xs
xsm
sm
md
lg

โรคลมชัก… รู้ก่อน ป้องกันได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อาการกระตุกและเกร็งตามกล้ามเนื้อ เหม่อลอย ชาที่แขนขา เคี้ยวปาก หูแว่ว อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อย่างที่คิด เพราะอาจเป็นอาการของโรคลมชัก ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย

พญ.กฤติมา อัศววีระเดช อายุรแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทและสมอง อนุสาขาโรคลมชัก ศูนย์หลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า โรคลมชัก เป็นโรคทางระบบประสาทที่เกิดจากความผิดปกติของเนื้อสมอง ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในสมองที่ผิดปกติ และเกิดอาการชักตามมา สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งมีสาเหตุของการเกิดแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย หากปล่อยให้ผู้ป่วยเกิดอาการชักโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจจะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก รวมถึงความจำที่ถดถอยลงและอารมณ์ที่แปรปรวนได้

อาการชักมีลักษณะได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มีความผิดปกติของเนื้อสมอง ที่พบบ่อย ได้แก่ อาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว ผู้ป่วยมักจะสูญเสียความรู้สึกตัว และเกิดอาการบาดเจ็บจากการชักหรือการดูแลที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น การใช้สิ่งของแหย่เข้าไปในปากผู้ป่วยเพื่อป้องกันการกัดลิ้น ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ช่องปากของผู้ป่วยได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีอาการชักแบบเฉพาะที่ ซึ่งมีทั้งแบบที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว เช่น อาการกระตุกเฉพาะที่ใบหน้า หรือแขนขา อาการเหม่อนิ่ง ทำปากขมุบขมิบ มือเกร็งหรือขยับไปมาแบบไม่รู้ตัว โดยจำเหตุการณ์ระหว่างนั้นไม่ได้และเกิดความสับสนต่อเนื่องได้ในบางราย ซึ่งมักพบได้บ่อยในผู้ใหญ่ ขณะที่เด็กมักจะพบอาการชักแบบเหม่อนิ่งช่วงสั้น ๆ ประมาณ 10-15 วินาที โดยมักจะมีอาการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ได้

การตรวจวินิจฉัยโรคลมชัก เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรค และทำการรักษาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อช่วยค้นหาตำแหน่งความผิดปกติในสมองได้อย่างแม่นยำ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง [EEG] การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ [CT scan 160 slices] การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า [MRI] เป็นต้น

การรักษาโรคลมชัก ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรักษาจนหายขาดได้ บางรายสามารถทานยาควบคุมไม่ให้เกิดอาการชักได้ และปัจจุบันการรักษาโรคลมชักพัฒนาไปมาก นอกจากการทานยาแล้ว ก็ยังมีวิธีอื่นๆ เช่นการฝังอุปกรณ์เข้าไปภายในเนื้อสมอง เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดอาการชัก หรือการประเมินเพื่อการผ่าตัดโรคลมชัก ซึ่งมีโอกาสหายขาดจากโรคได้เช่นกัน การได้รับการรักษาตั้งแต่แรกๆจะช่วยป้องกันไม่ให้สมองถูกทำลายได้มากขึ้น นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิด การชัก เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การอดนอน อดอาหาร หรือความเครียด ด้วยเช่นกัน

ปัจจุบัน ศูนย์หลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลหัวเฉียว เปิดให้บริการดูแลรักษาและฟื้นฟูกลไกลหลักของร่างกายอย่างครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน เน้นการรักษาตรงจุด เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย โดยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางระบบประสาทและสมอง พร้อมให้การดูแลโดยพยาบาลวิชาชีพและเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย

(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)



กำลังโหลดความคิดเห็น