จากวิกฤตการณ์การแพร่กระจายของโรคระบาดครั้งล่าสุดที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกในเวลานี้ ทำให้โลกเราเดินทางเข้าสู่ยุค “New normal” ผู้คนต่างตื่นตัวและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและระมัดระวังสุขอนามัยของตัวเองและส่วนรวมมากขึ้น และเป็นที่รับรู้กันว่าโรคระบาดดังกล่าวยังไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกันได้ ยิ่งสร้างความกังวลให้หลายคนมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่สุขภาพอ่อนแอหรือป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ ที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่างออกมาเตือนว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง หากเจ็บป่วยไม่สบาย อาการจะรุนแรงกว่าคนที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี
ทำไมสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอลงจึงเพิ่มความเสี่ยงที่อาการเจ็บป่วยจะรุนแรงขึ้น และเราจะมีวิธีป้องกัน ดูแลสุขภาพให้กลับมาแข็งแรง สามารถรับมือกับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน
เกิดอะไรขึ้น เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
ตามกลไกระบบรักษาความปลอดภัยในร่างกายคนเราจะมีภูมิคุ้มกันที่เป็นเหมือนหน่วยอารักขาให้กับร่างกาย ทำหน้าที่ดูแล สอดส่อง จัดการเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาภายในร่างกาย เมื่อไหร่ก็ตามที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภูมิคุ้มกันจะตรวจจับและปล่อยเซลล์เม็ดเลือดขาวออกมาจัดการเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมให้หมดไป
ในภาวะที่ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงดี ภูมิคุ้มกันก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายก็จะถูกจัดการไปในที่สุด แต่สำหรับคนที่สุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีโรคประจำตัว ประสิทธิภาพการป้องกันและจัดการกับเชื้อโรคของระบบภูมิคุ้มกันก็จะถดถอยลง อวัยวะต่าง ๆ จะถูกจู่โจมจากเชื้อโรค ส่งผลให้การอักเสบติดเชื้อรุนแรงขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีโรคประจำตัวหรือภาวะป่วยเรื้อรัง เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ ที่ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเกิดการอักเสบติดเชื้อขึ้น ระดับความรุนแรงของอาการจะมากกว่าคนที่สุขภาพแข็งแรง การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เกิดความผิดปกติหรือการทำงานล้มเหลว จนเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต
ยกตัวอย่างเช่น หากเกิดการอักเสบขึ้นภายในหลอดเลือด ผนังหลอดเลือดที่มีไขมันสะสมจะเกิดการเสื่อมสภาพ เปราะ แตกง่าย หรือโปร่งพองง่ายขึ้น ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง หากเกิดที่หลอดเลือดหัวใจก็อาจทำให้หัวใจขาดเลือดได้ง่ายขึ้น การทำงานของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน หากเป็นที่หลอดเลือดสมอง ก็อาจทำให้สมองขาดเลือด ทำให้เซลล์สมองเสียหายจากขาดออกซิเจน แขนขาอ่อนแรง เป็นอัมพฤต อัมพาต ฯลฯ
ดูแลสุขภาพให้พร้อมรับมือเชื้อโรค
จะเห็นแล้วว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน สุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง คือ บันไดขั้นแรกที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงขึ้นนั้นเริ่มต้นได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพให้เข้มข้นมากขึ้น ดังต่อไปนี้
• ใส่ใจกับเรื่องสุขอนามัยให้มากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งเสริมด้านสุขอนามัยส่วนตัวให้มากขึ้น เช่น ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ นอกบ้าน เมื่อกลับมาบ้านแล้วก็ควรจะชำระล้างร่างกายให้สะอาดเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ติดมากับเสื้อผ้า รองเท้า เข้าสู่ภายในบ้าน ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน หรืออยู่ในที่สาธารณะและมีคนพลุกพล่าน และหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิด (Physical distancing) เพื่อลดโอกาสการได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
• หาเวลาออกกำลังกาย อย่างน้อย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 30-45 นาที นอกจากช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ขับของเสียออกจากร่างกายแล้ว ยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวในระบบภูมิคุ้มกัน สามารถเดินทางไปทำลายเชื้อโรคตามอวัยวะต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ หากคุณมีโรคประจำตัวอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลก่อนว่า ควรเลือกออกกำลังกายรูปแบบใดที่เหมาะสมกับสุขภาพร่างกาย
• ควบคุมโรคประจำตัวไม่ให้อาการกำเริบ สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ประจำตัวอย่างเคร่งครัดเพื่อลดโอกาสที่อาการจะกำเริบขึ้นมา หากจำเป็นต้องได้รับยาจากแพทย์ ควรทานยาสม่ำเสมอ เพื่อให้อาการของโรคสงบเป็นปกติ
• ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและครบถ้วนด้วยสารอาหารทั้ง 5 หมู่ ลดอาหารประเภทไขมันสูง รสเค็มจัด หวานจัด เน้นพืชผักในมื้ออาหารให้มากขึ้น หัวใจหลักของการกิน คือการรับประทานอาหารให้ครบสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกายให้ครบถ้วน
• พักผ่อนให้เพียงพอ การอดนอนหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกายเสียสมดุล โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หากอดนอนติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้ประสิทธิภาพการต้านทานเชื้อโรคของร่างกายถดถอยลงส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย
กรดไขมันโอเมก้า-3 เสริมความแข็งแรงให้ภูมิคุ้มกัน ต้านการอักเสบเมื่อติดเชื้อ
แม้ว่าหัวใจหลักในการดูแลรักษาสุขภาพเบื้องต้น จะเป็นฐานรากสำคัญที่สร้างความแข็งแรงเพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันการดูแลสุขภาพเบื้องต้นนี้อาจยังไม่เพียงพอ ควรเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงมากขึ้น สามารถรับมือกับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่จะเข้ามาสู่ร่างกายได้ดียิ่งขึ้น เช่น การเสริมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับระบบภูมิคุ้มกัน ต้านการอักเสบของปอด หรือ หัวใจเมื่อมีการติดเชื้อโรค จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต รวมทั้งยังมีส่วนช่วยลดปัญหาสุขภาพ เช่น ลดความดันโลหิตสูง ลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ลดความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจอุดตัน บำรุงเซลล์สมอง ระบบประสาท และช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้าและโรคที่เกี่ยวกับความจำหรืออัลไซเมอร์
เนื่องจากในน้ำมันปลามีกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 ที่สำคัญคือ ดีเอชเอ (Docoxahexaenoic acid-DHA) และอีพีเอ (Eicosapentaenoic acid-EPA) กรดไขมันทั้งสองนี้มีส่วนช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ และเป็นกรดไขมันจำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดขาว และเป็นสารสำคัญในการกระบวนการทำงานของภูมิต้านทานในร่างกาย และยังมีส่วนช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความสมดุลและกระตุ้นให้เซลล์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเสริมสร้างสุขภาพให้ดีขึ้น
นอกจากนี้กรดไขมันโอเมก้า-3 ยังมีคุณสมบัติช่วยลดภาวะการอักเสบ งานวิจัยที่ชื่อ การเสริมน้ำมันปลาในการรักษาโรคที่เกิดการอักเสบ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ระบุว่า กรดไขมันทั้งสองชนิดนี้มีผลในการลดภาวะการอักเสบ โดยลดปริมาณสารที่เป็นตัวการของการอักเสบบางชนิดลง และเพิ่มปริมาณสารต้านการอักเสบบางชนิด และลดการเหนี่ยวนำการเคลื่อนที่ของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันมายังบริเวณที่เกิดการอักเสบ (แหล่งข้อมูล: การเสริมน้ำมันปลาในการรักษาโรคที่เกิดการอักเสบ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TBPS/article/view/33138 )
ลดเสี่ยงป่วยติดเชื้อ เสริมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 คุณภาพสูง
จะเห็นแล้วว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงเจ็บป่วยจากการติดเชื้อ ซึ่งปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันนั้น หากเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง การได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 ประมาณ 500-1,000 มิลลิกรัม ก็เพียงพอต่อความต้องการแล้ว แต่หากเป็นผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ปริมาณที่แนะนำ คือ 1,000 – 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
แต่กรดไขมันโอเมก้า-3 กลับเป็นสารอาหารที่ร่างกายมนุษย์นั้นไม่สามารถสร้างขึ้นได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากการกินอาหารที่เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3 อื่นๆ เช่น ปลาทะเลน้ำลึกที่มีปริมาณของกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดไขมันโอเมก้า-3 เช่น น้ำมันปลา เมก้า วี แคร์ ฟิชออย (MEGA WE CARE FISH OIL) ที่มีสารอาหารโอเมก้า-3 คุณภาพสูง 1,000 มิลลิกรัมใน 1 แคปซูล ที่ได้จากปลาแองโชวี่จากทะเลน้ำลึกในบริเวณกระแสน้ำเย็น เติบโตในแหล่งน้ำธรรมชาติในประเทศไอซ์แลนด์ จึงปลอดภัยจากสารปนเปื้อน เช่น สารปรอท สารหนู หรือสารตกค้างจากอาหารเลี้ยง จึงมั่นใจได้ว่าร่างกายจะได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยจากสารตกค้าง ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน ด้วยมาตรฐานการผลิต GMP ระดับสากล จากประเทศเยอรมนีและประเทศออสเตรเลีย พร้อมบรรจุภัณฑ์พลาสติกทึบแสงที่คงคุณภาพกรดไขมันโอเมก้า-3 ไว้จนถึงมือผู้บริโภค
ถึงแม้ว่าทุกวันนี้เราจะพยายามทุกวิถีทางที่จะป้องกันตัวเองไม่ให้เจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บที่แพร่ระบาดหรือมลพิษรอบตัว แต่หากเราสามารถเริ่มต้นดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงควบคู่ไปกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยสารอาหารสำคัญก็เปรียบเหมือนเสริมความแข็งแรงให้กับเกราะป้องกันให้กับร่างกายนั่นเอง
เริ่มต้นเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง ให้น้ำมันปลา เมก้า วี แคร์ ฟิชออย (MEGA WE CARE FISH OIL) น้ำมันปลาจากปลาแองโชวี่ที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 คุณภาพสูง ช่วยต้านการอักเสบควบคู่ไปกับการเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง และลดความเสี่ยงไขมันอุดตันหลอดเลือดสมองและหัวใจ ช่วยให้คุณใช้ชีวิตประจำวันในยุค New normal ได้อย่างสบายใจว่า สุขภาพของคุณแข็งแรง สามารถต่อต้านเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวได้
สามารถสั่งซื้อได้แล้ววันนี้ ที่ Vitamin express คลิก
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำมันปลา
Facebook: www.facebook.com/MEGAWecare
Website: www.megawecare.co.th