เมื่อตอนที่ผู้บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย แถลงเปิดตัวโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” (Toyota Social Innovation) เมื่อราว 3 เดือนที่แล้ว นับว่าได้ท้าทายความคิดของผู้คนพอสมควรที่สงสัยว่าโตโยต้าจะเอาความรู้และประสบการณ์ความสำเร็จของอุตสาหกรรมรถยนต์ไปปรับระบบและสอนภาคปฏิบัติให้กับธุรกิจชุมชนระดับ SMEs ในท้องถิ่น จะไหวหรือ ?
ด้วยความมั่นใจและท้าพิสูจน์ความเป็นไปได้ เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา สุรศักดิ์ สุทองวัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ จึงได้นำคณะสื่อมวลชนไปชมผลงานโครงการนำร่อง “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” กลุ่มตัดเย็บ เสื้อโปโล ฮาร์ท โอทอป ที่จังหวัดกาญจนบุรี
โครงการนี้เป็นการ “ขับเคลื่อนความรู้สู่ชุมชน” นำความรู้ที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของโตโยต้าทั่วโลก ได้แก่ “วิถีโตโยต้า” (Toyota Way) และ “ระบบการผลิตแบบโตโยต้า” (Toyota Production System) ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจชุมชนของไทย ซึ่ง “ทำได้” ไม่จำกัดเฉพาะธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่ธุรกิจหลักของโตโยต้าเท่านั้น
ทั้งนี้ มุ่งเน้นการหาแนวทางปรับปรุงแก้ปัญหาที่มักพบในธุรกิจชุมชน ได้แก่
1.ความสามารถในการผลิต (Productivity) เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต เพื่อช่วยเพิ่มรายได้
2.การส่งมอบงานตรงเวลา (Delivery) ลดการเสียโอกาสในการขาย เพิ่มความน่าเชื่อถือ เพิ่มโอกาสการส่งออก
3.การควบคุมคุณภาพ (Quality control) ลดของเสียในการผลิต ลดต้นทุน สินค้ามีมาตรฐาน
4.การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory management) ลดการสูญเสียต้นทุนที่เกิดจากการบริหารสินค้าคงคลังและการจัดเตรียมวัตถุดิบที่ไม่เหมาะสม
5.การบริหารต้นทุนในกระบวนการ (Work in process cost) ลดค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ
แต่การขับเคลื่อนหลักการดำเนินงานของโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ได้ยึดหลัก“ไคเซน” (Kaizen) หรือ กระบวนการเข้าถึงปัญหา และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ไม่สิ้นสุด ซึ่งเป็นเสาหลักของระบบ TPS มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ “รู้ เห็น เป็น ใจ”
1.รู้ หมายถึง รู้ปัญหา ที่เกิดขึ้นในทุกๆกระบวนการ มีการส่งคนลงไปที่หน้างานเพื่อศึกษาปัญหาตามหลัก TPS ที่มุ่งผลิตตามความต้องการของตลาด
2.เห็น หมายถึง เห็นปัญหา วิเคราะห์ปัญหา กำหนดแนวทางและดำเนินการแก้ปัญหา มีการสร้างตารางข้อมูลบนบอร์ดขนาดใหญ่เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามหลักไคเซน
3.เป็น หมายถึง ให้ธุรกิจชุมชนเข้าใจระบบ และสามารถทำ“ไคเซน” ได้ด้วยตนเอง และดำเนินการแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4.ใจ หมายถึง เข้าใจ ใส่ใจ และถูกใจตามหลักปรัชญาลูกค้าเป็นที่ 1 ด้วยวิถีแห่งโตโยต้า
“โตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์” ยังมีโครงการนำร่องอีก 2 แห่ง ได้แก่หัตถกรรมพื้นบ้านเตยปาหนัน บ้านวังหิน จ. กระบี่ และแกงไตปลาแม่บ้านเกษตรกรท่าข้ามสัมพันธ์ จ. ตรัง ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และมีแผนจะขยายการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2557 กับธุรกิจชุมชนอีก 3 แห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนล่างเพื่อให้มีโครงการนำร่องในทุกภูมิภาค โดยคาดว่าจะดำเนินงานแล้วเสร็จในปี 2558 และมีแผนที่จะขยายโครงการให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศภายในปี พ.ศ. 2563
ข้อคิด...
กิจกรรมส่งเสริมสังคมของโตโยต้าโครงการนี้ นับว่าเป็น “นวัตกรรมสังคม” ที่โดดเด่น เพราะไม่ใช่กิจกรรมเชิงสังคมสงเคราะห์ หรือการบริจาค แต่มีกระบวนการสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อให้เกิดการ “พัฒนาอย่างยั่งยืน” แก่ธุรกิจชุมชน
ยิ่งเมื่อทราบจาก ณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) ที่ได้ร่วมงานกับชุมชนต่าง ๆ พบว่า ปัญหาที่ต้องการได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนคือปัญหาด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน
จึงเป็นเรื่องน่ายินดีที่โตโยต้ามีความมุ่งมั่นในการผลักดันนวัตกรรมสังคมตัวนี้ให้เกิดขึ้นได้จริง ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดเดิม และเป็นการรองรับการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านจากการเปิดประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 อีกด้วย
ขณะที่ วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสของโตโยต้าบอกว่า ได้ศึกษาแนวทางการนำประสบการณ์ที่โตโยต้าไปช่วยสร้างความสุขแก่ชุมชน จากการดำเนินงาน “โรงสีข้าวรัชมงคล” มากว่า 15 ปี ได้ช่วยพัฒนาระบบการทำนา ปรับปรุงการบำรุงดิน และการใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนทำให้เข้าใจถึงแนวทางการร่วมงานกับชุมชน จนเป็นปัจจัยความสำเร็จของโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ที่ไม่ใช่เพียงแค่การนำความรู้ไปมอบให้ แต่เป็นการนำความรู้ในเชิงการจัดการที่ปรับเปลี่ยนให้เข้าใจง่าย และการลงไปร่วมลงมือทำเพื่อให้ผู้ประกอบการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
“เมื่อผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงหวังว่า โครงการต้นแบบเช่นนี้จะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปถ่ายทอดแก่ชุมชนของตนหรือองค์กรอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้สังคมไทยก้าวสู่ยุคแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสจากโตโยต้า ฝากความหวังดีไว้อย่างน่าชื่นชม
suwatmgr@gmail.com
ด้วยความมั่นใจและท้าพิสูจน์ความเป็นไปได้ เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา สุรศักดิ์ สุทองวัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ จึงได้นำคณะสื่อมวลชนไปชมผลงานโครงการนำร่อง “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” กลุ่มตัดเย็บ เสื้อโปโล ฮาร์ท โอทอป ที่จังหวัดกาญจนบุรี
โครงการนี้เป็นการ “ขับเคลื่อนความรู้สู่ชุมชน” นำความรู้ที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของโตโยต้าทั่วโลก ได้แก่ “วิถีโตโยต้า” (Toyota Way) และ “ระบบการผลิตแบบโตโยต้า” (Toyota Production System) ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจชุมชนของไทย ซึ่ง “ทำได้” ไม่จำกัดเฉพาะธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่ธุรกิจหลักของโตโยต้าเท่านั้น
ทั้งนี้ มุ่งเน้นการหาแนวทางปรับปรุงแก้ปัญหาที่มักพบในธุรกิจชุมชน ได้แก่
1.ความสามารถในการผลิต (Productivity) เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต เพื่อช่วยเพิ่มรายได้
2.การส่งมอบงานตรงเวลา (Delivery) ลดการเสียโอกาสในการขาย เพิ่มความน่าเชื่อถือ เพิ่มโอกาสการส่งออก
3.การควบคุมคุณภาพ (Quality control) ลดของเสียในการผลิต ลดต้นทุน สินค้ามีมาตรฐาน
4.การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory management) ลดการสูญเสียต้นทุนที่เกิดจากการบริหารสินค้าคงคลังและการจัดเตรียมวัตถุดิบที่ไม่เหมาะสม
5.การบริหารต้นทุนในกระบวนการ (Work in process cost) ลดค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ
แต่การขับเคลื่อนหลักการดำเนินงานของโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ได้ยึดหลัก“ไคเซน” (Kaizen) หรือ กระบวนการเข้าถึงปัญหา และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ไม่สิ้นสุด ซึ่งเป็นเสาหลักของระบบ TPS มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ “รู้ เห็น เป็น ใจ”
1.รู้ หมายถึง รู้ปัญหา ที่เกิดขึ้นในทุกๆกระบวนการ มีการส่งคนลงไปที่หน้างานเพื่อศึกษาปัญหาตามหลัก TPS ที่มุ่งผลิตตามความต้องการของตลาด
2.เห็น หมายถึง เห็นปัญหา วิเคราะห์ปัญหา กำหนดแนวทางและดำเนินการแก้ปัญหา มีการสร้างตารางข้อมูลบนบอร์ดขนาดใหญ่เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามหลักไคเซน
3.เป็น หมายถึง ให้ธุรกิจชุมชนเข้าใจระบบ และสามารถทำ“ไคเซน” ได้ด้วยตนเอง และดำเนินการแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4.ใจ หมายถึง เข้าใจ ใส่ใจ และถูกใจตามหลักปรัชญาลูกค้าเป็นที่ 1 ด้วยวิถีแห่งโตโยต้า
“โตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์” ยังมีโครงการนำร่องอีก 2 แห่ง ได้แก่หัตถกรรมพื้นบ้านเตยปาหนัน บ้านวังหิน จ. กระบี่ และแกงไตปลาแม่บ้านเกษตรกรท่าข้ามสัมพันธ์ จ. ตรัง ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และมีแผนจะขยายการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2557 กับธุรกิจชุมชนอีก 3 แห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนล่างเพื่อให้มีโครงการนำร่องในทุกภูมิภาค โดยคาดว่าจะดำเนินงานแล้วเสร็จในปี 2558 และมีแผนที่จะขยายโครงการให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศภายในปี พ.ศ. 2563
ข้อคิด...
กิจกรรมส่งเสริมสังคมของโตโยต้าโครงการนี้ นับว่าเป็น “นวัตกรรมสังคม” ที่โดดเด่น เพราะไม่ใช่กิจกรรมเชิงสังคมสงเคราะห์ หรือการบริจาค แต่มีกระบวนการสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อให้เกิดการ “พัฒนาอย่างยั่งยืน” แก่ธุรกิจชุมชน
ยิ่งเมื่อทราบจาก ณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) ที่ได้ร่วมงานกับชุมชนต่าง ๆ พบว่า ปัญหาที่ต้องการได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนคือปัญหาด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน
จึงเป็นเรื่องน่ายินดีที่โตโยต้ามีความมุ่งมั่นในการผลักดันนวัตกรรมสังคมตัวนี้ให้เกิดขึ้นได้จริง ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดเดิม และเป็นการรองรับการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านจากการเปิดประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 อีกด้วย
ขณะที่ วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสของโตโยต้าบอกว่า ได้ศึกษาแนวทางการนำประสบการณ์ที่โตโยต้าไปช่วยสร้างความสุขแก่ชุมชน จากการดำเนินงาน “โรงสีข้าวรัชมงคล” มากว่า 15 ปี ได้ช่วยพัฒนาระบบการทำนา ปรับปรุงการบำรุงดิน และการใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนทำให้เข้าใจถึงแนวทางการร่วมงานกับชุมชน จนเป็นปัจจัยความสำเร็จของโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ที่ไม่ใช่เพียงแค่การนำความรู้ไปมอบให้ แต่เป็นการนำความรู้ในเชิงการจัดการที่ปรับเปลี่ยนให้เข้าใจง่าย และการลงไปร่วมลงมือทำเพื่อให้ผู้ประกอบการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
“เมื่อผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงหวังว่า โครงการต้นแบบเช่นนี้จะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปถ่ายทอดแก่ชุมชนของตนหรือองค์กรอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้สังคมไทยก้าวสู่ยุคแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสจากโตโยต้า ฝากความหวังดีไว้อย่างน่าชื่นชม
suwatmgr@gmail.com