การสื่อสารที่สะท้อนต่อบทบาททุกเพศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและในที่ทำงาน การเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสมเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมเชิงบวก สร้างพื้นที่ปลอดภัยทำให้ทุกเพศมีความเท่าเทียมกันและเปิดโอกาสให้ทุกคนผ่านการสื่อสาร
โครงสร้างทางสังคมของเพศจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับสถานที่ เวลา ศาสนา สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ปัจจุบันการจัดหมวดหมู่มีความหลากหลายมากกว่าแค่ชายและหญิง ตัวอย่างเช่น ชุมชน LGBTQ+ มีความหลากหลายทางเพศ รู้สึกว่าการประกาศตัวเองเป็นการเพิ่มขีดความสามารถ จัดพื้นที่ให้ทุกคนมีแสดงออกความชอบของแต่ละคนแม้แตกต่าง ทำให้เกิดความรู้สึกว่าทุกคนเท่าเทียมกันและมีคุณค่าในตนเอง
ในด้านการสื่อสาร ทั้งในด้านการตลาดและการโฆษณา ความมีตัวตน ทัศนคติ และ บุคลิกภาพ การใช้ 3 อย่าง ดังต่อไปนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้น
ความมีตัวตัน : ใครเป็นหลักในการสื่อสาร ให้ผู้คนหลากหลายวัยและเพศได้สื่อสารข้อความนั้นๆ
ทัศนคติ: เรื่องราวได้รับการบอกเล่าจากมุมมองของใคร อย่างไร รวมทุกมุมมองทางเพศด้วยความเคารพและเท่าเทียมกัน
บุคลิกภาพ: บุคลิกลักษณะเฉพาะ ซึ่งแสดงความแตกต่างผ่านอัตลักษณ์ของบุคคลเหล่านี้
นอกเหนือจากการตระหนักที่เพิ่มขึ้นแล้ว ทุกคนควรได้รับการสนับสนุนในด้านปฏิบัติเพื่อลดความไม่เสมอภาค การสื่อสารมีสองทาง ระหว่างผู้สื่อสารและผู้รับสาร มีการตอบสนอง ดังนั้นการให้หรือฟังข้อเสนอแนะ การเรียนรู้ การแบ่งปัน และการปรับตัวจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการสร้างความตระหนัก การมีความเข้าใจในเรื่องความเสมอภาค ใช้ภาษาที่เป็นกลางทางเพศ ใช้คำสรรพนามหรือเหมาะสม อีกทั้งหลีกเลี่ยงการใช้คำที่มีอคติทางเพศ เช่น พูดว่า 'ประธาน' แทนประธานชาย/หญิง 'เจ้าของธุรกิจ' มากกว่านักธุรกิจชาย/หญิง
พัชรี พันธุมโน หัวหน้าที่ปรึกษา บริษัท แบรนด์นาว เอเชีย กล่าวถึง การสื่อสารที่สะท้อนความเสมอภาคทางเพศว่า "เมื่อพูดถึงแนวทางการประชาสัมพันธ์และการตลาดสำหรับแบรนด์ เราแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเหมารวมทางเพศ สิ่งที่ควรตระหนักคือประเภทของเนื้อหา สร้างแนวคิดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความหลากหลายทางเพศ สร้างสมดุลในการสื่อสารภายในและภายนอกด้วยการมุ่งเน้นในเชิงบวกโดยเน้นครอบคลุมทุกคนทุกกลุ่ม"