ปีหน้า 2566 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ จะมีคนสูงวัยถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดเพราะทุกวันนี้มีปัจจัยเอื้อให้คนเรามีอายุเฉลี่ยสูงขึ้น ดูจากคนวัยเกษียณยุคนี้แล้วก็ไม่ค่อยแก่อย่างสมัยก่อน จนแทบจะเอาตัวเลขอายุจริงลบด้วย 10 ได้
ยิ่งคนที่ดูแลร่างกาย ขยันออกกำลังกาย และเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นประจำ ก็จะจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “Yold” หรือ Young Old อย่างที่คนญี่ปุ่นใช้เรียกคนอายุ 65 - 75 ปี ที่เป็นผู้สูงวัยแต่บุคลิกลักษณะดูอ่อนกว่าวัยและสุขภาพดี ความคิดดีและยังทำงานได้ “มีพลัง ไม่เป็นภาระ”
องค์การอนามัยโลก (WHO) มีข้อมูลยืนยันว่า คนกลุ่ม Yold จะมีอายุยืนมากขึ้นกว่าปกติ 3.7 ปี และมีงานวิจัยพบว่าคนวัย 65- 69 ปี ถ้าทำงานมากเท่าไหร่ จะยิ่งมีสุขภาพดีและอายุยืนยาวขึ้น แถมการรับรู้จะดีกว่าอายุจริง 1.5 ปี
ดังนั้น การเอาใจใส่ดูแลร่างกาย ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว จึงเป็นการเตรียมตัวสูงวัยแบบ “Smart Life” ที่อยู่ดี มีสุข ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เป็นภาระให้ผู้อื่นมาดูแลรักษาโรค ไม่ต้องการ “นั่งกิน นอนกิน” โดยต้องมีเครื่องช่วย หรือมีคนช่วย
แนวคิดและแนวปฏิบัติเพื่อให้คนมีอายุยืนยาวอย่างมีความหมาย (Meaningful) เป็นชีวิตที่มีคุณค่าและไม่ธรรมดา (Remarkable) จึงเป็นสิ่งที่ดี เพื่อประชากรมีคุณภาพ และสังคมพัฒนาอย่างยั่งยืน
นี่จึงเหมาะเจาะกับหลักการ “อิคิไก” (Ikigai) ที่สังคมโลกให้ความสนใจ เนื่องจากข่าวสารเกี่ยวกับหมู่บ้านโอกิมิ ทางตอนเหนือของจังหวัดโอกินาวะ ซึ่งมีประชากรประมาณ 3,000 คน มีจุดเด่นในความเป็นชุมชนที่มีคนอายุเกิน 100 มากที่สุดในโลก
ผลการเก็บข้อมูลภาคสนามและการศึกษาวิจัยของ เฮ็กเตอร์ การ์เซีย และฟรานเซสต์ มิราเยส ได้กลายเป็นหนังสือ Ikjgai (อิคิไก) ที่กล่าวถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านเหล่านี้ที่มีอายุยืนยาวจึงเป็นที่สนใจไปทั่วโลก และหนังสือเล่มนี้ก็ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ถึง 56 ภาษา
มีการสรุปเหตุปัจจัยที่ช่วยให้ ชาวบ้านที่นั่นอายุยืนยาวนับ 100 ปี ก็คือ
1. ไม่เครียด ที่หมู่บ้านโอกินิ ไม่มีเรื่องราววุ่นวาย ไม่มีแม้กระทั่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ถ้าอยากจะอ่านข้อความบน WhatsApp ก็ต้องขึ้นเขาไปหาเสารับสัญญาณ
2. ใช้เวลาอยู่กลางแจ้งเป็นส่วนใหญ่ ผู้คนที่นี่ชอบทำสวน ทำงานในที่โล่ง ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ทั้งวัน
3.ออกกำลังกาย ทุกเช้าชาวบ้านจะออกกำลังกายพร้อมรายการโทรทัศน์ ซึ่งเดิมออกอากาศทางวิทยุ
4. หยุดกินเมื่อรู้สึกอิ่ม 80% คือไม่กินมากเกินไป แต่ก็ไม่หิวและเก็บความอยากอาหารไว้สำหรับมื้อต่อไป
5. ถนอมความสัมพันธ์ ชาวบ้านจะชวนกันเล่นลูกบอล ร้องเพลงคาราโอเกะ หรือฉลองวันเกิดกัน ทุกวันจึงไม่เคยเหงา
6. ไม่มีวันเกษียณ เมื่ออายุมากขึ้น ก็ทำงานน้อยลง แต่ไม่เคยเลิกทำในสิ่งที่รัก
7.ใช้ชีวิตในวิถีอิคิไก พวกเขารู้ความชอบของตัวเอง และทำในสิ่งที่รัก หลายคนชอบทำสวนผัก เพื่อน ๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งของอิคิไก วกเขาใช้เวลาร่วมกันเสมอ ทุกคนรอคอยกิจกรรมที่จะทำด้วยกันในแต่ละวัน จึงอยากตื่นขึ้นมาในตอนเช้าทุกวัน
สำหรับผู้ที่ไฝ่พัฒนาชีวิตก็คงอยากจะค้นหาอิคิไกสำหรับตัวเอง ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นคำนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
อิคิ (Iki) = ชีวิต
ไก (Gai) = คุณค่า
อิคิไก จึงหมายถึง ชีวิตที่มีคุณค่า มีความหมาย
มักมีการอธิบายว่า คือเหตุผลที่มีชีวิตอยู่ต่อไป เป็นเหตุผลที่เราอยากตื่นขึ้นมาทุกเช้าอย่างกระตือรือร้น เพราะเห็นคุณค่าตัวเองและมีจุดมุ่งหมายในชีวิต
คนที่มีชีวิตคุ้มค่า จึงต้องเป็นชีวิตที่มีคุณค่า และมีความหมาย ไม่ว่าจะรู้มาก่อนหรือไม่ว่า นั่นคือการมี “อิคิไก”
เรามาทำความเข้าใจมากขึ้นผ่านสาระหนังสือที่ผมนำมาแบ่งปัน คือ IkigaiTeens ซึ่งปกฉบับพากย์ไทยใช้ชื่อว่า “สวมผ้าใบ ไปตามหาอิคิไก” อ่านแล้วเพลินเหมือนได้ร่วมเดินทางด้วยจักรยานไปกับผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ พร้อมกับได้รับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยความเข้าใจการค้นพบอิคิไก ในลักษณะของแต่ละคน
การเดินเรื่องของตัวเอกในเล่ม ทริปปั่นจักรยานเดินทางได้พบคนและเหตุการณ์ แต่ละตอนได้มีคนให้เหรียญเขา จนรวมได้ 4 เหรียญ ซึ่งเปรียบได้กับ 4 องค์ประกอบของความหมายอิคิไก
เหรียญแรกที่เขาได้ มีข้อความสลักในเหรียญว่า “สิ่งที่คุณรัก” เมื่อเดินทางต่อไปได้เจอเหตุการณ์และมีโอกาสได้รับเหรียญที่ 2 สลักคำว่า “สิ่งที่คุณทำได้ดี”
เมื่อเหรียญทั้งสองใส่เป้ เหรียญทั้งสองกระทบกัน ก็ปรากฏข้อความขึ้นมาว่า “สิ่งที่คุณชื่นชอบและหลงใหล”
นั่นคือภาวะที่เกิด “การรู้จักตัวเอง” ซึ่งจะส่งเสริมให้ทำทุกสิ่งที่ชอบ ดีต่ออาชีพการงาน ดีต่อชีวิต และเป็นประโยชน์ต่อโลก
เขาเดินทางต่อไปได้พบเศรษฐีเจ้าของคฤหาสน์ ซึ่งชวนเขาให้นอนค้างที่นั่น 1 คืนแล้วตอนเช้าได้มอบเหรียญที่ 3 ซึ่งสลักข้อความว่า “สิ่งที่ได้เงินตอบแทน”
เมื่อเขาได้เจอนักเดินทางที่น่าสนใจ ได้รับฟังข้อคิดเตือนใจว่า “ไม่ทิ้งเพื่อนไว้ข้างหลัง” พร้อมกับมอบเหรียญที่ 4 ซึ่งสลักข้อความว่า “สิ่งที่โลกต้องการ” เขารับเหรียญสุดท้ายนั้นด้วยความตื้นตัน แถมยังได้รับคำชี้แนะว่า
“อย่าลืมนึกถึงคนอื่นด้วย ในขณะสนใจแผนของตัวเอง เพราะความสำเร็จนั้น จะยิ่งหอมหวนทวีคูณเมื่อเราได้แบ่งปัน โลกเรานั้นต้องการความช่วยเหลือจากคุณ แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ว่าจะทำอะไร มันจะเพิ่มความหมายในชีวิตคุณและชีวิตผู้อื่น”
เมื่อหยิบเหรียญทั้ง 4 ออกมาดู เขาเห็นคำใหม่จากส่วนซ้อนเหลื่อมกันของ 2 เหรียญสุดท้ายว่า “งานที่ชอบ” ขณะเดียวกันตรงจุดที่วงกลมทั้ง 4 ประกอบกันเหมือนเป็นรูปดอกไม้ และตรงกลางดอกไม้นั้นก็มีคำว่า “อิคิไก” เป็นการเฉลยความหมายทั้งหมด
เป็นอันว่าเรารู้ล่ะเชิงทฤษฎีแล้ว ว่าอิคิไกคืออะไร? มีองค์ประกอบอะไรบ้าง? ก็ต้องลงมือทำในภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อชีวิต นั่นคือ
1. ทำสิ่งที่คุณรัก
2. ทำสิ่งที่ถนัดและทำได้ดี
3. สิ่งที่ทำนั้นให้ผลตอบแทน เอาเป็นตัวเงิน หรือไม่เป็นตัวเงิน ก็ตาม
4.ทำสิ่งที่โลกต้องการ ดีต่อผู้อื่น ทำให้สังคมและโลกดีขึ้น
ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้บอกด้วยว่า แม้ถิ่นที่อยู่ของคุณผู้อ่านอาจจะแตกต่างจากหมู่บ้านชนบทที่มีคนอายุเกิน100มากที่สุดในโลก แต่ก็มีหลายสิ่งที่คุณนำมาปรับใช้ได้ เพื่อให้มีอายุยืนอย่างมีความสุข โดยใช้แรงบันดาลใจ ที่ได้เรียนรู้จากกรณีตัวอย่างหลายคนในหนังสือเล่มนี้ ที่ได้เปลี่ยนงานหรือสิ่งที่ทำ จนได้พบกับสิ่งที่ใช่และทำได้ดี
กฎ 7 ข้อสำหรับชีวิตที่ยืนยาว
1. ปิดโทรศัพท์มือถือบ้าง
2. อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติให้บ่อยที่สุด เท่าที่จะทำได้
3. ออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นประจำ
4. อยากกินเยอะ (โดยเฉพาะอาหารขยะ)
5. เพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตร
6. อย่าหยุดทำงานในสิ่งที่ชอบ
7. นำหลักอิคิไกมาใช้ในชีวิต
การค้นพบอิคิไกจึงเป็นเรื่องสำคัญของชีวิต เพราะเท่ากับมี “แผนผัง”องค์ประกอบของแนวทางดำเนินชีวิตอย่างมี “เข็มทิศ” ที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายชีวิต (Purpose of Life)
......................................................................
ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ : สวมผ้าใบ ไปตามหา อิคิไก (Ikigai)
ผู้เขียน : เฮ็กเตอร์ การ์เซีย, ฟรานเซสค์ มฺิราเยส
ผู้แปล : วันดี อภิรักษ์ธนากร
สำนักพิมพ์ : เนชั่นบุคส์
แนะนำหนังสือ
มังกรเหนือมังกร
ผู้เขียน : เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป
สำนักพิมพ์ : แสงดาว
ราคา 280 บาท
ทัศนคติ ความคิดอันลึกซึ้ง และนโนบายการบริหารประเทศของประธานาธิบดีจีนคนล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ “สี จิ้นผิง” ที่สร้างความฮึกเหิม สร้างพลัง และมอบความหวังให้กับชาวจีนทั้งแผ่นดินว่าจีนจะไม่กลับไปเผชิญหน้ากับความยากจนเหมือนในอดีตอีก
Animal Farm : A Fairy Story การเมืองของสัตว์
ผู้เขียน : จอร์จ ออร์เวลล์
ผู้แปล : วิเชียร์ อติชาตการ
สำนักพิมพ์ : ยูนิคอร์น
ราคา 235 บาท
วรรณกรรมเสียดสีการเมืองเกี่ยวกับเรื่องความล้มเหลวของการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสหภาพโซเวียต โดยการใช้สัตว์เล่าเรื่องแทนตัวบุคคลในสังคม
วิธีเอาตัวรอดในวงล้อมคนงี่เง่า
ผู้เขียน : โธมัส เอริคสัน
ผู้แปล : ประเวศ หงส์จรรยา
สำนักพิมพ์ : อมรินทร์
ราคา 335 บาท
สอนให้รู้จักกับคนงี่เง่า 4 รูปแบบที่จะต้องเจอทั้งในชีวิตส่วนตัวหรือที่ทำงาน ถ้าเราเข้าใจทุกรูแบบจะรู้วิธีการเข้าถึงใจทุกคนและไม่ต้องมาปวดหัวกับความขัดแย้งอันงี่เง่าเหมือนเคย และอาจะกระชับความสัมพันธ์พื้นฐานต่อกันมากขึ้น
เล่าเรื่องชนะใจ ธุรกิจชนะเลิศ
ผู้เขียน : แมทธิว ลูห์น
ผู้แปล : พิมพาภรณ์ สมเกียรติวีระ
สำนักพิมพ์ : ลีฟ ริช ฟอร์เอฟเวอร์
ราคา 219 บาท
รวมเคล็ดลับที่สร้างพลังทวีคูณให้กับผู้ประกอบและนักการตลาดหลายคนตามแบบของพิกซาร์ ตั้งแต่การวางบทบาทตัวละคร สร้างโครงเรื่องไปจนถึงหมัดฮุกของชัยชนะให้กับธุรกิจ
ยิ่งคนที่ดูแลร่างกาย ขยันออกกำลังกาย และเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นประจำ ก็จะจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “Yold” หรือ Young Old อย่างที่คนญี่ปุ่นใช้เรียกคนอายุ 65 - 75 ปี ที่เป็นผู้สูงวัยแต่บุคลิกลักษณะดูอ่อนกว่าวัยและสุขภาพดี ความคิดดีและยังทำงานได้ “มีพลัง ไม่เป็นภาระ”
องค์การอนามัยโลก (WHO) มีข้อมูลยืนยันว่า คนกลุ่ม Yold จะมีอายุยืนมากขึ้นกว่าปกติ 3.7 ปี และมีงานวิจัยพบว่าคนวัย 65- 69 ปี ถ้าทำงานมากเท่าไหร่ จะยิ่งมีสุขภาพดีและอายุยืนยาวขึ้น แถมการรับรู้จะดีกว่าอายุจริง 1.5 ปี
ดังนั้น การเอาใจใส่ดูแลร่างกาย ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว จึงเป็นการเตรียมตัวสูงวัยแบบ “Smart Life” ที่อยู่ดี มีสุข ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เป็นภาระให้ผู้อื่นมาดูแลรักษาโรค ไม่ต้องการ “นั่งกิน นอนกิน” โดยต้องมีเครื่องช่วย หรือมีคนช่วย
แนวคิดและแนวปฏิบัติเพื่อให้คนมีอายุยืนยาวอย่างมีความหมาย (Meaningful) เป็นชีวิตที่มีคุณค่าและไม่ธรรมดา (Remarkable) จึงเป็นสิ่งที่ดี เพื่อประชากรมีคุณภาพ และสังคมพัฒนาอย่างยั่งยืน
นี่จึงเหมาะเจาะกับหลักการ “อิคิไก” (Ikigai) ที่สังคมโลกให้ความสนใจ เนื่องจากข่าวสารเกี่ยวกับหมู่บ้านโอกิมิ ทางตอนเหนือของจังหวัดโอกินาวะ ซึ่งมีประชากรประมาณ 3,000 คน มีจุดเด่นในความเป็นชุมชนที่มีคนอายุเกิน 100 มากที่สุดในโลก
ผลการเก็บข้อมูลภาคสนามและการศึกษาวิจัยของ เฮ็กเตอร์ การ์เซีย และฟรานเซสต์ มิราเยส ได้กลายเป็นหนังสือ Ikjgai (อิคิไก) ที่กล่าวถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านเหล่านี้ที่มีอายุยืนยาวจึงเป็นที่สนใจไปทั่วโลก และหนังสือเล่มนี้ก็ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ถึง 56 ภาษา
มีการสรุปเหตุปัจจัยที่ช่วยให้ ชาวบ้านที่นั่นอายุยืนยาวนับ 100 ปี ก็คือ
1. ไม่เครียด ที่หมู่บ้านโอกินิ ไม่มีเรื่องราววุ่นวาย ไม่มีแม้กระทั่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ถ้าอยากจะอ่านข้อความบน WhatsApp ก็ต้องขึ้นเขาไปหาเสารับสัญญาณ
2. ใช้เวลาอยู่กลางแจ้งเป็นส่วนใหญ่ ผู้คนที่นี่ชอบทำสวน ทำงานในที่โล่ง ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ทั้งวัน
3.ออกกำลังกาย ทุกเช้าชาวบ้านจะออกกำลังกายพร้อมรายการโทรทัศน์ ซึ่งเดิมออกอากาศทางวิทยุ
4. หยุดกินเมื่อรู้สึกอิ่ม 80% คือไม่กินมากเกินไป แต่ก็ไม่หิวและเก็บความอยากอาหารไว้สำหรับมื้อต่อไป
5. ถนอมความสัมพันธ์ ชาวบ้านจะชวนกันเล่นลูกบอล ร้องเพลงคาราโอเกะ หรือฉลองวันเกิดกัน ทุกวันจึงไม่เคยเหงา
6. ไม่มีวันเกษียณ เมื่ออายุมากขึ้น ก็ทำงานน้อยลง แต่ไม่เคยเลิกทำในสิ่งที่รัก
7.ใช้ชีวิตในวิถีอิคิไก พวกเขารู้ความชอบของตัวเอง และทำในสิ่งที่รัก หลายคนชอบทำสวนผัก เพื่อน ๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งของอิคิไก วกเขาใช้เวลาร่วมกันเสมอ ทุกคนรอคอยกิจกรรมที่จะทำด้วยกันในแต่ละวัน จึงอยากตื่นขึ้นมาในตอนเช้าทุกวัน
สำหรับผู้ที่ไฝ่พัฒนาชีวิตก็คงอยากจะค้นหาอิคิไกสำหรับตัวเอง ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นคำนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
อิคิ (Iki) = ชีวิต
ไก (Gai) = คุณค่า
อิคิไก จึงหมายถึง ชีวิตที่มีคุณค่า มีความหมาย
มักมีการอธิบายว่า คือเหตุผลที่มีชีวิตอยู่ต่อไป เป็นเหตุผลที่เราอยากตื่นขึ้นมาทุกเช้าอย่างกระตือรือร้น เพราะเห็นคุณค่าตัวเองและมีจุดมุ่งหมายในชีวิต
คนที่มีชีวิตคุ้มค่า จึงต้องเป็นชีวิตที่มีคุณค่า และมีความหมาย ไม่ว่าจะรู้มาก่อนหรือไม่ว่า นั่นคือการมี “อิคิไก”
เรามาทำความเข้าใจมากขึ้นผ่านสาระหนังสือที่ผมนำมาแบ่งปัน คือ IkigaiTeens ซึ่งปกฉบับพากย์ไทยใช้ชื่อว่า “สวมผ้าใบ ไปตามหาอิคิไก” อ่านแล้วเพลินเหมือนได้ร่วมเดินทางด้วยจักรยานไปกับผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ พร้อมกับได้รับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยความเข้าใจการค้นพบอิคิไก ในลักษณะของแต่ละคน
การเดินเรื่องของตัวเอกในเล่ม ทริปปั่นจักรยานเดินทางได้พบคนและเหตุการณ์ แต่ละตอนได้มีคนให้เหรียญเขา จนรวมได้ 4 เหรียญ ซึ่งเปรียบได้กับ 4 องค์ประกอบของความหมายอิคิไก
เหรียญแรกที่เขาได้ มีข้อความสลักในเหรียญว่า “สิ่งที่คุณรัก” เมื่อเดินทางต่อไปได้เจอเหตุการณ์และมีโอกาสได้รับเหรียญที่ 2 สลักคำว่า “สิ่งที่คุณทำได้ดี”
เมื่อเหรียญทั้งสองใส่เป้ เหรียญทั้งสองกระทบกัน ก็ปรากฏข้อความขึ้นมาว่า “สิ่งที่คุณชื่นชอบและหลงใหล”
นั่นคือภาวะที่เกิด “การรู้จักตัวเอง” ซึ่งจะส่งเสริมให้ทำทุกสิ่งที่ชอบ ดีต่ออาชีพการงาน ดีต่อชีวิต และเป็นประโยชน์ต่อโลก
เขาเดินทางต่อไปได้พบเศรษฐีเจ้าของคฤหาสน์ ซึ่งชวนเขาให้นอนค้างที่นั่น 1 คืนแล้วตอนเช้าได้มอบเหรียญที่ 3 ซึ่งสลักข้อความว่า “สิ่งที่ได้เงินตอบแทน”
เมื่อเขาได้เจอนักเดินทางที่น่าสนใจ ได้รับฟังข้อคิดเตือนใจว่า “ไม่ทิ้งเพื่อนไว้ข้างหลัง” พร้อมกับมอบเหรียญที่ 4 ซึ่งสลักข้อความว่า “สิ่งที่โลกต้องการ” เขารับเหรียญสุดท้ายนั้นด้วยความตื้นตัน แถมยังได้รับคำชี้แนะว่า
“อย่าลืมนึกถึงคนอื่นด้วย ในขณะสนใจแผนของตัวเอง เพราะความสำเร็จนั้น จะยิ่งหอมหวนทวีคูณเมื่อเราได้แบ่งปัน โลกเรานั้นต้องการความช่วยเหลือจากคุณ แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ว่าจะทำอะไร มันจะเพิ่มความหมายในชีวิตคุณและชีวิตผู้อื่น”
เมื่อหยิบเหรียญทั้ง 4 ออกมาดู เขาเห็นคำใหม่จากส่วนซ้อนเหลื่อมกันของ 2 เหรียญสุดท้ายว่า “งานที่ชอบ” ขณะเดียวกันตรงจุดที่วงกลมทั้ง 4 ประกอบกันเหมือนเป็นรูปดอกไม้ และตรงกลางดอกไม้นั้นก็มีคำว่า “อิคิไก” เป็นการเฉลยความหมายทั้งหมด
เป็นอันว่าเรารู้ล่ะเชิงทฤษฎีแล้ว ว่าอิคิไกคืออะไร? มีองค์ประกอบอะไรบ้าง? ก็ต้องลงมือทำในภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อชีวิต นั่นคือ
1. ทำสิ่งที่คุณรัก
2. ทำสิ่งที่ถนัดและทำได้ดี
3. สิ่งที่ทำนั้นให้ผลตอบแทน เอาเป็นตัวเงิน หรือไม่เป็นตัวเงิน ก็ตาม
4.ทำสิ่งที่โลกต้องการ ดีต่อผู้อื่น ทำให้สังคมและโลกดีขึ้น
ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้บอกด้วยว่า แม้ถิ่นที่อยู่ของคุณผู้อ่านอาจจะแตกต่างจากหมู่บ้านชนบทที่มีคนอายุเกิน100มากที่สุดในโลก แต่ก็มีหลายสิ่งที่คุณนำมาปรับใช้ได้ เพื่อให้มีอายุยืนอย่างมีความสุข โดยใช้แรงบันดาลใจ ที่ได้เรียนรู้จากกรณีตัวอย่างหลายคนในหนังสือเล่มนี้ ที่ได้เปลี่ยนงานหรือสิ่งที่ทำ จนได้พบกับสิ่งที่ใช่และทำได้ดี
กฎ 7 ข้อสำหรับชีวิตที่ยืนยาว
1. ปิดโทรศัพท์มือถือบ้าง
2. อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติให้บ่อยที่สุด เท่าที่จะทำได้
3. ออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นประจำ
4. อยากกินเยอะ (โดยเฉพาะอาหารขยะ)
5. เพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตร
6. อย่าหยุดทำงานในสิ่งที่ชอบ
7. นำหลักอิคิไกมาใช้ในชีวิต
การค้นพบอิคิไกจึงเป็นเรื่องสำคัญของชีวิต เพราะเท่ากับมี “แผนผัง”องค์ประกอบของแนวทางดำเนินชีวิตอย่างมี “เข็มทิศ” ที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายชีวิต (Purpose of Life)
......................................................................
ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ : สวมผ้าใบ ไปตามหา อิคิไก (Ikigai)
ผู้เขียน : เฮ็กเตอร์ การ์เซีย, ฟรานเซสค์ มฺิราเยส
ผู้แปล : วันดี อภิรักษ์ธนากร
สำนักพิมพ์ : เนชั่นบุคส์
แนะนำหนังสือ
มังกรเหนือมังกร
ผู้เขียน : เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป
สำนักพิมพ์ : แสงดาว
ราคา 280 บาท
ทัศนคติ ความคิดอันลึกซึ้ง และนโนบายการบริหารประเทศของประธานาธิบดีจีนคนล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ “สี จิ้นผิง” ที่สร้างความฮึกเหิม สร้างพลัง และมอบความหวังให้กับชาวจีนทั้งแผ่นดินว่าจีนจะไม่กลับไปเผชิญหน้ากับความยากจนเหมือนในอดีตอีก
Animal Farm : A Fairy Story การเมืองของสัตว์
ผู้เขียน : จอร์จ ออร์เวลล์
ผู้แปล : วิเชียร์ อติชาตการ
สำนักพิมพ์ : ยูนิคอร์น
ราคา 235 บาท
วรรณกรรมเสียดสีการเมืองเกี่ยวกับเรื่องความล้มเหลวของการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสหภาพโซเวียต โดยการใช้สัตว์เล่าเรื่องแทนตัวบุคคลในสังคม
วิธีเอาตัวรอดในวงล้อมคนงี่เง่า
ผู้เขียน : โธมัส เอริคสัน
ผู้แปล : ประเวศ หงส์จรรยา
สำนักพิมพ์ : อมรินทร์
ราคา 335 บาท
สอนให้รู้จักกับคนงี่เง่า 4 รูปแบบที่จะต้องเจอทั้งในชีวิตส่วนตัวหรือที่ทำงาน ถ้าเราเข้าใจทุกรูแบบจะรู้วิธีการเข้าถึงใจทุกคนและไม่ต้องมาปวดหัวกับความขัดแย้งอันงี่เง่าเหมือนเคย และอาจะกระชับความสัมพันธ์พื้นฐานต่อกันมากขึ้น
เล่าเรื่องชนะใจ ธุรกิจชนะเลิศ
ผู้เขียน : แมทธิว ลูห์น
ผู้แปล : พิมพาภรณ์ สมเกียรติวีระ
สำนักพิมพ์ : ลีฟ ริช ฟอร์เอฟเวอร์
ราคา 219 บาท
รวมเคล็ดลับที่สร้างพลังทวีคูณให้กับผู้ประกอบและนักการตลาดหลายคนตามแบบของพิกซาร์ ตั้งแต่การวางบทบาทตัวละคร สร้างโครงเรื่องไปจนถึงหมัดฮุกของชัยชนะให้กับธุรกิจ