xs
xsm
sm
md
lg

อนุรักษ์ “เทียนสิรินธร” พืชพันธุ์ชนิดใหม่ของโลก โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา อช.เขาสก

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เทียนสิรินทร หรือ ชมพูสิริน ชื่อที่ได้รับพระราชทานจากกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ในการสำรวจทางเรือบริเวณพื้นที่รอบเขื่อนรัชชประภา พบการกระจายพันธุ์ของเทียนสิรินธรบริเวณเทือกเขาการเลาะ และบริเวณเทือกเขาสามเกลอ โดยขึ้นตามหน้าผาเขาหินปูนและมักขึ้นในด้านที่ได้รับแสงแดดช่วงเช้าโดยพบตำแหน่งการกระจายของต้นเทียนศิริธรทั้งหมด 35 ตำแหน่ง

โครงการอนุรักษ์เทียนสิรินธร บริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา อุทยานแห่งชาติเขาสก โดยการขยายพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยความร่วมมือกันของ 3 หน่วยงาน คือ ได้รับทุนงานวิจัยจากเขื่อนรัชชประภา โดยมี ดร.ครรชิต งามแสนโรจน์ ผู้ช่วย ผอ.เขื่อนสิริกิติ์ นายวิโรจน์ โรจนจินดา หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสก และนางเยาวลักษณ์ สุวรรณคง ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสก ให้ความร่วมมือในการออกสำรวจ และทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยจัดเป็นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ที่จะขยายพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและนำพืชที่ขยายพันธุ์ได้คืนสู่ท้องถิ่นต่อไป

สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือการนำเอาเซลล์หรือเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะบางส่วนของพืช เช่น ลำต้น ใบ ราก ดอก ผล หรือเมล็ด มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ในสภาพปลอดเชื้อภายใต้สภาวะที่ควบคุมแสงและอุณหภูมิได้

อนุรักษ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เทียนสิรินธร (Impatients Sirindhorniae Triboun & Suksathan) หรือ “ชมพูสิริน”ชื่อที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หลังได้รับรายงานว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก โดย ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ และ ดร.ปิยเกษตร สุขสถาน นักวิจัยพฤษศาสตร์ เมื่อปี 2552 เทียนสิรินธรเป็นพืชถิ่นเดียวที่พบได้เฉพาะ จ.สุราษฎร์ธานีและ จ.กระบี่ โดยใน จ.สุราษฎร์ธานีนั้นพบได้เฉพาะภูเขาหินปูนบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา (พื้นที่รับผิดชอบ อุทยานแห่งชาติเขาสก) โดยพบขึ้นตามหน้าผาเขาหินปูนที่มีความสูงประมาณ 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล

สารานุกรมพืช อธิบายว่า เทียนสิริทร เป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 50 ซม. ลักษณะลำต้นเกาะเลื้อย มักห้อยลง แผ่นใบหนา กลีบปากเป็นถุงโค้งเรียวยาวเป็นเดือย กลีบดอกกลีบกลางรูปไข่กลับ กลีบปีกคู่ในยาวเท่า ๆ คู่นอก

ข้อมูลอ้างอิง เพจเฟซบุ๊ค ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช



กำลังโหลดความคิดเห็น