xs
xsm
sm
md
lg

‘แก้ขยะพลาสติกแบบบางในทะเล’ ความจริงที่โลกต้องทบทวนผ่านการบริหารขยะแบบ 5 Rs

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้ประกอบการและผู้บริโภคทั่วโลกยังคงเพิ่มพูนการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เกี่ยวกับปัญหาขยะที่กำลังทำลายโลกใบนี้ทั้งจากผลกระทบทางลบและการที่อยู่เฉยๆ โดยไม่ทำอะไรที่เป็นการแก้ไข โดยเฉพาะผลกระทบจากขยะพลาสติกแบบบางในทะเล


ในวันนี้ การที่ผู้บริโภคไม่ใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งไม่ใช่ความเพียงพออีกต่อไป แต่ต้องทำให้ครบถ้วน 5 Rs และอย่างเพียงพอทุก Rs ด้วย
องค์ประกอบของ 5 Rs ประกอบด้วย Reuse, Refuse, Reduce, Recycle, Repurpose มีคำแนะนำว่าผู้บริโภคควรจะเริ่มระยะแรกด้วย Reuse, Refuse, Reduce ให้ครบถ้วนก่อน ส่วนการใช้ Recycle, Repurpose เหมือนว่าจะต้องผ่านการริเริ่มและนวัตกรรมจากผู้ผลิตและผู้ประกอบการก่อน เพื่อให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคได้ บทบาทของผู้บริโภคจึงเน้นการกดดัน ผลักดันให้ผู้ประกอบการทำการขับเคลื่อนธุรกิจมารองรับเท่านั้น
มีการประมาณว่า ถุงพลาสติกใช้ในราว 4 ล้านล้านชิ้นต่อปี และราว 1% เท่านั้นที่คืนกลับสู่รีไซเคิล หรือทิ้งต่อคนราว 307 ชิ้นต่อคนต่อปี หรือราว 12 นาทีในการใช้ใส่สินค้า ขณะที่ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 500 ปีในการย่อยสลาย
ประเทศส่วนใหญ่จึงเริ่มจากการ Refuse ทำให้วิถีชีวิตปลอดจากพลาสติกทันทีตั้งแต่แรก ในสิ่งที่ไม่ควรเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันแต่แรก แลกกับความสะดวกสบายเหมือนเดิมบางส่วน แล้วค่อยรุกคืบไปทำในส่วนอื่นๆ ของ % Rs
ส่วนที่ยากกว่าในอนาคตคือ Upcycling ที่ต้องใช้ความมีศิลปะประกอบด้วย เพราะคำนี้เกิดครั้งแรกตั้งแต่ปี 2002 โดย William McDonough and Michael Braungart ในหนังสือของพวกเขาชื่อ Cradle to Cradle: The Way We Make Things, published in 2002 และมีการนำคำนี้ไปอ้างอิงในที่ต่างๆ อีกมากมาย เพราะผู้คนทั่วโลกเริ่มใส่ใจกับวิธีการในการได้มามากกว่าวิธีการใช้ปลายทางเท่านั้น
การเข้ากระบวนการ Upcycling เคยถูกมองว่าคือการต่อยอด Recycling เท่านั้น แต่ในความจริงแล้ว คำว่า Upcycling มีความแตกต่างทั้งในด้านกระบวนการและผลกระทบที่เกิดต่อโลก เพราะ Recycling เป็นแนวคิดแต่เพียงการเปลี่ยนขยะที่ทิ้งแล้ว ในเป็นวัสุดที่ใช้ได้อีกครั้ง (Reusable materials) เช่นเก็บขวดพลาดติกแบบแยกทิ้งเพื่อนำกลับไปคืนร้านค้า หรือเพื่อส่งต่อให้เทศบาลนำไปบริหารขยะแบบใช้ซ้ำได้
ส่วนวิธี Upcycling เป็นการก้าวหน้าที่เหนือกว่ารีไซเคิล เพราะต้องการการมีส่วนร่วมของทุกคนมากกว่า และใช้ความพยายามมากกว่า ในการหานวัตกรรมใหม่ที่ไม่ใช่การนำขยะที่มาจากวัสดุเดิม มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกอีกรอบ แต่เป็นการนำวัสดุจากขยะมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ในเชิงที่เป็นคุณภาพไม่ใช่ในเชิงปริมาณเท่านั้น และใช้ในวัตถุประสงค์อื่น และทำให้มูลค่าทางการตลาดเพิ่มขึ้นด้วย
ดังนั้น Upcycling เป็นการสร้างสิ่งที่มีประโยชน์ที่ไม่จำเป็นต้องผ่านการรีไซเคิล แต่เป็นการพัฒนาวัสดุขยะในทุกแนวทางที่เป็นไปได้ จึงเป็นการคิดแบบงานศิลปะ ที่ต้องมีทักษะ จินตนาการและทำแล้วขายได้จริง เช่น นำช้อน ซ่อม ถ้วยและวัสดุอื่นๆ รวมทั้งขยะจากเศษอาหารที่นำมาดัดแปลงมูลค่าผ่านวิศวกรรมการผลิต หรือวิศวกรรมวัสดุ (Material Engineer) การใช้ประโยชน์อื่นๆ ที่ใช้ทั้งภาวะการผลิตทางกายภาพและจรรยาบรรณของการลดขยะประกอบกัน ซึ่งต้องมีการพัฒนาอีกยาวไกลในอนาคต


กำลังโหลดความคิดเห็น