ผ่านช่วงวันหยุดยาวในโอกาสฉลอง “วันสงกรานต์” หลายท่านได้มีโอกาสทำบุญและรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพตามประเพณีไทย ขณะที่ผู้คนจำนวนมากได้มีโอกาสกลับภูมิลำเนาเพื่อไปกราบไหว้รับพรจากพ่อแม่และญาติมิตรอย่างมีความสุข
บรรยากาศเช่นนี้ ทางราชการจึงได้ให้ความหมายของวันที่ 13 เมษายนในอีกมิติหนึ่งว่าเป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” และวันถัดมา 14 เมษายน เป็น “วันครอบครัว” เพื่อส่งเสริมการสร้างความอบอุ่นของครอบครัว
แต่ในช่วงเดือนเดียวกันนี้ยังมีวันสำคัญที่มีผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและการส่งเสริมการอ่านของคนไทยให้มากขึ้น คณะรัฐมนตรีชุดก่อนกำหนดให้ปี 2552-2561 เป็น “ทศวรรษแห่งการอ่าน” โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมกับกำหนดให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปีเป็น “วันรักการอ่าน” และยังเป็น “วันหนังสือเด็กแห่งชาติ” อีกด้วย เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและส่งเสริมการอ่านตั้งแต่วัยเด็ก
นอกจากนี้ ในระดับสากลยังกำหนดวันที่ 23 เมษายน เป็น “วันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก” และในปีนี้เป็นพิเศษกับประเทศไทยตรงที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO โดยมีคณะกรรมการพิจารณาเลือกให้กรุงเทพมหานคร เป็น “เมืองหนังสือโลก ประจำปี 2556” (Bangkok World Book Capital 2013) ตามแผนที่แสดงความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการเป็นเมืองที่รักการอ่าน !
ทั้งนี้ กทม.ในนามประเทศไทย โดยความร่วมมือขององค์กรสมาคมและภาคีเครือข่ายด้านการจัดพิมพ์และการส่งเสริมการอ่าน ยืนยันด้วยแผนการสนับสนุน ส่งเสริม และจะมีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่องโดยมีแผนงบประมาณรายจ่ายและแหล่งทุนสนับสนุนเต็มที่
7 เมืองที่เสนอตัวเข้าชิงครั้งนี้ ได้แก่ 1.กรุงเทพมหานคร (ประเทศไทย) 2.ไคโร (อียิปต์) 3.อินเซิน (เกาหลีใต้) 4. เควซอน (ฟิลิปปินส์) 5. ควิโต (เอกวาดอร์) 6. เซินเจิ้น (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 7. ชาร์จาห์ (สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์)
พิธีมอบธงภารกิจเมืองหนังสือโลก กำหนดมีขึ้นในค่ำวันที่ 23 เมษายนนี้ ณ พลับพลาเจษฎาบดินทร์ ที่ผ่านฟ้า ริมถนนราชดำเนิน โดยตัวแทนจากกรุงเยเรวาน ประเทศอาร์เมเนีย จะส่งมอบตำแหน่งสู่กรุงเทพมหานคร เมืองหนังสือโลกของปีนี้ และปีหน้า กทม.จะส่งธงต่อให้เมืองพอร์ต ฮาร์คอร์ต ประเทศไนจีเรีย
ในการนี้ กทม.ได้จัดการประชุมนานาชาติในพิธีการมอบตำแหน่งเมืองหนังสือโลกประจำปี 2556 และมีกิจกรรมการต้อนรับภารกิจครั้งนี้ ระหว่างวันที่ 21-23 เมษายน ศกนี้ น่าจะเกิดการรับรู้ต่อกิจกรรมกระตุ้นการอ่านได้บ้าง และเรื่องดีๆ ต่อสังคมไทยเช่นนี้ก็น่าจะมีแผนต่อยอดการส่งเสริมการอ่านให้เป็นวัฒนธรรมต่อไปโดยเชิญชวนขอความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งวัด โรงเรียน วงการธุรกิจเพื่อช่วยให้ กทม. เข้าสู่ระดับการเป็นเมืองหนังสือโลกที่เป็นจริง
ดังตัวอย่างหน่วยงานภาคเอกชนที่มีจิตอาสาทำขึ้นเองรายนี้
LPN ได้เปิด “ห้องสมุดมีชีวิต “ส่งเสริมเยาวชนรักการอ่าน มีเป้าหมายการสร้างให้เป็น “ชุมชนน่าอยู่” ด้วยการส่งเสริมการอ่าน เพราะเป็นรากฐานสำคัญของชีวิต
LPN ลงทุนทำธุรกิจคอนโดมิเนียม ขยายโครงการโดดเด่นไปในทำเลต่างๆ ทั่วเมืองกรุง และประสบความสำเร็จก็เพราะมีวิสัยทัศน์ “การพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืน” ซึ่งย่อมต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยหลักธรรมาภิบาล และการสร้างคุณค่าทั้งเชิงธุรกิจ และชุมชน รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จรัญ เกษร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ เมเนจเมนท์ บริษัทในเครือ LPN ที่รับหน้าที่บริหารจัดการโครงการได้ยึดต้นแบบการบริหารจัดการห้องสมุดมาจากสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ หรือ TK Park เพื่อพัฒนาห้องสมุดโดยเริ่มที่โครงการลุมพินี พาร์ค ปิ่นเกล้า เมื่อเร็วๆ นี้ และจะต่อยอดพัฒนาต่อๆ ไปในโครงการ LPN อื่นๆ
ทั้งนี้ เพื่อจัดให้มีห้องสมุดที่มีคุณภาพ เป็นสถานที่เหมาะแก่การเรียนรู้และพัฒนาทักษะการอ่านหนังสือให้แก่เจ้าของร่วมภายในโครงการ ภายในห้องสมุดจัดให้มีมุมคอมพิวเตอร์พร้อมลงโปรแกรมจาก TK Park ได้แก่ TK games E-book อีกทั้งยังจะพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตภายในโครงการอย่างยั่งยืน
เมื่อเร็วๆ นี้ หลังจบพิธีเปิดห้องสมุดมีน้องๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างเพลิดเพลินด้วยกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทางด้านศิลปะ เช่น การวาดภาพถุงผ้าใส่หนังสือตามสไตล์ตัวเอง กิจกรรมถ่ายภาพเก๋ๆ โพสต์ท่าสวยๆ แบบอินเทรนด์สุดๆ เกมเซียมซีแสนสนุก เป็นต้น ปิดท้ายความสุขด้วยกิจกรรมละครนิทานแสงเงาสุดพิสวงเรื่องดาวน้อยสีน้ำเงิน และทำของเล่นหุ่นเงาและการ์ด Pop-up กิจกรรมแสนสนุกบวกด้วยสาระคับคั่งเช่นนี้ดึงดูดสมาชิกในโครงการให้ร่วมกิจกรรมได้อย่างมากมายเลยทีเดียว
น่ายินดีที่ LPN เชื่อว่าห้องสมุดมีชีวิตสามารถเกิดขึ้นได้ในบริบทที่หลากหลาย ถึงแม้รูปแบบการใช้บริการของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือการอ่านและการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะให้กับตนเอง ทั้งยังพัฒนาและส่งเสริม “ห้องสมุดมีชีวิต” ให้เกิดในทุกโครงการ เพื่อสร้างจิตสำนึกรักการอ่านหนังสือให้แก่เจ้าของร่วมทุกคน เพราะการอ่านหนังสือเป็นการพัฒนาชีวิตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ข้อคิด...
การที่กรุงเทพมหานคร ได้รับคัดเลือกให้เป็น “เมืองหนังสือโลก” ประจำปีนี้ นับเป็นเกียรติและเป็นเรื่องที่ดีในการมีพันธสัญญา (Commitment) ของผู้บริหาร กทม. ในการดำเนินการตามแผนที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านของคนเมืองหลวงของประเทศนี้ซึ่งอาจจะเป็นแบบอย่างที่ดีในการขยายผลต่อไปในภูมิภาคต่างๆ
เพราะการอ่านเป็นเรื่องสำคัญส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งผู้นำการบริหารเมืองไปจนระดับประเทศต้องมีความตระหนักและความมุ่งมั่นผลักดันอย่างจริงจังจึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้บริหารภาครัฐที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR
การที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม. ที่เข้ารับตำแหน่งครั้งใหม่แถลงว่าจะส่งเสริมการอ่านหนังสือให้คนกรุงเทพฯ โดยตั้งเป้าว่าจะเพิ่มจำนวนเฉลี่ยการอ่านให้ได้ปีละ 10-20 เล่ม ภายในปี 2556 โดยจะมุ่งกระตุ้นที่เด็กและเยาวชนก่อนเพื่อหนีสถิติเดิมจากที่มีการสำรวจพบว่าคนไทยมีอัตรเฉลี่ยอ่านหนังสือปีละ 5 เล่ม ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างชาวเวียดนามอ่านกันปีละ 60 เล่ม สิงคโปร์ปีละ 45 เล่ม และ มาเลเซีย ปีละ 40 เล่ม
นับว่าเป็นเป้าหมายที่ท้าทายมาก จากที่เห็นว่าอัตราการอ่านหนังสือของคนไทย ยังน้อยมาก
แต่การสร้างวัฒนธรรมรักการอ่านก็ใช่ว่าจะเกิดผลสำเร็จเพียงเพราะการรณรงค์ด้วยคำขวัญ หรือ การจัดงานจัดกิจกรรมเท่านั้น แต่การจะเกิดผลลัพธ์อย่างยั่งยืนต้องส่งเสริมทั้งด้านกระตุ้นสร้างผู้อ่าน (Demand) ที่ใฝ่การเรียนรู้ และมีสถานที่ และสื่อเพื่อสนองการอ่าน (Supply) ที่สะดวกและมีระบบการจัดการที่ดี
ลองคิดดูถ้าหน่วยงานธุรกิจที่มีผู้คนอยู่อาศัย หรือมีคนทำงานจำนวนมากได้มีโอกาสอ่านหนังสือดีๆ เพื่อพัฒนาความคิดใฝ่ดี พัฒนาศักยภาพในการทำงานและการดำเนินชีวิตที่ดี สังคมจะดีขึ้นมากแน่นอน
ตัวอย่างในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีหมู่บ้าน คอนโดมิเนียม โรงงาน และ อาคารสำนักงานมากมาย ถ้าทุกแห่งร่วมมือกันจัดสถานที่ให้เป็นห้องสมุด หรือ ห้องอ่านหนังสือ และสื่อการเรียนรู้
กทม.ก็น่าจะขอความร่วมมือให้เกิดสิ่งดีๆ ต่อสังคม และจัดการให้คำแนะนำการจัดระบบการจัดการและดูแลคัดสรรหนังสือที่มีคุณค่ามาให้สมาชิกแต่ละชุมชนได้อ่านกัน การเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณหนังสือที่อ่าน และคุณภาพคนไทยโดยเฉลี่ยย่อมจะดีขึ้นแน่นอน และจะเป็นผลงานที่มีคุณค่ายิ่งของท่านผู้ว่า กทม.ยุคใหม่ครับ
suwatmgr@gmail.com
บรรยากาศเช่นนี้ ทางราชการจึงได้ให้ความหมายของวันที่ 13 เมษายนในอีกมิติหนึ่งว่าเป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” และวันถัดมา 14 เมษายน เป็น “วันครอบครัว” เพื่อส่งเสริมการสร้างความอบอุ่นของครอบครัว
แต่ในช่วงเดือนเดียวกันนี้ยังมีวันสำคัญที่มีผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและการส่งเสริมการอ่านของคนไทยให้มากขึ้น คณะรัฐมนตรีชุดก่อนกำหนดให้ปี 2552-2561 เป็น “ทศวรรษแห่งการอ่าน” โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมกับกำหนดให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปีเป็น “วันรักการอ่าน” และยังเป็น “วันหนังสือเด็กแห่งชาติ” อีกด้วย เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและส่งเสริมการอ่านตั้งแต่วัยเด็ก
นอกจากนี้ ในระดับสากลยังกำหนดวันที่ 23 เมษายน เป็น “วันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก” และในปีนี้เป็นพิเศษกับประเทศไทยตรงที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO โดยมีคณะกรรมการพิจารณาเลือกให้กรุงเทพมหานคร เป็น “เมืองหนังสือโลก ประจำปี 2556” (Bangkok World Book Capital 2013) ตามแผนที่แสดงความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการเป็นเมืองที่รักการอ่าน !
ทั้งนี้ กทม.ในนามประเทศไทย โดยความร่วมมือขององค์กรสมาคมและภาคีเครือข่ายด้านการจัดพิมพ์และการส่งเสริมการอ่าน ยืนยันด้วยแผนการสนับสนุน ส่งเสริม และจะมีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่องโดยมีแผนงบประมาณรายจ่ายและแหล่งทุนสนับสนุนเต็มที่
7 เมืองที่เสนอตัวเข้าชิงครั้งนี้ ได้แก่ 1.กรุงเทพมหานคร (ประเทศไทย) 2.ไคโร (อียิปต์) 3.อินเซิน (เกาหลีใต้) 4. เควซอน (ฟิลิปปินส์) 5. ควิโต (เอกวาดอร์) 6. เซินเจิ้น (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 7. ชาร์จาห์ (สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์)
พิธีมอบธงภารกิจเมืองหนังสือโลก กำหนดมีขึ้นในค่ำวันที่ 23 เมษายนนี้ ณ พลับพลาเจษฎาบดินทร์ ที่ผ่านฟ้า ริมถนนราชดำเนิน โดยตัวแทนจากกรุงเยเรวาน ประเทศอาร์เมเนีย จะส่งมอบตำแหน่งสู่กรุงเทพมหานคร เมืองหนังสือโลกของปีนี้ และปีหน้า กทม.จะส่งธงต่อให้เมืองพอร์ต ฮาร์คอร์ต ประเทศไนจีเรีย
ในการนี้ กทม.ได้จัดการประชุมนานาชาติในพิธีการมอบตำแหน่งเมืองหนังสือโลกประจำปี 2556 และมีกิจกรรมการต้อนรับภารกิจครั้งนี้ ระหว่างวันที่ 21-23 เมษายน ศกนี้ น่าจะเกิดการรับรู้ต่อกิจกรรมกระตุ้นการอ่านได้บ้าง และเรื่องดีๆ ต่อสังคมไทยเช่นนี้ก็น่าจะมีแผนต่อยอดการส่งเสริมการอ่านให้เป็นวัฒนธรรมต่อไปโดยเชิญชวนขอความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งวัด โรงเรียน วงการธุรกิจเพื่อช่วยให้ กทม. เข้าสู่ระดับการเป็นเมืองหนังสือโลกที่เป็นจริง
ดังตัวอย่างหน่วยงานภาคเอกชนที่มีจิตอาสาทำขึ้นเองรายนี้
LPN ได้เปิด “ห้องสมุดมีชีวิต “ส่งเสริมเยาวชนรักการอ่าน มีเป้าหมายการสร้างให้เป็น “ชุมชนน่าอยู่” ด้วยการส่งเสริมการอ่าน เพราะเป็นรากฐานสำคัญของชีวิต
LPN ลงทุนทำธุรกิจคอนโดมิเนียม ขยายโครงการโดดเด่นไปในทำเลต่างๆ ทั่วเมืองกรุง และประสบความสำเร็จก็เพราะมีวิสัยทัศน์ “การพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืน” ซึ่งย่อมต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยหลักธรรมาภิบาล และการสร้างคุณค่าทั้งเชิงธุรกิจ และชุมชน รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จรัญ เกษร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ เมเนจเมนท์ บริษัทในเครือ LPN ที่รับหน้าที่บริหารจัดการโครงการได้ยึดต้นแบบการบริหารจัดการห้องสมุดมาจากสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ หรือ TK Park เพื่อพัฒนาห้องสมุดโดยเริ่มที่โครงการลุมพินี พาร์ค ปิ่นเกล้า เมื่อเร็วๆ นี้ และจะต่อยอดพัฒนาต่อๆ ไปในโครงการ LPN อื่นๆ
ทั้งนี้ เพื่อจัดให้มีห้องสมุดที่มีคุณภาพ เป็นสถานที่เหมาะแก่การเรียนรู้และพัฒนาทักษะการอ่านหนังสือให้แก่เจ้าของร่วมภายในโครงการ ภายในห้องสมุดจัดให้มีมุมคอมพิวเตอร์พร้อมลงโปรแกรมจาก TK Park ได้แก่ TK games E-book อีกทั้งยังจะพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตภายในโครงการอย่างยั่งยืน
เมื่อเร็วๆ นี้ หลังจบพิธีเปิดห้องสมุดมีน้องๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างเพลิดเพลินด้วยกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทางด้านศิลปะ เช่น การวาดภาพถุงผ้าใส่หนังสือตามสไตล์ตัวเอง กิจกรรมถ่ายภาพเก๋ๆ โพสต์ท่าสวยๆ แบบอินเทรนด์สุดๆ เกมเซียมซีแสนสนุก เป็นต้น ปิดท้ายความสุขด้วยกิจกรรมละครนิทานแสงเงาสุดพิสวงเรื่องดาวน้อยสีน้ำเงิน และทำของเล่นหุ่นเงาและการ์ด Pop-up กิจกรรมแสนสนุกบวกด้วยสาระคับคั่งเช่นนี้ดึงดูดสมาชิกในโครงการให้ร่วมกิจกรรมได้อย่างมากมายเลยทีเดียว
น่ายินดีที่ LPN เชื่อว่าห้องสมุดมีชีวิตสามารถเกิดขึ้นได้ในบริบทที่หลากหลาย ถึงแม้รูปแบบการใช้บริการของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือการอ่านและการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะให้กับตนเอง ทั้งยังพัฒนาและส่งเสริม “ห้องสมุดมีชีวิต” ให้เกิดในทุกโครงการ เพื่อสร้างจิตสำนึกรักการอ่านหนังสือให้แก่เจ้าของร่วมทุกคน เพราะการอ่านหนังสือเป็นการพัฒนาชีวิตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ข้อคิด...
การที่กรุงเทพมหานคร ได้รับคัดเลือกให้เป็น “เมืองหนังสือโลก” ประจำปีนี้ นับเป็นเกียรติและเป็นเรื่องที่ดีในการมีพันธสัญญา (Commitment) ของผู้บริหาร กทม. ในการดำเนินการตามแผนที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านของคนเมืองหลวงของประเทศนี้ซึ่งอาจจะเป็นแบบอย่างที่ดีในการขยายผลต่อไปในภูมิภาคต่างๆ
เพราะการอ่านเป็นเรื่องสำคัญส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งผู้นำการบริหารเมืองไปจนระดับประเทศต้องมีความตระหนักและความมุ่งมั่นผลักดันอย่างจริงจังจึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้บริหารภาครัฐที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR
การที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม. ที่เข้ารับตำแหน่งครั้งใหม่แถลงว่าจะส่งเสริมการอ่านหนังสือให้คนกรุงเทพฯ โดยตั้งเป้าว่าจะเพิ่มจำนวนเฉลี่ยการอ่านให้ได้ปีละ 10-20 เล่ม ภายในปี 2556 โดยจะมุ่งกระตุ้นที่เด็กและเยาวชนก่อนเพื่อหนีสถิติเดิมจากที่มีการสำรวจพบว่าคนไทยมีอัตรเฉลี่ยอ่านหนังสือปีละ 5 เล่ม ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างชาวเวียดนามอ่านกันปีละ 60 เล่ม สิงคโปร์ปีละ 45 เล่ม และ มาเลเซีย ปีละ 40 เล่ม
นับว่าเป็นเป้าหมายที่ท้าทายมาก จากที่เห็นว่าอัตราการอ่านหนังสือของคนไทย ยังน้อยมาก
แต่การสร้างวัฒนธรรมรักการอ่านก็ใช่ว่าจะเกิดผลสำเร็จเพียงเพราะการรณรงค์ด้วยคำขวัญ หรือ การจัดงานจัดกิจกรรมเท่านั้น แต่การจะเกิดผลลัพธ์อย่างยั่งยืนต้องส่งเสริมทั้งด้านกระตุ้นสร้างผู้อ่าน (Demand) ที่ใฝ่การเรียนรู้ และมีสถานที่ และสื่อเพื่อสนองการอ่าน (Supply) ที่สะดวกและมีระบบการจัดการที่ดี
ลองคิดดูถ้าหน่วยงานธุรกิจที่มีผู้คนอยู่อาศัย หรือมีคนทำงานจำนวนมากได้มีโอกาสอ่านหนังสือดีๆ เพื่อพัฒนาความคิดใฝ่ดี พัฒนาศักยภาพในการทำงานและการดำเนินชีวิตที่ดี สังคมจะดีขึ้นมากแน่นอน
ตัวอย่างในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีหมู่บ้าน คอนโดมิเนียม โรงงาน และ อาคารสำนักงานมากมาย ถ้าทุกแห่งร่วมมือกันจัดสถานที่ให้เป็นห้องสมุด หรือ ห้องอ่านหนังสือ และสื่อการเรียนรู้
กทม.ก็น่าจะขอความร่วมมือให้เกิดสิ่งดีๆ ต่อสังคม และจัดการให้คำแนะนำการจัดระบบการจัดการและดูแลคัดสรรหนังสือที่มีคุณค่ามาให้สมาชิกแต่ละชุมชนได้อ่านกัน การเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณหนังสือที่อ่าน และคุณภาพคนไทยโดยเฉลี่ยย่อมจะดีขึ้นแน่นอน และจะเป็นผลงานที่มีคุณค่ายิ่งของท่านผู้ว่า กทม.ยุคใหม่ครับ
suwatmgr@gmail.com