xs
xsm
sm
md
lg

หนุนศักยภาพชุมชนเลิกสุราฝ่าโควิด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ปลุกพลังดึงศักยภาพชุมชนฝ่าโควิด จัดกิจกรรม “เพื่อนช่วยประคับประคอง” แก้ปัญหาสุขภาพ บูรณาการทำงานรัฐเอกชนลุยช่วยกลุ่มเปราะบางฝ่าโควิด มุ่งพัฒนาทักษะอาชีพยกระดับคุณภาพชีวิตพร้อมหนุนเสริมรูปแบบเชิงพุทธกับกลุ่มครอบครัวดึงพลังบวกเลิกสุราอย่างยั่งยืน

นางสาวรักชนก จินดาคำ หัวหน้าโครงการการขับเคลื่อนการดูแลผู้มีปัญหาสุราโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เปิดเผยว่าจากสถานการณ์โควิด โครงการฯ มีความเชื่อที่ว่า “ชุมชนมีศักยภาพ ชุมชนเป็นฐานสำคัญของการพัฒนา” ได้มองเห็นศักยภาพของผู้นำและสมาชิกในชุมชน จึงได้มีแนวทางกิจกรรม “เพื่อนช่วยประคับประคอง ในสถานการณ์โควิด-19” เป็นกิจกรรมที่ชักชวนให้คณะทำงานชุมชน ที่ทำงานดูแลฟื้นฟูผู้มีปัญหาสุรา โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ตลอดจนกิจกรรมการพัฒนาด้านต่างๆ ของชุมชนอยู่แล้ว ได้ออกแบบกิจกรรม ในการช่วยเหลือ เพื่อนสมาชิกในชุมชนอย่างเหมาะสม เข้าถึงและรวดเร็ว กิจกรรมที่น่าสนใจ มีทั้ง รูปแบบ ของการส่งเสริมอาชีพ การส่งเสริมการพึ่งตนเอง ด้วยการสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัยในครัวเรือน หรือในชุมชน เพื่อลดการ รอการพึ่งพาจากภายนอกหรือหน่วยงานภาครัฐ แต่เพียงอย่างเดียว


ทั้งนี้ รูปธรรมกิจกรรม แบ่งออกได้ 3 แนวทางหลัก ได้แก่ 1. กิจกรรมแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ทั่วถึง : เป็นลักษณะกิจกรรมในการช่วยผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ คนด้อยโอกาส ในการมีถุงปันน้ำใจ ที่ประกอบด้วย น้ำดื่ม ไข่ ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุผ้าอ้อมสำเร็จรูป หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ ตลอดจนการตั้งจุดกระจายอาหารปรุงสด ให้กับสมาชิกในชุมชน โดยไม่ต้องลงทะเบียน ผู้นำเห็น ผู้นำรู้ ส่งถุงปันน้ำใจ จากกลุ่มเพื่อนประคับประคองส่งตรงถึงบ้าน และ 2. กิจกรรมส่งเสริมความยั่งยืน : กิจกรรมสนับสนุนกลุ่มอาชีพ เช่น อาชีพจักสานของกลุ่มครอบครัววัดสันทราย ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ อาชีพการทำข้าวไข่เจียว ของกลุ่มครอบครัวสุขใจ ชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม เขตดุสิต ชุมชนซอยพระเจน เขตปทุมวัน และ ชุมชนสวนหลวง 1 เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร

3. การบูรณาการงานร่วมกับ ศูนย์พักคอย และ รพ.สนามในพื้นที่ ที่จะมีคณะทำงานเข้าไปเป็นทีมงานชุมชนในการอำนวยการในภารกิจต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนหน่วยต่างๆ พื้นที่ที่มีการดำเนินงานในรูปแบบนี้ ประกอบด้วย พื้นที่ที่มีการดำเนินงานดูแลผู้มีปัญหาสุรารูปแบบเชิงพุทธ : วัดโพธิ์ชัยปอพาน ต.ปอพาน อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม, วัดค้อธิหนองม่วง ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม, วัดใหม่สามัคคีธรรม ต.ในเมือง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา, วัดเกาะตาเถียร หมู่ 1 ต.ไม้งาม อ.เมือง จ.ตาก, วัดคลองกระจง ต.คลองกระจง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย, วัดป่าก้าว ต.โนนสมบูรณ์ อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี และ วัดบ้านใหญ่ ต.ครบุรี อ.ครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และ พื้นที่ที่มีการดำเนินงานดูแลผู้มีปัญหาสุรารูปแบบกลุ่มครอบครัว : บ้านเกาะกลาง ม.8 ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่, บ้านสันทราย หมู่ 12 ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่, บ้านริมธารา ต.เขาแก้วศรีสมบูรณ์ อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย, บ้านดงมะไฟ ต. ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู, บ้านสหกรณ์ ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร, ชุมชนสวนหลวง 1 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร, ชุมชนซอยพระเจน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร และ ชุมชนสวัสดิ์วารีสีมาราม แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร


นางสาวรักชนก กล่าวถึงสาเหตุของการจัดโครงการฯ “เพื่อนช่วยประคับประคอง ในสถานการณ์โควิด-19” เนื่องจากว่าในช่วงปลายปี 2562 ทั่วโลกประสบปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา และส่งผลกระทบต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน โดยสถานการณ์ในประเทศไทย โควิด-19 มีการระบาดเป็นระลอก 4 ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน 2564 ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และกาย สุขภาพจิตของผู้คนในสังคมไทย มาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น เป็นผลกระทบสำคัญ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน กิจกรรมทางสังคม ชุมชน ทางด้านประเพณี วัฒนธรรม รวมถึงกิจกรรมการร่วมกลุ่ม การพัฒนาต่างๆ ในชุมชนอย่างมาก ในขณะที่การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ไม่ได้มีเพียงมิติของการรักษา และ ละทิ้งภารกิจนี้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ หรือ ภาครัฐ เท่านั้น แต่สถานการณ์โควิดจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือ จากประชากรในทุกระดับ ในการสร้างความตระหนัก ปฏิบัติตนดูแลตนเองเคร่งครัด มิติ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ต้องมีความร่วมมือในทุกระดับทั้งระดับบุคคล ชุมชนและสังคม ในการช่วยกันเฝ้าระวัง ป้องกัน ดูแลแก้ไขปัญหาร่วมกัน องค์ความรู้ ที่ชัดเจน เข้าถึงง่าย ถูกต้อง จึงมีความสำคัญ ในมิติ ด้านการฟื้นฟูเยียวยา ในวิกฤตที่เกิดขึ้น สำหรับบางคน บางครอบครัว ถือเป็นการซ้ำเติมความทุกข์ ความยากที่มีอยู่แล้ว ให้หนักหนา และลำบากมากขึ้น บางคนตกงาน บางคนไม่มีงานอยู่แล้ว ก็หางานทำยากเพิ่มขึ้นไปอีก บางครอบครัว มีผู้ป่วยติดเตียง บางครอบครัวที่มีผู้พิการ


นางสาวรักชนก กล่าวว่า สำหรับแนวทางในการดำเนินงาน ผนึกพลังชุมชน ดึงศักยภาพ ผู้นำชุมชน หรือ อสม. พระสงฆ์ บุคลากรสุขภาพ และ จิตอาสา สร้างการมีส่วนร่วมกับคนในครอบครัวและคนในชุมชน เป็นพื้นที่ทางโอกาสให้คนติดสุราเข้าถึงระบบบริการบำบัดดูแลได้ง่ายขึ้น เหมาะสมตรงความต้องการ สอดคล้องบริบทวิถีชีวิตและวัฒนธรรม พร้อมพัฒนาทักษะอาชีพ คุณภาพชีวิต สร้างความมั่นคงทางอาหาร เสริมการดูแลที่เข้าใจ ชุมชนให้โอกาส จนเกิดแรงจูงใจพร้อมพัฒนาเป็นคนใหม่ และ การดำเนินงานโครงการฯ มุ่งเน้น 2 รูปแบบหลักให้ชุมชนได้เกิดการวิเคราะห์รูปแบบที่จะดำเนินการได้เหมาะสมกับบริบทของชุมชนตนเอง ได้แก่ รูปแบบเชิงพุทธ และรูปแบบกลุ่มครอบครัว แบ่งได้ดังนี้

1. รูปแบบเชิงพุทธ : ใช้หลักธรรม นำสติ นำทางให้เห็นคุณค่าในตนเอง ควบคู่กับ การให้ข้อมูลผลกระทบสุรา การดูแลตนเอง เมื่อต้องลด ละ สุรา มีการส่งเสริมพลังบวก โดยผู้นำชุมชน ส่งเสริมให้อยู่ห่างจากสภาพแวดล้อมเดิม ด้วยการอยู่ในวัด 7 วัน 6 คืน เมื่อจบกิจกรรมจะมีการติดตามจากคณะทำงานชุมชน ในระยะเวลา 1 ปี

2. รูปแบบกลุ่มครอบครัว : มุ่งเน้น การรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของกลุ่มนักดื่มและสมาชิกครอบครัว โดยมีการนำความรู้และกระบวนการกลุ่มโดยคณะทำงานกลุ่มครอบครัว ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชน บุคลากรสุขภาพ จิตอาสาที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพจากทางโครงการฯ มาดำเนินกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหา ความสำเร็จ และการหาทางออก ในการลด ละ เลิกสุราของแต่ละคน และให้แนวทางการหนุนพลังบวกจากสมาชิกในครอบครัว เมื่อจบกิจกรรมจะมีการติดตามจากคณะทำงานชุมชน ในระยะเวลา 1 ปี










กำลังโหลดความคิดเห็น