นึกไม่ถึงว่าสถานการณ์ขยะ ในเมืองไทยจะประสบปัญหาสะสมลุกลามลงสู่ทะเล จนไทยติดอันดับ โลกเป็น 1 ใน 5 ที่ขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุด
ซ้ำร้ายถุงพลาสติกและเศษพลาสติก ก็เป็นสาเหตุหลักที่สัตว์น้ำหลายชนิดต้องจบชีวิต เช่น วาฬ เต่าทะเล และโลมา ที่ถูกพัดมาเกยตื้นชายฝั่งทะเล ที่ชันสูตรพบมีถุงพลาสติกอยู่ในระบบทางเดินอาหาร
แม้แต่พะยูนมาเรียมที่ต้องมาตายเมื่อกลางเดือนสิงหาคมปีนี้ ก็พบว่ามีพลาสติกชิ้นเล็กๆหลายชิ้น อุดตันอยู่ในกระเพาะอาหาร
นี่จึงเป็นประจักษ์พยานว่าปัญหาขยะมีได้ทำลายแค่ระบบนิเวศของสังคมมนุษย์เท่านั้น สัตว์โลกอื่นๆ ทั้งบนบกและในน้ำก็พลอยรับกรรมด้วยน้ำมือมนุษย์
กระแสข่าวเหล่านี้จึงมีส่วนกระตุ้นให้ผู้ใฝ่ดีในสังคมเกิดความตระหนักว่าหากไม่หยุดยั้งความเลวร้ายในการทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ปัญหายิ่งบานปลายหนักหนายิ่งขึ้น
ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างน่าสังเกตและดูมีพลังน่าสนใจ ก็คือ หน่วยงานกำกับและพัฒนาตลาดทุนไทยที่มีขึ้นเร็วๆ นี้
เริ่มที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ชักชวนองค์กรธุรกิจ อาคารสำนักงานและศูนย์การค้าที่อยู่บนถนนรัชดาภิเษกย่านเดียวกัน จับมือกลุ่มนักธุรกิจเพื่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม Impact Generation องค์กรพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมรวมแล้วกว่า 30 องค์กร ผนึกกำลังสร้างปรากฏการณ์คนเมืองรูปแบบใหม่
จัดเป็นความร่วมมือของภาคสังคม ภาคธุรกิจ และภาครัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในย่านรัชดาภิเษกในนามโครงการ Care the Whale "ขยะล่องหน The Climation Collaboration @Ratchda District ปฏิบัติการร่วมลดภาวะโลกร้อนสร้างสิ่งแวดล้อมที่สมดุลส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy)จากต้นทาง
นับเป็นการรวมพลังชุมชนย่านรัชดาและองค์กรพันธมิตรที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง โดยผนึกกำลัง “ลดแล้ว ลดได้อีก” ด้วยการบันทึกมาตรการ-ทบทวน-คำนวณ-ประมวลผล การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการลดขยะต้นทาง สร้างเส้นทางเดินของขยะ
เป้าหมายก็คือ ทำให้ขยะล่องหนได้จริง เพราะทำให้สิ่งของยังใช้ต่อได้ คงจะมีกิจกรรมร่วมเรียนรู้และสร้างให้เกิดแหล่งความรู้เพื่อเป็นอีกพลังจุดประกายความคิดใหม่เกิดเป็นไลฟ์สไตล์คนไทยยุคใหม่ที่จะไม่สร้างอะไรให้กลายเป็นขยะ
มาดูสื่ออาคารและหน่วยงานนำขบวนที่ร่วมรายการนี้จัดการไม่ให้มีขยะที่เริ่มจากตึกของตัวเอง ก็นับว่าเป็นขบวนตึกเด่นที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีในย่านนี้ ได้แก่
1. แกรนด์เมอร์เคียว กรุงเทพฯ ฟอร์จูน
2. ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน)
3. เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 โดย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
5. IDEO Ratchada-Huay Kwang
6. Emerald Residence
7. อาคาร เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์
8. อาคาร ซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์
9. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
10. บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
11. บริษัท เดอะ สตรีท รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
12. บริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย
13. บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
14. บริษัท ร้อกเวิธ จำกัด (มหาชน)
เหมือนใจตรงกัน ก.ล.ต. ก็ได้เชิญชวนบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในบริเวณถนนวิภาวดีฯ เข้าร่วมโครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” ก็จะเปิดตัวในวันสิ่งแวดล้อมไทย วันที่ 4 ธันวาคม 2562
รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) บอกว่า “การทำความดีเพื่อแผ่นดินสามารถเริ่มต้นจากเรื่องใกล้ตัว ดังนั้น ก.ล.ต.ซึ่งมีสำนักงานอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต จึงได้ริเริ่มโครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” และเชิญชวนบริษัทจดทะเบียนที่ตั้งอยู่ในบริเวณถนนนี้ มาร่วมกันบริหารจัดการขยะภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดขยะที่ไม่สามารถหมุนเวียนไปใช้หรือทำประโยชน์อย่างอื่นให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีและสามารถขยายผลไปยังองค์กรอื่นได้”
โครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” ดำเนินการภายใต้ “โครงการเสริมสร้างตลาดทุนธรรมาภิบาลเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” ที่ ก.ล.ต. และหน่วยงานในตลาดทุน 12 องค์กรร่วมกันจัดทำและมีพิธีเปิดโครงการไปเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562 เพื่อให้หน่วยงานและบุคลากรในตลาดทุนร่วมกันทำความดี
มองอีกแง่หนึ่งก็เป็นการขับเคลื่อนตลาดทุนไทยสู่ความยั่งยืนตามบทบาทของแต่ละหน่วยงานให้ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ และจะพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกันเพื่อสนับสนุนองค์กรที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้แล้วให้สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
ขณะเดียวกัน โครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” จะเป็นส่วนสำคัญในการเริ่มต้นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมของเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (TRBN) ที่สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ได้ร่วมกับก.ล.ต. และอีก 7 องค์กรจัดตั้งขึ้น
ก.ล.ต. จะเชิญชวน บจ.ที่มีการทำ หรือมีโครงการอยู่ในแนวถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 38 แห่ง เข้าร่วมโครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ”
เพื่อให้มีการปักหมุดการเริ่มโครงการนี้อย่างเป็นทางการและสื่อสารออกไปในวงการ ก.ล.ต.จะจัดงานเปิดตัวโครงการในวันสิ่งแวดล้อมไทยในวันที่ 4 ธันวาคม 2562 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ที่ทำการของ ก.ล.ต โดยจะเชิญบจ.ที่มีองค์กรความรู้และได้ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังในการบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการไปร่วมแถลงข่าว
ข้อคิด...
นี่เป็นตัวอย่างของการเคลื่อนไหวของหน่วยงานภาครัฐที่นำขบวนภาคเอกชนให้มีบทบาทลดความบอบช้ำของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม
โดยเฉพาะการมีจิตสำนึกที่ดีขององค์กรในตลาดทุนจึงมีความหมายมาก เพราะเป็นบริษัทมหาชนควรเป็นตัวอย่างที่ดี เมื่อมีความคิด ความเชื่อเรื่อง CSR ในการดำเนินกิจการ คือมีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมซึ่งควรเป็นรากแก้วหรือ DNA ของผู้บริหาร
ทั้งนี้ องค์ประกอบ 3 มิติ (ESG) ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD) คือ (E) เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (S) รับผิดชอบต่อสังคม (G) มีธรรมาภิบาล ล้วนเชื่อมโยงกันโดยเริ่มจากมี Good Governance
อย่างเรื่องการจัดการขยะและไม่ปล่อยให้ขยะเป็นภาระสังคม ก็เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ จึงต้องสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คือใช้พัสดุ หีบห่ออย่างคุ้มค่า ลด-เลิกใช้ถุงพลาสติกหรือใช้เท่าที่จำเป็นและใช้ซ้ำ เพื่อลดและจัดการขยะอย่างรับผิดชอบต่อสังคม
ทางออกที่ยั่งยืน ต้องมีมาตรการและวิธีการเพื่อการใช้สิ่งของอย่างรู้ค่า ใช้แล้วทิ้งให้ถูกที่ และรู้จักแยกขยะเพื่อให้กลายเป็นวัตถุดิบรีไซเคิลสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก
suwatmgr@gmail.com
ซ้ำร้ายถุงพลาสติกและเศษพลาสติก ก็เป็นสาเหตุหลักที่สัตว์น้ำหลายชนิดต้องจบชีวิต เช่น วาฬ เต่าทะเล และโลมา ที่ถูกพัดมาเกยตื้นชายฝั่งทะเล ที่ชันสูตรพบมีถุงพลาสติกอยู่ในระบบทางเดินอาหาร
แม้แต่พะยูนมาเรียมที่ต้องมาตายเมื่อกลางเดือนสิงหาคมปีนี้ ก็พบว่ามีพลาสติกชิ้นเล็กๆหลายชิ้น อุดตันอยู่ในกระเพาะอาหาร
นี่จึงเป็นประจักษ์พยานว่าปัญหาขยะมีได้ทำลายแค่ระบบนิเวศของสังคมมนุษย์เท่านั้น สัตว์โลกอื่นๆ ทั้งบนบกและในน้ำก็พลอยรับกรรมด้วยน้ำมือมนุษย์
กระแสข่าวเหล่านี้จึงมีส่วนกระตุ้นให้ผู้ใฝ่ดีในสังคมเกิดความตระหนักว่าหากไม่หยุดยั้งความเลวร้ายในการทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ปัญหายิ่งบานปลายหนักหนายิ่งขึ้น
ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างน่าสังเกตและดูมีพลังน่าสนใจ ก็คือ หน่วยงานกำกับและพัฒนาตลาดทุนไทยที่มีขึ้นเร็วๆ นี้
เริ่มที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ชักชวนองค์กรธุรกิจ อาคารสำนักงานและศูนย์การค้าที่อยู่บนถนนรัชดาภิเษกย่านเดียวกัน จับมือกลุ่มนักธุรกิจเพื่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม Impact Generation องค์กรพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมรวมแล้วกว่า 30 องค์กร ผนึกกำลังสร้างปรากฏการณ์คนเมืองรูปแบบใหม่
จัดเป็นความร่วมมือของภาคสังคม ภาคธุรกิจ และภาครัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในย่านรัชดาภิเษกในนามโครงการ Care the Whale "ขยะล่องหน The Climation Collaboration @Ratchda District ปฏิบัติการร่วมลดภาวะโลกร้อนสร้างสิ่งแวดล้อมที่สมดุลส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy)จากต้นทาง
นับเป็นการรวมพลังชุมชนย่านรัชดาและองค์กรพันธมิตรที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง โดยผนึกกำลัง “ลดแล้ว ลดได้อีก” ด้วยการบันทึกมาตรการ-ทบทวน-คำนวณ-ประมวลผล การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการลดขยะต้นทาง สร้างเส้นทางเดินของขยะ
เป้าหมายก็คือ ทำให้ขยะล่องหนได้จริง เพราะทำให้สิ่งของยังใช้ต่อได้ คงจะมีกิจกรรมร่วมเรียนรู้และสร้างให้เกิดแหล่งความรู้เพื่อเป็นอีกพลังจุดประกายความคิดใหม่เกิดเป็นไลฟ์สไตล์คนไทยยุคใหม่ที่จะไม่สร้างอะไรให้กลายเป็นขยะ
มาดูสื่ออาคารและหน่วยงานนำขบวนที่ร่วมรายการนี้จัดการไม่ให้มีขยะที่เริ่มจากตึกของตัวเอง ก็นับว่าเป็นขบวนตึกเด่นที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีในย่านนี้ ได้แก่
1. แกรนด์เมอร์เคียว กรุงเทพฯ ฟอร์จูน
2. ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน)
3. เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 โดย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
5. IDEO Ratchada-Huay Kwang
6. Emerald Residence
7. อาคาร เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์
8. อาคาร ซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์
9. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
10. บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
11. บริษัท เดอะ สตรีท รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
12. บริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย
13. บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
14. บริษัท ร้อกเวิธ จำกัด (มหาชน)
เหมือนใจตรงกัน ก.ล.ต. ก็ได้เชิญชวนบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในบริเวณถนนวิภาวดีฯ เข้าร่วมโครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” ก็จะเปิดตัวในวันสิ่งแวดล้อมไทย วันที่ 4 ธันวาคม 2562
รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) บอกว่า “การทำความดีเพื่อแผ่นดินสามารถเริ่มต้นจากเรื่องใกล้ตัว ดังนั้น ก.ล.ต.ซึ่งมีสำนักงานอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต จึงได้ริเริ่มโครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” และเชิญชวนบริษัทจดทะเบียนที่ตั้งอยู่ในบริเวณถนนนี้ มาร่วมกันบริหารจัดการขยะภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดขยะที่ไม่สามารถหมุนเวียนไปใช้หรือทำประโยชน์อย่างอื่นให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีและสามารถขยายผลไปยังองค์กรอื่นได้”
โครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” ดำเนินการภายใต้ “โครงการเสริมสร้างตลาดทุนธรรมาภิบาลเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” ที่ ก.ล.ต. และหน่วยงานในตลาดทุน 12 องค์กรร่วมกันจัดทำและมีพิธีเปิดโครงการไปเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562 เพื่อให้หน่วยงานและบุคลากรในตลาดทุนร่วมกันทำความดี
มองอีกแง่หนึ่งก็เป็นการขับเคลื่อนตลาดทุนไทยสู่ความยั่งยืนตามบทบาทของแต่ละหน่วยงานให้ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ และจะพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกันเพื่อสนับสนุนองค์กรที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้แล้วให้สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
ขณะเดียวกัน โครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” จะเป็นส่วนสำคัญในการเริ่มต้นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมของเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (TRBN) ที่สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ได้ร่วมกับก.ล.ต. และอีก 7 องค์กรจัดตั้งขึ้น
ก.ล.ต. จะเชิญชวน บจ.ที่มีการทำ หรือมีโครงการอยู่ในแนวถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 38 แห่ง เข้าร่วมโครงการ “ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ”
เพื่อให้มีการปักหมุดการเริ่มโครงการนี้อย่างเป็นทางการและสื่อสารออกไปในวงการ ก.ล.ต.จะจัดงานเปิดตัวโครงการในวันสิ่งแวดล้อมไทยในวันที่ 4 ธันวาคม 2562 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ที่ทำการของ ก.ล.ต โดยจะเชิญบจ.ที่มีองค์กรความรู้และได้ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังในการบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการไปร่วมแถลงข่าว
ข้อคิด...
นี่เป็นตัวอย่างของการเคลื่อนไหวของหน่วยงานภาครัฐที่นำขบวนภาคเอกชนให้มีบทบาทลดความบอบช้ำของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม
โดยเฉพาะการมีจิตสำนึกที่ดีขององค์กรในตลาดทุนจึงมีความหมายมาก เพราะเป็นบริษัทมหาชนควรเป็นตัวอย่างที่ดี เมื่อมีความคิด ความเชื่อเรื่อง CSR ในการดำเนินกิจการ คือมีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมซึ่งควรเป็นรากแก้วหรือ DNA ของผู้บริหาร
ทั้งนี้ องค์ประกอบ 3 มิติ (ESG) ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD) คือ (E) เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (S) รับผิดชอบต่อสังคม (G) มีธรรมาภิบาล ล้วนเชื่อมโยงกันโดยเริ่มจากมี Good Governance
อย่างเรื่องการจัดการขยะและไม่ปล่อยให้ขยะเป็นภาระสังคม ก็เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ จึงต้องสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คือใช้พัสดุ หีบห่ออย่างคุ้มค่า ลด-เลิกใช้ถุงพลาสติกหรือใช้เท่าที่จำเป็นและใช้ซ้ำ เพื่อลดและจัดการขยะอย่างรับผิดชอบต่อสังคม
ทางออกที่ยั่งยืน ต้องมีมาตรการและวิธีการเพื่อการใช้สิ่งของอย่างรู้ค่า ใช้แล้วทิ้งให้ถูกที่ และรู้จักแยกขยะเพื่อให้กลายเป็นวัตถุดิบรีไซเคิลสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก
suwatmgr@gmail.com