ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำ ความขัดแย้ง คอร์รัปชัน รวมถึงระบบการศึกษา ขณะที่ความเข้มแข็งของภาครัฐ ประสิทธิภาพของระบบราชการ และนักการเมืองยังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ดังนั้น องค์กรหลักของประเทศจึงควรทำหน้าที่ยกระดับ และกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม เพื่อให้เกิดกฎเกณฑ์ที่ปฏิบัติอย่างตรงไปมาได้อย่างเข้มแข็ง
ภาคธุรกิจเป็นภาคที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ทักษะการบริหาร มีทรัพยากร คือทุนและบุคลากร รวมถึงการหวังผลในระยะยาว จึงคำนึงถึงความยั่งยืนและคุณภาพของสังคมซึ่งต้องมองการณ์ไกล และมุ่งพัฒนาประเทศให้ดีขึ้นในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า
หากมองเรื่องนี้ในระดับสากลที่ไกลกว่าประเทศไทย หรือภูมิภาคเอเชีย จะเห็นว่ายุโรปได้ก้าวหน้าไปมาก เพราะภาคธุรกิจไม่ใช่แค่การขอใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจ เพื่อทำกำไรเท่านั้น แต่รวมถึงการมีสิทธิและหน้าที่ในการตอบแทนสังคมในฐานะที่เป็นบุคคลในสังคม
นอกจากนี้ การพูดถึงเรื่อง ESG ซึ่งอาจเป็นมาตรฐานเชิงรับที่ถูกนักลงทุนประเมินผลลัพธ์ของบริษัท คือการเป็นพลเมืองที่ดี ปฏิบัติดีต่อสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจต่อสังคม และมีหลักบรรษัทภิบาลหรือธรรมาภิบาลที่ดี
ขณะที่ภาคธุรกิจชั้นนำในระดับโลกเขาจะทำเชิงรุก เพื่อจะช่วยให้สังคมดีขึ้นอย่างไรที่จะมองเรื่อง “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” หรือ Sustainability เป็นสำคัญ ด้วยความคิดที่ว่า “ทำให้ธุรกิจของคุณแตกต่างจากคู่แข่งให้ได้” ซึ่งหากเราไม่สามารถตอบโจทย์ก่อนคู่แข่ง เมื่อถึงเวลาที่เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ จะส่งผลเสียต่อธุรกิจของเรามากกว่า เพราะฉะนั้นความยั่งยืน คือ หัวใจสำคัญของการจัดการความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจ
เราเห็นปัญหาตามหน้าหนังสือพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้แรงงานผิดกฎหมาย หรือการค้ามนุษย์ แม้กระทั่งปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปลูกข้าวโพด หรือการเผาป่า ซึ่งขณะนี้ธุรกิจไทยส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะตั้งรับ แต่หากเราเกิดความตระหนัก ตื่นตัว และเอาเรื่องเหล่านี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ มีหลายเรื่องมากที่จะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย สามารถทำให้การทำดีของธุรกิจกลายเป็นการทำดีต่อสังคมด้วย รวมถึงได้ยกระดับสังคมไปพร้อมกับความสามารถในการแข่งขัน การฉีกตัวเองออกจากคู่แข่ง อันนี้เป็นหลักคิดของความยั่งยืนในโลก
ส่วนการยกระดับคุณภาพสังคม เราต้องมองย้อนไปถึงแก่นขององค์กรว่า เราได้ทำความดี หรือมีความรับผิดชอบต่อสังคมจริงหรือไม่ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงต้องมองถึงการคิดเชิงกลยุทธ์ การบริหารจัดการในการลงทุน โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและบทบาทที่จะมีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพสังคม
ในต่างประเทศธุรกิจจะถูกสอบถามเรื่องการลงทุนอย่างมีความยั่งยืน หรือแก่นของธุรกิจตัวเองว่า มีความดีอย่างไร แต่ในประเทศไทยจะไม่ค่อยมีคนถาม เช่น ธุรกิจร้านสะดวกซื้อขายสินค้าที่ส่งผลต่อโรคอ้วนของเด็กในประเทศอย่างไร เพื่อจะให้แน่ใจว่าโรคเบาหวานหรือการบริโภคน้ำตาลเกินควร ซึ่งเป็นโรคที่พบในเด็กส่วนใหญ่ของประเทศนั้น คุณไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในปัญหาเหล่านั้น เป็นต้น ส่งผลให้นักลงทุนเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการกดดันให้บริษัทกำหนดกลยุทธ์ไปในทิศทางที่ถูกต้อง
ดังนั้น หากเราช่วยกันตั้งคำถาม หรือสนับสนุนแนวทางการส่งเสริมสภาวะแวดล้อม เราก็จะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้
ตัวอย่างที่สำคัญจากต่างประเทศ คือ “ไนกี้” บริษัทผลิตรองเท้าและเสื้ออันดับต้นๆ ของโลก และเป็นที่ยอมรับเรื่องความยั่งยืนระยะยาวที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ไนกี้มีเป้าหมาย คือ ต้องการลดน้ำเสียจากการผลิตรองเท้า จึงได้คิดกระบวนการผลิตใหม่ที่จะย้อมสีโพลีเอสเตอร์โดยไม่ใช้น้ำ ซึ่งกลายเป็นเป้าหมายหลักในการผลักดันนวัตกรรมจากทุกหน่วยงานให้หันมาช่วยคิดจนสามารถทำได้ตามเป้าหมาย
ดังนั้น แนวคิดแบบเดิมเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR เราเห็นจากหลายบริษัทที่ทำกิจกรรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เช่นสนับสนุนโครงการปลูกป่า สร้างฝายชะลอน้ำ หรืออื่นๆ แต่ก็ไม่สามารถเทียบได้กับการมีธุรกิจที่ใช้ยาฆ่าแมลงและส่งเสริมให้ใช้สารเคมีที่ รวมถึงการทำลายสิ่งแวดล้อม การเผาป่า และบุกรุกพื้นที่ในการทำธุรกิจ ดังนั้น เราต้องกลับมาถามตัวเองเรื่องแก่นของธุรกิจว่าเรามีส่วนในการส่งเสริมความดีหลักหรือไม่ หากสามารถทำได้ ก็จะมีส่วนในการยกระดับในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากบริษัทต้องการมีความยั่งยืนต่อไปในอนาคตข้างหน้าและนำหน้ากว่าบริษัทอื่นๆ การดำเนินธุรกิจในกลยุทธ์เชิงรุก รวมถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อมารองรับในการปฏิบัติ จะเป็นส่วนช่วยให้บริษัทเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน บริหารความเสี่ยงในระยะยาว และช่วยยกระดับคุณภาพสังคมได้อย่างยั่งยืน
ขณะเดียวกันในภาคประชาชนทั่วไป เราต้องมองย้อนกลับถามตัวเองว่า การใช้ชีวิตหลักๆ ของเรา มีส่วนในการซ้ำเติมปัญหาในสังคมมันรุนแรงขึ้นหรือไม่ ตั้งแต่การเลือกใช้สินค้าในฐานะผู้บริโภค การเลือกลงทุน หรือมีทรัพยากรส่วนเกิน เช่น เวลา เงิน และความคิด มาช่วยกับสังคมได้อย่างไรบ้าง
ขณะที่ภาคธุรกิจชั้นนำในระดับโลกเขาจะทำเชิงรุก เพื่อจะช่วยให้สังคมดีขึ้นอย่างไรที่จะมองเรื่อง “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” หรือ Sustainability เป็นสำคัญ ด้วยความคิดที่ว่า “ทำให้ธุรกิจของคุณแตกต่างจากคู่แข่งให้ได้”
ดร.วิรไท สันติประภพ
ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
ภาคธุรกิจเป็นภาคที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ทักษะการบริหาร มีทรัพยากร คือทุนและบุคลากร รวมถึงการหวังผลในระยะยาว จึงคำนึงถึงความยั่งยืนและคุณภาพของสังคมซึ่งต้องมองการณ์ไกล และมุ่งพัฒนาประเทศให้ดีขึ้นในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า
หากมองเรื่องนี้ในระดับสากลที่ไกลกว่าประเทศไทย หรือภูมิภาคเอเชีย จะเห็นว่ายุโรปได้ก้าวหน้าไปมาก เพราะภาคธุรกิจไม่ใช่แค่การขอใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจ เพื่อทำกำไรเท่านั้น แต่รวมถึงการมีสิทธิและหน้าที่ในการตอบแทนสังคมในฐานะที่เป็นบุคคลในสังคม
นอกจากนี้ การพูดถึงเรื่อง ESG ซึ่งอาจเป็นมาตรฐานเชิงรับที่ถูกนักลงทุนประเมินผลลัพธ์ของบริษัท คือการเป็นพลเมืองที่ดี ปฏิบัติดีต่อสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจต่อสังคม และมีหลักบรรษัทภิบาลหรือธรรมาภิบาลที่ดี
ขณะที่ภาคธุรกิจชั้นนำในระดับโลกเขาจะทำเชิงรุก เพื่อจะช่วยให้สังคมดีขึ้นอย่างไรที่จะมองเรื่อง “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” หรือ Sustainability เป็นสำคัญ ด้วยความคิดที่ว่า “ทำให้ธุรกิจของคุณแตกต่างจากคู่แข่งให้ได้” ซึ่งหากเราไม่สามารถตอบโจทย์ก่อนคู่แข่ง เมื่อถึงเวลาที่เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ จะส่งผลเสียต่อธุรกิจของเรามากกว่า เพราะฉะนั้นความยั่งยืน คือ หัวใจสำคัญของการจัดการความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจ
เราเห็นปัญหาตามหน้าหนังสือพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้แรงงานผิดกฎหมาย หรือการค้ามนุษย์ แม้กระทั่งปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปลูกข้าวโพด หรือการเผาป่า ซึ่งขณะนี้ธุรกิจไทยส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะตั้งรับ แต่หากเราเกิดความตระหนัก ตื่นตัว และเอาเรื่องเหล่านี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ มีหลายเรื่องมากที่จะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย สามารถทำให้การทำดีของธุรกิจกลายเป็นการทำดีต่อสังคมด้วย รวมถึงได้ยกระดับสังคมไปพร้อมกับความสามารถในการแข่งขัน การฉีกตัวเองออกจากคู่แข่ง อันนี้เป็นหลักคิดของความยั่งยืนในโลก
ส่วนการยกระดับคุณภาพสังคม เราต้องมองย้อนไปถึงแก่นขององค์กรว่า เราได้ทำความดี หรือมีความรับผิดชอบต่อสังคมจริงหรือไม่ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงต้องมองถึงการคิดเชิงกลยุทธ์ การบริหารจัดการในการลงทุน โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและบทบาทที่จะมีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพสังคม
ในต่างประเทศธุรกิจจะถูกสอบถามเรื่องการลงทุนอย่างมีความยั่งยืน หรือแก่นของธุรกิจตัวเองว่า มีความดีอย่างไร แต่ในประเทศไทยจะไม่ค่อยมีคนถาม เช่น ธุรกิจร้านสะดวกซื้อขายสินค้าที่ส่งผลต่อโรคอ้วนของเด็กในประเทศอย่างไร เพื่อจะให้แน่ใจว่าโรคเบาหวานหรือการบริโภคน้ำตาลเกินควร ซึ่งเป็นโรคที่พบในเด็กส่วนใหญ่ของประเทศนั้น คุณไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในปัญหาเหล่านั้น เป็นต้น ส่งผลให้นักลงทุนเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการกดดันให้บริษัทกำหนดกลยุทธ์ไปในทิศทางที่ถูกต้อง
ดังนั้น หากเราช่วยกันตั้งคำถาม หรือสนับสนุนแนวทางการส่งเสริมสภาวะแวดล้อม เราก็จะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้
ตัวอย่างที่สำคัญจากต่างประเทศ คือ “ไนกี้” บริษัทผลิตรองเท้าและเสื้ออันดับต้นๆ ของโลก และเป็นที่ยอมรับเรื่องความยั่งยืนระยะยาวที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ไนกี้มีเป้าหมาย คือ ต้องการลดน้ำเสียจากการผลิตรองเท้า จึงได้คิดกระบวนการผลิตใหม่ที่จะย้อมสีโพลีเอสเตอร์โดยไม่ใช้น้ำ ซึ่งกลายเป็นเป้าหมายหลักในการผลักดันนวัตกรรมจากทุกหน่วยงานให้หันมาช่วยคิดจนสามารถทำได้ตามเป้าหมาย
ดังนั้น แนวคิดแบบเดิมเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR เราเห็นจากหลายบริษัทที่ทำกิจกรรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เช่นสนับสนุนโครงการปลูกป่า สร้างฝายชะลอน้ำ หรืออื่นๆ แต่ก็ไม่สามารถเทียบได้กับการมีธุรกิจที่ใช้ยาฆ่าแมลงและส่งเสริมให้ใช้สารเคมีที่ รวมถึงการทำลายสิ่งแวดล้อม การเผาป่า และบุกรุกพื้นที่ในการทำธุรกิจ ดังนั้น เราต้องกลับมาถามตัวเองเรื่องแก่นของธุรกิจว่าเรามีส่วนในการส่งเสริมความดีหลักหรือไม่ หากสามารถทำได้ ก็จะมีส่วนในการยกระดับในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากบริษัทต้องการมีความยั่งยืนต่อไปในอนาคตข้างหน้าและนำหน้ากว่าบริษัทอื่นๆ การดำเนินธุรกิจในกลยุทธ์เชิงรุก รวมถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อมารองรับในการปฏิบัติ จะเป็นส่วนช่วยให้บริษัทเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน บริหารความเสี่ยงในระยะยาว และช่วยยกระดับคุณภาพสังคมได้อย่างยั่งยืน
ขณะเดียวกันในภาคประชาชนทั่วไป เราต้องมองย้อนกลับถามตัวเองว่า การใช้ชีวิตหลักๆ ของเรา มีส่วนในการซ้ำเติมปัญหาในสังคมมันรุนแรงขึ้นหรือไม่ ตั้งแต่การเลือกใช้สินค้าในฐานะผู้บริโภค การเลือกลงทุน หรือมีทรัพยากรส่วนเกิน เช่น เวลา เงิน และความคิด มาช่วยกับสังคมได้อย่างไรบ้าง
ขณะที่ภาคธุรกิจชั้นนำในระดับโลกเขาจะทำเชิงรุก เพื่อจะช่วยให้สังคมดีขึ้นอย่างไรที่จะมองเรื่อง “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” หรือ Sustainability เป็นสำคัญ ด้วยความคิดที่ว่า “ทำให้ธุรกิจของคุณแตกต่างจากคู่แข่งให้ได้”
ดร.วิรไท สันติประภพ
ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย