ถือว่าเป็นตัวอย่างของโรงเรียนที่ลงมือจัดการฝุ่นด้วยตนเอง ทั้งที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของโรงเรียนสอนกันในห้องเปิดโล่ง (ไม่ใช่ห้องแอร์)
ที่ตั้งของโรงเรียน อยู่บริเวณถนนพระราม 2 ซอย 33 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ตรวจพบมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ปกคลุมสูง มีค่าเกินกว่ามาตรฐานจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักเรียนได้
จากสถานการณ์ฝุ่นที่กระจายตัวปกคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร อย่างต่อเนื่องมาระยะหนึ่งนั้น ทางโรงเรียนจึงได้ทำการศึกษาข้อมูลและปรึกษากับผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางด้านต่างๆ ทั้ง คณะแพทย์ จากโรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล แพทย์และเจ้าหน้าที่จากกรมควบคุมโรค เจ้าหน้าที่จากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศและสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทำให้ได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในด้านต่าง ๆ
และทางโรงเรียนนำข้อมูลมาพิจารณา พร้อมได้กำหนดเป็นมาตรการป้องกันปัญหาฝุ่นละอองไว้อย่างเป็นขั้นตอน ดังนี้
1. ลดจำนวนรถยนต์ที่เข้ามาในเขตโรงเรียนที่ใกล้อาคารเรียน
1.1 ขอความร่วมมือจากครู บุคลากร และผู้ปกครองในเรื่องการใช้รถ หรือการดับเครื่องยนต์ โดยเฉพาะถนนบริเวณด้านหลัง ซึ่งเป็นทิศเหนือจากพื้นที่อาคารเรียนทั้งหมด ทำให้ฝุ่นจากการเผาไหม้เครื่องลอยตัวและเข้าอาคารเรียนเติมกับฝุ่นที่มาจากด้านพระรามที่2
1.2 กำหนดจุดรับส่งนักเรียนด้านนอกที่ห่างจากเขตอาคารเรียนเช่น กำหนดบริเวณเรือนไทยเป็นจุดรับส่งเท่านั้น
2.ปรับเปลี่ยนบริเวณระเบียงด้านหลังอาคารด้านทิศเหนือซึ่งรับกระแสลมมลพิษจากถนนพระราม ๒ โดยตรง เช่นระเบียงด้านหลังอาคารประภัสสรให้มีการเอื้อต่อการกรองฝุ่น เช่นทำระเบียงที่มีระแนงไม้สำหรับปลูกไม้แขวน ไม้ประดับที่มีการวิจัยได้ว่า ดักจับฝุ่นขนาดเล็กได้ผล (เคราฤๅษี)โดยจะมีการเก็บข้อมูลในเชิงววิทยาศาสตร์ศาสตร์โดยกลุ่มครู และ นักเรียน เพื่อแสดงผลที่ได้ว่าวิธีการนี้ได้ผลหรือไม่อย่างไร รวมถึงเพิ่มพัดลมไอน้ำเพื่อช่วยในการดักจับฝุ่นขนาดเล็ก
3.ทำม่านละอองน้ำระยะความสูงประมาณชั้น 4 ฉีดเป็นม่านหลังอาคารประภัสสร กระทั่ง เป็นแนวยาวต่อเนื่องผ่านส่วนที่เป็นแปลงผักเพื่อให้ได้ประโยชน์จากน้ำ และบังกระแสลมทางทิศเหนือที่เป็นฝุ่นจากถนนพระรามที่ 2 ถึงหลังอาคารเรียนอนุบาล
4.ติดตั้งเครื่องวัดค่าฝุ่นที่ได้มาตรฐาน โดยมีการทำสถิติข้อมูลที่ชัดเจน เพื่ออ้างอิงและออกแบบกิจกรรมการเรียนให้เหมาะสมและกำหนดเวลาการมาและกลับของนักเรียน โดยกำหนดจุดแจ้งเตือนภายในโรงเรียนเพื่อประกาศของถึงข้อควรปฏิบัติ และข้อห้าม ให้ครูและนักเรียนทราบแบบ real time พร้อมกับฝ่ายสื่อแสดง สัญลักษณ์แบบภาพให้เข้าใจง่ายๆ ปฏิบัติได้ทันที โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ชัดเจน น่าเชื่อถือได้ เช่น Application Air4thai หรือ Airvisual
5.การให้ความรู้กับนักเรียน โดยอาจจะอยู่ในการเรียนการสอน กระตุ้นให้นักเรียนตระหนักถึงผลกระทบจากเหตุการณ์ในปัจจุบัน ที่จะเกิดกับตนเอง และตระหนักถึงการดูแลตนเองในสภาวะวิกฤติ โดยเฉพาะการสวมหน้ากากที่ถูกวิธี
6.เพิ่มจุด safe zone ในโรงเรียน โดยการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศในห้องปิดที่นักเรียนได้เข้าไปใช้ เช่น ห้องสมุด ห้องประชุม ห้องIT ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องพละ ห้องดนตรี
7.จัดตั้งกลุ่มครูที่จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการติดตามสถานการณ์ และร่วมวิจัยหาทางแก้ไขปัญหา และทำงานร่วมกับผู้ปกครอง นักวิชาการ
8. ครูคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีผลจากปริมาณฝุ่นแบบชัดเจนทั้งนักเรียนและครู เพื่อคอยสังเกต ดูแลป้องกัน พร้อมกับชวนครูห้องพยาบาลออกแบบการให้ความรู้กับครูและนักเรียนถึงวิธีการสังเกตอาการ