ปรากฏการณ์กระแสโลกด้านดีที่มุ่งให้ความสำคัญกับสภาวะความยั่งยืน (Sustainalility) จากผลลัพธ์ความสมดุลของ 3 มิติ คือ เศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม บัดนี้ฟันเฟืองของกลไกเพื่อการนี้ได้เริ่มขับเคลื่อนแล้ว
ความพยายามขององค์การสหประชาชาติได้ริเริ่มให้มีข้อตกลงโลก (UN Global Compact) ตั้งแต่เมื่อ 16 ปีที่แล้ว เพื่อหวังกระตุ้นให้ธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก ดำเนินการด้วยจิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน โดยมีหลักสากล 10 ประการ ซึ่งครอบคลุม 4 หมวด ได้แก่ สิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และต่อต้านการทุจริต
ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 9,000 องค์กรจากกว่า 170 ประเทศทั่วโลกที่ร่วมใจกันยืนยันว่าจะนำหลักการทั้ง 10 ไปผลักดันองค์กรให้ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีและมี 35บริษัทจากประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก UNGC ดังกล่าว
ศุภชัย เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ทรูคอร์ปอเรชั่น ในฐานะประธานคณะกรรมการเตรียมการสำหรับเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อกลางปีที่ผ่านมา องค์กรธุรกิจชั้นนำของประเทศไทยที่เป็นสมาชิก UN Global Compact จำนวน 15 องค์กร ได้ร่วมกันก่อตั้งเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย (Global Compact Network Thailand : GCNT) โดยนอกจากการส่งเสริมให้ภาคเอกชนปฏิบัติตามหลักสากล 10 ประการของ UN Global Compact พร้อมทั้งการร่วมผลักดันให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs มี 17 ข้อ)
การรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย Global Compact ของธุรกิจไทย ตามแนวทางขององค์กรสหประชาชาติ ช่วยให้เกิดความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งดังที่เกิดในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย
15 องค์กรธุรกิจไทยที่ร่วมก่อตั้งเครือข่าย GCNT ได้แก่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (มหาชน), บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด, บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน), บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด, บริษัท พินนาเคิล โฮเต็ลส์ แอนด์ รีสอร์ท จำกัด, บริษัท แพรนด้า จิวเวลลี่ จำกัด (มหาชน), บริษัท พริ้นท์ ซิตี้ จำกัด, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ศุภชัย เชื่อว่าความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) เรื่องการทำธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและมุ่งความยั่งยืนจะช่วยให้องค์กรที่เข้าร่วมสามารถวางเป้าหมาย มีแผนที่ปฏิบัติได้จริงและพัฒนาต่อเนื่อง มีการแบ่งปันข้อมูลองค์ความรู้ หรือแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ทั้งตัวอย่างในประเทศไทยและระหว่างประเทศ
“ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์พยายามส่งเสริมให้บริษัทสมาชิกพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น แม้บริษัทสมาชิกจะดำเนินงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคม และใช้หลักธรรมาภิบาลอยู่แล้ว แต่มักเป็นลักษณะกิจกรรมที่แต่ละองค์กรเลือกทำ ขณะที่ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี แต่ SDGs 17 ข้อ มีรายละเอียดและทิศทางที่กว้างกว่านั้น เรียกว่าครอบคลุมทั้งCSR ธรรมาภิบาล และประเด็นอื่นๆ”
การสร้างความตระหนักรู้ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนจะทำให้ธุรกิจไม่ได้คิดแค่มิติความท้าทาย แต่ยังเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ นวัตกรรมและการมีส่วนร่วมระหว่างพนักงานและผู้นำองค์กรที่มากขึ้น เกิดเป็นการขับเคลื่อนธุรกิจที่ยั่งยืน
“สอดคล้องกับแนวโน้มผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่ต้องการสิ่งที่ตอบสนองความยั่งยืน คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกัน หากกิจการใดไม่คำนึงถึงก็จะไม่มั่นคงแท้จริง เพราะสังคมต้องการมีส่วนร่วมโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังหรือ Inclusive”
เมื่อถามถึงแผนภาคปฏิบัติระหว่างสมาชิกในเครือข่ายได้คำตอบว่านับจากนี้ช่วง 1 ปีจะเน้นสร้างการตระหนักรู้ กระตุ้นให้บริษัทที่เข้าร่วมตั้งเป้าหมาย มีมาแบ่งปันกันข้อมูล และมีการแนะนำซึ่งกันและกัน จากนั้นในระยะต่อไป 3 -5 ปีข้างหน้าจะขับเคลื่อนไปสู่การมองถึงเป้าหมายระดับโลก
“ในอนาคตภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนการขับเคลื่อนของเอกชนก็จะดี เช่นการสร้างแรงจูงใจหรือมีกฏระเบียบมาช่วยสนับสนุน ซึ่งบางข้ออาจมีอยู่แล้วหรือบางข้อที่ไม่ชัดเจน หากมีการทบทวนใหม่ให้สอดคล้องกับการส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs 17 ข้อ ก็จะช่วยกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนตั้งเป้าหมาย และขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันซึ่งจะเป็นผลดีต่อสังคมระดับประเทศและดีต่อโลก”
ข้อคิด...
การเกิดขึ้นของ UN Global compact (UNGC) แสดงว่าองค์กรสหประชาชาติยุคปัจจุบันมิใช่เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับรัฐบาลเท่านั้น แต่ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทของภาคเอกชนในการส่งเสริมให้เป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้บริษัทที่พร้อมเข้าเป็นสมาชิกเพื่อร่วมกับการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกให้ดีขึ้น
Luc Stevens ผู้แทน UN ประจำประเทศไทยซึ่งไปร่วมการสัมมนาได้บรรยายเรื่อง “การสร้างความร่วมมือเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระหว่างสหประชาชาติกับภาคเอกชนไทยและบทบาทของ UNGC กล่าวว่า การสร้างตัวให้เป็นธุรกิจระดับโลกที่ยั่งยืน และคำนึงถึงผลดีต่อส่วนรวมนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ
“UNGCจึงมีหน้าที่ช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถปรับยุทธศาสตร์และการดำเนินงานให้สอดคล้องกับหลักสากลและเดินหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับความร่วมมือและสร้างนวัตกรรม”
ถ้าจะมีคำถามว่า ปรากฏการณ์เหล่านี้ เป็นการพัฒนาสู่ความยั่งยืนขององค์กร แล้วก้าวข้าม CSR หรือไม่
ผมยังยืนยันเสมอว่า “CSR เป็นรากแก้วขององค์กรใฝ่ดี” ซึ่งผู้นำองค์กรและผู้บริหารกิจการต้องมีจิตสำนึกและจุดยืนความรับผิดชอบต่อสังคมก็คือ ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ตั้งแต่ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน รวมทั้งสิ่งแวดล้อม
เมื่อมีจิตสำนึกCSR เป็นพื้นฐานสำคัญก็จะเอื้อต่อการขับเคลื่อนหลักสากล 10 ประการซึ่งเป็นจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อผู้เกี่ยวข้องกับกิจการ ก็จะเชื่อมโยงถึง 17 เป้าหมาย เพื่อการพัมนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ที่จะเกิดผลดีต่อโลกและสิ่งแวดล้อม
เมื่อมีเครือข่าย Global compact Network Thailand ที่นำขบวนด้วย 15 องค์กรชั้นนำก็จะมีโอกาสขยายบทบาทต่อไปทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้คนหนุ่มระดับรองประธานเครือ CP คือ ศุภชัย เจียรวนนท์ ที่ทุ่มเทกับภารกิจประธานคณะกรรมการฯ GCNT เท่ากับได้ประกาศพันธสัญญาการเป็นตัวอย่างธุรกิจที่ดี และมุ่งความยั่งยืนด้วย
suwat@gmail.com
ความพยายามขององค์การสหประชาชาติได้ริเริ่มให้มีข้อตกลงโลก (UN Global Compact) ตั้งแต่เมื่อ 16 ปีที่แล้ว เพื่อหวังกระตุ้นให้ธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก ดำเนินการด้วยจิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน โดยมีหลักสากล 10 ประการ ซึ่งครอบคลุม 4 หมวด ได้แก่ สิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และต่อต้านการทุจริต
ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 9,000 องค์กรจากกว่า 170 ประเทศทั่วโลกที่ร่วมใจกันยืนยันว่าจะนำหลักการทั้ง 10 ไปผลักดันองค์กรให้ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีและมี 35บริษัทจากประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก UNGC ดังกล่าว
ศุภชัย เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ทรูคอร์ปอเรชั่น ในฐานะประธานคณะกรรมการเตรียมการสำหรับเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อกลางปีที่ผ่านมา องค์กรธุรกิจชั้นนำของประเทศไทยที่เป็นสมาชิก UN Global Compact จำนวน 15 องค์กร ได้ร่วมกันก่อตั้งเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย (Global Compact Network Thailand : GCNT) โดยนอกจากการส่งเสริมให้ภาคเอกชนปฏิบัติตามหลักสากล 10 ประการของ UN Global Compact พร้อมทั้งการร่วมผลักดันให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs มี 17 ข้อ)
การรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย Global Compact ของธุรกิจไทย ตามแนวทางขององค์กรสหประชาชาติ ช่วยให้เกิดความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งดังที่เกิดในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย
15 องค์กรธุรกิจไทยที่ร่วมก่อตั้งเครือข่าย GCNT ได้แก่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (มหาชน), บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด, บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน), บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด, บริษัท พินนาเคิล โฮเต็ลส์ แอนด์ รีสอร์ท จำกัด, บริษัท แพรนด้า จิวเวลลี่ จำกัด (มหาชน), บริษัท พริ้นท์ ซิตี้ จำกัด, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ศุภชัย เชื่อว่าความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) เรื่องการทำธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและมุ่งความยั่งยืนจะช่วยให้องค์กรที่เข้าร่วมสามารถวางเป้าหมาย มีแผนที่ปฏิบัติได้จริงและพัฒนาต่อเนื่อง มีการแบ่งปันข้อมูลองค์ความรู้ หรือแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ทั้งตัวอย่างในประเทศไทยและระหว่างประเทศ
“ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์พยายามส่งเสริมให้บริษัทสมาชิกพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น แม้บริษัทสมาชิกจะดำเนินงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคม และใช้หลักธรรมาภิบาลอยู่แล้ว แต่มักเป็นลักษณะกิจกรรมที่แต่ละองค์กรเลือกทำ ขณะที่ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี แต่ SDGs 17 ข้อ มีรายละเอียดและทิศทางที่กว้างกว่านั้น เรียกว่าครอบคลุมทั้งCSR ธรรมาภิบาล และประเด็นอื่นๆ”
การสร้างความตระหนักรู้ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนจะทำให้ธุรกิจไม่ได้คิดแค่มิติความท้าทาย แต่ยังเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ นวัตกรรมและการมีส่วนร่วมระหว่างพนักงานและผู้นำองค์กรที่มากขึ้น เกิดเป็นการขับเคลื่อนธุรกิจที่ยั่งยืน
“สอดคล้องกับแนวโน้มผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่ต้องการสิ่งที่ตอบสนองความยั่งยืน คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกัน หากกิจการใดไม่คำนึงถึงก็จะไม่มั่นคงแท้จริง เพราะสังคมต้องการมีส่วนร่วมโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังหรือ Inclusive”
เมื่อถามถึงแผนภาคปฏิบัติระหว่างสมาชิกในเครือข่ายได้คำตอบว่านับจากนี้ช่วง 1 ปีจะเน้นสร้างการตระหนักรู้ กระตุ้นให้บริษัทที่เข้าร่วมตั้งเป้าหมาย มีมาแบ่งปันกันข้อมูล และมีการแนะนำซึ่งกันและกัน จากนั้นในระยะต่อไป 3 -5 ปีข้างหน้าจะขับเคลื่อนไปสู่การมองถึงเป้าหมายระดับโลก
“ในอนาคตภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนการขับเคลื่อนของเอกชนก็จะดี เช่นการสร้างแรงจูงใจหรือมีกฏระเบียบมาช่วยสนับสนุน ซึ่งบางข้ออาจมีอยู่แล้วหรือบางข้อที่ไม่ชัดเจน หากมีการทบทวนใหม่ให้สอดคล้องกับการส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs 17 ข้อ ก็จะช่วยกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนตั้งเป้าหมาย และขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันซึ่งจะเป็นผลดีต่อสังคมระดับประเทศและดีต่อโลก”
ข้อคิด...
การเกิดขึ้นของ UN Global compact (UNGC) แสดงว่าองค์กรสหประชาชาติยุคปัจจุบันมิใช่เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับรัฐบาลเท่านั้น แต่ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทของภาคเอกชนในการส่งเสริมให้เป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้บริษัทที่พร้อมเข้าเป็นสมาชิกเพื่อร่วมกับการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกให้ดีขึ้น
Luc Stevens ผู้แทน UN ประจำประเทศไทยซึ่งไปร่วมการสัมมนาได้บรรยายเรื่อง “การสร้างความร่วมมือเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระหว่างสหประชาชาติกับภาคเอกชนไทยและบทบาทของ UNGC กล่าวว่า การสร้างตัวให้เป็นธุรกิจระดับโลกที่ยั่งยืน และคำนึงถึงผลดีต่อส่วนรวมนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ
“UNGCจึงมีหน้าที่ช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถปรับยุทธศาสตร์และการดำเนินงานให้สอดคล้องกับหลักสากลและเดินหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับความร่วมมือและสร้างนวัตกรรม”
ถ้าจะมีคำถามว่า ปรากฏการณ์เหล่านี้ เป็นการพัฒนาสู่ความยั่งยืนขององค์กร แล้วก้าวข้าม CSR หรือไม่
ผมยังยืนยันเสมอว่า “CSR เป็นรากแก้วขององค์กรใฝ่ดี” ซึ่งผู้นำองค์กรและผู้บริหารกิจการต้องมีจิตสำนึกและจุดยืนความรับผิดชอบต่อสังคมก็คือ ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ตั้งแต่ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน รวมทั้งสิ่งแวดล้อม
เมื่อมีจิตสำนึกCSR เป็นพื้นฐานสำคัญก็จะเอื้อต่อการขับเคลื่อนหลักสากล 10 ประการซึ่งเป็นจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อผู้เกี่ยวข้องกับกิจการ ก็จะเชื่อมโยงถึง 17 เป้าหมาย เพื่อการพัมนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ที่จะเกิดผลดีต่อโลกและสิ่งแวดล้อม
เมื่อมีเครือข่าย Global compact Network Thailand ที่นำขบวนด้วย 15 องค์กรชั้นนำก็จะมีโอกาสขยายบทบาทต่อไปทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้คนหนุ่มระดับรองประธานเครือ CP คือ ศุภชัย เจียรวนนท์ ที่ทุ่มเทกับภารกิจประธานคณะกรรมการฯ GCNT เท่ากับได้ประกาศพันธสัญญาการเป็นตัวอย่างธุรกิจที่ดี และมุ่งความยั่งยืนด้วย
suwat@gmail.com