ณ พ.ศ.นี้ แนวทางหลักของการทำ CSR หรือการดำเนินกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้มีพัฒนาการไปไกล ทั้งการเสริมหลายรูปแบบกลยุทธ์และกระบวนการลงมือทำที่เห็นผลดี และเครื่องมือการวัดผล
พัฒนาการกระแสหลักเราจึงได้เห็นหลายสถาบันพยายามส่งเสริมให้ยกระดับจากการทำกิจกรรม CSR แบบอาสาสมัครรักษ์โลก หรือการบริจาค ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก เป็นครั้งคราวให้พัฒนาเป็นกระบวนการผนึกในแผนงานธุรกิจ
แนวโน้มขององค์กรธุรกิจที่มีจิตสำนึก CSR จึงเป็นการขับเคลื่อนองค์กรที่มุ่งสู่ความยั่งยืน ซึ่งเป็นกระแสโลกยุคปัจจุบันที่ให้ความสำคัญด้วยหลัก ESG คือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental) รับผิดชอบต่อสังคม (Social) และมีธรรมาภิบาล (Governance)
เรียกว่าต้องการแนวทางตอบโจทย์การบริหารธุรกิจยุคใหม่ที่ชูประเด็นความยั่งยืนเป็นกลยุทธ์เพื่อสร้างผลประกอบการที่มีคุณค่า และมูลค่า ขณะเดียวกันก็เกิดผลดีที่ยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันไทยพัฒน์ ก็ได้เปิดตัว 2 บริการใหม่เสนอต่อวงการธุรกิจ ได้แก่ การสร้างคุณค่าแห่งความยั่งยืน (S-Value) และการสร้างผลกระทบแห่งความยั่งยืน (S-Impact) เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดผลลัพธ์จากการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนของกิจการ เป็นการวัดผลตอบแทนจากความยั่งยืน หรือ Return on Sustainability
S-Value เป็นการนำเครื่องมือ Value Driver Model ที่พัฒนาขึ้นโดย หน่วยงาน UN Global Compact และ UN-supported Principles for Responsible Investment (PRI) มาใช้ออกแบบและสร้างคุณค่าที่หวังผลทางการเงินของกิจการ จากการดำเนินงานที่มุ่งความยั่งยืนใน 3 มิติ ได้แก่ การเติบโตของรายได้ของธุรกิจรักษ์โลก (Growth) ผลิตภาพ/ประหยัดต้นทุน (Productivity) และการจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
S-Impact เป็นการนำเครื่องมือ Impact Management ที่พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือขององค์กรชั้นนำหลายแห่ง อาทิ UNDP, OECD, GRI ฯลฯ ภายใต้กลุ่ม IMP (Impact Management Project) มาใช้ออกแบบการดำเนินงานเรื่องความยั่งยืนเพื่อสร้างและบริหารจัดการผลกระทบต่อสังคม หรือผู้มีส่วนได้เสียที่ระบุผลสำคัญได้และรอบด้านใน 5 มิติ ได้แก่ ผลลัพธ์อะไร (What) กระทบใคร (Who) เท่าใด (How Much) ระดับการเข้ามีส่วนร่วม (Contribution) และความเสี่ยง (Risk)
วรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ แนะนำว่า “บริการ S-Value เหมาะสำหรับการวัดผล ที่เกิดขึ้นกับองค์กร (Internal Benefit) ขณะที่ S-Impact เหมาะสำหรับการวัดผลลัพธ์ภายนอก (External Benefit) ที่เกิดขึ้นกับสังคมหรือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มที่เป็นเป้าหมาย จากการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนของกิจการ”
ดังนั้นองค์กรธุรกิจที่นำเครื่องมือทั้งสองไปใช้ควบคู่กันไป ก็จะได้เห็นทั้งคุณค่าภายในและผลกระทบภายนอก ในลักษณะผลได้รวม (Total Benefit) ที่ตอบโจทย์การวัดผลที่เป็น Return on Sustainability จากการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนได้อย่างรอบด้าน
ทั้งนี้ผู้สนใจ สามารถแวะชมข้อมูลที่ Sustainability Store ทางเว็บไซต์ http://thaipat.org ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อคิด...
ใครที่เคยพูดถึง CSR แบบง่ายๆ ว่าเป็นกิจกรรมการช่วยสังคม หรือการบริจาค ต้องรีบรับความคิดและวิธีทำให้ทันยุคกันแล้ว
ขณะที่ผู้บริหารวงการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ใฝ่ดี รักความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่างก็ตระหนักรู้ว่าต้องสื่อสารให้สังคมเชื่อถือว่าเป็นกิจการที่ “เก่งและดี” เพื่อจะได้คบค้าและสนับสนุนด้วย
การแสดงออกว่าเป็นองค์กรที่มีบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคม หรือมี CSR จึงเป็นเรื่องจำเป็น
แต่จะเป็นการ “ทำตามกระแส” เพราะอยากให้ดูดีหรือ “ทำเพราะเชื่อว่ามีคุณค่า” ก็เป็นประเด็นที่ต้องพิสูจน์จุดยืนและผลลัพธ์ให้สังคมได้ประจักษ์
บทบาทการให้คำปรึกษาและฝึกอบรมของสถาบันไทยพัฒน์ที่เสนอ 2 บริการล่าสุด เพื่อสร้างคุณค่าแห่งความยั่งยืน (S-Value) และการสร้างผลกระทบแห่งความยั่งยืน (S-Impact) แก่วงการธุรกิจ จึงเป็นการยืนยันเชิงยุทธศาสตร์ของ “พลังผนึกแห่งความยั่งยืน”
เพราะการได้มีแนวทางในการขับเคลื่อนกิจการที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนโดยคำนึงถึงกรอบ ESG ซึ่งประกอบด้วย การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (E) รับผิดชอบต่อสังคม (S) และยึดหลักธรรมาภิบาล (G) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเกณฑ์วัดดัชนีความยั่งยืนในระดับโลก
ดังนั้นการเปิดตัว 2 บริการที่ใช้เครื่องมือ Value Driver Model หรือ VDM มาวัดผลเชิงคุณค่าของการประกอบกิจการ และใช้ Impact Management หรือ IM มาวัดผลกระทบภายนอกที่อาจเป็นบวกหรือลบต่อสังคม ผู้มีส่วนได้เสีย และสิ่งแวดล้อม
นี่เป็นการตอบโจทย์แก่สังคมโดยเฉพาะนักลงทุนมืออาชีพที่สนใจผลลัพธ์การสร้างคุณค่า และระดับของผลกระทบ ซึ่งเป็นปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลถึงความยั่งยืน และเป็นข้อมูลที่ไม่ปรากฎในงบการเงิน แต่นักลงทุนอยากรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงและเป็นข้อมูลใช้ในการเลือกคบค้าและสนับสนุน
suwatmgr@gmail.com
พัฒนาการกระแสหลักเราจึงได้เห็นหลายสถาบันพยายามส่งเสริมให้ยกระดับจากการทำกิจกรรม CSR แบบอาสาสมัครรักษ์โลก หรือการบริจาค ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก เป็นครั้งคราวให้พัฒนาเป็นกระบวนการผนึกในแผนงานธุรกิจ
แนวโน้มขององค์กรธุรกิจที่มีจิตสำนึก CSR จึงเป็นการขับเคลื่อนองค์กรที่มุ่งสู่ความยั่งยืน ซึ่งเป็นกระแสโลกยุคปัจจุบันที่ให้ความสำคัญด้วยหลัก ESG คือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental) รับผิดชอบต่อสังคม (Social) และมีธรรมาภิบาล (Governance)
เรียกว่าต้องการแนวทางตอบโจทย์การบริหารธุรกิจยุคใหม่ที่ชูประเด็นความยั่งยืนเป็นกลยุทธ์เพื่อสร้างผลประกอบการที่มีคุณค่า และมูลค่า ขณะเดียวกันก็เกิดผลดีที่ยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันไทยพัฒน์ ก็ได้เปิดตัว 2 บริการใหม่เสนอต่อวงการธุรกิจ ได้แก่ การสร้างคุณค่าแห่งความยั่งยืน (S-Value) และการสร้างผลกระทบแห่งความยั่งยืน (S-Impact) เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดผลลัพธ์จากการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนของกิจการ เป็นการวัดผลตอบแทนจากความยั่งยืน หรือ Return on Sustainability
S-Value เป็นการนำเครื่องมือ Value Driver Model ที่พัฒนาขึ้นโดย หน่วยงาน UN Global Compact และ UN-supported Principles for Responsible Investment (PRI) มาใช้ออกแบบและสร้างคุณค่าที่หวังผลทางการเงินของกิจการ จากการดำเนินงานที่มุ่งความยั่งยืนใน 3 มิติ ได้แก่ การเติบโตของรายได้ของธุรกิจรักษ์โลก (Growth) ผลิตภาพ/ประหยัดต้นทุน (Productivity) และการจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
S-Impact เป็นการนำเครื่องมือ Impact Management ที่พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือขององค์กรชั้นนำหลายแห่ง อาทิ UNDP, OECD, GRI ฯลฯ ภายใต้กลุ่ม IMP (Impact Management Project) มาใช้ออกแบบการดำเนินงานเรื่องความยั่งยืนเพื่อสร้างและบริหารจัดการผลกระทบต่อสังคม หรือผู้มีส่วนได้เสียที่ระบุผลสำคัญได้และรอบด้านใน 5 มิติ ได้แก่ ผลลัพธ์อะไร (What) กระทบใคร (Who) เท่าใด (How Much) ระดับการเข้ามีส่วนร่วม (Contribution) และความเสี่ยง (Risk)
วรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ แนะนำว่า “บริการ S-Value เหมาะสำหรับการวัดผล ที่เกิดขึ้นกับองค์กร (Internal Benefit) ขณะที่ S-Impact เหมาะสำหรับการวัดผลลัพธ์ภายนอก (External Benefit) ที่เกิดขึ้นกับสังคมหรือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มที่เป็นเป้าหมาย จากการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนของกิจการ”
ดังนั้นองค์กรธุรกิจที่นำเครื่องมือทั้งสองไปใช้ควบคู่กันไป ก็จะได้เห็นทั้งคุณค่าภายในและผลกระทบภายนอก ในลักษณะผลได้รวม (Total Benefit) ที่ตอบโจทย์การวัดผลที่เป็น Return on Sustainability จากการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนได้อย่างรอบด้าน
ทั้งนี้ผู้สนใจ สามารถแวะชมข้อมูลที่ Sustainability Store ทางเว็บไซต์ http://thaipat.org ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อคิด...
ใครที่เคยพูดถึง CSR แบบง่ายๆ ว่าเป็นกิจกรรมการช่วยสังคม หรือการบริจาค ต้องรีบรับความคิดและวิธีทำให้ทันยุคกันแล้ว
ขณะที่ผู้บริหารวงการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ใฝ่ดี รักความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่างก็ตระหนักรู้ว่าต้องสื่อสารให้สังคมเชื่อถือว่าเป็นกิจการที่ “เก่งและดี” เพื่อจะได้คบค้าและสนับสนุนด้วย
การแสดงออกว่าเป็นองค์กรที่มีบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคม หรือมี CSR จึงเป็นเรื่องจำเป็น
แต่จะเป็นการ “ทำตามกระแส” เพราะอยากให้ดูดีหรือ “ทำเพราะเชื่อว่ามีคุณค่า” ก็เป็นประเด็นที่ต้องพิสูจน์จุดยืนและผลลัพธ์ให้สังคมได้ประจักษ์
บทบาทการให้คำปรึกษาและฝึกอบรมของสถาบันไทยพัฒน์ที่เสนอ 2 บริการล่าสุด เพื่อสร้างคุณค่าแห่งความยั่งยืน (S-Value) และการสร้างผลกระทบแห่งความยั่งยืน (S-Impact) แก่วงการธุรกิจ จึงเป็นการยืนยันเชิงยุทธศาสตร์ของ “พลังผนึกแห่งความยั่งยืน”
เพราะการได้มีแนวทางในการขับเคลื่อนกิจการที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนโดยคำนึงถึงกรอบ ESG ซึ่งประกอบด้วย การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (E) รับผิดชอบต่อสังคม (S) และยึดหลักธรรมาภิบาล (G) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเกณฑ์วัดดัชนีความยั่งยืนในระดับโลก
ดังนั้นการเปิดตัว 2 บริการที่ใช้เครื่องมือ Value Driver Model หรือ VDM มาวัดผลเชิงคุณค่าของการประกอบกิจการ และใช้ Impact Management หรือ IM มาวัดผลกระทบภายนอกที่อาจเป็นบวกหรือลบต่อสังคม ผู้มีส่วนได้เสีย และสิ่งแวดล้อม
นี่เป็นการตอบโจทย์แก่สังคมโดยเฉพาะนักลงทุนมืออาชีพที่สนใจผลลัพธ์การสร้างคุณค่า และระดับของผลกระทบ ซึ่งเป็นปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลถึงความยั่งยืน และเป็นข้อมูลที่ไม่ปรากฎในงบการเงิน แต่นักลงทุนอยากรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงและเป็นข้อมูลใช้ในการเลือกคบค้าและสนับสนุน
suwatmgr@gmail.com