ผ่านมากว่า 2 เดือนแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พัฒนานวัตกรรมสู้ภัยโควิดในหลายรูปแบบ ไม่ใช่เพียงแค่ในมิติทางด้านการแพทย์ แต่รวมไปถึงมิติทางด้านการช่วยเหลือสังคม และการสนับสนุนนโยบายต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้การดำรงชีวิตของประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนเป็นไปได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด
ผลงานวิจัยในห้องเรียนได้ถูกสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมต่างๆ ที่โดดเด่น ใช้ได้จริง และตอบโจทย์สังคมมีดังต่อไปนี้
1. COVID-19 (CU-RoboCovid)
หุ่นยนต์พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เพื่ออำนวยความสะดวกแพทย์ และช่วยลดความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ในการสัมผัสผู้ป่วย มีรูปแบบต่างๆ ได้แก่
•ปิ่นโต คือ หุ่นยนต์ส่งของ (Delivery Robot) ลักษณะคล้ายถาดเข็นของ ช่วยส่งอาหารและเวชภัณฑ์จากระยะไกล
•นินจา คือ หุ่นยนต์สื่อสารทางไกล (Telepresent Robot) ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ช่วยบันทึกสัญญาณชีพต่างๆ เช่น ความดัน ชีพจร อุณหภูมิ
•กระจก คือ หุ่นยนต์สื่อสารที่สามารถกดเรียกแล้วพูดคุยกับพยาบาลได้ทันที
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.chula.ac.th/news/28833/
2. Chula Covid-19 Strip Test Service
นวัตกรรมระบบบริการตรวจคัดกรองภูมิคุ้มกัน COVID-19 ด้วยชุดตรวจ Strip test รู้ผลใน 10 นาที ที่ผสานเทคโนโลยี 4.0 ช่วยประเมินความเสี่ยงและส่งต่อ-ติดตามอาการผู้ป่วย เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงให้ได้รับการตรวจ CPR ได้เร็วขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.chula.ac.th/news/28888/
3. หน้ากากป้องกันใบหน้า (Face Shield) ดีไซน์ใหม่
Face Shield ดีไซน์ใหม่ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผลิตจากเครื่องพิมพ์สามมิติ โดยตัววัสดุโครงทำจาก PP+TPE ที่มีน้ำหนักเบาใส่สบาย สามารถนำมาทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่ได้ แผ่นใสทำจากแผ่น PET เคลือบ Anti-fog ลดการเกิดฝ้าระหว่างใช้งาน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.chula.ac.th/news/29535/
4. Shield+ Protecting Spray สเปรย์เพิ่มประสิทธิภาพหน้ากากอนามัย
สเปรย์ช่วยป้องกันไวรัสโควิด-19 และกันฝุ่น PM 2.5 จากคณะเภสัชศาสตร์ สามารถฉีดลงไปบนหน้ากาผ้า สเปรย์จะสามารถเชื่อมต่อของเส้นใยผ้า ให้สามารถกรองอนุภาคเล็ก 0.3 ไมครอน เพิ่มขึ้น 83%
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.chula.ac.th/news/29506/
5. ตู้ความดันลบเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วย
เป็นตู้อคลิลิกใส นวัตกรรมจากคณะแพทยศาสตร์ เพื่อลดการสัมผัสเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยขณะที่บุคลากรทางการแพทย์เก็บสิ่งส่งตรวจ ภายในตู้มีเครื่องดูดอากาศผ่าน HEPA Filter เกรดที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่ซึ่งสามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กเท่าไวรัสได้ 99.995% การฆ่าเชื้อด้วยหลอด UV-C ทำให้ไวรัสหมดความสามารถ ในการก่อโรค
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.chula.ac.th/news/29219/
6. เครื่องพ่นละออง VQ20 และเครื่อง VQ20+HP35
เครื่องพ่นละอองไอไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ VQ20 และเครื่อง VQ20+HP35 ที่พ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ขนาดเล็กกว่า 5 ไมโครเมตร ที่ล่องลอยในอากาศได้นาน การระเหยของน้ำทำให้เกิดละอองนาโนของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และไอไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อในอากาศและบนพื้นผิว ซึ่งจะสามารถฆ่าเชื้อในห้องและอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.chula.ac.th/news/29789/
7. “LUNG CARE” Application
แอปพลิเคชันโดยความร่วมมือจากคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่จะช่วยประเมินคุณภาพของปอด ตรวจวัดประสิทธิภาพของปอดด้วยการเป่าลมผ่านสมอลล์ทอล์ค หรือช่องไมโครโฟนของโทรศัพท์สมาร์ทโฟน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.chula.ac.th/news/29369/
8. “Willing” Application เพื่อการแบ่งปัน
แอปพลิเคชันเพื่อสร้างเสริมสังคมแห่งการแบ่งปัน จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ที่จะช่วยเป็นตัวกลางให้ทั้ง “ผู้ให้” และ “ผู้รับ” เพื่อจับคู่ผู้ให้และผู้รับบริจาคได้ตรงความต้องการ
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.chula.ac.th/news/29521/
หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2563
นอกจากนวัตกรรมเหล่านี้แล้ว จุฬาฯ ก็ยังคงเดินหน้าเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับความปกติใหม่ หรือ New Normal เพื่อที่จะช่วยเหลือสังคมในสภาวะวิกฤตนี้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ติดตามข่าวสารและนวัตกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ของจุฬาฯ ได้ที่https://www.chula.ac.th/covid-19/