เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations-FAO)เพิ่งออกรายงานฉบับหนึ่งแสดงความกังวลต่อการเพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) ของภาคเกษตรของโลก
โดยบอกว่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ภาคเกษตรของโลกปล่อย GHGs เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า และหากยังไม่มีการดำเนินการลด GHGs อย่างจริงจัง ภาคเกษตรจะปล่อย GHGs เพิ่มขึ้นอีก 30% ภายในปี 2050
ทั้งนี้ ในช่วงปี 2001-2011 การเพาะปลูกและการปศุสัตว์ของโลกได้ปล่อย GHGs เพิ่มขึ้น 14%เป็น 5,300 ล้านตัน โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากการชยายผลผลิตในประเทศกำลังพัฒนา
FAO รายงานว่า ในปี 2011 การปล่อย GHGs ของภาคเกษตรเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเซียถึง 44% รองลงมา คือ สหรัฐฯ (25%) แอฟริกา (15%) และยุโรป (12%)
FAO ยังระบุอีกว่าแหล่งที่มาของ GHGs ในภาคเกษตรของโลกส่วนใหญ่ (39%) มาจากก๊าซมีเทนในสาขาปศุสัตว์ รองลงมา คือ การใช้ปุ๋ย (13%) และนาข้าว (10%)
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
เป็นผู้นำประเทศต่างๆเพื่อเอาชนะความหิวโหย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2488 เป็นแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสาร ให้การบริการทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและที่กำลังพัฒนา โดยปฏิบัติงานเป็นศูนย์กลางการประชุมที่เป็นกลาง เป็นที่ซึ่งทุกประเทศมาประชุมอย่างมีสิทธิเท่าเทียมกันเพื่อทำการตกลง ต่อรองในทางนโยบาย ปัจจุบันช่วยประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่กำลังจะเข้าสู่การพัฒนาในการปรับปรุงการเกษตร ป่าไม้ ประมง และโภชนาการสำหรับทุกคน