ผลการสำรวจผลกระทบจากวัคซีนตีพิมพ์ในวารสารวัคซีน (Vaccine) เผยแพร่ออนไลน์โดย ScinceDirect เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 โดยได้มำการการสำรวจอาการบางอย่างที่นักวิจัยสนใจ ในประชากร 99 ล้านคนที่ฉีดวัคซีนต่างชนิดกัน ในเครือข่ายต่างๆ ใน ประเทศ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย แคนาดาเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์และสกอตแลนด์
โดยการฉีดการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เอ็นเทค (BNT162b2) จำนวน 184 ล้านโดส, ฉีดวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna mRNA-1237) จำนวน 36 ล้านโดส, ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (ChAdOx1) จำนวน 23 ล้านโดส จากการติดตามผล 42 วัน
สรุปผฃการวิจัยพบว่ากลุ่มอาการที่มีผลข้างเคียงจากวัคซีน มากกว่าที่คาดการณ์ไปอย่างมากและมีนัยยะสำคัญทางสถิติเป็นระดับสัญญาณเตือนความปลอดภัย (Lower bound with 95% confidence interval >1.5) หรือมีสถิติค่าความเชื่อมั่น 95% ที่มีขอบเขต “ขั้นต่ำ” มีอันตรายมากกว่าที่คาดการณ์ไป 50%ขึ้นไป มีรายละเอียดดังนึ้
1. อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocardis) และเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ (Pericardtis) แบ่งรายละเอียดดังนี้
1.1 อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocardis)
อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดขึ้นกับวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna mRNA-1237) เข็มที่ 1 มากกว่าที่คาดการณ์ 248% เท่าตัว, เข็มที่ 2 มากกว่าที่คาดการณ์ 510% และเข็มที่ 3 มากกว่าที่คาดการณ์ 101%
อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดขึ้นกับวัคซีนไฟเซอร์เอ็นเทค (BNT162b2) เข็มที่ 1 มากกว่าที่คาดการณ์ 178% เข็มที่ 2 มากกว่าที่คาดการณ์ 186% และเข็มที่ 3 มากกว่าที่คาดการณ์ 109%
1.2 เนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ (Pericardtis)
อาการเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบเกิดขึ้นกับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (ChAdOx1) เข็มที่ 3 มากกว่าที่คาดการณ์ 591%
อาการเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบเกิดขึ้นกับวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna mRNA-1237) เข็มที่ 1 มากกว่าที่คาดการณ์ 74% และเข็มที่ 4 มากกว่าที่คาดการณ์ 1.64%[1]
2.อาการปลอกประสาทของประสาทส่วนกลางอักเสบฉับพลัน (Acute disseminated encephalomyelitis) สามารถทำให้สมองฝ่อ อ่อนแรง เดินเซ เคลื่อนไหวลำบาก[2]
อาการปลอกประสาทของประสาทส่วนกลางอักเสบฉับพลัน เกิดขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ 278% เกิดขึ้นกับวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna mRNA-1237) เข็มแรก[1]
3.อาการภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน (Cerebral venous sinus thrombosis หรือ CVST) คือ ภาวะที่เส้นเลือดดำหรือ โพรงเลือดดำในสมองเกิดการอุดตันจากลิ่มเลือด ส่งผลทำให้ ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางระบบประสาท ซึ่งมีได้หลากหลาย และไม่จำเพาะ[3]
อาการจากภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตันในนี้เกิดขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ 223% เกิดขึ้นกับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (ChAdOx1) เข็มแรก[1]
4.อาการ กิแลง บาร์แร ซินโดรม (Guillain-Barré Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเฉียบพลันที่เส้นประสาทส่วนปลายโดยไม่เกิดความเสียหายต่อสมองหรือไขสันหลัง จากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ส่งผลให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน เมื่อเป็นแล้วอาการสามารถรุนแรงขึ้นได้อย่างรวดเร็วจนเป็นอัมพาตหรือพิการได้[4]
อาการกิแลง บาร์แร ซินโดรม ในผลข้างนี้เกิดขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ 149% เกิดขึ้นหลังวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (ChAdOx1) เข็มแรก[1]
แต่ผลการสำรวจที่กล่าวมาข้างต้นเป็นกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นเชื้อชาติ “ฝรั่ง” ดังนั้นอาจจะเกิดขึ้นกับคนไทยไม่เหมือนกัน
โดยงานวิจัยที่จัดทำโดยคณะวิจัยที่มาจากความร่วมมือของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และนักวิจัยจากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ได้ร่วมทำการศึกษาผลกระทบของวัคซีน mRNA ในกลุ่มเด็กและเยาวชนโรงเรียนมัธยม 2 แห่ง ที่มีอายุระหว่าง 13-18 ปี
งานวิจัยชิ้นนี้สนใจในเรื่องผลกระทบด้านความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และภาวะเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ และตีพิมพ์ในวารสารด้านเวชศาสตร์เขตร้อนและโรคติดเชื้อ Tropical Medicine and Infectious Disease เผยแพร่เมื่อเดือนสิงหาคม 2565
ผลงานการวิจัยชิ้นนี้พบว่า “เด็กและเยาวชนไทย” ที่ฉีดวัคซีน mRNA ที่ติดตามผลจำนวน 301 คน พบอาการทางหัวใจและหลอดเลือดจำนวนร้อยละ 29.24 ซึ่งมีตั้งแต่อัตราการเต้นของหัวใจเร็วเกินปกติ ใจสั่น ไปจนถึงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนสูงมาก
โดยมีการยืนยันว่าเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 1 ราย และยังมีเยาวชนอีก 2 รายตรวจพบข้อสงสัยว่ามีภาวะเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ และยังมีอีก 4 รายที่ตรวจพบภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแบบไม่แสดงอาการ[5]-[6]
รวมเฉพาะอาการเกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแบบไม่แสดงอาการทั้งสิ้น 7 รายจากเยาวชนทั้งหมด 301 ราย คิดเป็น 2.32%[5]-[6]
ในขณะที่เอกสารกำกับยาของวัคซีนไฟเซอร์ระบุเอาไว้ในหน้าที่ 4 ของผู้ที่ฉีดวัคซีนอายุเกิน 12 ขึ้นไปว่า มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ มีโอกาสเกิดขึ้นต่ำกว่า 1 ในหมื่นรายของผู้ฉีดวัคซีน หรือคิดเป็นเพียง 0.01% เท่านั้น[7]
หมายความว่าผลการวิจัยในเด็กและเยาวชนไทยชิ้นนี้ มีจำนวนผลข้างเคียงมากกว่าเอกสารกำกับยาของบริษัทไฟเซอร์มากกว่า 23,100% จริงหรือไม่?
ยังไม่นับว่าผลข้างเคียงที่ “อยู่นานกว่า” งานวิจัยเหล่านี้ (14-42 วัน) หรือเกิดขึ้นในภายหลังระยะเวลาที่วิจัยเหล่านี้ หรือบางคนอาจจะได้รับผลกระทบนานจนถึงปัจจุบันที่เรียกว่าลองวัคซีน ที่ทำให้สุขภาพร่างกายซึ่งกำลังเกิดขึ้นทั่วไปอยู่ในสังคมไทย ก็ยังไม่ได้มีการรบวรวมข้อมูลหรือทำวิจัยอย่างจริงจังในประเทศไทย
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
12 มีนาคม 2567
อ้างอิง
[1] K. Faksova, et al., COVID-19 vaccines and adverse events of special interest: A multinational Global Vaccine Data Network (GVDN) cohort study of 99 million vaccinated individuals. Vaccine, Available online 12 February 2024
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0264410X24001270
[2] อภิวุธ เกิดดอนแฝก, COVID-19-Associated Acute disseminated encephalomyelitis(ADEM), thai Journal of Neurology,15 ธันวาคม 2564
http://neurothai.org/images/journal/2022/vol38_no3/05%20Interesting.pdf
[3] อภิวิชญ์ กุดแถลง, ลักษณะภาพวินิจฉัย เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ, ศรีนครินทรเวชสาร, นิพนธ์ต้นฉบับ
https://thaidj.org/index.php/smnj/article/download/11964/10140#:~:text=ภาวะหลอดเลือดด%EF%BF%BDาในสมองอุดตัน%20(Cerebral,%EF%BF%BDาบาก1%2C2
[4] ศูนย์กายภาพบำบัดคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล, Guillain barre syndrome
https://pt.mahidol.ac.th/ptcenter/knowledge-article/guillain_barre_syndrome/#:~:text=โรคกิแลง%20บาร์แร,และอาจส่งผลให้
[5] ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์, เสียดายที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้อ่าน งานวิจัยผลกระทบจากวัคซีนต่อ “เด็กและเยาวชนไทย”,เฟซบุ๊ค แฟนเพจ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์, 22 กุมภาพันธ์ 2567
https://www.facebook.com/100044511276276/posts/pfbid02GRdng7WXUn8tBkcBxuXURkTeic233pboLPp8BbYf3vPkkt8J7inzMv7UKkP3yaz1l/?
[6] Suyanee Mansanguan, et al., Cardiovascular Manifestation of the BNT162b2 mRNA COVID-19 Vaccine in Adolescents., Tropical Medicine and Infectious Disease, Published: 19 August 2022, 7(8), 196; https://doi.org/10.3390/tropicalmed7080196
[7] เอกสารกำกับยาภาษาไทย Pfizer, โคเมอร์เนตี (COMIRNATYTM), สำหรับอายุ 12 ปีขึ้นไป และ สำหรับอายุ 5-11 ปี, หน้า 4
โดยการฉีดการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เอ็นเทค (BNT162b2) จำนวน 184 ล้านโดส, ฉีดวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna mRNA-1237) จำนวน 36 ล้านโดส, ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (ChAdOx1) จำนวน 23 ล้านโดส จากการติดตามผล 42 วัน
สรุปผฃการวิจัยพบว่ากลุ่มอาการที่มีผลข้างเคียงจากวัคซีน มากกว่าที่คาดการณ์ไปอย่างมากและมีนัยยะสำคัญทางสถิติเป็นระดับสัญญาณเตือนความปลอดภัย (Lower bound with 95% confidence interval >1.5) หรือมีสถิติค่าความเชื่อมั่น 95% ที่มีขอบเขต “ขั้นต่ำ” มีอันตรายมากกว่าที่คาดการณ์ไป 50%ขึ้นไป มีรายละเอียดดังนึ้
1. อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocardis) และเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ (Pericardtis) แบ่งรายละเอียดดังนี้
1.1 อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocardis)
อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดขึ้นกับวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna mRNA-1237) เข็มที่ 1 มากกว่าที่คาดการณ์ 248% เท่าตัว, เข็มที่ 2 มากกว่าที่คาดการณ์ 510% และเข็มที่ 3 มากกว่าที่คาดการณ์ 101%
อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดขึ้นกับวัคซีนไฟเซอร์เอ็นเทค (BNT162b2) เข็มที่ 1 มากกว่าที่คาดการณ์ 178% เข็มที่ 2 มากกว่าที่คาดการณ์ 186% และเข็มที่ 3 มากกว่าที่คาดการณ์ 109%
1.2 เนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ (Pericardtis)
อาการเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบเกิดขึ้นกับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (ChAdOx1) เข็มที่ 3 มากกว่าที่คาดการณ์ 591%
อาการเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบเกิดขึ้นกับวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna mRNA-1237) เข็มที่ 1 มากกว่าที่คาดการณ์ 74% และเข็มที่ 4 มากกว่าที่คาดการณ์ 1.64%[1]
2.อาการปลอกประสาทของประสาทส่วนกลางอักเสบฉับพลัน (Acute disseminated encephalomyelitis) สามารถทำให้สมองฝ่อ อ่อนแรง เดินเซ เคลื่อนไหวลำบาก[2]
อาการปลอกประสาทของประสาทส่วนกลางอักเสบฉับพลัน เกิดขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ 278% เกิดขึ้นกับวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna mRNA-1237) เข็มแรก[1]
3.อาการภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน (Cerebral venous sinus thrombosis หรือ CVST) คือ ภาวะที่เส้นเลือดดำหรือ โพรงเลือดดำในสมองเกิดการอุดตันจากลิ่มเลือด ส่งผลทำให้ ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางระบบประสาท ซึ่งมีได้หลากหลาย และไม่จำเพาะ[3]
อาการจากภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตันในนี้เกิดขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ 223% เกิดขึ้นกับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (ChAdOx1) เข็มแรก[1]
4.อาการ กิแลง บาร์แร ซินโดรม (Guillain-Barré Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเฉียบพลันที่เส้นประสาทส่วนปลายโดยไม่เกิดความเสียหายต่อสมองหรือไขสันหลัง จากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ส่งผลให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน เมื่อเป็นแล้วอาการสามารถรุนแรงขึ้นได้อย่างรวดเร็วจนเป็นอัมพาตหรือพิการได้[4]
อาการกิแลง บาร์แร ซินโดรม ในผลข้างนี้เกิดขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ 149% เกิดขึ้นหลังวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (ChAdOx1) เข็มแรก[1]
แต่ผลการสำรวจที่กล่าวมาข้างต้นเป็นกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นเชื้อชาติ “ฝรั่ง” ดังนั้นอาจจะเกิดขึ้นกับคนไทยไม่เหมือนกัน
โดยงานวิจัยที่จัดทำโดยคณะวิจัยที่มาจากความร่วมมือของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และนักวิจัยจากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ได้ร่วมทำการศึกษาผลกระทบของวัคซีน mRNA ในกลุ่มเด็กและเยาวชนโรงเรียนมัธยม 2 แห่ง ที่มีอายุระหว่าง 13-18 ปี
งานวิจัยชิ้นนี้สนใจในเรื่องผลกระทบด้านความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และภาวะเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ และตีพิมพ์ในวารสารด้านเวชศาสตร์เขตร้อนและโรคติดเชื้อ Tropical Medicine and Infectious Disease เผยแพร่เมื่อเดือนสิงหาคม 2565
ผลงานการวิจัยชิ้นนี้พบว่า “เด็กและเยาวชนไทย” ที่ฉีดวัคซีน mRNA ที่ติดตามผลจำนวน 301 คน พบอาการทางหัวใจและหลอดเลือดจำนวนร้อยละ 29.24 ซึ่งมีตั้งแต่อัตราการเต้นของหัวใจเร็วเกินปกติ ใจสั่น ไปจนถึงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนสูงมาก
โดยมีการยืนยันว่าเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 1 ราย และยังมีเยาวชนอีก 2 รายตรวจพบข้อสงสัยว่ามีภาวะเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ และยังมีอีก 4 รายที่ตรวจพบภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแบบไม่แสดงอาการ[5]-[6]
รวมเฉพาะอาการเกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแบบไม่แสดงอาการทั้งสิ้น 7 รายจากเยาวชนทั้งหมด 301 ราย คิดเป็น 2.32%[5]-[6]
ในขณะที่เอกสารกำกับยาของวัคซีนไฟเซอร์ระบุเอาไว้ในหน้าที่ 4 ของผู้ที่ฉีดวัคซีนอายุเกิน 12 ขึ้นไปว่า มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ มีโอกาสเกิดขึ้นต่ำกว่า 1 ในหมื่นรายของผู้ฉีดวัคซีน หรือคิดเป็นเพียง 0.01% เท่านั้น[7]
หมายความว่าผลการวิจัยในเด็กและเยาวชนไทยชิ้นนี้ มีจำนวนผลข้างเคียงมากกว่าเอกสารกำกับยาของบริษัทไฟเซอร์มากกว่า 23,100% จริงหรือไม่?
ยังไม่นับว่าผลข้างเคียงที่ “อยู่นานกว่า” งานวิจัยเหล่านี้ (14-42 วัน) หรือเกิดขึ้นในภายหลังระยะเวลาที่วิจัยเหล่านี้ หรือบางคนอาจจะได้รับผลกระทบนานจนถึงปัจจุบันที่เรียกว่าลองวัคซีน ที่ทำให้สุขภาพร่างกายซึ่งกำลังเกิดขึ้นทั่วไปอยู่ในสังคมไทย ก็ยังไม่ได้มีการรบวรวมข้อมูลหรือทำวิจัยอย่างจริงจังในประเทศไทย
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
12 มีนาคม 2567
อ้างอิง
[1] K. Faksova, et al., COVID-19 vaccines and adverse events of special interest: A multinational Global Vaccine Data Network (GVDN) cohort study of 99 million vaccinated individuals. Vaccine, Available online 12 February 2024
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0264410X24001270
[2] อภิวุธ เกิดดอนแฝก, COVID-19-Associated Acute disseminated encephalomyelitis(ADEM), thai Journal of Neurology,15 ธันวาคม 2564
http://neurothai.org/images/journal/2022/vol38_no3/05%20Interesting.pdf
[3] อภิวิชญ์ กุดแถลง, ลักษณะภาพวินิจฉัย เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ, ศรีนครินทรเวชสาร, นิพนธ์ต้นฉบับ
https://thaidj.org/index.php/smnj/article/download/11964/10140#:~:text=ภาวะหลอดเลือดด%EF%BF%BDาในสมองอุดตัน%20(Cerebral,%EF%BF%BDาบาก1%2C2
[4] ศูนย์กายภาพบำบัดคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล, Guillain barre syndrome
https://pt.mahidol.ac.th/ptcenter/knowledge-article/guillain_barre_syndrome/#:~:text=โรคกิแลง%20บาร์แร,และอาจส่งผลให้
[5] ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์, เสียดายที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้อ่าน งานวิจัยผลกระทบจากวัคซีนต่อ “เด็กและเยาวชนไทย”,เฟซบุ๊ค แฟนเพจ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์, 22 กุมภาพันธ์ 2567
https://www.facebook.com/100044511276276/posts/pfbid02GRdng7WXUn8tBkcBxuXURkTeic233pboLPp8BbYf3vPkkt8J7inzMv7UKkP3yaz1l/?
[6] Suyanee Mansanguan, et al., Cardiovascular Manifestation of the BNT162b2 mRNA COVID-19 Vaccine in Adolescents., Tropical Medicine and Infectious Disease, Published: 19 August 2022, 7(8), 196; https://doi.org/10.3390/tropicalmed7080196
[7] เอกสารกำกับยาภาษาไทย Pfizer, โคเมอร์เนตี (COMIRNATYTM), สำหรับอายุ 12 ปีขึ้นไป และ สำหรับอายุ 5-11 ปี, หน้า 4