ปัจจุบันพัฒนาการของหลักคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรหรือ CSR ที่มีการปรับแนวคิดเข้าสู่ขั้นตอนของกระบวนการดำเนินธุรกิจมากขึ้น นับเป็นปรากฎการณ์ที่ดี
ยิ่งถึงขั้นจัดตั้งเป็น “กิจการเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise หรือ SE ซึ่งเป็นกิจการที่มีจุดประสงค์ CSR สมบูรณ์แบบ แต่ใช้กลยุทธ์และรูปแบบธุรกิจ ที่ประสบความสำเร็จมากในประเทศอังกฤษ และแนวคิดแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการเช่นนี้กำลังเป็นที่สนใจนำไปใช้ในหลายประเทศ
ในประเทศไทยขณะนี้มี “สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ” (Thai Social Enterprise Office) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริมธุรกิจประเภทใหม่ที่มีจุดยืนเพื่อสังคมอย่างแท้จริงและใกล้จะมีกฎหมายออกมาสนับสนุน
เทศกาล “สัปดาห์กิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ” ครั้งใหม่ก็จะจัดช่วง 7-14 มีนาคม 2558 ในย่านธุรกิจหลายแห่งของกรุงเทพฯ
ผมสังเกตว่ามีความเคลื่อนไหวของกิจกรรมส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมอย่างคึกคักในระยะนี้ เช่น หลายสถาบันได้ร่วมกันจัดงาน “ ตลาดนัด SE : ธุรกิจนำดีของนักลงทุนรักษ์โลก” เมื่อวันสิ้นเดือนมกราคม 2558 มีธุรกิจ SE ประมาณ 28 องค์กร เข้าร่วมงานแนะนำกิจการ โดยมีประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เป็นประธานเปิดงาน
ตัวแทนภาคธุรกิจและคนจากธุรกิจตลาดทุนก็น่าจะสนใจเพราะเป็นช่องทางเลือกในการลงทุนที่ได้ผลลัพธ์ 2 เด้ง คือมีผลตอบแทนทางการเงิน ขณะที่เป็นธุรกิจที่มีคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
SE ที่ไปร่วมในงานล้วนมุ่งความยั่งยืนโดยมีจุดยืนทำเพื่อสังคมพร้อมกับสร้างผลตอบแทนเชิงธุรกิจด้วย ซึ่งผมจะหาจังหวะทยอยนำมาเสนอท่านผู้อ่านต่อไป
แต่ครั้งนี้ ผมขอกล่าวถึง Socialgiver ที่มีผู้นำกิจการเป็นหนุ่มวัย 28 ปี คือ อาชว์ วงศ์จินดาเวศย์
อาชว์ เป็นคนไทยเพียงคนเดียวในปีนี้ที่ได้รับคัดเลือก เป็นตัวแทนจากบรรดาคนรุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้มีโอกาสขึ้นไปกล่าวบรรยายบนเวที World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในเดือนมกราคมปีนี้ เกี่ยวกับแนวคิดใหม่ที่จะช่วยระดมทุนให้กับโครงการเพื่อสังคมและมูลนิธิต่างๆ ซึ่งกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างต่อเนื่อง
อาชว์ ได้เสนอแนวคิดพร้อมแนะนำ Socialgiver กิจการเพื่อสังคมที่เขาก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็น ช่องทางให้คนไทยสามารถทำความดีได้ง่ายขึ้นและบ่อยขึ้น ผ่านพฤติกรรมการบริโภค ที่ตัวเองคุ้นเคย
Socialgiver.com คือ พื้นที่ออนไลน์ที่ให้ทุกคนสามารถเลือกซื้อสินค้า และบริการจากกิจการชั้นนำที่บริจาคผ่านมูลนิธิบูรณะชนบท ผลประกอบการจากการซื้อนั้นจะนำไปสนับสนุน โครงการเพื่อสังคมและมูลนิธิต่างๆ ที่ผู้ซื้อสามารถเลือกเองได้ โดยทุกๆโครงการที่คัดเลือกมาล้วนมีความหลากหลายและสร้างสรรค์ ทั้งประเด็นการศึกษา สัตว์และสิ่งแวดล้อม คนพิการ ฯลฯ
“ผมเชื่อว่าหากเรามีความฝันที่อยากอยู่ในสังคมที่ดีขึ้น เราเองก็ต้องสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวมให้มากยิ่งขึ้น และเมื่อทุกคนร่วมมือกัน สังคมก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีแน่นอน” ผู้ก่อตั้ง Socialgiver กล่าว
ในการประชุมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมต่างได้ช่วยกันระดมความคิดและเตรียมรับมือกับปัญหา ที่โลกจะต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้นี้ และต่างนำประสบการณ์ที่ได้กลับไปต่อยอดเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรและประเทศตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยอาชว์ได้มีโอกาส ใกล้ชิดและรับฟังแนวคิดจาก บุคคลสำคัญระดับโลกอย่าง บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft จิม ยอง คิม ประธานธนาคารโลก อีริค ชมิดธ์ กรรมการผู้บริหารบริษัท Google แมริสา เมยอร์ ประธานบริษัท Yahoo อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดี ประเทศสหรัฐอเมริกา และบุคคลอื่นๆอีกมากมาย
ข้อคิด...
แนวคิดและหลักปฏิบัติเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรหรือการมี CSR (Corporate Social Responsibility) ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นสากลว่าเป็นคุณสมบัติที่ “จำเป็นต้องมี” ในการดำเนินกิจการ เพราะจะส่งผลลัพธ์ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)
CSR จึงเป็น “รากแก้ว” ที่ได้พัฒนาแตกหน่อและต่อยอดออกไปในหลายบริบทของกลยุทธ์การบริหารกิจการที่คำนึงถึงการสร้างคุณค่าใน 3 มิติ หรือ ESG คือ สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) ธรรมาภิบาล (Governance)
การเกิดนวัตกรรมทางสังคมในรูปแบบองค์กรที่เรียกว่า “กิจการเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise ที่บริหารแบบธุรกิจ แต่มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม กำไรที่เกิดจากธุรกิจจะนำไปขยายกิจการและใช้เพื่อโครงการช่วยเหลือสังคมหรือสิ่งแวดล้อม
น่ายินดีที่ได้เห็นคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดก้าวหน้า ใฝ่ดีและมีความรับผิดชอบต่อสังคม สนใจที่จะเรียนรู้และจัดตั้ง “กิจการเพื่อสังคม” หรือ SE ซึ่งสามารถทำเป็นธุรกิจที่เลือกแนวทางช่วยเหลือสังคม “ตามฝันของตัวเอง”
ขณะที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ มีการเปิดสอนหลักสูตรผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม ตอนนี้ประเทศไทย ก็เริ่มมีหลักสูตร Social Enterprise เช่นกัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เอาล่ะครับ เมื่อมีแหล่งบ่มเพาะความรู้แล้ว ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจประเภทนี้เกิดและเติบโตอย่างยั่งยืนได้ก็ต้องมีนักลงทุนเพื่อสังคม และตลาดทุนเพื่อสังคม ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ในยุคที่มี ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ เป็นประธานได้มีวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้กลไกตลาดทุนสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมอย่างเอาจริงเอาจัง
ต่อไปในวงการธุรกิจโดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีงบประมาณเพื่อกิจกรรม CSR ก็อาจนำมาใช้ผ่านกิจการ SE หรือกองทุนรวมเพื่อสังคมได้
ปรากฎการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป คือ นักลงทุนก็สามารถซื้อหุ้นในกิจการ SE หรือมีเครื่องมือในตลาดทุนที่ให้ผลตอบแทนทางการเงินแล้ว ยังเกิดผลลัพธ์ที่ช่วยเหลือสังคมอีกด้วย
suwatmgr@gmail.com
“Socialgiver.com” ทำให้คุณได้ “ช้อป” และ “ช่วย”สังคมไปด้วยกัน
เปิดตัวเว็ปไซต์ใหม่สัญชาติไทย “Socialgiver.com” พื้นที่ออนไลน์ที่จะทำให้คุณได้ “ช็อป” และ “ช่วย” สังคมไปด้วยกัน โดย Socialgiver.com จับมือร่วมกับ 30 ธุรกิจชั้นนำทั่วประเทศไทย ภายใต้แคมเปญ “Thailand Top 30” เพื่อตอบสนองความต้องการกลุ่มผู้บริโภค ที่ชื่นชอบไลฟ์สไตล์ที่ดูดีมีระดับและใส่ใจสังคม โดยผู้ใช้เว็ปไซต์สามารถเลือกช็อปสินค้า และบริการชั้นนำในราคาสุดพิเศษ ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร กิจกรรมฯลฯ ที่ล้วนคัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน พร้อมทั้งยังได้ทั้งสนับสนุนโครงการและมูลนิธิต่างๆ ที่สามารถเลือกเองได้อีกด้วย อาทิเช่น “ช็อปบัตรกำนัล เพื่อไปอิ่มอร่อยกับดินเนอร์สุดโรแมนติก ที่ The Capital by Water Library 500 บาท (มูลค่า 700 บาท) และยังได้สมทบทุนให้แก่ ศูนย์พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ตำบลเหล่าใหญ่ เป็นต้น
Socialgiver เป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่สร้างสรรค์พื้นที่ออนไลน์ ให้ทุกคนสามารถเลือกซื้อสินค้าและ บริการชั้นนำในราคาสุดพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร และกิจกรรมต่างๆจากทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “ช็อป” และ “ช่วย” ไปด้วยกัน แต่นอกจากนั้น ทันทีที่คุณ“คลิกซื้อ” เงินจำนวนนั้นจะนำไปสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมและมูลนิธิในประเด็นต่างๆที่ล้วนมีความสร้างสรรค์ หลากหลาย และสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริง ในช่วงระยะทดลองโมเดลที่ผ่านมา socialgiver.com ได้ประสบความสำเร็จในการระดมทุนได้มากกว่า 500,000 บาท ให้แก่ 5 โครงการเพื่อสังคม ด้วยการสนับสนุนจาก 40 ธุรกิจชั้นนำทั่วประเทศ และยังมี 2 รางวัลการันตีจากการเป็นผู้ชนะการแข่งขัน สุดยอดธุรกิจเพื่อสังคมจาก GSVC South East Asia 2014 และ The Venture 2015 ซึ่ง Socialgiver จะได้เป็นตัวแทนธุรกิจเพื่อสังคมจากประเทศไทยไปแข่งขันในระดับโลกที่ รัฐแคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกา ในเดือนกรกฎาคมนี้
ด้วยกระแสตอบรับที่ดี Socialgiver.com จึงจับมือร่วมกับอีก 30 ธุรกิจชั้นนำทั่วประเทศ เปิดตัวแคมเปญ “Thailand Top 30” เพื่อเป็นการฉลองเปิดตัวเว็ปไซต์ใหม่ โดยปัจจุบันธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย
1.Sripanwa Resort Phuket
2.The Naka Island A Luxury Collection Resort & Spa Phuket
3.Paradee Resort & Spa
4.Le Vimarn Cottage & Spa
5.Lub D Bangkok
6.Water Library
7.Nest Rooftop Lounge
8.Wine I Love you
9.Chocolate Ville
10.Crepes & Co
11.Flow House
12.The Lab
13.Pilates Station
14.RSM Academy
15.Yunomori Onsen
16.Escape Hunt และธุรกิจอื่นๆอีกมากมาย
บทบาทของ Socialgiver เริ่มด้วยการระดมทุนให้แก่ 10 โครงการเพื่อสังคม เพื่อนำ ไปแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ อันได้แก่
1. มูลนิธิซายน์ มูฟเม้นท์ (Zy Movement Foundation)
2.มูลนิธิรักษ์สัตว์ป่า (Love WildLife Foundation)
3.โครงการ แฮปปี้ ดอล (Happy Dolls Project)
4.โครงการ เดอะ สวิม เซฟ ชาร์ค (The SwimSafe Shark Project)
5.ฟอร์ เด็กดอย (4DekDoi)
6.แบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ (BookforPrison)
7.ศูนย์พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ครอบครัว ตำบลเหล่าใหญ่
8.ศูนย์ญาณากรแหล่งเรียนรู้สตรีพิการ
9.อิ่มท้อง น้องอิ่มด้วย (Food4Good)
10.มูลนิธิเสียงจากเรา (The Voice Foundation)
ยิ่งถึงขั้นจัดตั้งเป็น “กิจการเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise หรือ SE ซึ่งเป็นกิจการที่มีจุดประสงค์ CSR สมบูรณ์แบบ แต่ใช้กลยุทธ์และรูปแบบธุรกิจ ที่ประสบความสำเร็จมากในประเทศอังกฤษ และแนวคิดแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการเช่นนี้กำลังเป็นที่สนใจนำไปใช้ในหลายประเทศ
ในประเทศไทยขณะนี้มี “สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ” (Thai Social Enterprise Office) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริมธุรกิจประเภทใหม่ที่มีจุดยืนเพื่อสังคมอย่างแท้จริงและใกล้จะมีกฎหมายออกมาสนับสนุน
เทศกาล “สัปดาห์กิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ” ครั้งใหม่ก็จะจัดช่วง 7-14 มีนาคม 2558 ในย่านธุรกิจหลายแห่งของกรุงเทพฯ
ผมสังเกตว่ามีความเคลื่อนไหวของกิจกรรมส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมอย่างคึกคักในระยะนี้ เช่น หลายสถาบันได้ร่วมกันจัดงาน “ ตลาดนัด SE : ธุรกิจนำดีของนักลงทุนรักษ์โลก” เมื่อวันสิ้นเดือนมกราคม 2558 มีธุรกิจ SE ประมาณ 28 องค์กร เข้าร่วมงานแนะนำกิจการ โดยมีประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เป็นประธานเปิดงาน
ตัวแทนภาคธุรกิจและคนจากธุรกิจตลาดทุนก็น่าจะสนใจเพราะเป็นช่องทางเลือกในการลงทุนที่ได้ผลลัพธ์ 2 เด้ง คือมีผลตอบแทนทางการเงิน ขณะที่เป็นธุรกิจที่มีคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
SE ที่ไปร่วมในงานล้วนมุ่งความยั่งยืนโดยมีจุดยืนทำเพื่อสังคมพร้อมกับสร้างผลตอบแทนเชิงธุรกิจด้วย ซึ่งผมจะหาจังหวะทยอยนำมาเสนอท่านผู้อ่านต่อไป
แต่ครั้งนี้ ผมขอกล่าวถึง Socialgiver ที่มีผู้นำกิจการเป็นหนุ่มวัย 28 ปี คือ อาชว์ วงศ์จินดาเวศย์
อาชว์ เป็นคนไทยเพียงคนเดียวในปีนี้ที่ได้รับคัดเลือก เป็นตัวแทนจากบรรดาคนรุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้มีโอกาสขึ้นไปกล่าวบรรยายบนเวที World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในเดือนมกราคมปีนี้ เกี่ยวกับแนวคิดใหม่ที่จะช่วยระดมทุนให้กับโครงการเพื่อสังคมและมูลนิธิต่างๆ ซึ่งกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างต่อเนื่อง
อาชว์ ได้เสนอแนวคิดพร้อมแนะนำ Socialgiver กิจการเพื่อสังคมที่เขาก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็น ช่องทางให้คนไทยสามารถทำความดีได้ง่ายขึ้นและบ่อยขึ้น ผ่านพฤติกรรมการบริโภค ที่ตัวเองคุ้นเคย
Socialgiver.com คือ พื้นที่ออนไลน์ที่ให้ทุกคนสามารถเลือกซื้อสินค้า และบริการจากกิจการชั้นนำที่บริจาคผ่านมูลนิธิบูรณะชนบท ผลประกอบการจากการซื้อนั้นจะนำไปสนับสนุน โครงการเพื่อสังคมและมูลนิธิต่างๆ ที่ผู้ซื้อสามารถเลือกเองได้ โดยทุกๆโครงการที่คัดเลือกมาล้วนมีความหลากหลายและสร้างสรรค์ ทั้งประเด็นการศึกษา สัตว์และสิ่งแวดล้อม คนพิการ ฯลฯ
“ผมเชื่อว่าหากเรามีความฝันที่อยากอยู่ในสังคมที่ดีขึ้น เราเองก็ต้องสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวมให้มากยิ่งขึ้น และเมื่อทุกคนร่วมมือกัน สังคมก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีแน่นอน” ผู้ก่อตั้ง Socialgiver กล่าว
ในการประชุมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมต่างได้ช่วยกันระดมความคิดและเตรียมรับมือกับปัญหา ที่โลกจะต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้นี้ และต่างนำประสบการณ์ที่ได้กลับไปต่อยอดเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรและประเทศตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยอาชว์ได้มีโอกาส ใกล้ชิดและรับฟังแนวคิดจาก บุคคลสำคัญระดับโลกอย่าง บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft จิม ยอง คิม ประธานธนาคารโลก อีริค ชมิดธ์ กรรมการผู้บริหารบริษัท Google แมริสา เมยอร์ ประธานบริษัท Yahoo อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดี ประเทศสหรัฐอเมริกา และบุคคลอื่นๆอีกมากมาย
ข้อคิด...
แนวคิดและหลักปฏิบัติเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรหรือการมี CSR (Corporate Social Responsibility) ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นสากลว่าเป็นคุณสมบัติที่ “จำเป็นต้องมี” ในการดำเนินกิจการ เพราะจะส่งผลลัพธ์ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)
CSR จึงเป็น “รากแก้ว” ที่ได้พัฒนาแตกหน่อและต่อยอดออกไปในหลายบริบทของกลยุทธ์การบริหารกิจการที่คำนึงถึงการสร้างคุณค่าใน 3 มิติ หรือ ESG คือ สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) ธรรมาภิบาล (Governance)
การเกิดนวัตกรรมทางสังคมในรูปแบบองค์กรที่เรียกว่า “กิจการเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise ที่บริหารแบบธุรกิจ แต่มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม กำไรที่เกิดจากธุรกิจจะนำไปขยายกิจการและใช้เพื่อโครงการช่วยเหลือสังคมหรือสิ่งแวดล้อม
น่ายินดีที่ได้เห็นคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดก้าวหน้า ใฝ่ดีและมีความรับผิดชอบต่อสังคม สนใจที่จะเรียนรู้และจัดตั้ง “กิจการเพื่อสังคม” หรือ SE ซึ่งสามารถทำเป็นธุรกิจที่เลือกแนวทางช่วยเหลือสังคม “ตามฝันของตัวเอง”
ขณะที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ มีการเปิดสอนหลักสูตรผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม ตอนนี้ประเทศไทย ก็เริ่มมีหลักสูตร Social Enterprise เช่นกัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เอาล่ะครับ เมื่อมีแหล่งบ่มเพาะความรู้แล้ว ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจประเภทนี้เกิดและเติบโตอย่างยั่งยืนได้ก็ต้องมีนักลงทุนเพื่อสังคม และตลาดทุนเพื่อสังคม ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ในยุคที่มี ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ เป็นประธานได้มีวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้กลไกตลาดทุนสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมอย่างเอาจริงเอาจัง
ต่อไปในวงการธุรกิจโดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีงบประมาณเพื่อกิจกรรม CSR ก็อาจนำมาใช้ผ่านกิจการ SE หรือกองทุนรวมเพื่อสังคมได้
ปรากฎการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป คือ นักลงทุนก็สามารถซื้อหุ้นในกิจการ SE หรือมีเครื่องมือในตลาดทุนที่ให้ผลตอบแทนทางการเงินแล้ว ยังเกิดผลลัพธ์ที่ช่วยเหลือสังคมอีกด้วย
suwatmgr@gmail.com
“Socialgiver.com” ทำให้คุณได้ “ช้อป” และ “ช่วย”สังคมไปด้วยกัน
เปิดตัวเว็ปไซต์ใหม่สัญชาติไทย “Socialgiver.com” พื้นที่ออนไลน์ที่จะทำให้คุณได้ “ช็อป” และ “ช่วย” สังคมไปด้วยกัน โดย Socialgiver.com จับมือร่วมกับ 30 ธุรกิจชั้นนำทั่วประเทศไทย ภายใต้แคมเปญ “Thailand Top 30” เพื่อตอบสนองความต้องการกลุ่มผู้บริโภค ที่ชื่นชอบไลฟ์สไตล์ที่ดูดีมีระดับและใส่ใจสังคม โดยผู้ใช้เว็ปไซต์สามารถเลือกช็อปสินค้า และบริการชั้นนำในราคาสุดพิเศษ ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร กิจกรรมฯลฯ ที่ล้วนคัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน พร้อมทั้งยังได้ทั้งสนับสนุนโครงการและมูลนิธิต่างๆ ที่สามารถเลือกเองได้อีกด้วย อาทิเช่น “ช็อปบัตรกำนัล เพื่อไปอิ่มอร่อยกับดินเนอร์สุดโรแมนติก ที่ The Capital by Water Library 500 บาท (มูลค่า 700 บาท) และยังได้สมทบทุนให้แก่ ศูนย์พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ตำบลเหล่าใหญ่ เป็นต้น
Socialgiver เป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่สร้างสรรค์พื้นที่ออนไลน์ ให้ทุกคนสามารถเลือกซื้อสินค้าและ บริการชั้นนำในราคาสุดพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร และกิจกรรมต่างๆจากทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “ช็อป” และ “ช่วย” ไปด้วยกัน แต่นอกจากนั้น ทันทีที่คุณ“คลิกซื้อ” เงินจำนวนนั้นจะนำไปสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมและมูลนิธิในประเด็นต่างๆที่ล้วนมีความสร้างสรรค์ หลากหลาย และสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริง ในช่วงระยะทดลองโมเดลที่ผ่านมา socialgiver.com ได้ประสบความสำเร็จในการระดมทุนได้มากกว่า 500,000 บาท ให้แก่ 5 โครงการเพื่อสังคม ด้วยการสนับสนุนจาก 40 ธุรกิจชั้นนำทั่วประเทศ และยังมี 2 รางวัลการันตีจากการเป็นผู้ชนะการแข่งขัน สุดยอดธุรกิจเพื่อสังคมจาก GSVC South East Asia 2014 และ The Venture 2015 ซึ่ง Socialgiver จะได้เป็นตัวแทนธุรกิจเพื่อสังคมจากประเทศไทยไปแข่งขันในระดับโลกที่ รัฐแคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกา ในเดือนกรกฎาคมนี้
ด้วยกระแสตอบรับที่ดี Socialgiver.com จึงจับมือร่วมกับอีก 30 ธุรกิจชั้นนำทั่วประเทศ เปิดตัวแคมเปญ “Thailand Top 30” เพื่อเป็นการฉลองเปิดตัวเว็ปไซต์ใหม่ โดยปัจจุบันธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย
1.Sripanwa Resort Phuket
2.The Naka Island A Luxury Collection Resort & Spa Phuket
3.Paradee Resort & Spa
4.Le Vimarn Cottage & Spa
5.Lub D Bangkok
6.Water Library
7.Nest Rooftop Lounge
8.Wine I Love you
9.Chocolate Ville
10.Crepes & Co
11.Flow House
12.The Lab
13.Pilates Station
14.RSM Academy
15.Yunomori Onsen
16.Escape Hunt และธุรกิจอื่นๆอีกมากมาย
บทบาทของ Socialgiver เริ่มด้วยการระดมทุนให้แก่ 10 โครงการเพื่อสังคม เพื่อนำ ไปแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ อันได้แก่
1. มูลนิธิซายน์ มูฟเม้นท์ (Zy Movement Foundation)
2.มูลนิธิรักษ์สัตว์ป่า (Love WildLife Foundation)
3.โครงการ แฮปปี้ ดอล (Happy Dolls Project)
4.โครงการ เดอะ สวิม เซฟ ชาร์ค (The SwimSafe Shark Project)
5.ฟอร์ เด็กดอย (4DekDoi)
6.แบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ (BookforPrison)
7.ศูนย์พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ครอบครัว ตำบลเหล่าใหญ่
8.ศูนย์ญาณากรแหล่งเรียนรู้สตรีพิการ
9.อิ่มท้อง น้องอิ่มด้วย (Food4Good)
10.มูลนิธิเสียงจากเรา (The Voice Foundation)