xs
xsm
sm
md
lg

สารอาหารสำคัญ ดูแลระบบหัวใจและหลอดเลือดให้พร้อม รับมือลองโควิด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ลองโควิด ภาวะที่พบได้ในคนที่เคยป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มาก่อน แม้จะรักษาตัวจนไม่พบเชื้อในร่างกายแล้ว กลับพบอาการผิดปกติบางอย่างที่ยังหลงเหลืออยู่ ที่สำคัญอาการที่ยังหลงเหลืออยู่มีทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสุขภาพร่างกายหลายระบบ ไม่เพียงแค่ปอดหรือสมอง แต่อาจรวมไปถึงอาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด หรือที่เรียกว่า COVID Heart ด้วย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว หรือมีปัญหาสุขภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือด จะมีความเสี่ยงที่อาการของโรคจะกำเริบรุนแรงหรือมีอาการแทรกซ้อนสูงกว่าคนปกติ

อาการดังกล่าวเกิดจากร่างกายกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานเมื่อได้รับเชื้อ ระบบภูมิคุ้มกันจะต่อสู้กับเชื้อโรคซึ่งในระหว่างนั้นอาจเกิดภาวะที่เรียกว่า เกิดภูมิต้านทานของตัวเองต่อกล้ามเนื้อและเยื่อหุ้มหัวใจ ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงและลดประสิทธิภาพการทำงาน การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลง รวมทั้งเสี่ยงกับภาวะลิ่มเลือดอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจนอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้


สำหรับผู้ที่เคยได้รับเชื้อและหายจากอาการป่วยแล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำวิธีการฟื้นตัวจากอาการ COVID Heart ด้วยการได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการดูแลหัวใจและหลอดเลือดอย่างเพียงพอ มาดูกันว่า 3 สารอาหารที่พบได้ในอาหารธรรมชาติ ช่วยดูแลการทำงานของระบบหัวใจและหลอดแข็งแรงในกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดให้พร้อมรับมือหากเกิดภาวะลองโควิด จะมีสารอาหารใดบ้างและควรรับประทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์

สารอาหารสำคัญดูแลใจ ฟื้นตัวจาก COVID Heart
กรดไขมัน โอเมก้า-3

กรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ได้จากน้ำมันปลาทะเลน้ำลึก ที่มีส่วนช่วยลดการอักเสบเมื่อติดเชื้อและเสริมสร้างสมดุลย์ให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้ตามปกติ ลดความเสี่ยงภาวะปอดอักเสบและลิ่มเลือดอุดตัน ป้องกันหัวใจขาดเลือดแต่เนื่องจากเป็นกรดไขมันชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากแหล่งอาหารต่าง ๆ เช่น ปลาทะเลน้ำลึกที่มีปริมาณของกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง ๆ เช่น ปลาแอนโชวี่ และควรผลิตด้วยมาตรฐานยา ที่ผ่านการตรวจสอบการปนเปื้อนสารตะกั่ว ปรอท สารหนู ต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ฯลฯ

ประโยชน์ของกรดไขมันโอเมก้า-3 คือ Eicosapentaenoic acid (EPA, อีพีเอ) และ Docoxahexaenoic acid (DHA, ดีเอชเอ) ที่มีต่อสุขภาพเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด พบว่ากรดไขมันดังกล่าวมีส่วนช่วยให้หัวใจและหลอดเลือดมีสุขภาพแข็งแรง รวมทั้งลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากร่างกายได้รับกรดไขมัน EPA และกรดไขมัน DHA ที่มีส่วนช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ในเลือด ป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ป้องกันไม่ให้ไขมันเกาะติดที่ผนังหลอดเลือด รักษาความยืดหยุ่นและป้องกันหลอดเลือดอุดตัน อันเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหัวใจตามมาในที่สุด


นอกจากนี้ยังพบงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่ระบุว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีอยู่ในน้ำมันปลา มีกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า-3 ที่สำคัญ 2 ตัว อย่าง EPA และ DHA ซึ่งพบว่ากรดไขมันทั้งสองตัวนี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็น สาร Resolvins ซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งการอักเสบที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย (วารสาร Cancer and Metastasis Reviews, https://bit.ly/3wsdsAz)

เช่นเดียวกับ งานวิจัยที่ชื่อ การเสริมน้ำมันปลาในการรักษาโรคที่เกิดการอักเสบ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ระบุว่า กรดไขมันทั้งสองชนิดนี้มีผลในการลดภาวะการอักเสบ โดยลดปริมาณสารที่เป็นตัวการของการอักเสบบางชนิดลง และเพิ่มปริมาณสารต้านการอักเสบบางชนิด และลดการเหนี่ยวนำการเคลื่อนที่ของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันมายังบริเวณที่เกิดการอักเสบ (แหล่งข้อมูล: การเสริมน้ำมันปลาในการรักษาโรคที่เกิดการอักเสบ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TBPS/article/view/33138 ) ด้วยคุณสมบัติในการลดสารอักเสบที่เป็นปัญหาหลักของการเกิดลองโควิดของน้ำมันปลา จึงเริ่มมีการใช้เพื่อป้องกันสำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อได้

วิธีรับประทาน
ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันนั้น หากเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงอยู่แล้ว การได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 ประมาณ 500-1,000 มิลลิกรัม ของปริมาณ EPA และ DHA ก็เพียงพอต่อความต้องการ แต่หากเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเรื้อรังหรือโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มที่ รวมถึงผู้ที่ต้องการป้องกันอาการลองโควิด ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่แนะนำ คือ 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน ของปริมาณ EPA และ DHA

โคเอนไซม์ คิวเทน
โคเอนไซม์ คิวเทน เป็นสารธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อร่างกายของเรา พบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย หน้าที่หลักของสารตัวนี้คือ การผลิตพลังงานและให้พลังงานกับเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง ตับ ไต กล้ามเนื้อ และยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายอีกด้วย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ลดอาการเหนื่อย อ่อนเพลียเรื้อรังได้อีกด้วย

ในมุมของการดูแลระบบหัวใจและหลอดเลือด โคเอนไซม์ คิวเทน มีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ตามปกติและลดความรุนแรงจากภาวะแทรกซ้อนลง ลดเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือผู้ที่เป็นโรคหัวใจมักจะได้รับคำแนะนำทางการแพทย์ให้รับประทานสารอาหารตัวนี้ เพื่อช่วยบำรุงหัวใจ ฟื้นฟูเซลล์หัวใจให้แข็งแรงขึ้น ลดความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานดีขึ้น ควบคุมอาการของโรคหัวใจได้ดีขึ้น ช่วยให้ระดับความดันโลหิตสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ดังนั้นผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดแล้วมีความเสี่ยงจะเกิด COVID heart หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรเสริมด้วย โคเอนไซม์ คิวเทน เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดที่อาจตามมา


วิธีรับประทาน
ปกติแล้วร่างกายของเราสามารถผลิตโคเอนไซม์ คิวเทนได้เอง แต่ในภาวะที่เราเจ็บป่วย หรือมีอายุมากขึ้นจึงผลิตสารตัวนี้ได้ลดลง จำเป็นต้องได้รับเพิ่มเติม ผู้ที่ใช้ยาลดไขมันโคเลสเตอรอลกลุ่มสแตติน ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โรคหัวใจ ควรรับประทานวันละ 100 มิลลิกรัม แต่สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายโรค แนะนำให้เพิ่มปริมาณโคเอนไซม์ คิวเทน เป็นวันละ 200 มิลลิกรัม

เคล็ดลับการรับประทาน โคเอนไซม์ คิวเทนให้ได้ประโยชน์ โคเอนไซม์คิวเทนละลายได้ดีในไขมันจึงควรกินพร้อมมื้ออาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหรือไขมันดี เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ตับ ไต หัวใจ ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน และผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันถั่วเหลือง ผัก รำข้าว ซีเรียล น้ำมันถั่วเหลือง ส่วนใครที่เลือกรับประทานในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่เป็นโคเอนไซม์ คิวเทนจากธรรมชาติ เลือกรูปแบบอีมัลแคป หรือ VESIsorb (แคปซูลนิ่ม) ซึ่งทำให้ขนาดของโคเอนไซม์ คิวเทน เล็กลง จะละลายและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าโคเอนไซม์ คิวเทนรูปแบบอื่นๆ

น้ำมันกระเทียมสกัด
น้ำมันกระเทียมสกัด จะมีสารสำคัญ คือ สารอัลลิซินที่อยู่ในน้ำมันกระเทียม เป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อโรคอีกหลายชนิด เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ มีประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือด มีส่วนช่วยป้องกันไขมันคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และช่วยป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน ลดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเป็นสาเหตุของเส้นเลือดอุดตันและภาวะหัวใจวาย ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ สารอัลลิซินยังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยดักจับรับมือเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ ช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


วิธีรับประทาน
ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันในการดูแลสุขภาพ คือ ประมาณ 2-5 มิลลิกรัมต่อวัน ของน้ำมันกระเทียมสกัด ก็จะส่งผลที่ดีในการดูแลสุขภาพ ทั้งการเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันไขมันในเลือดสูง ป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน จึงสามารถแนะนำในผู้ที่ต้องการป้องกันภาวะ COVID Heart ได้

3 สารอาหารสำคัญเพื่อการดูแลบำรุงหัวใจและหลอดเลือดนี้ สามารถหาได้ในแหล่งอาหารธรรมชาติ แต่สำหรับผู้ที่ไม่สะดวก การเลือกรับประทานสารอาหารในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องรับประทานเข้าสู่ร่างกาย ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายใต้มาตรฐานยาระดับสากล สามารถมั่นใจในคุณภาพ และความปลอดภัย ปราศจากผลข้างเคียงและสารเคมีตกค้างที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดสรร และมีส่วนผสมของธรรมชาติ ไม่ใช้สีสังเคราะห์ วัตถุปรุงแต่งและวัตถุกันเสีย


เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงพร้อมรับมือหรือลดความรุนแรงของอาการจากภาวะลองโควิด ควรเสริมด้วยวิตามินซี วิตามินดี แร่ธาตุสังกะสี โปรตีน และโพรไบโอติกส์ เพื่อให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง ลดการอ่อนเพลีย อ่อนล้า ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ จากลองโควิด ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่เคยติดเชื้อและยังมีอาการหลงเหลืออยู่มักเกิดขึ้น
เริ่มต้นใส่ใจตัวเองในทุกวันด้วย น้ำมันปลาคุณภาพที่มีคุณประโยชน์ ให้กรดไขมันไม่อิ่มตัว กลุ่ม Omega 3: อีพีเอ (EPA) และ ดีเอชเอ (DHA) , โคเอ็นไซม์ คิวเท็นจากธรรมชาติ และสารอัลลิซินในน้ำมันกระเทียม ช่วยเสริมสร้างคุณประโยชน์ที่หลากหลายให้กับร่างกายในทุกวัน

สนใจข้อมูลเพื่อดูแลสุขภาพ ที่นี่ MEGA We care
เรื่องน่ารู้ น้ำมันปลากับสุขภาพ
Vitamin Xpress


กำลังโหลดความคิดเห็น