะนี้กระแสโลกจึงเริ่มตระหนักว่า ปัจจัยชี้ขาดอยู่ที่การที่จะให้มีพฤติกรรมตั้งใจจริงในการปรับปรุงระบบการผลิตของธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดผลดีต่อสังคมและสภาพแวดล้อมของโลก โดยไม่ซ้ำเติมหรือสร้างมลภาวะทั้งบนดิน ในน้ำ และบนอากาศ
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจึงยืนยันได้ว่าระบบการจัดการเป้าหมาย SDGs แม้มีแผนการติดตามผลจากการทำรายงานก็ตาม แต่นั่นก็เสมือนดูภูเขาน้ำแข็งที่อยู่เหนือน้ำ แต่แก่นสำคัญคือปัจจัยที่อยู่ใต้น้ำคือความคิด ความเชื่อ และจิตสำนึกของตัวผู้นำและผู้บริหาร ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการกระทำให้เป้าหมายเป็นจริง
การพัฒนาที่ยั่งยืนจะทำให้เกิดผล จึงต้องเริ่มด้วยการมีชุดความคิด(Mindset) ความเชื่อ (ฺBelieve) และค่านิยม(Value) ที่มีจิตสำนึกความรับผิดชอบ (Accountability) จึงจะมีผลต่อพฤติกรรมและการกระทำ ในวิถีที่ใฝ่ดี มีชีวิตและการงานที่ส่งผลดีต่อต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จะทำให้เป้าหมาย SDGs สำเร็จได้
การเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2022 ทำให้สังคมโลกได้รับรู้แนวคิดและแนวทางที่เรียกว่า IDGs (Inner Development Goal) คือเป้าหมายการพัฒนาภายใน ซึ่งจะเป็นที่ช่วยให้เกิดความคิดและแรงบันดาลใจที่เห็นความสำคัญมีความตั้งใจและเต็มใจทำให้เป้าหมาย SDGs บรรลุผลได้
ทางนี้สืบเนื่องจากผลการวิจัยร่วมกันของนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน และที่ปรึกษาการบริหารองค์กร รวมกว่า 4,000 คน ได้สำรวจความคิดเห็นจากผู้คนทั่วโลก (ขณะนี้เป็นระยะที่ 3 )ได้รวบรวมความเห็นคนประมาณ 100,000 คนจาก 100 กว่าประเทศ
เมื่อตกผลึกข้อมูลและความคิดเห็นเกิดเป็นแนวคิด IDGs จัดเป็น 5 มิติ และ 23ทักษะ หรือคุณสมบัติ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้นำและผู้บริหารในการดำเนินกลยุทธ์มุ่งสู่เป้าหมาย SDGs ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี
ผมได้มีโอกาสสนทนากับ เศรษฐพล ปริญญาพล ผลเศษ (ขุนพล) ซึ่งเป็นผู้ศึกษาเรียนรู้แตกฉานกระบวนการ IDG อธิบายที่มาที่ไปและผมสรุปได้ดังนี้
1.Being การดำรงอยู่ : Relationship to Self
การปลูกฝังตัวตนจากภายใน เพื่อพัฒนาและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของตัวเรากับความคิด ความรู้สึก และร่างกาย ซึ่งช่วยให้เราอยู่กับปัจจุบัน มีจุดมุ่งหมาย และไม่ตอบ-โต้อย่างร้อนรนเมื่อเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อน ส่วนทักษะที่ต้องฝึกฝนภายใต้มิตินี้ เช่น
Inner Compass คือ มีความรู้สึกอย่างลึกซึ้งถึงความรับผิดชอบ คำมั่นสัญญาต่อค่านิยม และจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของส่วนรวม
Integrity and Authenticity คือ มีคำมั่นสัญญาและการปฏิบัติงานด้วยความจริง เปิดเผย และซื่อสัตย์สุจริต
Openness and Learning Mindset มีวิธีคิดเกี่ยวกับความอยากรู้อยากเห็น เปิดรับการเปลี่ยนแปลงและการเติบโต
Self - Awareness ตระหนักรู้ในความคิด ความรู้สึก และความต้อง การของตนที่ชัดเจนและควบคุมได้
2 Thinking ความคิด :Cognitive Skills
พัฒนาทักษะการคิดโดยใช้มุมมองที่แตกต่างกัน การประเมินข้อมูล และการทำความเข้าใจโลกที่เชื่อมโยงถึงกันเป็นสิ่งที่สำคัญในการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด เช่น
Critical Thinking มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ และตรวจสอบหรือทบทวนข้อมูล ความคิดเห็น พิการตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ
Perspective Skill ทักษะในการใฝ่หา ทำความเข้าใจ แล้วใช้ข้อมูลเชิงลึกจากมุมมองที่แตกต่างกัน
Sense - Making ทักษะในการมองเห็นรูปแบบของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งที่ไม่เคยรู้มาก่อน และสามารถสร้างผลลัพธ์ใหม่ได้อย่างรู้ตัวดี
3 Relating ความสัมพันธ์ : Caring for Others and The World
การใส่ใจผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลก การเห็นคุณค่า ใส่ใจ และรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้อื่น เช่น เพื่อนบ้าน คนรุ่นหลัง ระบบนิเวศที่ช่วยให้เราสร้างระบบสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยุติธรรมและยั่งยืนสำหรับทุกคน เช่น
Connectedness มีความรู้สึกถึงความเชื่อมโยง และตระหนักว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า เช่น ชุมชน มนุษยชาติ และระบบนิเวศของโลก
Empathy and Compassion มีความสามารถในการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น ตนเอง และธรรมชาติ ด้วยความเมตตากรุณา และเห็นใจที่ได้ช่วยจัดการความทุกข์ที่เกี่ยวข้อง
4 Collaborating ความร่วมมือ : Social Skills
ทักษะทางสังคม เพื่อความคืบหน้าในประเด็นท้าทายที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่ร่วมกัน เราจำเป็นต้องสื่อสารสร้างความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความแตกต่างทั้งความคิด ประสบการณ์ เช่น
Communication Skill ความสามารถในการสื่อสารกับผู้คน และรับฟังผู้อื่นอย่างจริงใจ มีบทสนทนาที่เป็นประโยชน์ และจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
Inclusive Mindset and Intercultural Competence มีความเต็มใจและสามารถยอมรับความหลากหลายของกลุ่มคนที่มีมุมมองและภูมิหลังต่างกัน
Trust ความสามารถในการแสดงความไว้วางใจ และรักษาความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจผู้อื่น
5 Acting การลงมือทำ : Driving Change
ความกล้าหาญและการมองโลกในแง่ดี ช่วยให้เรามีสิทธิเสรีภาพอย่างแท้จริง ละทิ้งรูปแบบเดิม และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนนี้ด้วยความพากเพียร มีคุณสมบัติ เช่น
Courage เป็นทักษะความกล้า ยืนหยัดในค่านิยมของตัวเอง ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด เพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปประธรรม รวมถึงการเลิกยึดถือบางสิ่งที่ฝังลึก หากพบว่าสิ่งนั้นไม่เกิดประโยชน์ใดๆต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
Creativity ความสามารถในการสิ่งที่เป็นอยู่ก่อนหน้า สร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งใหม่ และเต็มใจที่จะละทิ้งรูปแบบเดิม
Optimism มีทัศนคติเชิงบวก เชื่อความเป็นไปได้ และมั่นใจว่าสามารถบรรลุผลลัพธ์ตามที่ตั้งใจไว้
ข้อคิด...
ความจริงเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่องค์การสหประชาชาติ โดยการรับรองของผู้นำ 193 ประเทศ ที่ประกาศจะผลักดันการแก้ปัญหาใหญ่ของโลก 17 ข้อ โดยเฉพาะข้อ 13 คือ "ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วน เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น"
ซึ่งกำลังสร้างความเสียหายที่มีผลต่อทุกภูมิภาค ไม่เพียงแต่เกิดวิกฤตดินน้ำอากาศ “โลกรวน” น้ำท่วมใหญ่ แผ่นดินไหว พายุรุนแรง ฤดูกาลผิดเพี้ยน หนาวจัด ร้อนจัด แล้งจัด ซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตคน สัตว์ พืช ถึงขั้นสูญพันธุ์ที่เริ่มเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ
การบรรลุเป้าหมายSDGsจึงเป็นกลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีผลต่อความอยู่รอดปลอดภัยของมวลมนุษยชาติ ทั้งปัจจุบันและอนาคต
เมื่อพบว่าอุณหภูมิโลกยังเพิ่มขึ้น แล้ว 17 ปัญหาใหญ่ของโลกจะแก้สำเร็จหรือไม่?
ขณะที่มีสัญญาณร้ายเตือนมาบ่อยๆ ด้วยภัยธรรมชาติที่ทำลายชีวิตและทรัพย์สิน รุนแรงขึ้นและเกิดถี่ขึ้นในหลายภูมิภาคทุกปี รวมทั้งช่วงนี้
จากข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2015 สมาชิกสหประชาชาติตกลงกันที่จะคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นถึง 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และมีเป้าหมายที่จะคุมไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้เผชิญหายนะภัยทางภูมิอากาศที่ร้ายแรงหนักขึ้นอีก
แต่รายงานจากกลไกของ UN ล่าสุดพบว่าอุณหภูมิโลกได้เพิ่มสูงขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส นี่เป็นสัญญาณเตือนภัยว่าจะเจอผลร้ายจากสภาพภูมิอากาศหนักขึ้นแน่ ถ้าไม่มี มาตรการแก้ไขที่จริงจังขึ้น
ขณะที่ทุกประเทศนับว่ายอมรับเป้าหมาย SDGs เป็น “วาระแห่งโลก” รวมทั้งเมืองไทยทั้งภาครัฐและเอกชนก็มีท่าทีขานรับเรื่องนี้ และพูดถึงการจะเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยการประกาศนโยบายและมีกฎระเบียบ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะ “โลกร้อน” แต่ตอนนี้เลขาธิการ สหประชาชาติระบุว่าสถานการณ์ภูมิอากาศโลกกำลังเข้าสู่ยุค “โลกเดือด”แล้ว
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) รายงานว่า สภาวะปัจจุบันของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ถ้าจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องใช้เวลาอีก 42 ปี
สปอร์ตไลท์จึงส่องมาที่แนวคิดและวิธีเข้าถึงขุมพลังจะมีผลผลักดันให้เกิดจิตสำนึกที่ตั้งใจลงมือทำ เพื่อการบรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหาใหญ่ของโลก ที่เกิดผลลัพธ์สมดุลในทุกมิติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่มีเป้า SDGs ทำให้สำเร็จภายในปี 2530
ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่า ทั้งๆที่มีผลวิจัยตามหลักวิทยาศาสตร์ยืนยัน และเป็นที่รับรู้ชัดถึงวิกฤตความเสียหายจากภัยธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรง เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินมากมายในหลายประเทศ
แต่รายงานผลการดำเนินงาน SDGs โดยรวมของโลก ก็ยังห่างเป้าอีกมาก ทั้งๆที่มีผู้นำประเทศต่างก็ตั้งเป้าหมายและมีนโยบาย เพื่อแสดงว่ามุ่งสู่เป้าหมายและมีการรายงานผลการดำเนินงานที่ดูดี
แม้แต่ประเทศไทยธุรกิจอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในลาดหลักทรัพย์ ก็ถูกผลักดันและมีกฎระเบียบให้ทำรายงานแผนการลงมือทำและเปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินงานตามแนวทาง ESG เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs
กระนั้นก็ตามการประเมินผลประเทศไทยก็ยังได้บรรลุสีเขียวเป้า SDG1 และ SDG 4 นอกนั้นก็อยู่ในระดับท้าทาย(สีส้ม)และท้าทายมาก(สีแดง)
ขณะนี้กระแสโลกจึงเริ่มตระหนักว่า ปัจจัยชี้ขาดอยู่ที่การที่จะให้มีพฤติกรรมตั้งใจจริงในการปรับปรุงระบบการผลิตของธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดผลดีต่อสังคมและสภาพแวดล้อมของโลก โดยไม่ซ้ำเติมหรือสร้างมลภาวะทั้งบนดิน ในน้ำ และบนอากาศ
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจึงยืนยันได้ว่าระบบการจัดการเป้าหมาย SDGs แม้มีแผนการติดตามผลจากการทำรายงานก็ตาม แต่นั่นก็เสมือนดูภูเขาน้ำแข็งที่อยู่เหนือน้ำ แต่แก่นสำคัญคือปัจจัยที่อยู่ใต้น้ำคือความคิด ความเชื่อ และจิตสำนึกของตัวผู้นำและผู้บริหาร ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการกระทำให้เป้าหมายเป็นจริง
การพัฒนาที่ยั่งยืนจะทำให้เกิดผล จึงต้องเริ่มด้วยการมีชุดความคิด(Mindset) ความเชื่อ (ฺBelieve) และค่านิยม(Value) ที่มีจิตสำนึกความรับผิดชอบ (Accountability) จึงจะมีผลต่อพฤติกรรมและการกระทำ ในวิถีที่ใฝ่ดี มีชีวิตและการงานที่ส่งผลดีต่อต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จะทำให้เป้าหมาย SDGs สำเร็จได้
การเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2022 ทำให้สังคมโลกได้รับรู้แนวคิดและแนวทางที่เรียกว่า IDGs (Inner Development Goal) คือเป้าหมายการพัฒนาภายใน ซึ่งจะเป็นที่ช่วยให้เกิดความคิดและแรงบันดาลใจที่เห็นความสำคัญมีความตั้งใจและเต็มใจทำให้เป้าหมาย SDGs บรรลุผลได้
ทางนี้สืบเนื่องจากผลการวิจัยร่วมกันของนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน และที่ปรึกษาการบริหารองค์กร รวมกว่า 4,000 คน ได้สำรวจความคิดเห็นจากผู้คนทั่วโลก (ขณะนี้เป็นระยะที่ 3 )ได้รวบรวมความเห็นคนประมาณ 100,000 คนจาก 100 กว่าประเทศ
เมื่อตกผลึกข้อมูลและความคิดเห็นเกิดเป็นแนวคิด IDGs จัดเป็น 5 มิติ และ 23ทักษะ หรือคุณสมบัติ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้นำและผู้บริหารในการดำเนินกลยุทธ์มุ่งสู่เป้าหมาย SDGs ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี
ผมได้มีโอกาสสนทนากับ เศรษฐพล ปริญญาพล ผลเศษ (ขุนพล) ซึ่งเป็นผู้ศึกษาเรียนรู้แตกฉานกระบวนการ IDG อธิบายที่มาที่ไปและผมสรุปได้ดังนี้
1.Being การดำรงอยู่ : Relationship to Self
การปลูกฝังตัวตนจากภายใน เพื่อพัฒนาและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของตัวเรากับความคิด ความรู้สึก และร่างกาย ซึ่งช่วยให้เราอยู่กับปัจจุบัน มีจุดมุ่งหมาย และไม่ตอบ-โต้อย่างร้อนรนเมื่อเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อน ส่วนทักษะที่ต้องฝึกฝนภายใต้มิตินี้ เช่น
Inner Compass คือ มีความรู้สึกอย่างลึกซึ้งถึงความรับผิดชอบ คำมั่นสัญญาต่อค่านิยม และจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของส่วนรวม
Integrity and Authenticity คือ มีคำมั่นสัญญาและการปฏิบัติงานด้วยความจริง เปิดเผย และซื่อสัตย์สุจริต
Openness and Learning Mindset มีวิธีคิดเกี่ยวกับความอยากรู้อยากเห็น เปิดรับการเปลี่ยนแปลงและการเติบโต
Self - Awareness ตระหนักรู้ในความคิด ความรู้สึก และความต้อง การของตนที่ชัดเจนและควบคุมได้
2 Thinking ความคิด :Cognitive Skills
พัฒนาทักษะการคิดโดยใช้มุมมองที่แตกต่างกัน การประเมินข้อมูล และการทำความเข้าใจโลกที่เชื่อมโยงถึงกันเป็นสิ่งที่สำคัญในการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด เช่น
Critical Thinking มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ และตรวจสอบหรือทบทวนข้อมูล ความคิดเห็น พิการตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ
Perspective Skill ทักษะในการใฝ่หา ทำความเข้าใจ แล้วใช้ข้อมูลเชิงลึกจากมุมมองที่แตกต่างกัน
Sense - Making ทักษะในการมองเห็นรูปแบบของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งที่ไม่เคยรู้มาก่อน และสามารถสร้างผลลัพธ์ใหม่ได้อย่างรู้ตัวดี
3 Relating ความสัมพันธ์ : Caring for Others and The World
การใส่ใจผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลก การเห็นคุณค่า ใส่ใจ และรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้อื่น เช่น เพื่อนบ้าน คนรุ่นหลัง ระบบนิเวศที่ช่วยให้เราสร้างระบบสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยุติธรรมและยั่งยืนสำหรับทุกคน เช่น
Connectedness มีความรู้สึกถึงความเชื่อมโยง และตระหนักว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า เช่น ชุมชน มนุษยชาติ และระบบนิเวศของโลก
Empathy and Compassion มีความสามารถในการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น ตนเอง และธรรมชาติ ด้วยความเมตตากรุณา และเห็นใจที่ได้ช่วยจัดการความทุกข์ที่เกี่ยวข้อง
4 Collaborating ความร่วมมือ : Social Skills
ทักษะทางสังคม เพื่อความคืบหน้าในประเด็นท้าทายที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่ร่วมกัน เราจำเป็นต้องสื่อสารสร้างความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความแตกต่างทั้งความคิด ประสบการณ์ เช่น
Communication Skill ความสามารถในการสื่อสารกับผู้คน และรับฟังผู้อื่นอย่างจริงใจ มีบทสนทนาที่เป็นประโยชน์ และจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
Inclusive Mindset and Intercultural Competence มีความเต็มใจและสามารถยอมรับความหลากหลายของกลุ่มคนที่มีมุมมองและภูมิหลังต่างกัน
Trust ความสามารถในการแสดงความไว้วางใจ และรักษาความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจผู้อื่น
5 Acting การลงมือทำ : Driving Change
ความกล้าหาญและการมองโลกในแง่ดี ช่วยให้เรามีสิทธิเสรีภาพอย่างแท้จริง ละทิ้งรูปแบบเดิม และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนนี้ด้วยความพากเพียร มีคุณสมบัติ เช่น
Courage เป็นทักษะความกล้า ยืนหยัดในค่านิยมของตัวเอง ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด เพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปประธรรม รวมถึงการเลิกยึดถือบางสิ่งที่ฝังลึก หากพบว่าสิ่งนั้นไม่เกิดประโยชน์ใดๆต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
Creativity ความสามารถในการสิ่งที่เป็นอยู่ก่อนหน้า สร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งใหม่ และเต็มใจที่จะละทิ้งรูปแบบเดิม
Optimism มีทัศนคติเชิงบวก เชื่อความเป็นไปได้ และมั่นใจว่าสามารถบรรลุผลลัพธ์ตามที่ตั้งใจไว้
ข้อคิด...
ความจริงเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่องค์การสหประชาชาติ โดยการรับรองของผู้นำ 193 ประเทศ ที่ประกาศจะผลักดันการแก้ปัญหาใหญ่ของโลก 17 ข้อ โดยเฉพาะข้อ 13 คือ "ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วน เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น"
ซึ่งกำลังสร้างความเสียหายที่มีผลต่อทุกภูมิภาค ไม่เพียงแต่เกิดวิกฤตดินน้ำอากาศ “โลกรวน” น้ำท่วมใหญ่ แผ่นดินไหว พายุรุนแรง ฤดูกาลผิดเพี้ยน หนาวจัด ร้อนจัด แล้งจัด ซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตคน สัตว์ พืช ถึงขั้นสูญพันธุ์ที่เริ่มเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ
การบรรลุเป้าหมายSDGsจึงเป็นกลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีผลต่อความอยู่รอดปลอดภัยของมวลมนุษยชาติ ทั้งปัจจุบันและอนาคต