ยุคนี้นับวันโลกธุรกิจที่ก้าวหน้าจะมีกฎระเบียบใหม่ๆออกมาใช้เพื่อหวังผลผลักดันให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มุ่งไปในแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยต้องคำนึงถึง ESG คือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม(E) รับผิดชอบต่อสังคม(S) มีธรรมาภิบาล ทำสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรม(G)
กิจการที่ต้องการคบค้า ส่งออกสินค้า และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรปที่มีความเข้มงวดมาก ก็จำเป็นต้องปรับตัวให้มีคุณสมบัติเป็นที่ยอมรับ จากผู้บริโภคและนักลงทุน
เพราะกระแสโลกต้องการอนาคตที่ดีขึ้นกำลังเร่งจัดมาตรการแก้ปัญหาสำคัญด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมตามที่ผู้นำ 193 ประเทศรวมทั้งไทยเราที่ยืนยันเมื่อปี 2015 ว่าจะร่วมมือให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืน(SDGs) ภายในปี 2030
โดยเฉพาะที่วิกฤตมาก คือ เป้าหมาย13 "รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" (Climate Action) ที่ผันผวนอย่างรุนแรงและสร้างความเสียหายเดือดร้อนไปทุกภูมิภาค เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วมใหญ่ พายุร้ายแรง อากาศหนาวจัด หรือร้อนจัด
การเพิ่มมาตรการและข้อบังคับของเครือข่ายระดับโลก ก็ได้สร้างความตระหนักรู้และมีการพัฒนากฎเกณฑ์ใหม่ๆในประเทศไทยเช่นกัน กฎหมายส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและสังคมมีแนวโน้มครอบคลุมและเข้มข้นมากขึ้น
ปรากฏการณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นคือประเทศไทยได้จัดทำร่างมาตรฐานการจำแนกกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy)
นับเป็นการพัฒนาบทบาทธุรกิจธนาคารและระบบการเงินให้มีแนวทาง ความยั่งยืน พร้อมสนับสนุนการเข้าถึงเงินทุนให้กับธุรกิจที่เก่งและดี มุ่งสู่ความยั่งยืนเพราะคำนึงถึงการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและสังคม
Taxonomy จะเป็นหลักเกณฑ์การกำหนด นิยาม คำอธิบาย และเงื่อนไข จึงเป็นเสมือนคัมภีร์มาตรฐานกลางมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนต่อกิจกรรมหรือโครงการที่บอกว่าทำเพื่อให้เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ก็จะมีหลักอ้างอิงประเมินว่า งานหรือกิจกรรมนั้นเข้าข่าย คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม?
ผลการประเมินที่อ้างอิง คำนิยามและการอธิบายตามเกณฑ์มาตรฐาน ก็สามารถชี้ชัดหรือจัดเกรดเป็นระดับสี แบบสัญญาณไฟจราจรได้แก่
สีเขียว = กิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ ลดปัญหาการเปลี่ยน
แปลงสภาพภูมิอากาศ
สีเหลือง = กิจกรรมที่กำลังปรับตัว เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สีแดง = กิจกรรมที่ไม่เข้าข่ายตามเงื่อนไขสีเขียว หรือ สีเหลือง
อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้หลักเกณฑ์นี้
ภาคธุรกิจ : สามารถใช้ Thailand Taxonomy
*ในการวางแผนปรับตัวเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
* ใช้อ้างอิงเป็นข้อมูลดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
* ธุรกิจที่มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ในกลุ่มสีเขียว และสีเหลือง มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงิน ที่มีต้นทุนต่ำลง
* กิจการในกลุ่มสีแดง อาจมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้น
สถาบันการเงิน : สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม (Green Finance) มีหลักเกณฑ์อ้างอิงชัดเจน
หน่วยงานภาครัฐ : มีข้อมูลอ้างอิงการจัดระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปกำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมภาคธุรกิจสีเขียว และสีเหลือง
ไตรมาสแรกเตรียมพร้อมใช้
สนง.ก.ล.ต.และธปท.ในฐานะตัวแทนคณะทำงานภาครัฐและเอกชนได้นำร่างกฎเกณฑ์ Thailand Taxonomy ระยะที่ 1จัดการรับฟังความเห็นแล้ว มีแผนจะเผยแพร่เนื้อหาฉบับสมบูรณ์ ภายในไตรมาสแรกของปี 2566 และเตรียมประกาศใช้
ทั้งนี้ในระยะแรก จะเริ่มที่กลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภาคพลังงานและภาคการขนส่ง เพราะ 2 กลุ่มนี้เป็นตัวการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 70% ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปใช้พลังงานสะอาด และปรับระบบการทำงานให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะมีผลมากในการแก้ปัญหา สนองการลดปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ในอนาคต
ในระยะต่อไปของมาตรการนี้ก็จะขยายวงไปจัดเกรดกลุ่มธุรกิจประเภทที่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเป็นลำดับไป
ดังนั้นต่อไปนี้จะมีปัจจัยเอื้อต่อภาคธุรกิจที่จะระดมเงินกู้โดยตรงจากสังคม โดยอ้างอิงกระแสรักษ์โลก เช่น ออกหุ้นกู้หรือตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) หรือออกขายตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ซึ่งจะใช้เกณฑ์ของTaxonomy เป็นตัวอ้างอิงการจัดระดับ
ขณะที่หลายธนาคารในปัจจุบัน เช่น BBL,KTB,KBank,SCB,ธ.ก.ส. มีบริการ “สินเชื่อสีเขียว” เพื่อสนับสนุน SME ให้ทำธุรกิจที่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ธนาคารก็คงจะใช้เกณฑ์อ้างอิงนี้เช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่การจัดระดับความน่าเชื่อถือจะเน้นหลักเกณฑ์ทางการเงิน ว่าได้เกรด A หรือ B และอาจมีเครื่องหมายบวกหรือลบแถม
ธนาคารยุคนี้ก็จะใช้ประโยชน์จากการจำแนกจัดเกรดสี ที่บอกระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือกรณีไปสนับสนุนเงินลงทุนในโครงการธุรกิจ ที่เกี่ยวกับการผลิตพลังงานและการขนส่ง ก็ต้องตระหนักรู้ว่ากำลังทำกับเป้าระยะแรกของมาตรการนี้
เพราะถ้าในพอร์ตสินเชื่อหรือการลงทุนของธนาคารมีสีเขียว หรือสีเหลืองจำนวนมาก ย่อมดูดีกว่าการไปสนับสนุนธุรกิจกลุ่มสีแดงมาก ก็จะถูกนักวิเคราะห์การลงทุนประเมินความเสี่ยงในทางลบมากกว่า
สังคมธุรกิจโลกเริ่มแล้ว
ปัจจุบันหลายภูมิภาคมีการบังคับใช้Taxonomy จัดเกรดธุรกิจด้วยสีแบบไฟจราจร โดยสหภาพยุโรปเริ่มเป็นแห่งแรก ส่วนในเอเชียก็มี จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ขณะที่แคนาดา แอฟริกาใต้ และชิลี และชิลี ก็เริ่มใช้แนวทางนี้ โดยปรับให้เหมาะกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตน
ข้อคิด…
Taxonomy น่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เกิดการจัดสรรการเงินให้กับธุรกิจที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม และ ประกอบการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชน รวมทั้งจะมีมาตรการสนับสนุนของภาครัฐเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดี
หลักเกณฑ์นี้จึงตอบสนองแนวการพัฒนาอย่างยั่งยืนและรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกรวนอย่างมีพลัง โดยผ่านตลาดเงินและตลาดทุน ที่จะสร้างความตระหนักรู้ ทั้งแหล่งเงินและผู้ใช้เงินไปทำธุรกิจ ที่ต้องคิดใหม่ว่า ผลตอบแทนการลงทุน(ROI) ไม่ใช่มุ่ง”กอบโกย” แต่ต้อง”เกื้อกูล” สิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย
นี่แม้จะมิใช่มาตรการบังคับ ว่าห้ามลงทุนในกิจกรรมสีแดง ที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่วงการตลาดเงินตลาดทุน ก็มีTaxonomyเป็นมาตรฐานอ้างอิง
ธนาคารผู้สนับสนุนการเงินและผู้ลงทุน รวมทั้งผู้จัดการกองทุน ย่อมต้องบริหารความเสี่ยง ในการจัดพอร์ตการลงทุนที่คำนึงถึงผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งสถานีปลายทางคือ”ความยั่งยืน”
ขณะที่ธุรกิจหรือกิจกรรม ที่อ้างว่าสอดคล้องกับแนวทางความยั่งยืน หรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่หลังฉากไม่ได้ทำเช่นนั้นอย่างแท้จริง หรือทำต่ำกว่าที่อ้าง ก็จะถูกจับได้
หลักเกณฑ์ Taxonomy จะจำแนกลักษณะสำคัญเป็นรายกิจกรรม ที่ชัดเจน ก็จะผลักดันให้การดำเนินธุรกิจต้องมีความโปร่งใส จีงสามารถสื่อสารการตลาดว่เป็นโครงการหรือผลิตภัณฑ์ "รักษ์โลก" ของจริง ก็จะช่วยลดปัญหาการแอบอ้างแบบ "ฟอกเขียว" (Greenwashing)
ข้อมูลอ้างอิง : บทความจาก ฝ่ายตราสารหนี้ ก.ล.ต.และศูนย์วิจัยกสิกรไทย
กิจการที่ต้องการคบค้า ส่งออกสินค้า และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรปที่มีความเข้มงวดมาก ก็จำเป็นต้องปรับตัวให้มีคุณสมบัติเป็นที่ยอมรับ จากผู้บริโภคและนักลงทุน
เพราะกระแสโลกต้องการอนาคตที่ดีขึ้นกำลังเร่งจัดมาตรการแก้ปัญหาสำคัญด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมตามที่ผู้นำ 193 ประเทศรวมทั้งไทยเราที่ยืนยันเมื่อปี 2015 ว่าจะร่วมมือให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืน(SDGs) ภายในปี 2030
โดยเฉพาะที่วิกฤตมาก คือ เป้าหมาย13 "รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" (Climate Action) ที่ผันผวนอย่างรุนแรงและสร้างความเสียหายเดือดร้อนไปทุกภูมิภาค เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วมใหญ่ พายุร้ายแรง อากาศหนาวจัด หรือร้อนจัด
การเพิ่มมาตรการและข้อบังคับของเครือข่ายระดับโลก ก็ได้สร้างความตระหนักรู้และมีการพัฒนากฎเกณฑ์ใหม่ๆในประเทศไทยเช่นกัน กฎหมายส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและสังคมมีแนวโน้มครอบคลุมและเข้มข้นมากขึ้น
ปรากฏการณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นคือประเทศไทยได้จัดทำร่างมาตรฐานการจำแนกกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy)
นับเป็นการพัฒนาบทบาทธุรกิจธนาคารและระบบการเงินให้มีแนวทาง ความยั่งยืน พร้อมสนับสนุนการเข้าถึงเงินทุนให้กับธุรกิจที่เก่งและดี มุ่งสู่ความยั่งยืนเพราะคำนึงถึงการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและสังคม
Taxonomy จะเป็นหลักเกณฑ์การกำหนด นิยาม คำอธิบาย และเงื่อนไข จึงเป็นเสมือนคัมภีร์มาตรฐานกลางมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนต่อกิจกรรมหรือโครงการที่บอกว่าทำเพื่อให้เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ก็จะมีหลักอ้างอิงประเมินว่า งานหรือกิจกรรมนั้นเข้าข่าย คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม?
ผลการประเมินที่อ้างอิง คำนิยามและการอธิบายตามเกณฑ์มาตรฐาน ก็สามารถชี้ชัดหรือจัดเกรดเป็นระดับสี แบบสัญญาณไฟจราจรได้แก่
สีเขียว = กิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ ลดปัญหาการเปลี่ยน
แปลงสภาพภูมิอากาศ
สีเหลือง = กิจกรรมที่กำลังปรับตัว เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สีแดง = กิจกรรมที่ไม่เข้าข่ายตามเงื่อนไขสีเขียว หรือ สีเหลือง
อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้หลักเกณฑ์นี้
ภาคธุรกิจ : สามารถใช้ Thailand Taxonomy
*ในการวางแผนปรับตัวเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
* ใช้อ้างอิงเป็นข้อมูลดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
* ธุรกิจที่มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ในกลุ่มสีเขียว และสีเหลือง มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงิน ที่มีต้นทุนต่ำลง
* กิจการในกลุ่มสีแดง อาจมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้น
สถาบันการเงิน : สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม (Green Finance) มีหลักเกณฑ์อ้างอิงชัดเจน
หน่วยงานภาครัฐ : มีข้อมูลอ้างอิงการจัดระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปกำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมภาคธุรกิจสีเขียว และสีเหลือง
ไตรมาสแรกเตรียมพร้อมใช้
สนง.ก.ล.ต.และธปท.ในฐานะตัวแทนคณะทำงานภาครัฐและเอกชนได้นำร่างกฎเกณฑ์ Thailand Taxonomy ระยะที่ 1จัดการรับฟังความเห็นแล้ว มีแผนจะเผยแพร่เนื้อหาฉบับสมบูรณ์ ภายในไตรมาสแรกของปี 2566 และเตรียมประกาศใช้
ทั้งนี้ในระยะแรก จะเริ่มที่กลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภาคพลังงานและภาคการขนส่ง เพราะ 2 กลุ่มนี้เป็นตัวการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 70% ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปใช้พลังงานสะอาด และปรับระบบการทำงานให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะมีผลมากในการแก้ปัญหา สนองการลดปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ในอนาคต
ในระยะต่อไปของมาตรการนี้ก็จะขยายวงไปจัดเกรดกลุ่มธุรกิจประเภทที่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเป็นลำดับไป
ดังนั้นต่อไปนี้จะมีปัจจัยเอื้อต่อภาคธุรกิจที่จะระดมเงินกู้โดยตรงจากสังคม โดยอ้างอิงกระแสรักษ์โลก เช่น ออกหุ้นกู้หรือตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) หรือออกขายตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ซึ่งจะใช้เกณฑ์ของTaxonomy เป็นตัวอ้างอิงการจัดระดับ
ขณะที่หลายธนาคารในปัจจุบัน เช่น BBL,KTB,KBank,SCB,ธ.ก.ส. มีบริการ “สินเชื่อสีเขียว” เพื่อสนับสนุน SME ให้ทำธุรกิจที่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ธนาคารก็คงจะใช้เกณฑ์อ้างอิงนี้เช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่การจัดระดับความน่าเชื่อถือจะเน้นหลักเกณฑ์ทางการเงิน ว่าได้เกรด A หรือ B และอาจมีเครื่องหมายบวกหรือลบแถม
ธนาคารยุคนี้ก็จะใช้ประโยชน์จากการจำแนกจัดเกรดสี ที่บอกระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือกรณีไปสนับสนุนเงินลงทุนในโครงการธุรกิจ ที่เกี่ยวกับการผลิตพลังงานและการขนส่ง ก็ต้องตระหนักรู้ว่ากำลังทำกับเป้าระยะแรกของมาตรการนี้
เพราะถ้าในพอร์ตสินเชื่อหรือการลงทุนของธนาคารมีสีเขียว หรือสีเหลืองจำนวนมาก ย่อมดูดีกว่าการไปสนับสนุนธุรกิจกลุ่มสีแดงมาก ก็จะถูกนักวิเคราะห์การลงทุนประเมินความเสี่ยงในทางลบมากกว่า
สังคมธุรกิจโลกเริ่มแล้ว
ปัจจุบันหลายภูมิภาคมีการบังคับใช้Taxonomy จัดเกรดธุรกิจด้วยสีแบบไฟจราจร โดยสหภาพยุโรปเริ่มเป็นแห่งแรก ส่วนในเอเชียก็มี จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ขณะที่แคนาดา แอฟริกาใต้ และชิลี และชิลี ก็เริ่มใช้แนวทางนี้ โดยปรับให้เหมาะกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตน
ข้อคิด…
Taxonomy น่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เกิดการจัดสรรการเงินให้กับธุรกิจที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม และ ประกอบการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชน รวมทั้งจะมีมาตรการสนับสนุนของภาครัฐเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดี
หลักเกณฑ์นี้จึงตอบสนองแนวการพัฒนาอย่างยั่งยืนและรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกรวนอย่างมีพลัง โดยผ่านตลาดเงินและตลาดทุน ที่จะสร้างความตระหนักรู้ ทั้งแหล่งเงินและผู้ใช้เงินไปทำธุรกิจ ที่ต้องคิดใหม่ว่า ผลตอบแทนการลงทุน(ROI) ไม่ใช่มุ่ง”กอบโกย” แต่ต้อง”เกื้อกูล” สิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย
นี่แม้จะมิใช่มาตรการบังคับ ว่าห้ามลงทุนในกิจกรรมสีแดง ที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่วงการตลาดเงินตลาดทุน ก็มีTaxonomyเป็นมาตรฐานอ้างอิง
ธนาคารผู้สนับสนุนการเงินและผู้ลงทุน รวมทั้งผู้จัดการกองทุน ย่อมต้องบริหารความเสี่ยง ในการจัดพอร์ตการลงทุนที่คำนึงถึงผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งสถานีปลายทางคือ”ความยั่งยืน”
ขณะที่ธุรกิจหรือกิจกรรม ที่อ้างว่าสอดคล้องกับแนวทางความยั่งยืน หรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่หลังฉากไม่ได้ทำเช่นนั้นอย่างแท้จริง หรือทำต่ำกว่าที่อ้าง ก็จะถูกจับได้
หลักเกณฑ์ Taxonomy จะจำแนกลักษณะสำคัญเป็นรายกิจกรรม ที่ชัดเจน ก็จะผลักดันให้การดำเนินธุรกิจต้องมีความโปร่งใส จีงสามารถสื่อสารการตลาดว่เป็นโครงการหรือผลิตภัณฑ์ "รักษ์โลก" ของจริง ก็จะช่วยลดปัญหาการแอบอ้างแบบ "ฟอกเขียว" (Greenwashing)
ข้อมูลอ้างอิง : บทความจาก ฝ่ายตราสารหนี้ ก.ล.ต.และศูนย์วิจัยกสิกรไทย