xs
xsm
sm
md
lg

ไอเดียแจ่ม รอวันโต!! “แก้วกาแฟย่อยสลายได้-รีไซเคิลใช้ปลูกต้นไม้ก็ดี”

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ปัจจุบันผู้บริโภคเกือบทั่วโลก นิยมสั่งเครื่องดื่มกาแฟที่มีหลากหลายรสชาติตามร้านคาเฟ่ ทั้งที่เป็นแบรนด์อินเตอร์ และแบรนด์โลคัล และแต่ละร้านยังมีเครื่องดื่มอีกหลายอย่างนอกเหนือจากกาแฟ
แต่บรรดาร้านคาเฟ่แทบจะทุกร้านเสิร์ฟด้วยถ้วยพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง (Single use plastic) เนื่องจากสร้างความสะดวกรวดเร็วแก่ลูกค้า (ซื้อ จ่ายเงิน รับของ จะนั่งในร้านหรือถือออกไปก็ได้ทันที) ส่วนทางร้านก็ไม่เสียเวลาทำความสะอาด (ไม่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นเกินไป หากใช้แก้วพลาสติกแทนแก้วใช้ซ้ำ)
อย่างไรก็ตาม กระแสโลกที่ต้องการให้คนลดใช้พลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกแบบที่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ถึงมีการเก็บทิ้งและนำไปกำจัดในหลุมฝังกลบอย่างถูกต้อง ก็อาจเกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
บริษัท Reduce. Reuse. Grow. (RRG) ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ตระหนักต่อปัญหาขยะพลาสติกต้องการที่จะกำจัดของเสียถ้วยกาแฟบางส่วน และเพิ่มจำนวนต้นไม้ในประเทศในขณะเดียวกัน จึงมีการพัฒนาเป็นแก้วกาแฟที่ย่อยสลายได้พร้อมทั้งใส่เมล็ดพืชที่พร้อมจะงอกเป็นต้นไม้เมื่อแก้วสลายตัว
Alex Henige ซีอีโอ RRG กล่าวว่า “ทีมกาแฟพัฒนาแก้วกาแฟสร้างขึ้นประกอบด้วยพลาสติกจากพืชแล้วฝังด้วยเมล็ดพืชที่แตกต่างของแต่ละภูมิภาคขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จำหน่ายถ้วย ถ้วยเหล่านี้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์กับเมล็ดที่ไม่ได้รับผลกระทบจากของเหลวและความร้อนเนื่องจากการป้องกันของพลาสติกย่อยสลายได้”


RRG ยังร่วมมือกับร้านค้าที่ใช้ถ้วยของพวกเขาเพื่อให้ลูกค้าที่ไม่ต้องการปลูกด้วยตัวเองสามารถทิ้งถ้วยไว้กับร้านค้าซึ่งจะทำให้แน่ใจว่าถ้วยนั้นถูกปลูกเพื่อสร้างต้นไม้จริงๆ
“ Kickstarter ของ RRG ยังให้ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์อื่นนอกเหนือจากถ้วยกาแฟเพื่อช่วยสนับสนุนการวิจัยของ บริษัท สำหรับเมล็ดพันธุ์อื่น ๆ ที่สามารถทนต่อกระบวนการในการกลายเป็นถ้วยกาแฟและมีความมั่นคงเพียงพอที่จะปลูกหลังจากนั้น”
ปัญหาขยะจากถ้วยกาแฟเป็นเรื่องใหญ่ ในแต่ละปีมีการขยะจากกาแฟถ้วยจำนวนมาก และถ้วยเหล่านั้นอาจใช้เวลาหลายทศวรรษในการย่อยสลาย:
“ในมหาสมุทรถ้วยใช้เวลาเพียงไม่กี่วันในการย่อยสลาย แต่ปัญหาก็คือพวกมันทำมาจากองค์ประกอบที่เป็นอันตรายซึ่งรวมถึงโพลีเอทิลีนและคลอรีนไดออกไซด์ Styrofoam ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้กันทั่วไปสำหรับภาชนะบรรจุเครื่องดื่มร้อนเป็นสิ่งที่เป็นฝันร้ายทางระบบนิเวศ มันแบ่งย่อยเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยพัดไปตามสายลมก่อให้เกิดมลภาวะอย่างกว้างขวาง หรือทำให้สัตว์กินได้ในรูปแบบไมโครพลาสติก แก้วของ RRG คือส่วนหนึ่งของการช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้และไม่ใช่แค่ถ้วยกาแฟ ถ้วยกระดาษสำหรับใส่ขนม หรือไอศครีมก็สามารถทำแบบนี้ได้
บริเวณใต้ถ้วยกาแฟ มีคำแนะนำปลูกต้นไม้ ซึ่งเป็นการปลูกต้นไม้ที่แสนง่าย คือ


- คลี่คลายถ้วย
- แช่ถ้วยในน้ำเป็นเวลาห้านาที
- ฝังถ้วยในดิน
- รอดูต้นไม้ขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง https://www.greenandgrowing.org


แก้วกระดาษไบโอพลาสติก ของจุฬาฯ นำมาเพาะกล้าไม้
ส่วนในประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยโครงการ Chula Zero Waste ที่ร่วมกับ GC (บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)) ก็ได้สร้างสรรค์เป็นแก้วรักษ์โลก สามารถปลูกต้นไม้ได้เช่นกัน เรียกว่า zero-waste cup หรือ แก้วกระดาษไบโอพลาสติก ซึ่งเป็นแก้วกระดาษที่เคลือบด้วย BioPBS™
เป็นนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพของจีซี ที่นำเอาพืชอย่างอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด มาเป็นวัตถุดิบในการผลิต สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยคงคุณสมบัติการใช้งานกับเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นได้ตามปกติ ที่นอกจากแก้วแล้วยังมีการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่นด้วย เพื่อเป็นพลาสติกทางเลือกให้กับผู้บริโภค และเป็นหนึ่งในแนวทางแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของวิกฤติปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
เมื่อประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ได้ร่วมกับกรมป่าไม้ นำไปทดสอบใช้ซ้ำ (Reuse) “เพาะชำกล้าไม้”เป็นการนำแก้วชนิดนี้ที่ใช้แล้ว (ทิ้งเป็นขยะ) กลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง จึงถือว่าเป็นแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเมื่อช่วยต่ออายุให้กับผลิตภัณฑ์ แถมยังลดขยะพลาสติกได้เป็นครั้งที่สอง

โครงการทดสอบแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพสำหรับการเพาะชำกล้าไม้ ทางโครงการจะนำแก้วที่ใช้แล้ว หรือแก้วที่ถูกทิ้งเป็นขยะจากโรงอาหารของจุฬาฯ กลับมาใช้ซ้ำสำหรับใช้เพาะกล้าต้นไม้ที่จะนำปลูกในป่าแทนการใช้ถุงดำพลาสติก

นอกจากเป็นวิธีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ยังช่วยกำจัดขยะแบบครบวงจร หมายความว่า คนใช้แก้ว zero-waste ย่อมช่วยลดขยะแก้วพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งที่ยากต่อกำจัด โดยเฉพาะหากหลุดลอดเป็นขยะทะเลก็เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ และเมื่อนำแก้วนี้มารียูส เพาะชำกล้าไม้ ยังลดขยะพลาสติกถุงดำที่ใช้เพาะกล้าไม้ได้เป็นต่อที่สอง
ศาสตราจารย์ ดร. ปราโมช รังสรรค์วิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ หรือ PETROMAT กล่าวถึงผลการทดลองใช้แก้ว zero-waste ของจุฬาฯ ว่าได้ร่วมกับกรมป่าไม้ แทนที่จะเอาไปฝังกลบเป็นปุ๋ย เราก็เอาไปเพาะต้นกล้า จากเดิมที่เคยใช้ถุงพลาสติกก็จะใช้แก้วนี้แทน ก่อนหน้าความร่วมมือในครั้งนี้ จุฬาฯ ได้ทดลองใช้แก้วนี้เพาะต้นกล้าไม้ภายในจุฬาฯ มาก่อนหน้าราว 6 เดือน ซึ่งได้ผลดี คือเราสามารถปลูกต้นกล้าได้โดยไม่ต้องเอาแก้วออกให้เหลือเป็นขยะเหมือนถุงพลาสติก เพราะแก้วย่อยสลายได้ จึงง่าย และสะดวกกว่าแบบเดิม ที่สำคัญคือไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเนื่องจากเป็นการนำแก้วที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำ
สำหรับเหตุผลที่ยังไม่มีร้านคาเฟ่นำไปใช้อย่างแพร่หลาย สืบเนื่องจากต้นทุนต่อใบที่ยังแพงกว่าแก้วพลาสติกถึง 2 เท่าตัว


กำลังโหลดความคิดเห็น