นับเป็นความท้าทายมากที่รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020 ครั้งที่ 32 ณ กรุงโตเกียวขณะนี้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตของสถานการณ์โรคระบาดของเชื้อโควิค- 19 จนต้องเลื่อนการเปิดงานมาแล้ว 1 ปี
เมื่อมั่นใจในระบบการควบคุมให้ปลอดภัยจากการแพร่เชื้อ โดยไม่ให้กองเชียร์ชาวต่างประเทศเข้าชมการแข่งขัน ตามผลการสำรวจที่ชาวญี่ปุ่น 77% พากันวิตก
แล้วการแข่งขันที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม จนถึง 8 สิงหาคม 20 21 ก็เริ่มขึ้น เป็นสีสันให้ชาวโลกได้ลุ้นกับผลการแข่งขัน ที่แฟนกีฬาทั่วโลก 5 พันล้านคนได้ชมการถ่ายทอดทางโทรทัศน์และบนออนไลน์
ดังเช่นชาวไทยได้มีความสุขจากการชมความสามารถของฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก “เทนนิส”พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ แชมป์เทควันโด ทีมชาติไทย
จากนั้นจะตามมาด้วยพาราลิมปิก เป็นการประชันความสามารถของนักกีฬาคนพิการ ช่วงวันที่ 24 สิงหาคม ถึง 5 กันยายนศกนี้
มหกรรมการแข่งขันระดับโลกเริ่มขึ้นอย่างระมัดระวัง ไม่ให้เกิดการแออัด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไวรัส พิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกซึ่งตามธรรมเนียมประเทศเจ้าภาพมักจะจัดกันอย่างอลังการยิ่งใหญ่ แต่คราวนี้ญี่ปุ่นออกแบบการจัดอย่างเรียบง่าย แต่งดงาม และให้รายละเอียดเชิงวัฒนธรรม ที่อ่อนน้อม ให้ความรู้สึกดีต่อผู้เกี่ยวข้องในการแข่งขันและผู้ชมทั่วโลก
เพื่อไม่ให้สวนทางกับอารมณ์ของสังคมโลก ที่มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจำนวนมากมาย ผู้คนยังมีความวิตกกังวลใจ ต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดขณะนี้อย่างกว้างขวาง
จุดเด่นการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ ได้แสดงจุดมุ่งหมายชัดเจนว่า ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการลงมือทำให้เห็นจากการดำเนินงานกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้
ดูจากแนวคิดการจัดงาน Tokyo 2020 ก็คือ “..Be better , together - For the planet and people” ( ดีขึ้น ไปด้วยกัน เพื่อโลกและผู้คน )
ส่วนคำขวัญของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งนี้ คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้มีมติเร่งด่วนก่อนวันจัดพิธีเปิดงาน โดยเพิ่มคำ Together ต่อท้ายร่างเดิม
เพื่อย้ำความสำคัญของ "ความสามัคคี"ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิค- 19 ดังนั้นคำขวัญโอลิมปิก 2020 จึงใช้ว่า…
Faster , Higher , Stronger - Together
เร็วกว่า สูงกว่า แข็งแรงกว่า และก้าวไปด้วยกัน
นี่เป็นการแสดงบทบาท ในการสร้างต้นแบบการจัดแข่งขันกีฬา ที่คำนึงถึงความยั่งยืนของโลก ซึ่งหวังจะจุดประกายความคิดให้ชาวญี่ปุ่นและชาวโลกให้ร่วมกันส่งเสริม และส่งต่อไปยังการจัดกีฬาโอลิมปิก พาราลิมปิก และกิจกรรมกีฬาอื่นๆ ในอนาคต
ขณะที่การสื่อสารไดัเปิดเป้าหมายและแผนงานให้สังคมโลกได้รับรู็และติดตามดูความคืบหน้า โดยได้จัดทำรายงานเพื่อความยั่งยืน ( Sustainability Report ) เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ www.olympics.com
แนวทางการดำเนินงาน ได้คำนึงถึงความสอดคล้องกับ17เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals ) ขององค์การสหประชาชาติ ที่ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการจัดกีฬาโอลิมปิก2020 เพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมี 5 แนวหลัก ได้แก่
1.ลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)ประหยัดพลังงาน และใช้พลังงานหมุนเวียนเท่าที่เป็นไปได้ และมุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์
2.การจัดการทรัพยากร(Resource Management) ประหยัดทรัพยากรด้วยหลัก3R คือ ลด (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) แปรรูปมาใช้ใหม่ (Recycle) และเลือกใช้วัสดุหมุนเวียน ในทุกงานที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน โดยมีเป้าหมายมีขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste)
ตัวอย่างเช่น คบเพลิงโอลิมปิกทำจากอะลูมิเนียมรีไซเคิลจากวัสคุเหลือใช้ ชุดแต่งกายผู้วิ่งคบเพลิง ทำจากการรีไซเคิลขวดพลาสติก เหรียญรางวัล ทำจากขยะอิเล็กทรอนิกส์
3.สภาพแวดล้อมธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ (Natural์ Environment and Biodiversity) เลือกใช้วัตถุดิบของท้องถิ่น ที่ไม่มีผลทำลายธรรมชาติ เช่นปลาที่ใช้ปรุงอาหารสำหรับผู้ร่วมงาน ไม้ที่ใช้สร้างอาคารที่พักนักกีฬา ใช้การยืมไม้จากอุตสาหกรรมไม้ทั่วประเทศ เพื่อลดการตัดไม้ และลดการนำเข้าไม้จากต่างประเทศ ก็จะลดการตัดไม้ทำลายป่าของโลกด้วย
4.สิทธิมนุษยชน แรงงาน และธุรกิจที่มีความเป็นธรรม (Human R ights , Labor , and Fair Business Practices) ยึดหลักปฏิบัติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ของสหประชาชาติ อาสาสมัครในมหกรรมครั้งนี้กว่า 80,000 คน การคัดเลือกคำนึง
ถึงสัดส่วนชาย-หญิง 40 : 60 และช่วงอายุ10-80 ปี เพื่อให้โอกาสคนทุกช่วงวัย
5.การมีส่วนร่วม ความร่วมมือของทุกฝ่าย (Involvement ,Cooperation and Communication)
นอกจากนี้ยังได้กำหนดระเบียบการจัดซื้อจัดหาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินงานครั้งนี้ จะต้องเป็นสิ่งที่ไม่ขัดกับแนวทางทั้ง 5 ประการดังกล่าว และกิจการที่จะมาเสนอตัวจะต้องผ่านการรับรองคุณสมบัติและแนวทางธุรกิจ ที่ส่งเสริมความยั่งยืน
ข้อคิด……
การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระดับโลกอย่างกีฬาโอลิมปิก ไม่ใช่แค่แสดงศักยภาพด้านการกีฬา แต่ยังต้องมีความพร้อมด้านการบริหารจัดการระบบต่างๆ และมีสิ่งดีงามพร้อมจะอวดชาวโลกที่มาชมผลงานอย่างชื่นชม
การมีจุดมุ่งหมายเพื่อโลกที่ดีขึ้น (Purpose for the World )โดยการจัดTokyo 2020 ด้วยแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เราได้เห็นการ ”คิดเป็นและทำจริง” ไม่ใช่เพียงการ ”พูดให้ดูดี”แต่มีแนวปฏิบัติที่ตั้งใจทำจึงสร้างผลลัพธ์ที่ดีได้
ผมเห็นด้วยกับบทสรุปของรายงานของSDGs Move ที่ระบุว่า “การนำแนวคิดความยั่งยืนใส่เข้าไปในงานทุกระดับของโอลิมปิกครั้งนี้ สะท้อนถึงความเข้าใจความยั่งยืนได้ครบมิติ”
โดยเฉพาะเป็นการสื่อกับโลกว่า”ความยั่งยืน ไม่เท่ากับ สิ่งแวดล้อม“ ได้อย่างชัดเจน และสร้างวิธีคิดว่า ”โลกที่ยังยืน ยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้จริง”
เราจึงได้เห็น ขบวนคนวิ่งคบเพลิง มีทั้ง ผู้สูงวัย ผู้พิการ บุคลากรทางการแพทย์ และการคำนึงถึงสัดส่วนทางเพศของผู้มีส่วนร่วมทำงานอย่างสมดุล รวมทั้งยังมีนักกีฬาทีมผู้ลี้ภัย ที่แสดงถึงความหวังและการไม่ถูกทอดทิ้ง
นี่คือการทำงานที่คำนึงถึงผลกระทบต่อปัจจัยที่มีส่วนได้เสียรอบด้าน และแนวปฏิบัติเช่นนี้ น่าจะเป็นมาตรฐานใหม่ในการจัดงานมหกรรมระดับต่างๆ ในอนาคต ที่ควรให้ความสำคัญกับโลกด้านความยั่งยืน ไม่ใช่มุ่งเน้นความยิ่งใหญ่อลังการดังที่มีการจัดงานระดับโลกในยุคที่ผ่านมา
ข้อมูลอ้าวอิง: olympics.comและ SDG Move
suwatmgr@gmail.com
เมื่อมั่นใจในระบบการควบคุมให้ปลอดภัยจากการแพร่เชื้อ โดยไม่ให้กองเชียร์ชาวต่างประเทศเข้าชมการแข่งขัน ตามผลการสำรวจที่ชาวญี่ปุ่น 77% พากันวิตก
แล้วการแข่งขันที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม จนถึง 8 สิงหาคม 20 21 ก็เริ่มขึ้น เป็นสีสันให้ชาวโลกได้ลุ้นกับผลการแข่งขัน ที่แฟนกีฬาทั่วโลก 5 พันล้านคนได้ชมการถ่ายทอดทางโทรทัศน์และบนออนไลน์
ดังเช่นชาวไทยได้มีความสุขจากการชมความสามารถของฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก “เทนนิส”พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ แชมป์เทควันโด ทีมชาติไทย
จากนั้นจะตามมาด้วยพาราลิมปิก เป็นการประชันความสามารถของนักกีฬาคนพิการ ช่วงวันที่ 24 สิงหาคม ถึง 5 กันยายนศกนี้
มหกรรมการแข่งขันระดับโลกเริ่มขึ้นอย่างระมัดระวัง ไม่ให้เกิดการแออัด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไวรัส พิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกซึ่งตามธรรมเนียมประเทศเจ้าภาพมักจะจัดกันอย่างอลังการยิ่งใหญ่ แต่คราวนี้ญี่ปุ่นออกแบบการจัดอย่างเรียบง่าย แต่งดงาม และให้รายละเอียดเชิงวัฒนธรรม ที่อ่อนน้อม ให้ความรู้สึกดีต่อผู้เกี่ยวข้องในการแข่งขันและผู้ชมทั่วโลก
เพื่อไม่ให้สวนทางกับอารมณ์ของสังคมโลก ที่มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจำนวนมากมาย ผู้คนยังมีความวิตกกังวลใจ ต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดขณะนี้อย่างกว้างขวาง
จุดเด่นการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ ได้แสดงจุดมุ่งหมายชัดเจนว่า ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการลงมือทำให้เห็นจากการดำเนินงานกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้
ดูจากแนวคิดการจัดงาน Tokyo 2020 ก็คือ “..Be better , together - For the planet and people” ( ดีขึ้น ไปด้วยกัน เพื่อโลกและผู้คน )
ส่วนคำขวัญของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งนี้ คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้มีมติเร่งด่วนก่อนวันจัดพิธีเปิดงาน โดยเพิ่มคำ Together ต่อท้ายร่างเดิม
เพื่อย้ำความสำคัญของ "ความสามัคคี"ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิค- 19 ดังนั้นคำขวัญโอลิมปิก 2020 จึงใช้ว่า…
Faster , Higher , Stronger - Together
เร็วกว่า สูงกว่า แข็งแรงกว่า และก้าวไปด้วยกัน
นี่เป็นการแสดงบทบาท ในการสร้างต้นแบบการจัดแข่งขันกีฬา ที่คำนึงถึงความยั่งยืนของโลก ซึ่งหวังจะจุดประกายความคิดให้ชาวญี่ปุ่นและชาวโลกให้ร่วมกันส่งเสริม และส่งต่อไปยังการจัดกีฬาโอลิมปิก พาราลิมปิก และกิจกรรมกีฬาอื่นๆ ในอนาคต
ขณะที่การสื่อสารไดัเปิดเป้าหมายและแผนงานให้สังคมโลกได้รับรู็และติดตามดูความคืบหน้า โดยได้จัดทำรายงานเพื่อความยั่งยืน ( Sustainability Report ) เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ www.olympics.com
แนวทางการดำเนินงาน ได้คำนึงถึงความสอดคล้องกับ17เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals ) ขององค์การสหประชาชาติ ที่ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการจัดกีฬาโอลิมปิก2020 เพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมี 5 แนวหลัก ได้แก่
1.ลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)ประหยัดพลังงาน และใช้พลังงานหมุนเวียนเท่าที่เป็นไปได้ และมุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์
2.การจัดการทรัพยากร(Resource Management) ประหยัดทรัพยากรด้วยหลัก3R คือ ลด (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) แปรรูปมาใช้ใหม่ (Recycle) และเลือกใช้วัสดุหมุนเวียน ในทุกงานที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน โดยมีเป้าหมายมีขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste)
ตัวอย่างเช่น คบเพลิงโอลิมปิกทำจากอะลูมิเนียมรีไซเคิลจากวัสคุเหลือใช้ ชุดแต่งกายผู้วิ่งคบเพลิง ทำจากการรีไซเคิลขวดพลาสติก เหรียญรางวัล ทำจากขยะอิเล็กทรอนิกส์
3.สภาพแวดล้อมธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ (Natural์ Environment and Biodiversity) เลือกใช้วัตถุดิบของท้องถิ่น ที่ไม่มีผลทำลายธรรมชาติ เช่นปลาที่ใช้ปรุงอาหารสำหรับผู้ร่วมงาน ไม้ที่ใช้สร้างอาคารที่พักนักกีฬา ใช้การยืมไม้จากอุตสาหกรรมไม้ทั่วประเทศ เพื่อลดการตัดไม้ และลดการนำเข้าไม้จากต่างประเทศ ก็จะลดการตัดไม้ทำลายป่าของโลกด้วย
4.สิทธิมนุษยชน แรงงาน และธุรกิจที่มีความเป็นธรรม (Human R ights , Labor , and Fair Business Practices) ยึดหลักปฏิบัติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ของสหประชาชาติ อาสาสมัครในมหกรรมครั้งนี้กว่า 80,000 คน การคัดเลือกคำนึง
ถึงสัดส่วนชาย-หญิง 40 : 60 และช่วงอายุ10-80 ปี เพื่อให้โอกาสคนทุกช่วงวัย
5.การมีส่วนร่วม ความร่วมมือของทุกฝ่าย (Involvement ,Cooperation and Communication)
นอกจากนี้ยังได้กำหนดระเบียบการจัดซื้อจัดหาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินงานครั้งนี้ จะต้องเป็นสิ่งที่ไม่ขัดกับแนวทางทั้ง 5 ประการดังกล่าว และกิจการที่จะมาเสนอตัวจะต้องผ่านการรับรองคุณสมบัติและแนวทางธุรกิจ ที่ส่งเสริมความยั่งยืน
ข้อคิด……
การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระดับโลกอย่างกีฬาโอลิมปิก ไม่ใช่แค่แสดงศักยภาพด้านการกีฬา แต่ยังต้องมีความพร้อมด้านการบริหารจัดการระบบต่างๆ และมีสิ่งดีงามพร้อมจะอวดชาวโลกที่มาชมผลงานอย่างชื่นชม
การมีจุดมุ่งหมายเพื่อโลกที่ดีขึ้น (Purpose for the World )โดยการจัดTokyo 2020 ด้วยแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เราได้เห็นการ ”คิดเป็นและทำจริง” ไม่ใช่เพียงการ ”พูดให้ดูดี”แต่มีแนวปฏิบัติที่ตั้งใจทำจึงสร้างผลลัพธ์ที่ดีได้
ผมเห็นด้วยกับบทสรุปของรายงานของSDGs Move ที่ระบุว่า “การนำแนวคิดความยั่งยืนใส่เข้าไปในงานทุกระดับของโอลิมปิกครั้งนี้ สะท้อนถึงความเข้าใจความยั่งยืนได้ครบมิติ”
โดยเฉพาะเป็นการสื่อกับโลกว่า”ความยั่งยืน ไม่เท่ากับ สิ่งแวดล้อม“ ได้อย่างชัดเจน และสร้างวิธีคิดว่า ”โลกที่ยังยืน ยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้จริง”
เราจึงได้เห็น ขบวนคนวิ่งคบเพลิง มีทั้ง ผู้สูงวัย ผู้พิการ บุคลากรทางการแพทย์ และการคำนึงถึงสัดส่วนทางเพศของผู้มีส่วนร่วมทำงานอย่างสมดุล รวมทั้งยังมีนักกีฬาทีมผู้ลี้ภัย ที่แสดงถึงความหวังและการไม่ถูกทอดทิ้ง
นี่คือการทำงานที่คำนึงถึงผลกระทบต่อปัจจัยที่มีส่วนได้เสียรอบด้าน และแนวปฏิบัติเช่นนี้ น่าจะเป็นมาตรฐานใหม่ในการจัดงานมหกรรมระดับต่างๆ ในอนาคต ที่ควรให้ความสำคัญกับโลกด้านความยั่งยืน ไม่ใช่มุ่งเน้นความยิ่งใหญ่อลังการดังที่มีการจัดงานระดับโลกในยุคที่ผ่านมา
ข้อมูลอ้าวอิง: olympics.comและ SDG Move
suwatmgr@gmail.com