xs
xsm
sm
md
lg

โลกหรี่แสงลง! พิสูจน์แล้วว่าเชื่อมโยงผลจาก Climate Change

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


นักวิทยาศาสตร์ใช้การวัดแสงของดิน ซึ่งเป็นแสงจางๆ บนส่วนที่มืดของดวงจันทร์เสี้ยว บวกกับการวัดด้วยดาวเทียมเพื่อเรียนรู้ว่าโลกกำลังหรี่แสงอยู่ เหตุผลก็คือมีเมฆที่สว่างน้อยลงเนื่องจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น (Photo by Yuri Beletsky)


Clip credit The Cosmos News

น้ำในมหาสมุทรที่อุ่นขึ้น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือ Climate Change มีสาเหตุเชื่อมโยงกับความสว่างของโลกลดลง เป็นผลการศึกษาชิ้นใหม่ ที่นักวิทยาศาสตร์ทำการตรวจวัดการสะท้อนของแสงของโลก (Earthshine)

นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลานับทศวรรษเพื่อตรวจวัดการสะท้อนแสงของโลก (Earthshine) จากการที่โลกสะท้อนแสงไปยังพื้นผิวของดวงจันทร์นั้นมีค่าลดลง สอดคล้องกับการตรวจวัดโดยดาวเทียมที่พบว่าค่าการสะท้อนแสงของโลกลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

ค่าการสะท้อนแสงของโลกในปัจจุบันลดลงราว ครึ่งวัตต์ ต่อ ตารางเมตร เมื่อเทียบกับเมื่อ 20 ปีก่อน คิดเป็นการลดลงราว 0.5% ซึ่งโดยปกติแล้วโลกจะสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ออกไปราว 30% และยังพบว่าค่าการสะท้อนลงลงอย่างมากในช่วง 3 ปีหลังนี้เอง จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร AGU journal Geophysical Research Letters

Philip Goodeนักวิจัยจาก New Jersey Institute of Technology หัวหน้าทีมวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ กล่าวว่า "𝑻𝒉𝒆 𝒂𝒍𝒃𝒆𝒅𝒐 𝒅𝒓𝒐𝒑 𝒘𝒂𝒔 𝒔𝒖𝒄𝒉 𝒂 𝒔𝒖𝒓𝒑𝒓𝒊𝒔𝒆 𝒕𝒐 𝒖𝒔 𝒘𝒉𝒆𝒏 𝒘𝒆 𝒂𝒏𝒂𝒍𝒚𝒛𝒆𝒅 𝒕𝒉𝒆 𝒍𝒂𝒔𝒕 𝒕𝒉𝒓𝒆𝒆 𝒚𝒆𝒂𝒓𝒔 𝒐𝒇 𝒅𝒂𝒕𝒂 𝒂𝒇𝒕𝒆𝒓 𝟏𝟕 𝒚𝒆𝒂𝒓𝒔 𝒐𝒇 𝒏𝒆𝒂𝒓𝒍𝒚 𝒇𝒍𝒂𝒕 𝒂𝒍𝒃𝒆𝒅𝒐," การศึกษานี้ได้อ้างอิงข้อมูลที่รวบรวมจาก Big Bear Solar Observatory ในเขต Southern California ระหว่างปี 1998 ถึงปี 2017

ปัจจัย 2 ประการที่ส่งผลต่อการส่องผ่านของแสงอาทิตย์ลงมาถึงพื้นโลกคือ ความสว่างของดวงอาทิตย์ และการสะท้อนของโลก ในการศึกษานี้ นักวิจัยพบว่าค่าความสว่างของโลก (Earth's albedo) ที่เปลี่ยนแปลงนี้ไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดวงอาทิตย์ 

ซึ่งหมายความว่า การเปลี่ยนแปลงค่าการสะท้อนแสงของโลกเกิดจากอะไรบางอย่างของโลกเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ความสว่างและการสะท้อนของชั้นเมฆลดลงในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ จากการตรวจวัดด้วยดาวเทียมของ NASA ในโครงการ Clouds and the Earth's Radiant Energy System (CERES) project

ที่บริเวณเดียวกันจากฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือและใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่อุณหภูมิผิวน้ำของทะเลเพิ่มสูงขึ้น ได้รับการบันทึกเพื่อศึกษาการผกผันของสภาพภูมิอากาศ (reversal of a climatic condition) หรือเรียกว่าปรากฏการณ์ Pacific Decadal Oscillation ซึ่งคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โลกที่หรี่แสงลง หรืออีกนัยหนึ่งคือ สิ่งที่ทำให้เห็นถึงปริมาณการดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์จากระบบภูมิอากาศของโลก และเมื่อการดูดซับพลังงานที่เพิ่มมากขึ้นนี้ ถึงจุดที่มีนัยสำคัญ ก็จะมีอิทธิพลต่อบรรยากาศและมหาสมุทรของโลก และอาจจะส่งผลต่อภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นอีก ด้วยการดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์เพิ่มเติมขึ้น และยังสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วงสองทศวรรษหลังนี้อีกด้วย

Edward Schwieterman นักดาราศาสตร์ แห่ง University of California at Riverside ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษานี้ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเเติมว่า "It's actually quite concerning," เพราะโดยปกตินักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งความหวังว่า โลกที่ร้อนขึ้นจะมีชั้นเมฆปกคลุมมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสะท้อนทำให้โลกมีค่าความสว่างเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลและลดภาวะโลกร้อนลงได้บ้าง แต่การศึกษานี้แสดงผลของความจริงที่ตรงข้าม

ข้อมูลอ้างอิง
https://earthsky.org/earth/earth-is-dimming-due-to-climate-change/
https://bit.ly/2YoZdkf

Earthshine เฉลี่ยรายปี albedo 1998–2017 แสดงเป็นวัตต์ต่อตารางเมตร (W/m2) CERES ประจำปี albedo 2001–2019 แสดงเป็นสีน้ำเงิน เส้นที่พอดีกับข้อมูล CERES (2001–2019) ที่สุดจะแสดงด้วยเส้นประสีน้ำเงิน แถบค่าคลาดเคลื่อนเฉลี่ยสำหรับการวัด CERES อยู่ที่ 0.2 W/m2 รูปภาพผ่าน Goode et al. (2021)/ จดหมายวิจัยธรณีฟิสิกส์.


Clip credit  CBC Vancouver


กำลังโหลดความคิดเห็น