xs
xsm
sm
md
lg

“น้องตุลา” ลูกช้างป่าพลัดหลง ยังต้องลุ้น! หลังพบเชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัส ปมเหตุโขลงทิ้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์





จากผลการตรวจตัวอย่างเลือด “น้องตุลา” ลูกช้างป่าพลัดหลงโขลงที่เขาสอยดาว ยืนยันว่า “น้องซ่อนโรค” ติดเชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัส หมอล็อต คาดว่า คือสาเหตุโขลงทิ้งน้องซึ่งเป็นตามธรรมชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคไปติดช้างป่าตัวอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โขลงอยู่รอด

เมื่อวานนี้ (11 ตุลาคม 2565) นายก้องเกียรติ เต็มตำนาน ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 รายงานความคืบหน้าอาการและการดูแลลูกช้างพลัดหลงเข้ามาว่า จากผลการตรวจตัวอย่างเลือดของลูกช้างป่าจากห้องปฏิบัติการสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา ผลการตรวจยืนยันโรคเฮอร์ปีส์ไวรัส ให้ผลสงสัย (suspect) ต่อเชื้อ EEHV type 1

สำหรับผลตรวจในวันนี้จะดำเนินการส่งตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจยืนยันซ้ำกับทางห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน ซึ่งจะให้ผลในอีก 3-5 วัน โดยในระหว่างนี้ สัตวแพทย์จะดำเนินการให้ยาเพื่อใช้ต้านไวรัส เฮอร์ปีส์ไวรัส และจัดหาซื้อยาต้านไวรัสเพื่อให้เกิดความเพียงพอและความต่อเนื่องกับการรักษา รวมทั้งให้ยาเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันกับลูกช้างป่า นอกจากนี้เพื่อลดความเครียดที่จะเกิดขึ้นกับลูกช้างป่า 100% จะงดการเข้าเยี่ยมชมจากบุคคลภายนอก

โดยในวันนี้ตั้งแต่เวลา 01.00 น. จนถึงเวลา 9.00 น. ลูกช้างกินนมทั้งหมด 4 ครั้ง จำนวน 3.3 ลิตร นอนหลับเฉลี่ยต่อครั้งประมาณ 1 ชั่วโมง การขับถ่าย ปกติ อุณหภูมิร่างกายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 37.3 องศาเซลเซียส เสริมวิตามิน ซี จำนวน 1000 mg ไปพร้อมนม ห่มผ้าและจุดไฟเพื่อเพิ่มความอบอุ่น และในระหว่างนี้จะมีสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ดูแลลูกช้างป่าอย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่วโมง

ด้านหมอล็อต-ภัทรพล มณีอ่อน นายสัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ออกมาให้ความรู้ว่า "น้องซ่อนโรค"เป็นไปตามที่สงสัย ผลการตรวจยืนยันโรคเฮอร์ปีไวรัส ให้ผลสงสัย (suspect) ต่อเชื้อ EEHV type 1 โดยผลการตรวจในวันนี้ จะดำเนินการส่งตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจยืนยันซ้ำกับทางห้องปฏิบัติการอีกครั้ง ซึ่งจะให้ผลในอีก 3-5 วัน

โดยในระหว่างนี้ สัตวแพทย์จะดำเนินการเพื่อควบคุม

1.ดำเนินการให้ยาเพื่อใช้ต้านไวรัสเฮอร์ปีไวรัส และจัดเตรียมยาต้านไวรัสเพื่อให้เกิดความเพียงพอและต่อเนื่องในการรักษา

2.ให้ยาเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันกับลูกช้าง

3.ลดความเครียดที่จะเกิดขึ้นกับลูกช้างป่า 100% เช่น งดการเข้าเยี่ยมชมจากบุคคลภายนอก

"เกือบ 90% สาเหตุที่ลูกช้างป่าพลัดหลง หรือถูกทิ้ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ร่างกายอ่อนแอ มองอีกมุมหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้โรคไปติดช้างป่าตัวอื่นๆ และหมอได้ทำการรักษา หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยในลูกช้างป่าช่วงที่ผ่านมาคือความเครียดและพันธุกรรม สัตวแพทย์ไทย เรียนรู้ไวรัสชนิดนี้มาระยะหนึ่งแล้ว องค์ความรู้ทุกอย่างจะระดมไปที่การรักษาลูกช้างป่าตัวนี้ครับ"
หมอล็อต เผย

ข้อมูลอ้างอิง
ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ภัทรพล ล็อต มณีอ่อน


กำลังโหลดความคิดเห็น