Valentyn Frechka เป็นนักเรียนมัธยมปลายที่อาศัยอยู่ในชนบทของประเทศยูเครน เมื่อเขาเริ่มโครงการวิทยาศาสตร์เพื่อเปลี่ยนใบไม้ที่ร่วงหล่นจากต้นไม้ให้กลายเป็นกระดาษ จากนั้น สามปีต่อมา เมื่ออายุ 19 ปี เขาริเริ่มโครงการที่เรียกว่า “Re-leaf Paper” เพื่อผลิตถุงกระดาษและบรรจุภัณฑ์จากเส้นใยที่สกัดจากใบไม้ที่ตายแล้ว
โครงการนี้ตั้งอยู่ในเมือง Zhytomyr ห่างจากเมืองหลวง Kyiv ไปทางตะวันตก 140 กม. หรือ 87 ไมล์ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตกระดาษ โดยได้ร่วมมือกับผู้ผลิตกระดาษแข็งในเมืองที่ว่าจ้างเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาในปี 2018
“แนวคิดนี้ง่ายมาก สิ่งที่เชื่อว่าเป็นขยะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้ ใบไม้เป็นขยะที่ต้องกำจัดออกจากสวนสาธารณะ เพราะขณะที่มันเน่าจะมีการปล่อยคาร์บอนจำนวนมาก และเป็นโอกาสที่ลูกค้าจะได้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” Valentyn Frechka กล่าว
Re-leaf Paper พัฒนามาจนกระทั่งสามารถผลิตในระดับอุตสาหกรรม จึงวางแผนจะยกระดับให้ผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยปัจจุบันสามารถผลิตเป็นถุง และกล่องใส่ไข่ และกำลังจะผลิตเป็นกระดาษลัง
RE-leaf PAPER ก่อตั้งขึ้น โดย Valentyn Frechka (ซ้าย) และ Andriy Vartsaba (ขวา) เมื่อปี 2020 ในยูเครน เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของโลก นั่นคือ “การตัดไม้ทำลายป่า” เพื่อจัดหาวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษ โดยมุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืนในการผลิตเยื่อและกระดาษและการค้นหาทางเลือกใหม่ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องการเป็นผู้นำระดับโลกในการทดแทนไม้ ด้วยการนำเสนอวัสดุทางเลือกในการแข่งขันกับไม้
5 ข้อดีของRE-leaf PAPER
1) ในการผลิตกระดาษแบบดั้งเดิม 1 ตันเราต้องตัดต้นไม้ขนาดกลาง17 ต้น สำหรับกระดาษในปริมาณเท่ากันเราสามารถใช้ใบไม้ร่วง2.3 ตันแทนไม้
2) ใช้ทรัพยากรน้ำในการผลิตเยื่อและกระดาษน้อยกว่าผู้ผลิตแบบดั้งเดิมถึง 15 เท่า
3) ใช้พลังงานประมาณ500 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตัน แทนที่จะใช้ประมาณ5,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตัน
4) การผลิตกระดาษ 1 ตันโดยใช้เทคโนโลยีนี้สามารถกักเก็บออกซิเจนได้400 ตันต่อปี และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์600 ตัน
5) คาดว่าการผลิตกระดาษจากใบไม้ร่วงจะปล่อย CO2 น้อยกว่าผู้ผลิตไม้แบบดั้งเดิมถึง 72%
ที่มา – สำนักข่าวรอยเตอร์
https://www.re-leaf-paper.com/