xs
xsm
sm
md
lg

"อนุทิน" ตรวจเยี่ยม รง.ต้นแบบวัคซีนโควิด "จุฬาฯ-ใบยา" เริ่มทดสอบในคนเฟส 1 ต้นกย.นี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ที่ชั้น 11 อาคารจุฬาพัฒน์14 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และนายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ตรวจเยี่ยมโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยา ชีววัตถุด้วยพืช โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เพื่อผลิตวัคซีนโควิด 19 ชนิดโปรตีนซับยูนิตจากใบยาสูบ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข "อนุทิน ชาญวีรกูล" ตรวจเยี่ยมโรงงานต้นแบบผลิตวัคซีนโควิดชนิดโปรตีนซับยูนิตจากใบยาสูบ โดยจุฬาฯ-ใบยา เผยมีความคืบหน้าต้นเดือนกันยายนเริ่มทดสอบในมนุษย์เฟส 1 คาดไตรมาส 3 ปี 2565 ผลิตใช้ได้ 60 ล้านโดสต่อปี สามารถปรับปรุงรองรับสายพันธุ์ใหม่ได้

ที่ชั้น 11 อาคารจุฬาพัฒน์14 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และนายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ตรวจเยี่ยมโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยา ชีววัตถุด้วยพืช โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เพื่อผลิตวัคซีนโควิด 19 ชนิดโปรตีนซับยูนิตจากใบยาสูบ


นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วัคซีนจุฬาฯ-ใบยา เริ่มพัฒนามาตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2563 ทดสอบในหนูทดลองและลิง พบว่าช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี แต่เนื่องจากยังไม่มีโรงงานผลิตวัคซีนด้วยพืชในประเทศ กระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ จึงสนับสนุนงบประมาณ 160 ล้านบาทให้แก่ จุฬาฯและบริษัทใบยาในการปรับปรุงพัฒนาโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและชีววัตถุ โดยใช้พืช ใช้เวลา 8 เดือนในการปรับปรุงบนพื้นที่ชั้น 11 อาคารจุฬาพัฒน์14 ขนาด 1,200 ตารางเมตร ผ่านมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมรองรับการผลิตวัคซีนในขั้นต้น เริ่มตั้งแต่เพาะเลี้ยงแบคทีเรียพาหะสารพันธุกรรมของโคโรนาไวรัส ปลูกถ่ายลงในใบยาสูบ เพาะพันธุ์เพิ่มจำนวน และเก็บเกี่ยวเพื่อสกัดโปรตีนสำหรับใช้ผลิตวัคซีน ก่อนนำส่งไปทำวัคซีนให้บริสุทธิ์ที่บริษัท คินเจ่นไบโอเทค จำกัด จากนั้นผสมและแบ่งบรรจุวัคซีน ที่สถานเสาวภาต่อไป

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ตรวจเยี่ยมโรงงานต้นแบบผลิตวัคซีนโควิดชนิดโปรตีนซับยูนิตจากใบยาสูบ โดยจุฬาฯ-ใบยา
ทั้งนี้ วัคซีนจุฬา-ใบยาจะเริ่มต้นทดสอบในมนุษย์ เฟสที่ 1 ช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ เบื้องต้นประมาณ 100 คน ในขนาดโดส 10 ไมโครกรัม 50 ไมโครกรัม และ 100 ไมโครกรัม หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน คาดว่าในไตรมาส 3 ของปี 2565 สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิด 19 ฝีมือคนไทยในประเทศเองได้มาก 1-5 ล้านโดสต่อเดือน หรือราว 60 ล้านโดส ต่อปี

"วันนี้ได้มาให้กำลังใจทีมไทยแลนด์ ซึ่งเป็นการวิจัยพัฒนาวัคซีนสัญชาติไทยโดยบริษัทของคนไทย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขพร้อมสนับสนุนในทุกด้าน เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จโดยเร็ว เพราะถือเป็นนวัตกรรมและองค์ความรู้ที่เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ที่สำคัญคือวัคซีนนี้สามารถปรับปรุงรองรับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ ได้ทันที ขณะนี้กำลังดำเนินการใน 10 สายพันธุ์ หากสำเร็จ อนาคตอาจจะเหมือนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่สามารถใส่หลายสายพันธุ์ลงไปในวัคซีนได้ ทำให้สามารถป้องกันไวรัสได้หลายสายพันธุ์ในเข็มเดียว" นายอนุทินกล่าว

การผลิตวัคซีนจุฬา-ใบยา

การผลิตวัคซีนจุฬา-ใบยา