แนวคิดและวิถีชีวิตจากแดนอาทิตย์อุทัย ที่รู้จักกันไปทั่วโลกว่า “อิคิไก” (Ikigai) หมายถึง “การมีชีวิตอย่างมีความหมาย มีคุณค่า” ซึ่งประกอบด้วย อิคิ (Iki) แปลว่าชีวิต และ ไก (gai) แปลว่าคุณค่าหรือความหมาย
ความเด่นดังของ “อิคิไก” ทำให้มีการศึกษาความหมายและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีงานเขียนและงานวิจัยมากมาย ปรากฏเป็นหนังสือขายดีไปทั่วโลกหลายเล่ม
นักวิชาการและนักเขียนชาวตะวันตก ได้ศึกษาและนำเอาหลักอิคิไก ไปนำเสนอผ่านแผนภาพเวนน์ (Venn Diagram) ที่แพร่หลายเป็นรูปวงกลม 4 วงวางเหลื่อมกัน เพื่ออธิบาย 4 องค์ประกอบของอิคิไก คือ 1 ทำในสิ่งที่รัก 2 ทำสิ่งที่ถนัดหรือเก่ง 3 ทำสิ่งที่โลกต้องการ 4 ทำสิ่งที่ให้ผลตอบแทน
นั่นก็เป็นการมองในมิติที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายชีวิต (Purpose of Life) เพื่ออนาคต
แต่ครั้งนี้ผมขอกล่าวถึงหนังสือเด่นอีกเล่มหนึ่ง จากถิ่นกำเนิดแนววิถีตะวันออก คือ “อิคิไก” The Little Book of Ikigai ซึ่งเขียนโดย เตน โมงิ นักประสาทวิทยาศาสตร์ นักเขียน ชาวโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แปลโดย วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ
การเดินเรื่องของหนังสือเล่มนี้ มักโยงไปสู่การอ้างถึงคุณลักษณะสำคัญของ “อิคิไก” ที่เสมือนเสาหลัก 5 ประการ ได้แก่
1.เริ่มต้นทำสิ่งเล็กๆ จากสิ่งที่เป็นพื้นฐานง่ายๆตามศักยภาพที่ทำได้ ลงมือทำทีละขั้นตอน และมุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ สั่งสมความสำเร็จไปเรื่อย จึงเกิดปิติสุข และกำลังใจที่มุ่งมั่นต่อยอดให้ได้สิ่งที่ดีขึ้นต่อไป
2.ละวางตัวตน ให้สลัดหลุดจากการติดยึดอัตตาตัวตน แล้วจดจ่ออยู่กับงานหรือกิจกรรมที่ทำ จึงเกิดสภาวะรื่นไหล (Flow) จนสิ่งอื่นใดก็ไม่มีความสำคัญ “มีความสุขกับงานที่ทำ” เป็นเป้าหมายในตัว ไม่ใช่ต้อง “ทนทำ” ส่วนค่าตอบแทนนั้น คล้ายเป็นของแถม
ทั้งนี้ด้วยค่านิยมของคนญี่ปุ่น ที่ใส่ใจรายละเอียดในสิ่งที่ทำ มุ่งผลงานเป็นสำคัญ เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงอย่างสม่ำเสมอ และด้วยแนวคิดที่เรียกว่า “โคดาวาริ” ที่มีความรับผิดชอบ เป็นพันธสัญญา(Commitment) และการยืนหยัด (Insistence) ไม่ท้อถอย เพื่อทำสิ่งที่ดีมีคุณค่า
3.สอดคล้องกับธรรมชาติและชุมชน การเริ่มต้นทำเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ก็คือ “การตื่นเช้า” อย่างเป็นธรรมชาติ เช่น ฮิโรกิ ฟูจิดะ พ่อค้าปลาทูน่าในตลาดปลาชื่อดังของโตเกียว เขาตื่นตั้งแต่ตีสอง และเตรียมออกไปทำงานทุกวัน เพราต้องการได้ปลาตัวที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าลูกค้าของเขา
โดยเฉพาะทุกเช้าการทักทาย “อรุณสวัสดิ์” ด้วยภาษาญี่ปุ่นว่า “โอฮาโยะ” พร้อมสบตากับผู้เกี่ยวข้อง ด้วยความรู้สึกดี ๆ ก็ช่วยกระตุ้นระบบการให้รางวัลสมอง มีผลให้ระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนดีขึ้นด้วย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น
อีกตัวอย่างคือรายการกาย “ราจิโอโทโซะ” การออกกำลังกายเบา ๆ ตามเสียงเพลงกลายเป็นวัฒนธรรมการเคลื่อนไหวร่างกายยามเช้าของคนญี่ปุ่นทุกเพศทุกวัย
โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่รวมกลุ่มกันตามสวนสาธารณะในเขตชุมชน เพื่อออกกำลังกายร่วมกันทุกเช้าเวลา 6.30 น ซึ่งสถานีวิทยุ NHK เริ่มกระจายเสียง นี่คือ “อิคิไก” ของพวกเขา
4.มีความสุขง่าย ๆ จากการตื่นเช้าแล้วเริ่มต้นด้วยสิ่งที่หอมหวาน การดื่มน้ำชาหรือกาแฟ กินช็อกโกแลต หรือขนมที่ชอบ สมองจะหลั่งสารโดปามีน ที่ตอกย้ำพฤติกรรมการตื่นตัวของร่างกาย เพื่อรับรางวัลด้วยเครื่อง เป็นความสุขเล็ก ๆ แบบง่าย ๆ ที่เริ่มต้นด้วยบรรยากาศดี ๆ ทุกเช้า
5.อยู่กับปัจจุบันขณะ สืบเนื่องจากสภาวะลื่นไหลและอิสระจากอัตราตัวตน แต่สร้างผลงานที่มีคุณค่า และมีความหมาย ที่รู้สึกได้ในขณะที่ทำในปัจจุบัน
อย่างเช่นนักวาดการ์ตูนสำหรับเด็ก การสร้างความตรึงตราตรึงใจเด็กที่ติดตามผลงาน เป็นความสุขสมหวังของผู้สร้างสรรค์งาน โดยไม่ได้เอาตัวเงินเป็นตัวตั้ง รางวัลหรือผลตอบแทนที่แท้จริงอยู่ที่ตัวงานขณะที่ลงมือทำต่างหาก
หนังสือเล่มนี้ยังอ้างอิงถึงคลิปวิดีโอ TED Talk เรื่อง “วิธีใช้ชีวิตให้ยืนยาวเกิน 100 ปี” How to Life to be 100+) โดย แดน บูเอตต์เนอร์ นักเขียนชาวอเมริกันที่พูดถึง “อิคิไก” ว่าเป็นหลักปรัชญาการใช้ชีวิตแบบหนึ่ง ที่ช่วยให้สุขภาพดีและอายุยืน(คลิปนี้มีผู้เปิดเข้าชมแล้วกว่า 3 ล้านครั้ง)
เขากล่าวถึงจังหวัดโอกินาวะ หมู่เกาะทางใต้สุดของญี่ปุ่น ที่มีคนอายุเกิน 100 ปีมากที่สุดในโลก และอ้างคำยืนยันเหตุปัจจัยสำคัญของวิถีชีวิตคนที่นั่นก็คือ “อิคิไก” ตัวอย่างเช่น
ปรมาจารย์คาราเต้อายุ 102 ปี บอกว่าอิคิไกของเขาคือ “การอนุรักษ์ศิลปะการต่อสู้ของชาวโอกินาวะ”
ชาวประมงอายุ 100 ปีอีกคนบอกว่า “อิคิไกของเขาคือ การออกไปจับปลา เพื่อนำมาเป็นอาหารให้ครอบครัว สัปดาห์ละ 3 ครั้ง”
หญิงชราอายุ 102 ปีบอกว่า อิคิไกของนางคือ “การได้อุ้ม “ลืบ” (หลานของเหลน) ที่ให้ความรู้สึกราวกับได้ขึ้นสวรรค์”
การใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายเช่นนี้ ก็เป็นแนวทางตัวอย่างของแก่นแท้แห่งตัวตน ได้แก่ ความรู้สึกเป็นชุมชน อาหารการกินที่สมดุล และการตื่นรู้ทางจิตวิญญาณ
หลักการเหล่านี้เองที่ซึมซับอยู่ในค่านิยมและวิถีปฏิบัติ น่าจะมีผลต่อร่างกายและจิตใจของชาวญี่ปุ่น ทำให้คนญี่ปุ่นมีอายุเฉลี่ยสูง ยืนยันได้จากการสำรวจเมื่อปี 2016 โดยกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ปรากฏว่า ผู้ชายญี่ปุ่นมีอายุยืนเป็นอันดับ 4 ของโลก ด้วยตัวเลขอายุเฉลี่ย 87. 9 ปี รองจากฮ่องกง ไอซ์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนผู้หญิงญี่ปุ่น มีอายุยืนเป็นอันดับ 2 ของโลก ด้วยตัวเลขอายุเฉลี่ย มา 17.05 ปี รองจากฮ่องกง
มีงานวิจัยหลายชิ้นศึกษาถึงคุณประโยชน์ของอีคิไก ที่มีต่อชีวิตและสุขภาพ เช่นสนง.ประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำเมืองโอซากิ วิจัยต่อเนื่อง 7 ปี กระจายแบบสอบถาม 54,996 ชุด ในกลุ่มผู้รับผลประโยชน์จากศูนย์สาธารณสุขที่เมืองนี้ของคนอายุ 40 ถึง 79 ปี
มีข้อสรุปว่า คนที่ไม่มีอิคิไกส่วนใหญ่ ไม่ได้แต่งงาน ไม่มีงานทำ ระดับการศึกษาต่ำ และสุขภาพไม่ดี มีความเครียดสูง ร่างกายเจ็บป่วยรุนแรงหรือปานกลาง
แม้ว่าผลการศึกษาชิ้นนี้จะยังสรุปไม่ได้ว่า อิคิไกเป็นสาเหตุหลัก แต่ก็พอสรุปกว้างๆอย่างมีเหตุผลว่า การมีอิคิไก แสดงให้เห็นชุดความคิดหรือทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่จะทำชีวิตตนเองให้มีความสุขและใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวา
ยิ่งกว่านั้น อัตราการตายของกลุ่มผู้ตอบว่า “มีอิคิไก” ยังต่ำกว่ากลุ่มผู้ตอบว่า “ไม่มีอิคิไก” อย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากมีความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่า นี่อาจเป็นเพราะผู้มีอิคิไก มักออกกำลังกายมากกว่า
การได้อ่านหนังสือเล่มนี้จึงนับว่ามีประโยชน์จากการได้เรียนรู้5องค์ประกอบของการใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย ช่วยกระตุ้นให้ปรับแนวการดำเนินชีวิตและวางจิตใจ ให้คิดบวก ใฝ่ดี อยู่กับปัจจุบัน อย่างมีสติ ผ่อนคลายยืดหยุ่น แม้มีอุปสรรคก็จะผ่านไปได้ดี
....................................................
ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ อิคิไก
ผู้เขียน Ken Mogi
ผู้แปล วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ
สำนักพิมพ์ Change
***แนะนำหนังสือ***
บัฟเฟตต์-โซรอส ลงทุนถูกนิสัย ยังไงก็ชนะ
ผู้เขียน : Mark Tier
ผู้แปล : ชัชวนันท์ สันธิเดช
สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ด
ราคา 330 บาท
เพราะอะไร วอร์เรน บัฟเฟตต์ และ จอร์จ โซรอส ถึงได้ประสบความสำเร็จในเรื่องของการลงทุนจนมีชื่อเสียงในระดับโลก หนังสือเล่มนี้จะนำพาไปสู่เคล็ดลับและกรณีศึกษาในเรื่องของการลงทุน มาเปิดเผยให้เรียนรู้เรื่องราวนี้
วะบิ ซะบิ ความงดงามในความไม่สมบูรณ์แบบ
ผู้เขียน : Nobuo Suzuki
ผู้แปล : ศันสนีย์ วรรณางกูร
สำนักพิมพ์ : เนชั่นบุ๊คส์
ราคา 250 บาท
ถ้าพร้อมเรียนรู้ที่จะพบกับความไม่สมบูรณ์แบบและความไม่ยั่งยืนของทุกสิ่ง หนังสือเล่มนี้จะนำทางให้ไปพบกับแนวคิดดังกล่าว เพื่อที่จะทำให้เรามีความสุขกับสิ่งนี้ได้อย่างง่ายดายขึ้น
คนที่อยู่ข้างกันในวันฝนโปรย
ผู้เขียน : คิดมาก
สำนักพิมพ์ : ฟีก้า
ราคา 239 บาท
ในท่ามกลางสังคมออนไลน์ที่ก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง ที่ตนอยากจะนับถือคนดังเป็นแรงบันดาลใจ แต่เราลืมคนใกล้ตัวไปบ้างหรือเปล่า หนังสือเล่มนี้หยิบแนวคิดประสบการณ์จากคนรอบข้าง ให้เราได้หันกลับมามองพวกเขาที่อยู่ข้างๆ อีกครั้ง
มองโลกเป็น ต้องเห็นตัวเองก่อน
ผู้เขียน : Mentalist Daigo
ผู้แปล : รัตนาภรณ์ วานิชย์หานนท์
สำนักพิมพ์ : อัมรินทร์ Howto
ราคา 245 บาท
หนังสือเล่มนี้ จะทำให้การมองโลกตามความเป็นจริง จะนำทางให้ความสามารถที่ทรงพลังที่สุดในชีวิต และย่อมมีระดับความพึงพอใจในชีวิตประจำวันและประสิทธิภาพการทำงานสูงตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้รู้จักตัวเองได้ดีพอในระดับหนึ่ง
เริ่มให้ได้ แล้วมันจะง่ายกว่าที่คิด
ผู้เขียน : Toyokazu Tsuruta
ผู้แปล : ณิชยา รักเกียรติงาม
สำนักพิมพ์ : อมรินทร์ How to
ราคา 225 บาท
คุณกำลังประสบกับความขี้เกียจที่อยู่ภายในตัวอยู่หรือเปล่า หนังสือเล่มนี้จะเปิดเผยถึงสิ่งดังกล่าว โดยไล่ระดับในสภาวการณ์ในรูปแบบต่างๆ พร้อมวิธีแก้ไขขากผู้ที่ให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรม ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงจาคำว่าขี้เกียจหลุดออกจากตัวไปเลยทีเดียว
ความเด่นดังของ “อิคิไก” ทำให้มีการศึกษาความหมายและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีงานเขียนและงานวิจัยมากมาย ปรากฏเป็นหนังสือขายดีไปทั่วโลกหลายเล่ม
นักวิชาการและนักเขียนชาวตะวันตก ได้ศึกษาและนำเอาหลักอิคิไก ไปนำเสนอผ่านแผนภาพเวนน์ (Venn Diagram) ที่แพร่หลายเป็นรูปวงกลม 4 วงวางเหลื่อมกัน เพื่ออธิบาย 4 องค์ประกอบของอิคิไก คือ 1 ทำในสิ่งที่รัก 2 ทำสิ่งที่ถนัดหรือเก่ง 3 ทำสิ่งที่โลกต้องการ 4 ทำสิ่งที่ให้ผลตอบแทน
นั่นก็เป็นการมองในมิติที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายชีวิต (Purpose of Life) เพื่ออนาคต
แต่ครั้งนี้ผมขอกล่าวถึงหนังสือเด่นอีกเล่มหนึ่ง จากถิ่นกำเนิดแนววิถีตะวันออก คือ “อิคิไก” The Little Book of Ikigai ซึ่งเขียนโดย เตน โมงิ นักประสาทวิทยาศาสตร์ นักเขียน ชาวโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แปลโดย วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ
การเดินเรื่องของหนังสือเล่มนี้ มักโยงไปสู่การอ้างถึงคุณลักษณะสำคัญของ “อิคิไก” ที่เสมือนเสาหลัก 5 ประการ ได้แก่
1.เริ่มต้นทำสิ่งเล็กๆ จากสิ่งที่เป็นพื้นฐานง่ายๆตามศักยภาพที่ทำได้ ลงมือทำทีละขั้นตอน และมุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ สั่งสมความสำเร็จไปเรื่อย จึงเกิดปิติสุข และกำลังใจที่มุ่งมั่นต่อยอดให้ได้สิ่งที่ดีขึ้นต่อไป
2.ละวางตัวตน ให้สลัดหลุดจากการติดยึดอัตตาตัวตน แล้วจดจ่ออยู่กับงานหรือกิจกรรมที่ทำ จึงเกิดสภาวะรื่นไหล (Flow) จนสิ่งอื่นใดก็ไม่มีความสำคัญ “มีความสุขกับงานที่ทำ” เป็นเป้าหมายในตัว ไม่ใช่ต้อง “ทนทำ” ส่วนค่าตอบแทนนั้น คล้ายเป็นของแถม
ทั้งนี้ด้วยค่านิยมของคนญี่ปุ่น ที่ใส่ใจรายละเอียดในสิ่งที่ทำ มุ่งผลงานเป็นสำคัญ เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงอย่างสม่ำเสมอ และด้วยแนวคิดที่เรียกว่า “โคดาวาริ” ที่มีความรับผิดชอบ เป็นพันธสัญญา(Commitment) และการยืนหยัด (Insistence) ไม่ท้อถอย เพื่อทำสิ่งที่ดีมีคุณค่า
3.สอดคล้องกับธรรมชาติและชุมชน การเริ่มต้นทำเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ก็คือ “การตื่นเช้า” อย่างเป็นธรรมชาติ เช่น ฮิโรกิ ฟูจิดะ พ่อค้าปลาทูน่าในตลาดปลาชื่อดังของโตเกียว เขาตื่นตั้งแต่ตีสอง และเตรียมออกไปทำงานทุกวัน เพราต้องการได้ปลาตัวที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าลูกค้าของเขา
โดยเฉพาะทุกเช้าการทักทาย “อรุณสวัสดิ์” ด้วยภาษาญี่ปุ่นว่า “โอฮาโยะ” พร้อมสบตากับผู้เกี่ยวข้อง ด้วยความรู้สึกดี ๆ ก็ช่วยกระตุ้นระบบการให้รางวัลสมอง มีผลให้ระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนดีขึ้นด้วย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น
อีกตัวอย่างคือรายการกาย “ราจิโอโทโซะ” การออกกำลังกายเบา ๆ ตามเสียงเพลงกลายเป็นวัฒนธรรมการเคลื่อนไหวร่างกายยามเช้าของคนญี่ปุ่นทุกเพศทุกวัย
โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่รวมกลุ่มกันตามสวนสาธารณะในเขตชุมชน เพื่อออกกำลังกายร่วมกันทุกเช้าเวลา 6.30 น ซึ่งสถานีวิทยุ NHK เริ่มกระจายเสียง นี่คือ “อิคิไก” ของพวกเขา
4.มีความสุขง่าย ๆ จากการตื่นเช้าแล้วเริ่มต้นด้วยสิ่งที่หอมหวาน การดื่มน้ำชาหรือกาแฟ กินช็อกโกแลต หรือขนมที่ชอบ สมองจะหลั่งสารโดปามีน ที่ตอกย้ำพฤติกรรมการตื่นตัวของร่างกาย เพื่อรับรางวัลด้วยเครื่อง เป็นความสุขเล็ก ๆ แบบง่าย ๆ ที่เริ่มต้นด้วยบรรยากาศดี ๆ ทุกเช้า
5.อยู่กับปัจจุบันขณะ สืบเนื่องจากสภาวะลื่นไหลและอิสระจากอัตราตัวตน แต่สร้างผลงานที่มีคุณค่า และมีความหมาย ที่รู้สึกได้ในขณะที่ทำในปัจจุบัน
อย่างเช่นนักวาดการ์ตูนสำหรับเด็ก การสร้างความตรึงตราตรึงใจเด็กที่ติดตามผลงาน เป็นความสุขสมหวังของผู้สร้างสรรค์งาน โดยไม่ได้เอาตัวเงินเป็นตัวตั้ง รางวัลหรือผลตอบแทนที่แท้จริงอยู่ที่ตัวงานขณะที่ลงมือทำต่างหาก
หนังสือเล่มนี้ยังอ้างอิงถึงคลิปวิดีโอ TED Talk เรื่อง “วิธีใช้ชีวิตให้ยืนยาวเกิน 100 ปี” How to Life to be 100+) โดย แดน บูเอตต์เนอร์ นักเขียนชาวอเมริกันที่พูดถึง “อิคิไก” ว่าเป็นหลักปรัชญาการใช้ชีวิตแบบหนึ่ง ที่ช่วยให้สุขภาพดีและอายุยืน(คลิปนี้มีผู้เปิดเข้าชมแล้วกว่า 3 ล้านครั้ง)
เขากล่าวถึงจังหวัดโอกินาวะ หมู่เกาะทางใต้สุดของญี่ปุ่น ที่มีคนอายุเกิน 100 ปีมากที่สุดในโลก และอ้างคำยืนยันเหตุปัจจัยสำคัญของวิถีชีวิตคนที่นั่นก็คือ “อิคิไก” ตัวอย่างเช่น
ปรมาจารย์คาราเต้อายุ 102 ปี บอกว่าอิคิไกของเขาคือ “การอนุรักษ์ศิลปะการต่อสู้ของชาวโอกินาวะ”
ชาวประมงอายุ 100 ปีอีกคนบอกว่า “อิคิไกของเขาคือ การออกไปจับปลา เพื่อนำมาเป็นอาหารให้ครอบครัว สัปดาห์ละ 3 ครั้ง”
หญิงชราอายุ 102 ปีบอกว่า อิคิไกของนางคือ “การได้อุ้ม “ลืบ” (หลานของเหลน) ที่ให้ความรู้สึกราวกับได้ขึ้นสวรรค์”
การใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายเช่นนี้ ก็เป็นแนวทางตัวอย่างของแก่นแท้แห่งตัวตน ได้แก่ ความรู้สึกเป็นชุมชน อาหารการกินที่สมดุล และการตื่นรู้ทางจิตวิญญาณ
หลักการเหล่านี้เองที่ซึมซับอยู่ในค่านิยมและวิถีปฏิบัติ น่าจะมีผลต่อร่างกายและจิตใจของชาวญี่ปุ่น ทำให้คนญี่ปุ่นมีอายุเฉลี่ยสูง ยืนยันได้จากการสำรวจเมื่อปี 2016 โดยกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ปรากฏว่า ผู้ชายญี่ปุ่นมีอายุยืนเป็นอันดับ 4 ของโลก ด้วยตัวเลขอายุเฉลี่ย 87. 9 ปี รองจากฮ่องกง ไอซ์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนผู้หญิงญี่ปุ่น มีอายุยืนเป็นอันดับ 2 ของโลก ด้วยตัวเลขอายุเฉลี่ย มา 17.05 ปี รองจากฮ่องกง
มีงานวิจัยหลายชิ้นศึกษาถึงคุณประโยชน์ของอีคิไก ที่มีต่อชีวิตและสุขภาพ เช่นสนง.ประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำเมืองโอซากิ วิจัยต่อเนื่อง 7 ปี กระจายแบบสอบถาม 54,996 ชุด ในกลุ่มผู้รับผลประโยชน์จากศูนย์สาธารณสุขที่เมืองนี้ของคนอายุ 40 ถึง 79 ปี
มีข้อสรุปว่า คนที่ไม่มีอิคิไกส่วนใหญ่ ไม่ได้แต่งงาน ไม่มีงานทำ ระดับการศึกษาต่ำ และสุขภาพไม่ดี มีความเครียดสูง ร่างกายเจ็บป่วยรุนแรงหรือปานกลาง
แม้ว่าผลการศึกษาชิ้นนี้จะยังสรุปไม่ได้ว่า อิคิไกเป็นสาเหตุหลัก แต่ก็พอสรุปกว้างๆอย่างมีเหตุผลว่า การมีอิคิไก แสดงให้เห็นชุดความคิดหรือทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่จะทำชีวิตตนเองให้มีความสุขและใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวา
ยิ่งกว่านั้น อัตราการตายของกลุ่มผู้ตอบว่า “มีอิคิไก” ยังต่ำกว่ากลุ่มผู้ตอบว่า “ไม่มีอิคิไก” อย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากมีความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่า นี่อาจเป็นเพราะผู้มีอิคิไก มักออกกำลังกายมากกว่า
การได้อ่านหนังสือเล่มนี้จึงนับว่ามีประโยชน์จากการได้เรียนรู้5องค์ประกอบของการใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย ช่วยกระตุ้นให้ปรับแนวการดำเนินชีวิตและวางจิตใจ ให้คิดบวก ใฝ่ดี อยู่กับปัจจุบัน อย่างมีสติ ผ่อนคลายยืดหยุ่น แม้มีอุปสรรคก็จะผ่านไปได้ดี
....................................................
ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ อิคิไก
ผู้เขียน Ken Mogi
ผู้แปล วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ
สำนักพิมพ์ Change
***แนะนำหนังสือ***
บัฟเฟตต์-โซรอส ลงทุนถูกนิสัย ยังไงก็ชนะ
ผู้เขียน : Mark Tier
ผู้แปล : ชัชวนันท์ สันธิเดช
สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ด
ราคา 330 บาท
เพราะอะไร วอร์เรน บัฟเฟตต์ และ จอร์จ โซรอส ถึงได้ประสบความสำเร็จในเรื่องของการลงทุนจนมีชื่อเสียงในระดับโลก หนังสือเล่มนี้จะนำพาไปสู่เคล็ดลับและกรณีศึกษาในเรื่องของการลงทุน มาเปิดเผยให้เรียนรู้เรื่องราวนี้
วะบิ ซะบิ ความงดงามในความไม่สมบูรณ์แบบ
ผู้เขียน : Nobuo Suzuki
ผู้แปล : ศันสนีย์ วรรณางกูร
สำนักพิมพ์ : เนชั่นบุ๊คส์
ราคา 250 บาท
ถ้าพร้อมเรียนรู้ที่จะพบกับความไม่สมบูรณ์แบบและความไม่ยั่งยืนของทุกสิ่ง หนังสือเล่มนี้จะนำทางให้ไปพบกับแนวคิดดังกล่าว เพื่อที่จะทำให้เรามีความสุขกับสิ่งนี้ได้อย่างง่ายดายขึ้น
คนที่อยู่ข้างกันในวันฝนโปรย
ผู้เขียน : คิดมาก
สำนักพิมพ์ : ฟีก้า
ราคา 239 บาท
ในท่ามกลางสังคมออนไลน์ที่ก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง ที่ตนอยากจะนับถือคนดังเป็นแรงบันดาลใจ แต่เราลืมคนใกล้ตัวไปบ้างหรือเปล่า หนังสือเล่มนี้หยิบแนวคิดประสบการณ์จากคนรอบข้าง ให้เราได้หันกลับมามองพวกเขาที่อยู่ข้างๆ อีกครั้ง
มองโลกเป็น ต้องเห็นตัวเองก่อน
ผู้เขียน : Mentalist Daigo
ผู้แปล : รัตนาภรณ์ วานิชย์หานนท์
สำนักพิมพ์ : อัมรินทร์ Howto
ราคา 245 บาท
หนังสือเล่มนี้ จะทำให้การมองโลกตามความเป็นจริง จะนำทางให้ความสามารถที่ทรงพลังที่สุดในชีวิต และย่อมมีระดับความพึงพอใจในชีวิตประจำวันและประสิทธิภาพการทำงานสูงตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้รู้จักตัวเองได้ดีพอในระดับหนึ่ง
เริ่มให้ได้ แล้วมันจะง่ายกว่าที่คิด
ผู้เขียน : Toyokazu Tsuruta
ผู้แปล : ณิชยา รักเกียรติงาม
สำนักพิมพ์ : อมรินทร์ How to
ราคา 225 บาท
คุณกำลังประสบกับความขี้เกียจที่อยู่ภายในตัวอยู่หรือเปล่า หนังสือเล่มนี้จะเปิดเผยถึงสิ่งดังกล่าว โดยไล่ระดับในสภาวการณ์ในรูปแบบต่างๆ พร้อมวิธีแก้ไขขากผู้ที่ให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรม ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงจาคำว่าขี้เกียจหลุดออกจากตัวไปเลยทีเดียว