วช. ใช้วิจัยและนวัตกรรมยกระดับการท่องเที่ยวเมืองรอง ปักฐานทางเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืน หนุนเครือข่าย มทร.9 แห่ง ผลักดันเทคโนโลยีดิจิทัล เชื่อมโยงระบบกลางการท่องเที่ยวของประเทศในชุมชนเมืองรอง
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำโดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลสำเร็จการดำเนินงานโครงการ “การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล” ซึ่งดำเนินงานโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ณ ปราสาทศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ร่วมด้วยนายกิตติ สัตย์ซื่อ นายอำเภอศีขรภูมิ รองศาสตราจารย์ ดร.สำเนาว์ เสาวกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ พร้อมด้วยผู้บริหารส่วนราชการในพื้นที่โดยนำเสนอผลการดำเนินงาน ณ ปราสาทศีขรภูมิ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
แพลตฟอร์มสุดแจ่ม! “พี่ช้าง น้องชบา”
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในการดำเนินการแผนงาน “การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล” ซึ่งการตรวจเยี่ยมงานในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบของโครงการเรื่อง “การยกระดับผลิตภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยเครือข่าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล” ซึ่งอยู่ในแผนงานหลัก โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นผู้ดำเนินงานวิจัย ได้นำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนเมืองรองได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นชุมชน และใช้”แพลตฟอร์ม พี่ช้าง น้องชบา”ร่วมสร้างความเข้าใจและความตื่นตาตื่นใจแก่นักท่องเที่ยว โดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้น จะช่วยสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมของชุมชน ให้เป็นฐานทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานครั้งนี้ วช.และ เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พร้อมส่วนราชการท้องถิ่น ได้มีเป้าหมายสำคัญในการผลักดันการทำงานเชิงรุก เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมโดยใช้การจัดการท่องเที่ยวของชุมชน เป็นกลไกการยกระดับและเพิ่มศักยภาพแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
คณะผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิของ วช. พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร มทร. และคณะนักวิจัย ได้ร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อคิดเห็น จากการนำเสนอความสำเร็จของแผนงานวิจัยเรื่อง “การยกระดับผลิตภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยเครือข่าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล” ที่ดำเนินงานโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ซึ่งโครงการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน รับผิดชอบในการดำเนินงาน โครงการ “การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล” ในพื้นที่อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
ในครั้งนี้ คณะนักวิจัยได้มีการนําเสนอการนำเข้าข้อมูลและเชื่อมต่อข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จนเกิดการรวมกันของข้อมูลเป็นแผนที่ การท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ ซึ่งผู้สนใจมีการนําเข้าข้อมูลและเชื่อมต่อข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยสามารถคลิ๊กที่แผนที่และข้อมูลการท่องเที่ยวของแต่ละชุมชนจะปรากฎให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจสามารถคลิกที่แผนที่และข้อมูลการท่องเที่ยวของแต่ละชุมชนจะปรากฎให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจ ส่งผลให้สามารถมองเห็นกลุ่มพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของชุมชนที่ให้บริการด้านการ ท่องเที่ยว รวมถึงสามารถนําข้อมูลมาสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนหรือเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยง ซึ่งชุดข้อมูลที่นํามาใช้ในการสร้างมูลค่าให้กับการท่องเที่ยวโดยชุมชนพื้นที่เมืองรองนั้น ประกอบด้วย ข้อมูลชุมชน ได้แก่ วัฒนธรรม ประเพณี ประวัติชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ อาหาร ผลิตภัณฑ์ แหล่ง ท่องเที่ยว กิจกรรมท่องเที่ยว รวมทั้งการสร้างเส้นทางท่องเที่ยว อาทิ การเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวงานช้าง จังหวัดสุรินทร์ กับงานแสงสีเสียงปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ รวมถึงเส้นทางอาหาร
นอกจากนี้ ชุดข้อมูลของชุมชนพร้อมทั้งนวัตกรรมที่ชุมชนใช้ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของแต่ละชุมชน การเชื่อมโยงข้อมูลที่มีความหลากหลายให้อยู่ในรูปแบบของโลกเสมือน หรือ “Metaverse” และโมบายแอพพลิเคชันทั้งระบบ IOS และระบบ Android การเชื่อมต่อกับ “น้องชบาแพลตฟอร์ม” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาจากพื้นที่อําเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ทั้งนี้ โมบายแอพพลิเคชันสามารถให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในรัศมี 20 กิโลเมตรตามพิกัดในขณะนั้นของนักท่องเที่ยวอีกด้วย
อ้างอิง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ