ทุกวันนี้ วงการต่างๆ มักอ้างอิงว่าทำเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) แม้คนพูดกับคนฟังจะเข้าใจตรงกันหรือไม่? แต่ก็ฟังดูดี ให้ความรู้สึกเป็นบวกแต่สังคมกำลังตรวจสอบ
ขณะที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็ถูกผลักดันส่งเสริมให้ดำเนินกิจการในแนวทาง ESG ซึ่งเป็นคุณสมบัติขององค์กรที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ความจริงก็คือ ความยั่งยืนที่ว่านี้เป็นสภาวะที่เกิดจากการพัฒนาที่สมดุลของ ESG ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่
Environmental - เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
Social - รับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสีย
Governance - ยึดหลักธรรมาภิบาล ทำสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรม
แนวทางนี้จะไปได้ดี ผู้บริหารองค์กรทุกระดับต้องปรับชุดความคิด (Mindset) จากที่เคยทำทุกอย่าง ใช้ทุกวิธีการ เพื่อสร้างยอดขายสูงสุด ส่วนแบ่งตลาดสูงสุด กำไรสูงสุด ให้ราคาหุ้นสูงสุด เพื่อนายทุนหรือผู้ถือหุ้น แต่ยุคนี้ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย (รวมผู้ถือหุ้นอยู่แล้ว)
เพราะปัจจุบัน สังคมโลกกำลังเผชิญภาวะวิกฤติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม การจะมุ่ง “กอบโกย” แล้วสร้างผลเสียหายต่อสังคมหรือสร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ได้แล้ว แต่ต้อง”เกื้อกูล” ส่วนรวมด้วย
สังคมยุคนี้เลือกคบ-ค้าและสนับสนุนคนเก่งและดี จึงเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจที่ก้าวหน้างานนวัตกรรมในการคนคิดสินค้าและบริการ ทั้งมีจิตสำนึกบริหารธุรกิจที่มีผลส่งเสริมสังคมและสิ่งแวดล้อม
แนวทาง ESG จึงเป็นคำตอบของการเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน มีแนวโน้มเป็นองค์กร 100 ปีได้ เพราะลดความเสี่ยงจากการทำผิดกฎหมาย และลดความเสี่ยงจากการถูกต่อต้าน จึงได้รับการสนับสนุนจากชุมชน เสมือนได้รับความเห็นชอบจากสังคมให้ดำเนินกิจการ(Social License to Operate) นี่จึงเป็นคุณสมบัติของกิจการที่นักลงทุนมืออาชีพ เลือกลงทุนเพราะลดความเสี่ยงและหวังผลตอบแทนที่ดีต่อเนื่องระยะยาว
กษิติ เกตุสุริยงค์ ผู้บริหารสายงานความยั่งยืนและสภาพภูมิอากาศ บริษัทดีลอยด์ประเทศไทย กล่าวในการแถลงผลการสำรวจด้านนี้ว่า ปัจจุบันESGได้กลายเป็นประเด็นหลักในการใช้ตัดสินใจทางธุรกิจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่การประเมินความเสี่ยงและการเปิดรับโอกาสทางธุรกิจในการพัฒนาสินค้าและบริการ ก็ให้ความสำคัญกับประเด็นที่มีผลกระทบต่อ ESG อย่างไรหรือไม่ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ที่ใส่ใจต่อการสนับสนุนกิจการที่ดีต่อโลกมากขึ้น
ผลการสำรวจของดีลอยด์ ประเทศไทยครั้งนี้ ได้จากการถามความเห็นผู้บริหารระดับต่างๆของบริษัทชั้นนำในประเทศไทย 106 กิจการ ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2565 มีประเด็นสำคัญที่ได้พบดังนี้
ESGมีบทบาทในกลยุทธ์องค์กร
ผู้นำองค์กรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ด้าน ESG และมีการผนึกหลักเกณฑ์ ESG เข้ากับกลยุทธ์องค์กร
เมื่อมีการรายงานผล ESG ก็มีแนวโน้มแจ้งข้อมูลที่สอดคล้องกับการรายงานผลการดำเนินงานที่เรียกว่า “56-1 One Report” ซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่ส่งให้ ก.ล.ต., ตลาดหลักทรัพย์และกระทรวงพาณิชย์ตามกฎใหม่ของ ก.ล.ต.ช่วยให้นักลงทุนเข้าถึงข้อมูลผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้เร็วขึ้น
มีเจ้าภาพกำกับ ESG
34% ของผู้ตอบแทนแบบสอบถามระบุว่า บริษัทมีการจัดตั้ง “คณะกรรมการด้านความยั่งยืน” เพื่อกำกับดูแลและขับเคลื่อนวาระ ESG ในองค์กรแล้ว
แต่บางองค์กรก็ได้กำหนดความรับผิดชอบด้าน ESG ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารเพื่อผลักดันปัจจัยสู่ความยั่งยืนของบริษัท
ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านความยั่งยืนเพื่อดูแลประเด็น ESG จะมีให้เห็นมากกว่ากิจการทั่วไป
องค์กรมี ESG เกิดผลดี 3 ด้าน
เมื่อถามถึงผลลัพธ์ที่กิจการมีจุดยืนในการดำเนินงานในแนวทาง ESG เพื่อความยั่งยืน ผู้บริหารส่วนมากเห็นว่าเกิดผลดี 3 ประการคือ
1.การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนเช่นได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง
2.ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของแบรนด์องค์กรดีขึ้น ชื่อองค์กรมีโอกาสได้รับคัดเข้าอยู่ในรายชื่อพิจารณาของกองทุนสถาบันการลงทุน
3.ช่วยบริหารความเสี่ยง (ความเสี่ยงในการทำผิดกฎหมายและไม่ถูกต่อต้าน)
นักบัญชี-การเงินก็อิง ESG
ผลการสำรวจพบว่า 85% ของผู้บริหารสายงานบัญชีและการเงิน ยืนยันตรงกันว่า ประเด็น “ความยั่งยืน” มีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นที่เกี่ยวกับบริบทด้านการเงิน
นักบริหารย่อมต้องการลดความเสี่ยงทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ดังนั้น ตัว “G” หรือหลักธรรมาภิบาลจึงเป็นปัจจัยสำคัญโดยแนวปฏิบัติที่คำนึงถึงความถูกต้องและเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นสำคัญ
กระแสโลกหนุนผลิตภัณฑ์ “รักษ์โลก”
ด้วยวิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศโลกรวน ยิ่งเสริมกระแสความห่วงใยผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและทรัพยากรเป็นกิจการกลุ่มแรกๆ ที่แสดงบทบาทส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อ “เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ” เช่นกลุ่มSCG และมีหลายอุตสาหกรรมออกตราสารทางการเงินเพื่อสนับสนุนธุรกิจให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หลายธนาคาร เช่นธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต ก็มีนโยบาย “สินเชื่อสีเขียว” และสนับสนุนตราสารการเงินที่ดีต่อโลก เช่น Green Bond
กติกาใหม่ให้เปิดเผย-โปร่งใส
หลักเกณฑ์ใหม่ที่ก.ล.ต.มีการปรับปรุงเพื่อให้บริษัทจดทะเบียนมีการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ทั้งการมีแผน วิธีดำเนินงานและผลที่เกิดขึ้นเพื่อรายงานต่อสาธารณะตามระเบียบ
ผลการสำรวจพบว่า 51% มีการจัดทำรายงานและมีตัวชี้วัด แต่มีกว่า 1 ใน 4 ที่เก็บรวบรวมข้อมูลแต่มิได้เปิดเผยต่อสาธารณะ และปัญหาขาดเทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ และขาดทักษะเรื่องนี้ในองค์กร ยังเป็นข้อกังวลเกี่ยวกับการทำรายงานด้านความยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่ใช้กรอบการรายงานตามมาตรฐานสากลที่พัฒนาโดย GRI (Global Reporting Initiative) เป็นหลักในการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG
ข้อคิด....
นับตั้งแต่ปีนี้ 2565 เป็นต้นไป บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ต้องใช้แบบแสดงข้อมูลประจำปีและรายงานประจำปีรวมเป็นชุดเดียวกันที่เรียกว่า “56-1 One Report” ตามกติกาใหม่ที่ก.ล.ต.กำหนด ซึ่งนักลงทุนหรือผู้ถือหุ้นก็จะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม
ที่สำคัญ จากนี้ไปยังเป็นการยกระดับการรายงานข้อมูลในกระบวนการทำธุรกิจของบริษัทว่าผลลัพธ์ในมิติ ESGมีผลลัพธ์อย่างไร หมายถึงมีผลประกอบการจากที่บริหาร “เก่ง” แล้วได้สร้างผล “ดี” ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างไร
เพราะนี่จะเป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงถึงการพัฒนาอย่างสมดุลส่งผลให้เกิดความยั่งยืนนั่นเอง
suwatmgr@gmail.com
ขณะที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็ถูกผลักดันส่งเสริมให้ดำเนินกิจการในแนวทาง ESG ซึ่งเป็นคุณสมบัติขององค์กรที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ความจริงก็คือ ความยั่งยืนที่ว่านี้เป็นสภาวะที่เกิดจากการพัฒนาที่สมดุลของ ESG ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่
Environmental - เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
Social - รับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสีย
Governance - ยึดหลักธรรมาภิบาล ทำสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรม
แนวทางนี้จะไปได้ดี ผู้บริหารองค์กรทุกระดับต้องปรับชุดความคิด (Mindset) จากที่เคยทำทุกอย่าง ใช้ทุกวิธีการ เพื่อสร้างยอดขายสูงสุด ส่วนแบ่งตลาดสูงสุด กำไรสูงสุด ให้ราคาหุ้นสูงสุด เพื่อนายทุนหรือผู้ถือหุ้น แต่ยุคนี้ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย (รวมผู้ถือหุ้นอยู่แล้ว)
เพราะปัจจุบัน สังคมโลกกำลังเผชิญภาวะวิกฤติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม การจะมุ่ง “กอบโกย” แล้วสร้างผลเสียหายต่อสังคมหรือสร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ได้แล้ว แต่ต้อง”เกื้อกูล” ส่วนรวมด้วย
สังคมยุคนี้เลือกคบ-ค้าและสนับสนุนคนเก่งและดี จึงเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจที่ก้าวหน้างานนวัตกรรมในการคนคิดสินค้าและบริการ ทั้งมีจิตสำนึกบริหารธุรกิจที่มีผลส่งเสริมสังคมและสิ่งแวดล้อม
แนวทาง ESG จึงเป็นคำตอบของการเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน มีแนวโน้มเป็นองค์กร 100 ปีได้ เพราะลดความเสี่ยงจากการทำผิดกฎหมาย และลดความเสี่ยงจากการถูกต่อต้าน จึงได้รับการสนับสนุนจากชุมชน เสมือนได้รับความเห็นชอบจากสังคมให้ดำเนินกิจการ(Social License to Operate) นี่จึงเป็นคุณสมบัติของกิจการที่นักลงทุนมืออาชีพ เลือกลงทุนเพราะลดความเสี่ยงและหวังผลตอบแทนที่ดีต่อเนื่องระยะยาว
กษิติ เกตุสุริยงค์ ผู้บริหารสายงานความยั่งยืนและสภาพภูมิอากาศ บริษัทดีลอยด์ประเทศไทย กล่าวในการแถลงผลการสำรวจด้านนี้ว่า ปัจจุบันESGได้กลายเป็นประเด็นหลักในการใช้ตัดสินใจทางธุรกิจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่การประเมินความเสี่ยงและการเปิดรับโอกาสทางธุรกิจในการพัฒนาสินค้าและบริการ ก็ให้ความสำคัญกับประเด็นที่มีผลกระทบต่อ ESG อย่างไรหรือไม่ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ที่ใส่ใจต่อการสนับสนุนกิจการที่ดีต่อโลกมากขึ้น
ผลการสำรวจของดีลอยด์ ประเทศไทยครั้งนี้ ได้จากการถามความเห็นผู้บริหารระดับต่างๆของบริษัทชั้นนำในประเทศไทย 106 กิจการ ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2565 มีประเด็นสำคัญที่ได้พบดังนี้
ESGมีบทบาทในกลยุทธ์องค์กร
ผู้นำองค์กรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ด้าน ESG และมีการผนึกหลักเกณฑ์ ESG เข้ากับกลยุทธ์องค์กร
เมื่อมีการรายงานผล ESG ก็มีแนวโน้มแจ้งข้อมูลที่สอดคล้องกับการรายงานผลการดำเนินงานที่เรียกว่า “56-1 One Report” ซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่ส่งให้ ก.ล.ต., ตลาดหลักทรัพย์และกระทรวงพาณิชย์ตามกฎใหม่ของ ก.ล.ต.ช่วยให้นักลงทุนเข้าถึงข้อมูลผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้เร็วขึ้น
มีเจ้าภาพกำกับ ESG
34% ของผู้ตอบแทนแบบสอบถามระบุว่า บริษัทมีการจัดตั้ง “คณะกรรมการด้านความยั่งยืน” เพื่อกำกับดูแลและขับเคลื่อนวาระ ESG ในองค์กรแล้ว
แต่บางองค์กรก็ได้กำหนดความรับผิดชอบด้าน ESG ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารเพื่อผลักดันปัจจัยสู่ความยั่งยืนของบริษัท
ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านความยั่งยืนเพื่อดูแลประเด็น ESG จะมีให้เห็นมากกว่ากิจการทั่วไป
องค์กรมี ESG เกิดผลดี 3 ด้าน
เมื่อถามถึงผลลัพธ์ที่กิจการมีจุดยืนในการดำเนินงานในแนวทาง ESG เพื่อความยั่งยืน ผู้บริหารส่วนมากเห็นว่าเกิดผลดี 3 ประการคือ
1.การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนเช่นได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง
2.ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของแบรนด์องค์กรดีขึ้น ชื่อองค์กรมีโอกาสได้รับคัดเข้าอยู่ในรายชื่อพิจารณาของกองทุนสถาบันการลงทุน
3.ช่วยบริหารความเสี่ยง (ความเสี่ยงในการทำผิดกฎหมายและไม่ถูกต่อต้าน)
นักบัญชี-การเงินก็อิง ESG
ผลการสำรวจพบว่า 85% ของผู้บริหารสายงานบัญชีและการเงิน ยืนยันตรงกันว่า ประเด็น “ความยั่งยืน” มีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นที่เกี่ยวกับบริบทด้านการเงิน
นักบริหารย่อมต้องการลดความเสี่ยงทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ดังนั้น ตัว “G” หรือหลักธรรมาภิบาลจึงเป็นปัจจัยสำคัญโดยแนวปฏิบัติที่คำนึงถึงความถูกต้องและเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นสำคัญ
กระแสโลกหนุนผลิตภัณฑ์ “รักษ์โลก”
ด้วยวิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศโลกรวน ยิ่งเสริมกระแสความห่วงใยผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและทรัพยากรเป็นกิจการกลุ่มแรกๆ ที่แสดงบทบาทส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อ “เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ” เช่นกลุ่มSCG และมีหลายอุตสาหกรรมออกตราสารทางการเงินเพื่อสนับสนุนธุรกิจให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หลายธนาคาร เช่นธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต ก็มีนโยบาย “สินเชื่อสีเขียว” และสนับสนุนตราสารการเงินที่ดีต่อโลก เช่น Green Bond
กติกาใหม่ให้เปิดเผย-โปร่งใส
หลักเกณฑ์ใหม่ที่ก.ล.ต.มีการปรับปรุงเพื่อให้บริษัทจดทะเบียนมีการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ทั้งการมีแผน วิธีดำเนินงานและผลที่เกิดขึ้นเพื่อรายงานต่อสาธารณะตามระเบียบ
ผลการสำรวจพบว่า 51% มีการจัดทำรายงานและมีตัวชี้วัด แต่มีกว่า 1 ใน 4 ที่เก็บรวบรวมข้อมูลแต่มิได้เปิดเผยต่อสาธารณะ และปัญหาขาดเทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ และขาดทักษะเรื่องนี้ในองค์กร ยังเป็นข้อกังวลเกี่ยวกับการทำรายงานด้านความยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่ใช้กรอบการรายงานตามมาตรฐานสากลที่พัฒนาโดย GRI (Global Reporting Initiative) เป็นหลักในการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG
ข้อคิด....
นับตั้งแต่ปีนี้ 2565 เป็นต้นไป บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ต้องใช้แบบแสดงข้อมูลประจำปีและรายงานประจำปีรวมเป็นชุดเดียวกันที่เรียกว่า “56-1 One Report” ตามกติกาใหม่ที่ก.ล.ต.กำหนด ซึ่งนักลงทุนหรือผู้ถือหุ้นก็จะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม
ที่สำคัญ จากนี้ไปยังเป็นการยกระดับการรายงานข้อมูลในกระบวนการทำธุรกิจของบริษัทว่าผลลัพธ์ในมิติ ESGมีผลลัพธ์อย่างไร หมายถึงมีผลประกอบการจากที่บริหาร “เก่ง” แล้วได้สร้างผล “ดี” ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างไร
เพราะนี่จะเป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงถึงการพัฒนาอย่างสมดุลส่งผลให้เกิดความยั่งยืนนั่นเอง
suwatmgr@gmail.com