บีเวอร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กลุ่มสัตว์ฟันแทะ อีกตัวอย่างให้มนุษย์ตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศ และการอนุรักษ์สัตว์ป่า เนื่องจากพวกมัน ทำหน้าที่วิศวกรแห่งธรรมชาติ ค้ำจุนพื้นที่ชุ่มน้ำจนทำให้สัตว์อื่นๆ อยู่รอดรวมถึงมนุษย์
บีเวอร์มีสองสายพันธุ์ คือพันธุ์อเมริกาเหนือ (Castor canadensis) และพันธุ์ยูเรเชียน (Castor fiber) ซึ่งพบได้แถบทวีปยุโรป อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ
ในวันที่ 7 เมษายนของทุกปี คือ “วันบีเวอร์สากล” หรือ International Beaver Day เพื่อให้มนุษย์ได้ตระหนักต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า สัตว์ทะเลที่มีส่วนสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมซึ่งส่งผลเชื่อมโยงมาถึงการดำรงอยู่ของมนุษย์ด้วย
วิถีชีวิตของบีเวอร์ ทำหน้าที่วิศวกรแห่งธรรมชาติ (Ecosystem engineer) มาจากการแทะไม้ สร้างเขื่อนไว้กั้นน้ำและที่อยู่อาศัย โครงสร้างโดยธรรมชาติแบบนี้ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่เอื้อเฟื้อต่อสัตว์อื่นๆ ในระบบนิเวศ พวกมันจึงเป็นสัตว์สุดมหัศจรรย์ช่วยในการฟื้นฟูธรรมชาติบริเวณที่มันเลือกอยู่อาศัย แล้วเกิดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ยังช่วยสัตว์ป่าอื่นๆ ได้อยู่อาศัยอย่างอุดมสมบูรณ์
สังเกตได้เลยว่า แหล่งใดบีเวอร์อยู่อาศัย ที่นั่นก็มีสัตว์ป่าอื่นๆ อยู่ด้วยอย่างชุกชุม เช่น บึง หนอง คลอง แม่น้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆ บีเวอร์กินเปลือกไม้ หญ้า และพืชน้ำ เป็นอาหาร เพื่อป้องกันภัยจากสัตว์ผู้ล่า บีเวอร์สร้างรังกลางหรือริมแหล่งน้ำที่อาศัยอยู่และยังขุดคลองและสร้างฝาย
ในอดีตบีเวอร์ถูกล่าเพื่อเอาขน เนื้อ และส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์ จนมีการคุ้มครอง โดยพบว่าสูญพันธุ์ไปจากสหราชอาณาจักรไปหลายร้อยปีแล้ว จนกระทั่งเร็วๆนี้ด้วยความสามารถของมันในการช่วยฟื้นฟูธรรมชาติ ทางอังกฤษจึงได้มีโครงการปล่อยบีเวอร์กับสู่ธรรมชาติจำนวนมาก
"บีเวอร์เป็นสัตว์สุดมหัศจรรย์ที่มีหน้าที่สำคัญในการฟื้นฟูธรรมชาติในบริเตน มันยอดเยี่ยมมากๆที่จะเห็นว่าพื้นที่ชุ่มน้ำ และสัตว์ป่าอื่นๆจะเฟื่องฟูขึ้นหลังจากที่นำบีเวอร์กลับมา มากไปกว่านั้นผู้คนชอบพวกมันเพราะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในชนบทได้อย่างดี" Craig Bennett ผู้บริหารของ The Wildlife Trust เผย
ปัจจุบันบีเวอร์เป็นสัตว์คุ้มครอง จึงมีโครงการปล่อยบีเวอร์คืนสู่ธรรมชาติอยู่เสมอเพื่อใช้ประโยชน์ในการคืนความหลากหลายทางชีวภาพให้กับระบบนิเวศในพื้นที่ที่ต้องการฟื้นฟู