xs
xsm
sm
md
lg

เทสโก้ โลตัส จุดกระแส “กินได้ ไม่ทิ้งกัน” เจตนารมณ์ไม่ทิ้งอาหารที่ยังกินได้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

มร.จอห์น คริสตี้
จุดกระแสสร้างพลังขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ลดวิกฤตขยะจากอาหาร เริ่ม 23 ไฮเปอร์มาร์เก็ตทั่วกรุงเทพ บริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดทุกวันให้ผู้ยากไร้

เทสโก้ โลตัส ผู้นำจุดกระแสลดวิกฤติขยะจากอาหาร ประกาศเจตนารมณ์ไม่ทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ เผยโมเดลลดการสูญเสียอาหารตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ลดการสูญเสียและการทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ตั้งแต่แหล่งเพาะปลูก ระหว่างกระบวนการขนส่งในร้านค้า ไปจนถึงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน ผ่านโครงการ กินได้ ไม่ทิ้งกัน นับว่าเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกรายแรกในประเทศไทยที่บริจาคอาหารสดซึ่งจำหน่ายไม่หมดให้ผู้ยากไร้ทุกวัน เริ่มต้นนำร่องจากไฮเปอร์มาร์เก็ต 23 สาขาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ก่อนขยายสู่ทุกสาขาใหญ่ทั่วประเทศในอนาคต

มร.จอห์น คริสตี้ ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า “ในทุกๆ วัน เทสโก้ โลตัส จำหน่ายอาหารสดในปริมาณมากให้แก่ลูกค้า ถึงแม้การสูญเสียและการทิ้งอาหารในธุรกิจค้าปลีกจะเป็นปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับในกระบวนการต้นน้ำที่แหล่งเพาะปลูกและปลายน้ำคือการทิ้งอาหารของผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยปริมาณอาหารสดที่เทสโก้ โลตัส จำหน่าย ทำให้การลดการทิ้งอาหารในการดำเนินธุรกิจของเราเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญ เราตระหนักดีถึงความรับผิดชอบและบทบาทของเราที่จะช่วยลดปริมาณขยะที่มาจากอาหาร เทสโก้ โลตัส ขอประกาศเจตนารมณ์ในการเป็นผู้นำลดการทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ในประเทศไทย”

องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ข้อที่ 12 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน โดยมีเป้าหมาย 12.3 ว่าด้วยการลดขยะเศษอาหารของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ภายในปี พ.ศ. 2573 กลุ่มเทสโก้ สนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย 12.3 นี้ และได้ประกาศเจตนารมณ์ว่าจะไม่ทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ในธุรกิจค้าปลีกของกลุ่ม เทสโก้ใน
สหราชอาณาจักร เป็นผู้นำร่องโครงการ และได้ประกาศเจตนารมณ์ว่า ภายในปี พ.ศ. 2560 ร้านค้าของเทสโก้ในสหราชอาณาจักรทุกสาขาจะไม่ทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ โดยบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดให้กับองค์กรการกุศลและกลุ่มชุมชนกว่า 5,000 องค์กรเพื่อนำสินค้าที่บริจาคไปประกอบเป็นอาหารให้กับผู้ยากไร้
“เทสโก้ โลตัส ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของเราในการเป็นผู้นำลดปริมาณขยะที่เกิดจากอาหารและบรรเทาปัญหาผู้ยากไร้ในประเทศไทย เราขอประกาศเจตนารมณ์ในการเป็นผู้นำในการลดขยะจากอาหารในธุรกิจของเราเอง พร้อมรณรงค์ให้ลูกค้า เพื่อนพนักงาน และประชาชน จับจ่าย จัดการ และบริโภคอาหารอย่างรับผิดชอบ ผมเชื่อมั่นว่า ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เราจะสามารถลดผลกระทบ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากปัญหาขยะที่มาจากอาหารได้” มร. คริสตี้ กล่าวทิ้งท้าย

มร. เดฟ ลูอีส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทสโก้ ซึ่งเป็นประธานกลุ่ม Champions 12.3 คณะทำงานที่รวบรวมผู้นำจากหลายสาขาทั่วโลกร่วมกันลดการสูญเสียและขยะที่มาจากอาหาร กล่าวว่า วิกฤติขยะที่มาจากอาหารในประเทศไทยเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างผลกระทบด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2559 ประชากรไทย 1 คน สร้างขยะต่อวันถึง 1.14 กิโลกรัม ทำให้มีขยะมูลฝอยทั้งหมด 27.06 ล้านตันต่อปี โดย 64% ของขยะมูลฝอยนี้เป็นขยะที่มาจากอาหาร ในขณะเดียวกัน ความสามารถในการกำจัดขยะของประเทศไทยไม่สามารถกำจัดขยะได้ทั้งหมด โดย 42% ของขยะมูลฝอย ถูกกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี นำไปสู่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา
ภายใต้กลยุทธ์จากฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร (Farm to Fork) เทสโก้ โลตัส ลดการสูญเสียอาหารตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่แหล่งเพาะปลูก กระบวนการตัดแต่ง บรรจุ ไปจนถึงขนส่งจำหน่าย และบริโภค โครงการรับซื้อผลผลิตตรงจากเกษตรกร ช่วยให้เทสโก้ โลตัส และเกษตรกรสามารถวางแผนการเพาะปลูกร่วมกันตามความต้องการของตลาด ลดปัญหาพืชผลล้นตลาดจนกลายเป็นขยะอาหาร
ขณะเดียวกัน ยังได้ร่วมมือกับเกษตรกรในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการสูญเสียระหว่างทาง และเมื่อสินค้ามาถึงร้านค้า เทสโก้ โลตัส ได้ดูแลการจัดเก็บสินค้าอาหารสดอย่างเหมาะสม เพื่อลดการสูญเสีย ณ จุดขาย สำหรับสินค้าที่ไม่อยู่ในภาพสมบูรณ์แบบแต่ยังคงรับประทานได้ จะถูกนำมาลดราคาเป็นสินค้าป้ายเหลือง ที่นอกจากจะเป็นการช่วยลดปัญหาขยะที่เกิดจากอาหารแล้ว ยังเป็นการช่วยลดค่าครองชีพของลูกค้าและประชาชนผู้มีรายได้น้อยอีกด้วย หากยังคงมีสินค้าที่จำหน่ายไม่หมดหลังจากลดราคา พนักงานของเราจะทำการคัดแยกสินค้าที่ยังคงอยู่ในภาพดี เพื่อบริจาคให้กับมูลนิธิและองค์กรการกุศลที่เป็นพันธมิตรกับเรา เพื่อนำไปปรุงเป็นมื้ออาหารให้กับผู้ยากไร้ ส่วนสินค้าที่ไม่สามารถรับประทานได้แล้ว ก็จะถูกนำไปทำเป็นปุ๋ยชีวภาพต่อไป

เสวนา กินได้ ไม่ทิ้งกัน ปลุกพลังยับยั้งวิกฤตขยะล้นโลก ร่วมด้วย รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชาคริต ดิเรกวัฒนชัย รองประธานกรรมการ แผนกสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน เทสโก้ โลตัส, โป๊วเจา ฉิน เจ้าหน้าที่ประสานงานชุมชน องค์กรไทยฮาร์เวสต์เอสโอเอส และ วานิช สาวาโย ผู้อำนวยการ ส่วนลดและใช้ประโยชน์ของเสีย กรมควบคุมมลพิษ
กินได้ ไม่ทิ้งกัน
'เทสโก้ โลตัส' ประกาศเจตนารมณ์ในการไม่ทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้เพื่อบริจาคให้กับผู้ด้อยโอกาส ภายใต้โครงการ กินได้ ไม่ทิ้งกัน เราจะลดปริมาณขยะที่เกิดจากอาหารและสามารถช่วยเหลือผู้ที่ยากไร้ทั่วประเทศ เราจะเริ่มบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดจากไฮเปอร์มาร์เก็ตทุกแห่งในกรุงเทพจำนวนทั้ง 23 แห่ง และจะขยายโครงการให้ครอบคลุมสาขาขนาดใหญ่ทุกสาขาทั่วประเทศในอนาคต เราได้เริ่มบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดให้กับผู้ยากไร้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา อาทิ ข้าวสาร ผักและผลไม้สด อาหารแห้ง ซึ่งได้ถูกเปลี่ยนเป็นมื้ออาหารให้ผู้ด้อยโอกาสถึงเกือบ 1 ล้านมื้อ”
ตะลึง! คนไทยสร้างขยะ 27 ล้านตัน/ปี เทสโก้ฯ จุดพลุไม่ทิ้งอาหารที่ยังกินได้
ตะลึง! คนไทยสร้างขยะ 27 ล้านตัน/ปี เทสโก้ฯ จุดพลุไม่ทิ้งอาหารที่ยังกินได้
เทสโก้ โลตัส เป็นผู้นำจุดกระแสลดวิกฤติขยะจากอาหาร ประกาศเจตนารมณ์ไม่ทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ เผยโมเดลลดการสูญเสียอาหารตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ลดการสูญเสียและการทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ตั้งแต่แหล่งเพาะปลูก ระหว่างกระบวนการขนส่ง ในร้านค้า ไปจนถึงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน เปิดตัวโครงการ กินได้ ไม่ทิ้งกัน โดยเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกรายแรกในประเทศไทยที่จะบริจาคอาหารสดที่จำหน่ายไม่หมดให้ผู้ยากไร้ทุกวัน เริ่มต้นจากไฮเปอร์มาร์เก็ต 23 สาขาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ก่อนขยายสู่ทุกสาขาใหญ่ทั่วประเทศในอนาคต
กำลังโหลดความคิดเห็น