xs
xsm
sm
md
lg

แบงก์กรุงไทย ขับเคลื่อน CSR เน้นสร้างคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ความมุ่งมั่นในภารกิจการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อลูกค้าในทุกช่วงวัยตามวิสัยทัศน์ของธนาคารกรุงไทย ที่ว่า “ธนาคารแสนสะดวก (The Convenience Bank) ที่ดูแลและบริการลูกค้าดีที่สุด”
ตลอดกว่า 40 ปี ธนาคารแห่งนี้จึงได้ยืดหยัดในปณิธานการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมโดยการให้ความสำคัญกับการรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมด้วยการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการตอบแทนต่อสังคมและใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ภายใต้การขับเคลื่อน “ทุนทางปัญญา” อย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ชัยอนันต์ ศิระวณิชการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ รักษาการ ผู้บริหารสายงาน  สายงานทรัพยากรบุคคลและบรรษัทภิบาล
“องค์กรมิได้มุ่งทำกำไรสูงสุด แต่อยู่บนพื้นฐานความสมดุลในการสร้างคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม”

ลำดับความเข้มข้นในกระบวนการ CSR
“ในปี 2540 เมืองไทยเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง ต่างประเทศมองว่าการบริหารจัดการองค์กรของไทยยังขาดหลักบรรษัทภิบาล หรือ Corporate Governance เราจึงใส่ใจในหลักบรรษัทภิบาลยิ่งขึ้น ซึ่งภายใต้หลักนี้รวมถึงการดูแลช่วยเหลือสังคมด้วย (CSR-after-process) ถึงแม้ธุรกิจให้บริหารทางการเงินไม่ได้ไปก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรงเหมือนธุรกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่คณะกรรมการธนาคารก็คิดจะสร้างสรรค์สังคมให้มีความยั่งยืน” ชัยอนันต์ ศิระวณิชการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ รักษาการ ผู้บริหารสายงาน สายงานทรัพยากรบุคคลและบรรษัทภิบาล ธนาคารกรุงไทย เล่าถึงหลักคิดสู่การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของคนธนาคารกรุงไทย
ค่านิยม ในยุคประธานกรรมการ ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ได้ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการ (CSR-in-process)มีค่านิยมหลัก (Core Value) คือFirst ประกอบด้วย F-Firm (มั่นคง) I-Innovative (สร้างสรรค์) R-Responsible (รับผิดชอบ) S-Service (มุ่งมั่นบริการ) และ T-Teamwork (ทำงานเป็นทีม) ซึ่งแต่ละตัวยังแตกย่อยลงสู่ข้อปฏิบัติเพื่อสร้างเป็นดีเอ็นเอของคนธนาคารกรุงไทย
ปัจจุบันแนวปฏิบัติด้วยหลัก CSR กำหนดไว้เป็นนโยบายชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานรับทราบและนำไปปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัดโดยมีการจัดตั้งเป็นคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมกับมีบรรษัทภิบาลและกิจกรรมเพื่อสังคม (CG&CSR) เข้ามารับผิดชอบต่อการดำเนินงานในเรื่องนี้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ธนาคารได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ใน 4 มิติ ได้แก่ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม และกีฬา โดยร่วมกับหน่วยงานภายนอกอีกกว่า 80 หน่วยงาน ร่วมเสริมสร้างแรงกระตุ้นและจูงใจให้ลูกค้าและประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้บริหารและพนักงานของธนาคาร บริษัทในเครือธนาคาร และหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตรต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสังคม และรักษาสิ่งแวดล้อม

เดินหน้าตามแผนแม่บท “เสริมสร้างทุนทางปัญญา”
การเสริมสร้างทุนปัญญา ได้ดำเนินการผ่านโครงการต่างๆ กว่า 30 โครงการ ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ เพราะเชื่อว่า “ทุนทางปัญญาเป็นทุนที่ยั่งยืน ไม่มีวันหมด ยิ่งใช้ยิ่งงอกเงย ยิ่งใช้ยิ่งมีคุณค่า และเป็นพื้นฐานสำคัญในการรักษาและสร้างทุนทรัพย์สืบไป” แนวการดำเนินงานมีดังนี้
o1. ดำเนินการต่อเนื่อง ในโครงการที่ทำไว้แล้ว และขยายผลต่อจากโครงการหลักต่างๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างทุนทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง และเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
o2.เชื่อมโยงและบูรณาการโครงการต่างๆ เข้าด้วยกัน ตามวัตถุประสงค์และระดับอายุของกลุ่มเป้าหมาย
o3.ปลูกจิตสำนึกให้กับพนักงานทุกระดับ ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของธนาคาร
o4.สร้างเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันผลักดันให้โครงการต่างๆ ของธนาคารสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์

oชัยอนันต์ กล่าวว่ากลยุทธ์ของธนาคารคำนึงถึง 3 เสาหลัก คือ การบริหารความเสี่ยง (Enterprise Risk Management) บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) และความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) เพื่อให้เกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพและคุณธรรม
oเช่นเดียวกับการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม คือ ผู้ถือหุ้น ต้องสร้างผลงานผลประกอบการให้ดีที่สุดด้วยความความซื่อสัตย์ โปร่งใส ลูกค้า เราถือว่าเป็นผู้มีพระคุณ จึงมอบสิ่งดีที่สุดให้เสมอ ชุมชนและสังคม เป็นผู้มีพระคุณต่อองค์กรอย่างยิ่งเช่นกัน เราจึงเข้าไปเสริมสร้างคุณค่า “ทุนทางปัญญา” ผ่านหลากหลายโครงการให้กับชุมชนและสังคม และทำให้เรามีส่วนช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย
oส่วนกลุ่มสุดท้าย พนักงาน ตั้งแต่ระดับผู้บริหารลงมา เป็นกลไกกลยุทธ์นำไปสู่ความสำเร็จของธนาคารนั้น มีแนวทางปลูกฝังให้มีพฤติกรรมที่ต้องปฏิบัติประจำ รวมถึงมีการมอบรางวัลความเป็น First ซึ่งแบ่งเป็น 5 รางวัลสำหรับความโดดเด่นในแต่ละด้าน
o“เราต้องทำซีเอสอาร์ภายในกับพนักงานด้วย คือต้องดูแลระบบค่าตอบแทนและสวัสดิการเพื่อให้เขาทำงานอย่างเป็นสุข อย่างที่ กรรมการผู้จัดการใหญ่ วรภัค ธันยาวงษ์ กล่าวว่างานได้ผล คนเป็นสุข ส่วนซีเอสอาร์ในกระบวนธุรกิจก็สำคัญ อย่างการให้สินเชื่อ เราต้องพิจารณาว่าไม่เป็นธุรกิจที่ทำร้ายสังคมและสิ่งแวดล้อม”

ตัวอย่างโครงการ CSR ธนาคารกรุงไทย
มิติการศึกษา
โครงการ “กรุงไทยยุววานิช” เป็นโครงการแรกๆ ที่สอนให้เด็กในระดับมัธยมปลายและอาชีวศึกษาได้รู้จักคิด รู้จักการทำธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้เด็กได้ทดลองทำธุรกิจจริงๆ แล้วนำมาประกวดกัน ต่อมาปี 2548 ธนาคารได้ตั้ง “โครงการสนับสนุนการศึกษา บมจ.ธนาคารกรุงไทย” ขึ้น เพื่อพัฒนาโรงเรียนในโครงการ “หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน” ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการ “โรงเรียนในฝัน โรงเรียนดีใกล้บ้าน” ธนาคารจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการกรุงไทยสานฝัน โรงเรียนดีใกล้บ้าน” โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ ตั้งแต่ปี 2548-2556 รวมงบประมาณที่ได้จัดสรรให้แก่โรงเรียนเป็นจำนวน 260 ล้านบาท สำหรับ 94 โรงเรียน ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ
จากนั้น ได้ดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ที่เป็นการขยายผลโครงการกรุงไทยสานฝัน โรงเรียนดีใกล้บ้าน อาทิ โครงการธนาคารโรงเรียน ในปี 2548 โครงการจัดสัมมนาผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการกรุงไทยสานฝัน โรงเรียนดีใกล้บ้าน ในปี 2550 โครงการประกวดผลงานการสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วย ICT ในปี 2549 ได้ร่วมกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จัดตั้งโครงการ “ความร่วมมือพัฒนาการสร้างและการใช้ ICT ในการจัดการเรียนรู้” และในปี 2552 ได้ขยายผลโดยการจัดประกวดผลงานการสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วย ICT ขึ้นเป็นครั้งแรก โครงการกรุงไทยสานฝันสู่บัณฑิต ในปี 2552
นอกจากนี้ ยังมีโครงการอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นการขยายผลโครงการกรุงไทยสานฝัน โรงเรียนดีใกล้บ้าน เช่น โครงการโรงเรียนเชิงนิเวศ (KTB Green School) โครงการวินัยการออมให้แก่ครู นักเรียน และผู้ปกครอง โครงการดนตรีสร้างสัมพันธ์กรุงไทยสานฝัน โรงเรียนดีใกล้บ้าน โครงการ KTB เยาวชนคนรักข่าว และโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาโรงเรียน เป็นต้น

มิติพลังงานและสิ่งแวดล้อม
โครงการ Shred 2 Share ข้อมูลปลอดภัย ร่วมใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ธนาคารได้ร่วมเป็น 1 ใน 55 องค์กร ที่เข้าร่วมโครงการ Shred 2 Share เพื่อร่วมดูแลข้อมูลขององค์กร พร้อมกับการดูแลรักษาสังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการดูแลสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานของธนาคาร และใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า
โครงการ "KTB องค์กรต้นแบบ CSR ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย"
ธนาคารกรุงไทยได้รับคัดเลือกจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ให้เป็นองค์กรต้นแบบให้แก่สถาบันและองค์กรอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการนำแนวคิดและวิธีการด้านการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมไปประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อความเป็นบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม เนื่องจากบทบาทของการเป็นบรรษัทภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ทั้งยังถือเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
โครงการ “KTB องค์กรต้นแบบ CSR ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย” ประกอบด้วยโครงการย่อย 3 โครงการ คือ โครงการ “กรุงไทย อาสา” โครงการ “กรุงไทยห่วงใยสิ่งแวดล้อม” และโครงการ KTB เยาวชนคนรักบอล
กำลังโหลดความคิดเห็น