“เพราะว่าวิถีชีวิตเปลี่ยน เมืองเปลี่ยน ถามว่าจะแก้ได้อย่างไรคงลำบาก เพราะว่าเรามีการใช้น้ำที่ต้นทาง ต้นน้ำเยอะ และเมื่อใช้น้ำเยอะ อัตราน้ำที่ปล่อยมาเพื่อไล่น้ำเค็มก็น้อยลง เพราะฉะนั้นพลังที่ดันน้ำเค็มออกก็น้อยลง”
ถ้าพูดถึงปัญหาเรื่องน้ำกร่อยที่กำลังคุยอยู่ทุกวันนี้ ต้องมองภาพให้ใหญ่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของน้ำกร่อยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ถามว่าเรื่องน้ำกร่อยเกิดขึ้นมานานหรือยัง นานแล้วนะ สมัยก่อนเจ้าพระยาบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจะเห็นเสาที่อยู่ในน้ำเพราะว่าน้ำลงมาก ที่เด็กรุ่นใหม่จะเห็นว่าน้ำเต็มตลิ่งตลอดเวลาเป็นเพราะน้ำในเขื่อนเขาปล่อยมากถ้าเป็นสมัยก่อนแห้งมากกว่านี้ ถ้าแห้งมากกว่านี้หมายความว่าน้ำเค็มจะลึกเข้าไปมากกว่านี้อีก
แต่พอในยุคปัจจุบัน เมื่อสัก 40-50 ปีที่ผ่านมา เรามีเขื่อนในการปล่อยน้ำออกมา จุดประสงค์หลักอันหนึ่งของเขื่อนก็คือ ไล่น้ำเค็ม เมื่อเป็นอย่างนั้นก็เลยทำให้น้ำเค็มที่แต่ก่อนขึ้นไปถึงสูงมาก มันเลยขึ้นไปน้อยกว่าแต่ก่อนนี้อีก แต่อย่างไรก็ตามสมัยก่อนเราอยู่บ้านใต้ถุนสูง เราจึงชินกับสภาพของน้ำกร่อย เป็น 3 น้ำ น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม เป็นระบบนิเวศที่เราชินกับมัน มีกุ้งมีอะไรแบบธรรมชาติเสมอ ในปัจจุบันมีการควบคุมระดับน้ำเราก็มาเคยชินกับว่าน้ำต้องเป็นอย่างนี้ ต้องมีจืดและกร่อยน้อย
ซึ่งก็เป็นปัญหาจริงเพราะว่าวิถีชีวิตเปลี่ยน เมืองเปลี่ยน ถามว่าจะแก้ได้อย่างไรคงลำบาก เพราะว่าเรามีการใช้น้ำที่ต้นทาง ต้นน้ำเยอะ และเมื่อใช้น้ำเยอะ อัตราน้ำที่ปล่อยมาเพื่อไล่น้ำเค็มก็น้อยลง เพราะฉะนั้นพลังที่ดันน้ำเค็มออกก็น้อยลง ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ต้องมาถามต่อว่าแล้วมีอันตรายต่อสุขภาพไหม เอากรุงเทพฯ แล้วกัน ถามว่ามีคนกรุงเทพฯ สักกี่คนที่กินน้ำประปา เราซื้อน้ำขวดกินทั้งนั้น แล้วถ้าน้ำขวดที่ได้ อย. หรือน้ำขวดที่ได้คุณภาพเขาผ่านเครื่องกรองเกลือออกหมดแล้ว จะเห็นว่าน้ำที่ออกมาจากขวดที่ซื้อกินไม่มีความเค็มเลย เมื่อเป็นอย่างนั้นอันตรายจากความเค็มของเกลือในน้ำดื่มไม่น่าจะมีในทางปฏิบัติ เพราะเราไม่ได้กินน้ำจากก๊อก
พูดถึงตรงนี้เพื่อจะให้เกิดความตระหนกน้อยลงความกลัวน้อยลงก็คือว่า เรากำลังพูดถึงความเค็มของน้ำกร่อย ลองคิดดูซิว่าถ้าเราทำกับข้าวเราใส่เกลือเข้าไปเพื่อให้มันเค็ม เมื่อมองอย่างนั้นแล้วความเค็มหรือเกลือที่ได้จากการกินน้ำมันน้อยกว่าเกลือที่คุณใส่ไปในอาหารมากมาย ก็หมายความว่าคนปกติไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไรเท่าไหร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องไตมันเป็นปัญหาระยะยาวต้องกินทุกวันถึงจะเป็นอย่างนั้น
ปัญหานี้ก็คล้ายกับปัญหา PM2.5 คือ ถ้าเป็นคนแข็งแรง PM2.5 ทำอะไรไม่ได้ แต่คนแก่ คนสูงอายุ เด็กอ่อน หรือคนที่เป็นโรคปอดก็จะมีปัญหาเรื่องของ PM 2.5 ตรงนี้ก็เช่นเดียวกันคนมีปัญหาเรื่องโรคไตอาจจะต้องระวัง แต่คนมีปัญหาโรคไตก็ไม่ได้กินน้ำประปา ก็กินน้ำจากที่บริการน้ำขวดซึ่งกรองเอาเกลือออกไปหมดแล้ว ผมมองว่าในเชิงวิทยาศาสตร์เราอาจจะมองภาพมันร้ายเกินกว่าที่มันเป็นจริง ผมไม่ได้บอกว่าความเค็มไม่อันตราย แต่เนื่องจากวิถีชีวิตเรา เราไม่ได้เอาเกลือกินเข้าไปจากตรงน้ำกิน แปรงฟันบ้วนปากออก อาบน้ำเกลือไม่เป็นไร ถ้าจะพูดถึงในวงกว้างไม่เฉพาะในเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ หรือโรคไต ก็จะมีผลกระทบในเรื่องของเกษตรถ้ามันเค็มมากเข้าไปในนาข้าวอันนี้เป็นปัญหา
ผมเพึ่งดูคลิปเร็วๆ นี้ ทางใต้มีการปลูกข้าวในพื้นที่ทะเล ซึ่งก็แสดงว่าข้าวมีพันธุ์ทนเค็ม แต่เนื่องจากว่าเรามีการพัฒนาเพื่อให้มีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ก็เลยกลายเป็นข้าวที่ไม่ทนเค็ม ซึ่งก็เป็นปัญหาเมื่อเป็นอย่างนั้นก็ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างของคนต้องการความเค็ม เช่น คนเลี้ยงกุ้งกับคนที่ทำนาข้าวต้องการน้ำจืด อันนี้ปัญหาระดับใหญ่ที่ภาครัฐต้องมาคิดในภาพรวมแล้วบอกว่าจะจัดสรรน้ำอย่างไรเพื่อให้เกิดความยุติธรรมซึ่งแน่นอนไม่ง่าย
ถ้าพูดถึงปัญหาเรื่องน้ำกร่อยที่กำลังคุยอยู่ทุกวันนี้ ต้องมองภาพให้ใหญ่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของน้ำกร่อยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ถามว่าเรื่องน้ำกร่อยเกิดขึ้นมานานหรือยัง นานแล้วนะ สมัยก่อนเจ้าพระยาบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจะเห็นเสาที่อยู่ในน้ำเพราะว่าน้ำลงมาก ที่เด็กรุ่นใหม่จะเห็นว่าน้ำเต็มตลิ่งตลอดเวลาเป็นเพราะน้ำในเขื่อนเขาปล่อยมากถ้าเป็นสมัยก่อนแห้งมากกว่านี้ ถ้าแห้งมากกว่านี้หมายความว่าน้ำเค็มจะลึกเข้าไปมากกว่านี้อีก
แต่พอในยุคปัจจุบัน เมื่อสัก 40-50 ปีที่ผ่านมา เรามีเขื่อนในการปล่อยน้ำออกมา จุดประสงค์หลักอันหนึ่งของเขื่อนก็คือ ไล่น้ำเค็ม เมื่อเป็นอย่างนั้นก็เลยทำให้น้ำเค็มที่แต่ก่อนขึ้นไปถึงสูงมาก มันเลยขึ้นไปน้อยกว่าแต่ก่อนนี้อีก แต่อย่างไรก็ตามสมัยก่อนเราอยู่บ้านใต้ถุนสูง เราจึงชินกับสภาพของน้ำกร่อย เป็น 3 น้ำ น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม เป็นระบบนิเวศที่เราชินกับมัน มีกุ้งมีอะไรแบบธรรมชาติเสมอ ในปัจจุบันมีการควบคุมระดับน้ำเราก็มาเคยชินกับว่าน้ำต้องเป็นอย่างนี้ ต้องมีจืดและกร่อยน้อย
ซึ่งก็เป็นปัญหาจริงเพราะว่าวิถีชีวิตเปลี่ยน เมืองเปลี่ยน ถามว่าจะแก้ได้อย่างไรคงลำบาก เพราะว่าเรามีการใช้น้ำที่ต้นทาง ต้นน้ำเยอะ และเมื่อใช้น้ำเยอะ อัตราน้ำที่ปล่อยมาเพื่อไล่น้ำเค็มก็น้อยลง เพราะฉะนั้นพลังที่ดันน้ำเค็มออกก็น้อยลง ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ต้องมาถามต่อว่าแล้วมีอันตรายต่อสุขภาพไหม เอากรุงเทพฯ แล้วกัน ถามว่ามีคนกรุงเทพฯ สักกี่คนที่กินน้ำประปา เราซื้อน้ำขวดกินทั้งนั้น แล้วถ้าน้ำขวดที่ได้ อย. หรือน้ำขวดที่ได้คุณภาพเขาผ่านเครื่องกรองเกลือออกหมดแล้ว จะเห็นว่าน้ำที่ออกมาจากขวดที่ซื้อกินไม่มีความเค็มเลย เมื่อเป็นอย่างนั้นอันตรายจากความเค็มของเกลือในน้ำดื่มไม่น่าจะมีในทางปฏิบัติ เพราะเราไม่ได้กินน้ำจากก๊อก
พูดถึงตรงนี้เพื่อจะให้เกิดความตระหนกน้อยลงความกลัวน้อยลงก็คือว่า เรากำลังพูดถึงความเค็มของน้ำกร่อย ลองคิดดูซิว่าถ้าเราทำกับข้าวเราใส่เกลือเข้าไปเพื่อให้มันเค็ม เมื่อมองอย่างนั้นแล้วความเค็มหรือเกลือที่ได้จากการกินน้ำมันน้อยกว่าเกลือที่คุณใส่ไปในอาหารมากมาย ก็หมายความว่าคนปกติไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไรเท่าไหร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องไตมันเป็นปัญหาระยะยาวต้องกินทุกวันถึงจะเป็นอย่างนั้น
ปัญหานี้ก็คล้ายกับปัญหา PM2.5 คือ ถ้าเป็นคนแข็งแรง PM2.5 ทำอะไรไม่ได้ แต่คนแก่ คนสูงอายุ เด็กอ่อน หรือคนที่เป็นโรคปอดก็จะมีปัญหาเรื่องของ PM 2.5 ตรงนี้ก็เช่นเดียวกันคนมีปัญหาเรื่องโรคไตอาจจะต้องระวัง แต่คนมีปัญหาโรคไตก็ไม่ได้กินน้ำประปา ก็กินน้ำจากที่บริการน้ำขวดซึ่งกรองเอาเกลือออกไปหมดแล้ว ผมมองว่าในเชิงวิทยาศาสตร์เราอาจจะมองภาพมันร้ายเกินกว่าที่มันเป็นจริง ผมไม่ได้บอกว่าความเค็มไม่อันตราย แต่เนื่องจากวิถีชีวิตเรา เราไม่ได้เอาเกลือกินเข้าไปจากตรงน้ำกิน แปรงฟันบ้วนปากออก อาบน้ำเกลือไม่เป็นไร ถ้าจะพูดถึงในวงกว้างไม่เฉพาะในเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ หรือโรคไต ก็จะมีผลกระทบในเรื่องของเกษตรถ้ามันเค็มมากเข้าไปในนาข้าวอันนี้เป็นปัญหา
ผมเพึ่งดูคลิปเร็วๆ นี้ ทางใต้มีการปลูกข้าวในพื้นที่ทะเล ซึ่งก็แสดงว่าข้าวมีพันธุ์ทนเค็ม แต่เนื่องจากว่าเรามีการพัฒนาเพื่อให้มีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ก็เลยกลายเป็นข้าวที่ไม่ทนเค็ม ซึ่งก็เป็นปัญหาเมื่อเป็นอย่างนั้นก็ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างของคนต้องการความเค็ม เช่น คนเลี้ยงกุ้งกับคนที่ทำนาข้าวต้องการน้ำจืด อันนี้ปัญหาระดับใหญ่ที่ภาครัฐต้องมาคิดในภาพรวมแล้วบอกว่าจะจัดสรรน้ำอย่างไรเพื่อให้เกิดความยุติธรรมซึ่งแน่นอนไม่ง่าย