xs
xsm
sm
md
lg

รับมือสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ!! “มจร วัดไร่ขิงฯ” เปิดมิติใหม่ "ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพฯ"

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เพื่อเตรียมรับมือสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ “ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยนักเรียนผู้สูงวัย” (Elderly Health Promotion Center) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี (มจร. วัดไร่ขิงฯ) เปิดศูนย์เสริมศักยภาพการใช้ชีวิตและการดูแลสุขภาพ แก้ปัญหาว้าเหว่ ยกระดับคุณภาพชีวิต เตรียมนำร่องนำชุดความรู้ส่งเสริมสังคมผู้สูงอายุ สอดแทรกการเรียนการสอน และออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วงวัย

โดยผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี พระเทพศาสนาภิบาล (หลวงพ่อแย้ม) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงฯ รองเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม และประคณะกรรมการขับเคลื่อนหมู่บ้านศีล ๕ ได้ย้ำหนักแน่นในวันเปิด "ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย” (Elderly Health Promotion Center) เมื่อ 28 มกราคม 2563 โดยมอบเป็นนโยบายให้ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ว่า การเรียนในลักษณะนี้ต้องเน้นการดูแลสุขภาพกายและใจ (สุขกายสบายจิต) เป็นสำคัญ มีการตรวจสุขภาพผู้สูงวัยก่อนเรียนเป็นประจำ และออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบมุ่งเน้นการดึงศักยภาพผู้เรียน คือ ผู้สูงวัย

โดยให้ช่วยเรียนช่วยถ่ายทอดและต่อยอดให้นิสิตนักศึกษาในวิทยาลัยและบุคคลทั่วไปที่สนใจในทุกๆ ด้านที่ผู้สูงวัยมีความชำนาญหรือมีประสบการณ์มายาวนานตลอดชีวิต เพื่อเป็นการสร้างกิจกรรมและการสร้างความภาคภูมิใจในการส่งเสริมภูมิปัญญาผ่านการถ่ายทอดร่วมกันกับเพื่อนๆ ผู้สูงวัยผ่านกิจกรรมร่วมกับสิตและบุคคลทั่วไปดังกล่าวข้างต้น เพื่อนำเสนอข้อมูลแนวทางการสร้างความตระหนักรู้ในการเตรียมตัวด้านสุขภาพ และสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุ ตลอดจนเสนอแนะการปรับเปลี่ยนในเชิงนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพ การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทย

จากการวิจัย “การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรชุมชนอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม” มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มาจากแนวคิดการพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นผู้ที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาทั้งทางด้าน กาย จิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ปัญญา และความสุข ซึ่งครอบคลุมมิติต่างๆ ผ่านกิจกรรมหลายลักษณะ ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ จานวน ๒๕ รูป/คน นำผลวิจัยมาสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ทรงคุณวุฒิจานวน ๑๕ รูป/คน เพื่อสรุปผลการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรชุมชน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม


ผลการวิจัยพบว่า ๑. กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรชุมชน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยใช้หลักพุทธธรรมไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)

ด้านศีล ได้ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานอย่างเต็มที่ และปฏิบัติธรรมเป็นประจา เสริมสร้างพัฒนาด้านกายและวาจา ให้มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง ทำจิตอาสา และการแบ่งปันเสียสละ เป็นต้น ด้านสมาธิได้ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุทำสมาธิ ดูแลสุขภาพกายและใจให้มีความสัมพันธ์กัน ฝึกจิตให้มีสมาธิเข้มแข็งจนสามารถควบคุมตนเองได้ เมื่อปล่อยวาง ทาให้มีความสงบสุข ด้านปัญญา ได้ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุฝึกดารงตนอยู่ในความไม่ประมาท รู้เท่าทัน มีสติ มีความรู้ความเข้าใจในตัวเอง ใจเย็น มีเหตุผลมากขึ้น นำปัญญามาเป็นตัวนาทางและควบคุมพฤติกรรมจนหลุดพ้นจากปัญหา ดับทุกข์ได้ ทำให้เป็นอิสระ สดใสเบิกบาน สุขสงบอย่างแท้จริง

๒. กิจกรรมที่บูรณาการหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรชุมชน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ใช้หลักไตรสิกขา มีศีล สมาธิและปัญญา



"ศีล" คือ การฝึกฝนพัฒนาด้านพฤติกรรมทางกายและวาจาให้มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เราเกี่ยวข้องสัมพันธ์ อย่างถูกต้องมีผลดี ส่วน "สมาธิ" เป็นการฝึกพัฒนาในด้านจิตใจ ถ้าจิตใจได้รับการพัฒนาให้ดีงามแล้วก็จะควบคุมดูแลและนาพฤติกรรมไปในทางที่ดีงามด้วย และ "ปัญญา" คือ ตัวนำทางและควบคุมพฤติกรรมทั้งหมด ปัญญาเป็นตัวปลดปล่อยจิตใจ ให้ทางออกแก่จิตใจ การได้พัฒนาปัญญาช่วยให้ชีวิตประสบความสาเร็จ

มีการสร้างสวนสุขภาพ ลานกิจกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้านมาเป็นวิทยากร ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ การจัดกิจกรรมด้านศาสนา ในโอกาสพิเศษต่างๆ การเปิดห้องสวดมนต์ หรือห้องทาสมาธิในโรงพยาบาล จัดตั้งศูนย์ดูแลสุขภาพเด็ก และการจัดกิจกรรมศูนย์สามวัยใจเกินร้อย า




๓. เสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ หลักพุทธธรรมไตรสิกขา ซึ่งประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการดาเนินชีวิตไปในวิถีที่ถูกต้องดีงาม โดยเสนอให้นำหลักพุทธธรรม ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) มาใช้ หรือประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างสุขภาวะของตนและผู้อยู่รอบข้าง พบว่า "ศีล" เป็นการฝึกฝนพัฒนาด้านพฤติกรรมการสังคมสงเคราะห์ การศึกษาและอาชีพ การดำเนินชีวิตแบบพอเพียง การจัดกิจกรรมสุขภาวะแบบองค์รวม การถือศีลปฏิบัติธรรม ในโอกาสต่างๆ ร่วมกัน

พบว่า "สมาธิ" เป็นการพัฒนาจิต ให้เป็นจิตใจที่ดีงาม เข้มแข็ง มีความสุข มีเจตจานงที่เป็นกุศล การจัดดอกไม้ การถักไหมพรม การอ่านหนังสือ และการเย็บปักถักร้อย การทาขนมไทย การร้อยพวงมาลัย การซ่อมแซมเสื้อผ้า

และพบว่า "ปัญญา" เป็นการพัฒนาผู้สูงอายุในขั้นสูงสุด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน วิทยากรมาจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพกาย และจิตใจ จัดตั้งศูนย์ดูแลสุขภาพ การจัดกิจกรรมศูนย์สามวัยใจเกินร้อย ให้ผู้สูงอายุ พึ่งตนเองจนเป็นที่พึ่งของคนอื่น ซึ่งการบูรณาการหลักพุทธธรรมไตรสิกขา (ศีล สมาธิปัญญา) ทั้ง ๓ ด้านนั้นมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงถึงกันอย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุที่ปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ย่อมส่งผลให้มีความสุขดีตามมาอย่างแท้จริง

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนของ “ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยนักเรียนผู้สูงวัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี" (มจร วัไร่ขิงฯ) จะมีความสอดคล้องกับผลการวิจัยเกือบทั้งสิ้น และไม่มุ่งเน้นเป็นวิชาการบรรยาย แต่จะออกแบบปรับใช้กิจกรรมให้ได้ตามความต้องการในทักษะและประสบการณ์ของผู้สูงวัยเป็นสำคัญ