สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้ดำเนินการปรับปรุงเนื้อหาของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติประจำปี 2565-2566 ให้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของโลก ตลอดจนให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเกณฑ์ MBNQA ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ต้นแบบของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติในหลายๆ ประเทศ จึงกำหนดจัดการเสวนา “TQA Journey: Change in Criteria 2022-2023” เส้นทางการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ ในวันที่ 19 มกราคม 2565 เพื่อสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจเนื้อหาเกณฑ์ต่อสาธารณชน รวมทั้งการเผยแพร่กิจกรรมและแนวทางต่างๆ เพื่อให้องค์กรได้เตรียมความพร้อมในการพัฒนาสู่เส้นทางการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และคุณค่าของการบริหารจัดการตามแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และแนะนำเนื้อหาเกณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของปี 2565-2566 รวมทั้งแนวทางการดำเนินการในประเด็นสำคัญของเกณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมความพร้อมองค์การในการพัฒนาองค์กรต่อไป สำหรับผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องในการปรับปรุงองค์กร ผู้สนใจจากองค์กรทุกประเภท ทุกขนาด รวมถึงผู้ที่สนใจนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ไปประยุกต์ใช้เป็นกรอบในการบริหารองค์กร และองค์กรที่ต้องการสมัครรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความเป็นเลิศ รวมถึงผู้สนใจเป็นผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ
เริ่มจากการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “Making the Leap: Transforming Capability into a Future-Ready Business” โดย ผศ.ดร.อธิศานต์ วายุภาพ กรรมการและเลขานุการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ต่อจากนั้น เป็นการเสวนาในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของเนื้อหาเกณฑ์ปี 2565-2566 และการวิเคราะห์เกณฑ์ตามบริบทขององค์กร” ดำเนินการเสวนาโดย วลีพร ธนาธิคม ผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ”
ตามด้วย แนวทางดำเนินการในประเด็นสำคัญของเกณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 2 หัวข้อ หัวข้อแรก “The Resilience imperative: Succeeding in uncertain times” การเตรียมความพร้อมองค์กรให้มีขีดความสามารถในการคาดการณ์อนาคต ปรับตัวรับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และตอบสนองต่อทั้งภาวะคุกคามและโอกาสที่เผชิญทั้งภายนอกและภายใน โดยที่องค์กรยังคงบรรลุวัตถุประสงค์ อยู่รอด และสร้างมูลค่าได้เช่นเดิม ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการเสริมสร้างความยืดหยุ่นขององค์กรมาเป็นเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ การดำเนินธุรกิจที่เป็นเลิศ และการจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล โดย วรัญญนันทน์ อินทธาธร Vice President – Strategy and Planning บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
หัวข้อที่สอง “How equity and inclusion helps the organization change and transition” การให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกัน และการได้รับโอกาสในการมีส่วนร่วม สำหรับกลุ่มบุคลากรที่มีความหลากหลาย และแตกต่างกันภายในองค์กร จะช่วยสร้างความยืดหยุ่นแก่องค์กรซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการนำองค์กรให้ฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจและนำองค์กรเข้าสู่ความปกติรูปแบบใหม่ (New normal) โดย ดร.เนติธร ประดิษฐ์สาร ผู้ช่วยบริหาร ประธานคณะผู้บริหารและรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกมลวรรณ จารุทัศน์ Talent Acquisition Leadบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด
ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ftpi.or.th/event/tqa-journey-change-in-criteria-2022-2023