xs
xsm
sm
md
lg

จากมหาวิทยาลัยสีเขียว สู่มหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน 16 มหาวิทยาลัยผนึกความร่วมมือ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ในปีแรกมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ประสานงานหลักในการจัดประชุมเครือข่าย  สำหรับในปี 2559 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายให้จัดการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน ครั้งที่ 1 เมื่อเร็วๆนี้ ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   โดยมี ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวต้อนรับและบรรยายเกี่ยวกับโครงการ Green & Sustainability  ของจุฬาฯ
สถาบันอุดมศึกษา 16 สถาบันในประเทศไทย ร่วมมือกันก่อตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน โดยได้มีการจัดประชุมเครือข่าย ปีละ 4 ครั้ง เมื่อเร็วๆ นี้
เนื่องจากการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยสีเขียว” เป็นพันธกิจที่แต่ละมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้สร้างความร่มรื่นเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่การศึกษา การปรับปรุงและพัฒนาทางด้านกายภาพ ฯลฯ ปัจจุบันหลายมหาวิทยาลัยมุ่งเป้าหมายสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน” (Sustainable University) ซึ่งไม่ได้มองที่ภาพลักษณ์ทางกายภาพของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงหลักสูตรการเรียนการสอน งานวิจัย การอนุรักษ์พลังงาน ฯลฯ

ผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งหมดเยี่ยมชมโครงการไบโอดีเซล และโครงการ CU Bike
ภาพจากมุมสูงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นปีที่สองติดต่อกัน อยู่ในอันดับ 30 ของโลก  และได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก ประเภท City Center University
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการในเรื่องยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 โดยได้เริ่มทำแผนแม่บทจุฬาฯ 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน อาทิ การให้บริการรถโดยสารภายในจุฬาฯ (Shuttle Bus) โครงการผลิตปุ๋ยหมักจากใบไม้ การลดปริมาณรถยนต์ที่สัญจรภายในมหาวิทยาลัย โดยจัดสร้างที่จอดรถ 4 มุมในจุฬาฯ เพื่อให้ประชาคมจุฬาฯ และผู้มาติดต่อมหาวิทยาลัยนำรถเข้ามาจอดในอาคารจอดรถและโดยสารรถ Shuttle Bus หรือเดินเข้ามาในจุฬาฯ
นอกจากนี้ยัง มีการจัดทำทางเดินมีหลังคา (cover way) โครงการรถจักรยานใน จุฬาฯ และทางเดินรถจักรยานเพื่อลดจำนวนรถยนต์ โครงการจุฬารักษ์โลก มีการปลูกต้นไม้ทุกปีๆ ละประมาณ 20,000 ต้น เป็นเวลา 8 ปี ติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีโครงการขยะรีไซเคิล โครงการประหยัดพลังงานในอาคารต่างๆ ทั้งนี้จุฬาฯ ได้นำโครงการมหาวิทยาลัยสีเขียวไปสู่ยุทธศาสตร์เป็นสุข โดยมีเป้าหมายให้เป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน มุ่งอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ให้น่าทำงานและน่าอยู่ มีความปลอดภัย ทำให้นิสิต บุคลากรและชุมชนรอบข้างมีความสุข จุฬาฯยังมีโครงการ 5ส จัดกิจกรรมสำหรับชุมชนรอบจุฬาฯ (สวนหลวง สวนลุม สามย่าน สี่พระยา และสยามสแควร์) ในส่วนของการศึกษาวิจัย จุฬาฯมีโครงการอาหารทอดซ้ำ โครงการวิจัยลดคาร์บอน การนำเศษอาหารจากโรงอาหารมารีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นแก๊ส นำน้ำที่เหลือใช้มารดต้นไม้
อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวเสริมว่า การที่มหาวิทยาลัยทั้ง 16 สถาบันมาร่วมมือกันทำงานในรูปของเครือข่ายในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจซึ่งกันและกัน ทำให้เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนเติบโตและได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น สามารถเป็นต้นแบบให้มหาวิทยาลัยอื่นในภูมิภาคได้
กำลังโหลดความคิดเห็น