xs
xsm
sm
md
lg

จากเศษ Scrap โรงงาน สู่ Co-Working Space ของสยาม ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




เศษ scrap จากกระบวนการผลิต นำมาสร้างสรรค์เป็นเฟอร์นิเจอร์
“Co-working Space” มุมพักผ่อนของพนักงาน หนึ่งในศิลปะการออกแบบที่โดดเด่นภายใต้คอนเซ็ปต์ การจัดการ ‘เศษวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตในโรงงาน เพื่อใช้ประโยชน์แบบยั่งยืน ของบริษัท สยาม ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ จำกัด บริษัทร่วมทุนกลุ่มสยามกลการ

หากมองผิวเผิน ‘เฟอร์นิเจอร์’ ในพื้นที่ Co-working Space มุมต่างๆ ของ บริษัท สยาม ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ จำกัด (Siam - Hitachi Elevator Co.,Ltd. (SHE) แทบจะไม่แตกต่างอะไรจาก co-working Space ทั่วๆ ไปที่ได้เห็นในสถานที่ต่างๆ แต่ Co-working Space ของสยามฮิตาชิ เป็นหนึ่งผลงานที่พนักงานได้สร้างสรรค์มาจาก “เศษ scrap” เศษวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตชิ้นส่วนหรืออะไหล่ลิฟท์โดยสาร ภายใต้แบรนด์ HITACHI


นายฉัตรชัย เล้าตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า ‘ ไอเดียในการทำ Co-Working Space เกิดจากปัจจัย 2 เรื่อง ได้แก่ 1) การผลิตชิ้นส่วนหรืออะไหล่ลิฟท์ในแต่ละขั้นตอนจะเกิดเศษ scrap ขึ้นมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งเศษ scrap บางส่วนได้ทำการบริหารจัดการเอาไปใช้กับชิ้นส่วนอื่นๆของลิฟท์ แต่ก็ยังมีเศษ scrap บางส่วนที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งปัจจุบันทางสยามฮิตาชิ ได้มีแนวทางในการจัดการกับเศษ scrap ที่ไม่สามารถเอาไปใช้กับชิ้นส่วนอื่นๆของลิฟท์ได้ คือ การนำเศษ scrap ไปขาย และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านอื่นๆ ภายในโรงงาน ประกอบกับปัจจัยข้อที่ 2 ) คือ การรณรงค์ให้พนักงานทำกิจกรรม 5 ส โดยให้พนักงานช่วยกัน สะสาง วัสดุหรือชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็นออกจากพื้นที่โรงงาน หรือ เอาไปทำประโยชน์ให้กับบริษัท

จากปัจจัย 2 เหตุผลนี้ จึงเป็นที่มาของการให้พนักงานเข้ามาจัดทำพื้นที่ Co-Working Space และผลิตเฟอร์นิเจอร์ จากเศษ scrap วัสดุเหลือใช้จากโรงงาน เพื่อนำไปแปรรูปและนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย และเพื่อการมีส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นกิจกรรมเปิดโอกาสให้พนักงาน ได้มีส่วนร่วม Sharing ไอเดีย ออกแบบดีไซน์-ผลิตเฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งผลงานสร้างสรรค์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ใช้สอยในพื้นที่สำนักงานและโรงงานของบริษัทฯ อาทิ โต๊ะ เก้าอี้ ม้าโยก เคาน์เตอร์บาร์ เสาไฟ กรงนก ชิงช้า กระถางต้นไม้ ฯลฯ เป็นต้น

ซึ่งการจัดทำ Co-Working Space ดังกล่าว นอกจากช่วยกำจัดของที่เหลือใช้ภายในโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมการทำงานของพนักงานให้ฝึกคิดและฝึกทำ Sharing ศักยภาพ ความสุข ความคิด เพื่อพัฒนาบริษัทของตนเองให้เกิดผลประโยชน์ส่วนรวมมากที่สุด นอกจากประโยชน์ในเรื่องการใช้สอยแล้ว การตกแต่งพื้นที่ที่สวยงาม ยังมีส่วนช่วยลดความเครียด และเสริมสร้างพลังทางด้านความคิดและความสุขในการทำงานได้ดีอีกด้วย’ นายฉัตรชัย กล่าวทิ้งทาย


กำลังโหลดความคิดเห็น