เมื่ออยู่ “ภายในบ้าน” เราควรจะหมั่นสังเกต ดูว่า
1.ปิดประตูหน้าต่างให้สนิทขณะที่มีระดับมลพิษสูง
2.ใช้เครื่องปรับอากาศที่มีระบบหมุนเวียนอากาศภายในบ้าน
3.หมั่นทำความสะอาดบ้าน
4.เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศให้เป็นเครื่องฟอกอากาศ อย่างประหยัดค่าใช้จ่าย โดยติดแผ่นกรอง HEPA (High Efficuency Particulate Air Filter) ซึ่งสามารถกรองฝุ่นขนาดเล็กได้ถึง 0.3 ไมครอน
5.ปลูกต้นไม้บางชนิดในบ้านที่มีคุณสมบัติลดมลพิษ เช่น ลิ้นมังกร พลูด่าง และบอสตันเพิร์น เป็นต้น
6.คอยกลั้วคอด้วยน้ำสะอาด
7.หากจะใช้เครื่องฟอกอากาศ ต้องพิจารณาใช้ชนิดที่มีเครื่องกรองอนุภาคประสิทธิภาพสูง
เมื่อออกไป “นอกบ้าน” เราควรจะหมั่นสังเกตตนเองและคนใกล้ชิด
1.สวมหน้ากาก NP5 หรือ N99 ที่สามารถป้องกันทางเดินหายใจได้ โดยสวมใส่อย่างถูกวิธีและกระชับใบหน้า
2.งดออกกำลังกายนอกบ้าน
3.ลดการใช้รถยนต์ หรือใช้เท่าที่จำเป็น
4.การเดินทางขณะขับรถ ให้ใช้ฟังก์ชันหมุนเวียนอากาศภายในรถ เพื่อช่วยระบายความหนาแน่นของฝุ่น
5.หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นควัน เช่น การปิ้งย่าง ใช้เตาถ่าน สูบบุหรี่ จุดธูปเทียน การเผาขยะ เผาชีวมวล
6.หมั่นตรวจเช็กเครื่องยนต์ของรถยนต์และมอเตอร์ไซค์
7.ติดตามข่าวสารสภาวะอากาศเป็นประจำ จาก AirVisual Air Quality Forecast , Air4Thai, Plume Air Report App
ข้อมูลอ้างอิง : จากเวทีเสวนาระดมความคิด “ผนึกกำลังฝ่าวิกฤตฝุ่นพิษ PM2.5 อยู่กับฝุ่นอย่างไร..ให้ชีวิตรอดปลอดภัย” โดยคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)